ASTVผู้จัดการรายวัน- พาณิชย์เผยเงินเฟ้อเม.ย.ลดเหลือ 2.47% “ยรรยง”ปัดปั้นตัวเลข โชว์สินค้ายุค “ปู” เทียบ ”มาร์ค” ลดลงอื้อ แต่ผลสำรวจฉีกหน้ายับ สินค้าที่ตลาดเตาปูนราคาขึ้นสวนทาง ขยายรถเมล์รถไฟฟรีอีก 5 ด. พร้อมขึ้นเงินเดือนครูเอกชนเป็น 15,000 บาท
นายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ (เงินเฟ้อ) เดือนเม.ย.2555 เท่ากับ 114.78 สูงขึ้น 2.47% เทียบกับเดือนเม.ย.ปีที่แล้ว ซึ่งเป็นเงินเฟ้อที่ปรับตัวลดลง หลังจากที่ปรับสูงขึ้นต่อเนื่องก่อนหน้านี้ และเมื่อเทียบกับเดือนมี.ค. ปีเดียวกันเงินเฟ้อสูงขึ้น 0.42% ส่งผลให้เงินเฟ้อ 4 เดือนของปี 2555 (ม.ค.-เม.ย.) สูงขึ้น 3.16% เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
สาเหตุที่เงินเฟ้อปรับตัวลดลงอย่างมาก เนื่องจากราคาสินค้าทั่วไปไม่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เพราะวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตไม่ขึ้น ผู้ผลิตเลยไม่มีการปรับราคาสินค้าขึ้น ขณะที่ความต้องการสินค้ายังทรงตัว
** ยันไม่มีเมกตัวเลข
“เงินเฟ้อที่ลดลงเกือบ 1% จากเดือนมี.ค.ที่อยู่ที่ 3.45% และลดลงมาเหลือ 2.47% ในเดือนเม.ย. เป็นผลสำรวจที่ออกมาจริง ไม่ได้เมคตัวเลข โดยไตรมาส 2 คาดว่าเงินเฟ้อจะอยู่ที่เฉลี่ย 3.5% และทั้งปีอยู่ในเป้า 3.3-3.8% แน่”นายยรรยงกล่าว
นายยรรยงกล่าวว่า เมื่อเปรียบเทียบราคาสินค้ารัฐบาลปัจจุบันกับรัฐบาลชุดที่แล้วในช่วงเดือนเม.ย. พบว่า เนื้อสุกร ราคาเฉลี่ยขณะนี้ 123.50 บาท/กก. รัฐบาลก่อน 132.78 บาท/กก. ลดลง 9.28 บาท ไก่สดทั้งตัว 68.99 บาท/กก. รัฐบาลก่อน 79.06 บาท/กก. ลดลง 10.07 บาท
สำหรับสินค้าที่เพิ่มขึ้น เช่น นมสด UHT 6 กล่อง/แพค ราคา 56.56 บาท รัฐบาลก่อน 53.82 สูงขึ้น 2.74 บาท ข้าวผัด 33.89 บาท/จาน รัฐบาลก่อน 30.56 บาท/จาน สูงขึ้น 3.33 บาท ก๋วยเตี๋ยว 30 บาท/ถุง รัฐบาลก่อน 27.83 บาท/ถุง สูงขึ้น 2.174 บาท กับข้าวสำเร็จรูป 28.75 บาท/ถุง รัฐบาลก่อน 27.25 บาท/ถุง สูงขึ้น 1.50 บาท น้ำปลา 700 ซีซี 22.57 บาท/ขวด รัฐบาลก่อน 21.40 บาท/ขวด สูงขึ้น 1.17 บาท ซีอิ้ว 700 ซีซี 39.73 บาท/ขวด รัฐบาลก่อน 39.13 บาท/ขวด สูงขึ้น 0.60 บาท และซอสหอยนางรม 600 ซีซี 38.22 บาท/ขวด รัฐบาลก่อน 37.65 บาท/ขวด สูงขึ้น 0.57 บาท
*** แฉปรับข้อมูลเอกสารก่อนแถลง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการแถลงเงินเฟือเดือนเม.ย. ได้มีการปรับปรุงรายละเอียดเอกสารที่แจกใหม่ โดยไม่มีรายละเอียดสินค้าที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง โดยได้มีการเปรียบเทียบราคาสินค้าของรัฐบาลนี้กับรัฐบาลชุดที่แล้วออกมาแทน แต่จากการตรวจสอบภายหลังพบว่า สินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มในเดือนเม.ย. สูงขึ้น 4.51% สินค้าสำคัญที่สูงขึ้น เช่น ข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง สูงขึ้น 2.68% เนื้อสัตว์ 1.35% ผักและผลไม้ 6.18% เครื่องประกอบอาหาร 5.73% เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 2.62% อาหารบริโภคในบ้าน 8.08% อาหารบริโภคนอกบ้าน 4.99% ส่วนหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้น 1.18% สินค้าสำคัญที่สูงขึ้น เช่น เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า สูงขึ้น 0.96% เคหสถาน 2.12% การตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล 1.13% การขนส่งและการสื่อสาร 0.68% การบันเทิงการอ่าน การศึกษา 0.22% หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ 0.38%
ยังพบว่า สินค้าที่อยู่ในตะกร้าคำนวณเงินเฟ้อทั้งหมด 417 รายการ มีถึง 187 รายการ ที่ปรับราคาเพิ่มขึ้น ปรับราคาลดลง 69 รายการ และราคาทรงตัว 161 รายการ ส่วนเงินเฟ้อเดือนเม.ย.ที่ลดลง 2.47% เป็นเงินเฟ้อที่ต่ำสุดในรอบ 29 เดือนนับจากเดือนพ.ย.2552
***”ยรรยง” หน้าแหกราคาตลาดสูงกว่า
หลังจากแถลงเงินเฟ้อเสร็จ นายยรรยงได้นำคณะสื่อมวลชนเดินทางไปสำรวจสถานการณ์สินค้า ณ ตลาดเตาปูน ซึ่งพบว่า สินค้าราคาส่วนใหญ่ปรับเพิ่มขึ้น ไม่ตรงตามที่ได้มีการแถลงไว้ก่อนหน้านี้ เช่น เนื้อหมู กก.ละ 140 บาท ผักคะน้ากก.ละ 55 บาท แตงกวากก.ละ 40 บาท ผักกาดขาวกก.ละ 40 บาท ถั่วฝักยาว กก.ละ 60 บาท มะนาวลูกละ 7 บาท เป็นต้น
***ขยายรถเมล์-รถไฟฟรีอีก 5 ด.
พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า ที่ประชุมครม.มีมติอนุมัติให้ขยายเวลามาตรการลดภาระค่าครองชีพของประชาชน รถไฟฟรี รถเมล์ฟรี ออกไปอีก 5 เดือน จากที่สิ้นสุดวันที่ 30 เม.ย.2555 เป็นสิ้นสุดวันที่ 30 ก.ย. 2555 โดยได้สั่งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) สำรวจปริมาณผู้โดยสารที่ใช้บริการรถเมล์ฟรีกว่า 70 เส้นทาง ว่าในแต่ละช่วงเวลามีจำนวนผู้ใช้บริการเท่าไร ช่วงไหนมีผู้ใช้บริการมากและน้อย และให้ทำรายละเอียดเสนอมาให้ที่ประชุมรับทราบอีกครั้ง ส่วนรถไฟมีการแจกตั๋ว โดยใช้เพียงบัตรประชาชนมาแสดงตนเอง โดยมีรถไฟวิ่งให้บริการ 80 ขบวน
นายภักดีหาญส์ หิมะทองคำ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการขยายมาตรการรถเมล์และรถไฟฟรีออกไปว่า ทางขสมก. จะจัดรถโดยสารธรรมดาบริการจำนวน 800 คันต่อวัน ใน 73 เส้นทางโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งรัฐจะต้องรับภาระค่าใช้จ่าย 1,208 ล้านบาท ส่วนรถไฟฟรี การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จะจัดรถไฟชั้น 3 (รถบริการเชิงสังคมหรือ PSO) บริการจำนวน 164 ขบวนต่อวัน และรถไฟชั้น 3
ระยะทางไกลในขบวนรถเชิงพาณิชย์จำนวน 8 ขบวนต่อวัน โดยรัฐต้องรับภาระค่าใช้จ่าย 458 ล้านบาท
***จี้”คมนาคม”เร่งรถไฟฟ้าสีแดงและสีน้ำเงิน
พล.ต.ท.ชัจจ์ กล่าวว่า ในที่ประชุมครม.เมื่อวันที่ 1 พ.ค. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้กระทรวงคมนาคมเร่งรัดโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ เนื่องจากเห็นว่าทั้ง 2 โครงการมีความล่าช้ามาก
โดยสายสีแดงมีมีปัญหาในการการประกวดราคาเนื่องจากผู้รับเหมาที่เสนอราคาสูงกว่าราคากลางที่ตั้งไว้ 27,000 ล้านบาท ถึง 4,000 ล้านบาทและขณะนี้ยังไม่สามารถตกลงกันได้ ซึ่งทางคณะกรรมการประกวดราคาอาจต้องให้ผู้ที่เสนอราคาในลำดับที่ 2 มาเจรจาต่อรองราคาลง
นายภักดีหาญส์ กล่าวว่า ครม.เห็นชอบกรอบวงเงินค่าจ้างที่ปรึกษาบริหารและควบคุมงานระบบไฟฟ้า โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) วงเงิน 665 ล้านบาท โดยเห็นชอบให้ รฟม. กู้เงินต่อจากกระทรวงการคลัง โดยเป็นเงินในประเทศ
**ขึ้น 1.5 หมื่นเงินเดือนครูเอกชน
ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ว่า ที่ประชุม ครม.มีมติเห็นชอบโครงการที่เกี่ยวกับการศึกษา จำนวน 3 เรื่อง คือ 1. ครม.ได้ให้ความเห็นชอบตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอขอปรับเพิ่มเงินเดือนรวมค่าครองชีพชั่วคราว ครูร.ร.เอกชนที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ให้ได้รับรายได้เดือนละ 15,000 บาท มีผลตั้งแต่ 1 ม.ค. ที่ผ่านมา
ปัจจุบัน มีครู โรงเรียนเอกชนที่จบปริญญาตรี จำนวน 87,680 คน ได้รับเงินเดือนเฉลี่ยระหว่าง 10,428 - 13,535 บาท ซึ่ง ศธ.ได้เสนอขอปรับเงินเดือนแรกบรรจุของครูเอกชนเป็น 11,680 บาท ตรงส่วนนี้ใช้งบประมาณรองรับ 695 ล้านบาท สำหรับเดือนม.ค.ถึงก.ย. 55 รวม 9 เดือน พร้อมกันนี้ ศธ.ได้เสนอขอปรับค่าครองชีพให้ครูเอกชนที่ยังได้เงินเดือนไม่ถึง 15,000 บาท ด้วย ตรงส่วนนี้ ต้องใช้งบประมาณ 2,401.58 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ครม.ให้ สช.ไปเกลี่ยงบประมาณของตัวเองมาใช้สำหรับเพิ่มเงินเดือนครู ร.ร.เอกชน ส่วนงบประมาณปรับเพิ่มค่าครองชีพนั้น ครม.อนุมัติงบประมาณให้แค่ 1,200 ล้านบาท ที่เหลืออีก 1,200 ล้านบาทนั้น ให้ร.ร.เอกชนร่วมรับผิดชอบ แต่งบประมาณ 1,200 ล้านบาทนี้ เป็นงบของปีงบประมาณ 2556
2. ครม.ยังได้อนุมัติฟื้นกองทุนเงินให้กู้ยืมที่ผูกกับรายได้ในอนาคต หรือ กรอ.ตามแนวทางที่กระทรวงการคลังเสนอด้วย นั่นหมายความว่า จะมีการฟื้น กรอ.มาใช้กับบางสาขาวิชาที่สำคัญ เช่น สาขาขาดแคลน ที่เหลือให้กู้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ต่อ
3.ครม.มีมติเห็นชอบตามที่ ศธ.เสนอขอเปลี่ยนชื่อโครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่ เป็น โครงการผลิตครูมืออาชีพ และเห็นชอบแต่งตั้งคณะกรรมการ 2 ชุดซึ่งจะมีการปรับเปลี่ยนชื่อไปตามโครงการ ได้แก่ คณะกรรมการบริหารโครงการผลิตครูมืออาชีพ มี รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธาน และ คณะกรรมการคัดเลือกสถาบันฝ่ายผลิตและนักศึกษาทุนโครงการผลิตครูมืออาชีพ มี น.ส.ศรีญาดา ปาลิมาพันธ์ เป็นประธาน
นายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ (เงินเฟ้อ) เดือนเม.ย.2555 เท่ากับ 114.78 สูงขึ้น 2.47% เทียบกับเดือนเม.ย.ปีที่แล้ว ซึ่งเป็นเงินเฟ้อที่ปรับตัวลดลง หลังจากที่ปรับสูงขึ้นต่อเนื่องก่อนหน้านี้ และเมื่อเทียบกับเดือนมี.ค. ปีเดียวกันเงินเฟ้อสูงขึ้น 0.42% ส่งผลให้เงินเฟ้อ 4 เดือนของปี 2555 (ม.ค.-เม.ย.) สูงขึ้น 3.16% เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
สาเหตุที่เงินเฟ้อปรับตัวลดลงอย่างมาก เนื่องจากราคาสินค้าทั่วไปไม่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เพราะวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตไม่ขึ้น ผู้ผลิตเลยไม่มีการปรับราคาสินค้าขึ้น ขณะที่ความต้องการสินค้ายังทรงตัว
** ยันไม่มีเมกตัวเลข
“เงินเฟ้อที่ลดลงเกือบ 1% จากเดือนมี.ค.ที่อยู่ที่ 3.45% และลดลงมาเหลือ 2.47% ในเดือนเม.ย. เป็นผลสำรวจที่ออกมาจริง ไม่ได้เมคตัวเลข โดยไตรมาส 2 คาดว่าเงินเฟ้อจะอยู่ที่เฉลี่ย 3.5% และทั้งปีอยู่ในเป้า 3.3-3.8% แน่”นายยรรยงกล่าว
นายยรรยงกล่าวว่า เมื่อเปรียบเทียบราคาสินค้ารัฐบาลปัจจุบันกับรัฐบาลชุดที่แล้วในช่วงเดือนเม.ย. พบว่า เนื้อสุกร ราคาเฉลี่ยขณะนี้ 123.50 บาท/กก. รัฐบาลก่อน 132.78 บาท/กก. ลดลง 9.28 บาท ไก่สดทั้งตัว 68.99 บาท/กก. รัฐบาลก่อน 79.06 บาท/กก. ลดลง 10.07 บาท
สำหรับสินค้าที่เพิ่มขึ้น เช่น นมสด UHT 6 กล่อง/แพค ราคา 56.56 บาท รัฐบาลก่อน 53.82 สูงขึ้น 2.74 บาท ข้าวผัด 33.89 บาท/จาน รัฐบาลก่อน 30.56 บาท/จาน สูงขึ้น 3.33 บาท ก๋วยเตี๋ยว 30 บาท/ถุง รัฐบาลก่อน 27.83 บาท/ถุง สูงขึ้น 2.174 บาท กับข้าวสำเร็จรูป 28.75 บาท/ถุง รัฐบาลก่อน 27.25 บาท/ถุง สูงขึ้น 1.50 บาท น้ำปลา 700 ซีซี 22.57 บาท/ขวด รัฐบาลก่อน 21.40 บาท/ขวด สูงขึ้น 1.17 บาท ซีอิ้ว 700 ซีซี 39.73 บาท/ขวด รัฐบาลก่อน 39.13 บาท/ขวด สูงขึ้น 0.60 บาท และซอสหอยนางรม 600 ซีซี 38.22 บาท/ขวด รัฐบาลก่อน 37.65 บาท/ขวด สูงขึ้น 0.57 บาท
*** แฉปรับข้อมูลเอกสารก่อนแถลง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการแถลงเงินเฟือเดือนเม.ย. ได้มีการปรับปรุงรายละเอียดเอกสารที่แจกใหม่ โดยไม่มีรายละเอียดสินค้าที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง โดยได้มีการเปรียบเทียบราคาสินค้าของรัฐบาลนี้กับรัฐบาลชุดที่แล้วออกมาแทน แต่จากการตรวจสอบภายหลังพบว่า สินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มในเดือนเม.ย. สูงขึ้น 4.51% สินค้าสำคัญที่สูงขึ้น เช่น ข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง สูงขึ้น 2.68% เนื้อสัตว์ 1.35% ผักและผลไม้ 6.18% เครื่องประกอบอาหาร 5.73% เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 2.62% อาหารบริโภคในบ้าน 8.08% อาหารบริโภคนอกบ้าน 4.99% ส่วนหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้น 1.18% สินค้าสำคัญที่สูงขึ้น เช่น เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า สูงขึ้น 0.96% เคหสถาน 2.12% การตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล 1.13% การขนส่งและการสื่อสาร 0.68% การบันเทิงการอ่าน การศึกษา 0.22% หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ 0.38%
ยังพบว่า สินค้าที่อยู่ในตะกร้าคำนวณเงินเฟ้อทั้งหมด 417 รายการ มีถึง 187 รายการ ที่ปรับราคาเพิ่มขึ้น ปรับราคาลดลง 69 รายการ และราคาทรงตัว 161 รายการ ส่วนเงินเฟ้อเดือนเม.ย.ที่ลดลง 2.47% เป็นเงินเฟ้อที่ต่ำสุดในรอบ 29 เดือนนับจากเดือนพ.ย.2552
***”ยรรยง” หน้าแหกราคาตลาดสูงกว่า
หลังจากแถลงเงินเฟ้อเสร็จ นายยรรยงได้นำคณะสื่อมวลชนเดินทางไปสำรวจสถานการณ์สินค้า ณ ตลาดเตาปูน ซึ่งพบว่า สินค้าราคาส่วนใหญ่ปรับเพิ่มขึ้น ไม่ตรงตามที่ได้มีการแถลงไว้ก่อนหน้านี้ เช่น เนื้อหมู กก.ละ 140 บาท ผักคะน้ากก.ละ 55 บาท แตงกวากก.ละ 40 บาท ผักกาดขาวกก.ละ 40 บาท ถั่วฝักยาว กก.ละ 60 บาท มะนาวลูกละ 7 บาท เป็นต้น
***ขยายรถเมล์-รถไฟฟรีอีก 5 ด.
พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า ที่ประชุมครม.มีมติอนุมัติให้ขยายเวลามาตรการลดภาระค่าครองชีพของประชาชน รถไฟฟรี รถเมล์ฟรี ออกไปอีก 5 เดือน จากที่สิ้นสุดวันที่ 30 เม.ย.2555 เป็นสิ้นสุดวันที่ 30 ก.ย. 2555 โดยได้สั่งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) สำรวจปริมาณผู้โดยสารที่ใช้บริการรถเมล์ฟรีกว่า 70 เส้นทาง ว่าในแต่ละช่วงเวลามีจำนวนผู้ใช้บริการเท่าไร ช่วงไหนมีผู้ใช้บริการมากและน้อย และให้ทำรายละเอียดเสนอมาให้ที่ประชุมรับทราบอีกครั้ง ส่วนรถไฟมีการแจกตั๋ว โดยใช้เพียงบัตรประชาชนมาแสดงตนเอง โดยมีรถไฟวิ่งให้บริการ 80 ขบวน
นายภักดีหาญส์ หิมะทองคำ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการขยายมาตรการรถเมล์และรถไฟฟรีออกไปว่า ทางขสมก. จะจัดรถโดยสารธรรมดาบริการจำนวน 800 คันต่อวัน ใน 73 เส้นทางโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งรัฐจะต้องรับภาระค่าใช้จ่าย 1,208 ล้านบาท ส่วนรถไฟฟรี การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จะจัดรถไฟชั้น 3 (รถบริการเชิงสังคมหรือ PSO) บริการจำนวน 164 ขบวนต่อวัน และรถไฟชั้น 3
ระยะทางไกลในขบวนรถเชิงพาณิชย์จำนวน 8 ขบวนต่อวัน โดยรัฐต้องรับภาระค่าใช้จ่าย 458 ล้านบาท
***จี้”คมนาคม”เร่งรถไฟฟ้าสีแดงและสีน้ำเงิน
พล.ต.ท.ชัจจ์ กล่าวว่า ในที่ประชุมครม.เมื่อวันที่ 1 พ.ค. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้กระทรวงคมนาคมเร่งรัดโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ เนื่องจากเห็นว่าทั้ง 2 โครงการมีความล่าช้ามาก
โดยสายสีแดงมีมีปัญหาในการการประกวดราคาเนื่องจากผู้รับเหมาที่เสนอราคาสูงกว่าราคากลางที่ตั้งไว้ 27,000 ล้านบาท ถึง 4,000 ล้านบาทและขณะนี้ยังไม่สามารถตกลงกันได้ ซึ่งทางคณะกรรมการประกวดราคาอาจต้องให้ผู้ที่เสนอราคาในลำดับที่ 2 มาเจรจาต่อรองราคาลง
นายภักดีหาญส์ กล่าวว่า ครม.เห็นชอบกรอบวงเงินค่าจ้างที่ปรึกษาบริหารและควบคุมงานระบบไฟฟ้า โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) วงเงิน 665 ล้านบาท โดยเห็นชอบให้ รฟม. กู้เงินต่อจากกระทรวงการคลัง โดยเป็นเงินในประเทศ
**ขึ้น 1.5 หมื่นเงินเดือนครูเอกชน
ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ว่า ที่ประชุม ครม.มีมติเห็นชอบโครงการที่เกี่ยวกับการศึกษา จำนวน 3 เรื่อง คือ 1. ครม.ได้ให้ความเห็นชอบตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอขอปรับเพิ่มเงินเดือนรวมค่าครองชีพชั่วคราว ครูร.ร.เอกชนที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ให้ได้รับรายได้เดือนละ 15,000 บาท มีผลตั้งแต่ 1 ม.ค. ที่ผ่านมา
ปัจจุบัน มีครู โรงเรียนเอกชนที่จบปริญญาตรี จำนวน 87,680 คน ได้รับเงินเดือนเฉลี่ยระหว่าง 10,428 - 13,535 บาท ซึ่ง ศธ.ได้เสนอขอปรับเงินเดือนแรกบรรจุของครูเอกชนเป็น 11,680 บาท ตรงส่วนนี้ใช้งบประมาณรองรับ 695 ล้านบาท สำหรับเดือนม.ค.ถึงก.ย. 55 รวม 9 เดือน พร้อมกันนี้ ศธ.ได้เสนอขอปรับค่าครองชีพให้ครูเอกชนที่ยังได้เงินเดือนไม่ถึง 15,000 บาท ด้วย ตรงส่วนนี้ ต้องใช้งบประมาณ 2,401.58 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ครม.ให้ สช.ไปเกลี่ยงบประมาณของตัวเองมาใช้สำหรับเพิ่มเงินเดือนครู ร.ร.เอกชน ส่วนงบประมาณปรับเพิ่มค่าครองชีพนั้น ครม.อนุมัติงบประมาณให้แค่ 1,200 ล้านบาท ที่เหลืออีก 1,200 ล้านบาทนั้น ให้ร.ร.เอกชนร่วมรับผิดชอบ แต่งบประมาณ 1,200 ล้านบาทนี้ เป็นงบของปีงบประมาณ 2556
2. ครม.ยังได้อนุมัติฟื้นกองทุนเงินให้กู้ยืมที่ผูกกับรายได้ในอนาคต หรือ กรอ.ตามแนวทางที่กระทรวงการคลังเสนอด้วย นั่นหมายความว่า จะมีการฟื้น กรอ.มาใช้กับบางสาขาวิชาที่สำคัญ เช่น สาขาขาดแคลน ที่เหลือให้กู้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ต่อ
3.ครม.มีมติเห็นชอบตามที่ ศธ.เสนอขอเปลี่ยนชื่อโครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่ เป็น โครงการผลิตครูมืออาชีพ และเห็นชอบแต่งตั้งคณะกรรมการ 2 ชุดซึ่งจะมีการปรับเปลี่ยนชื่อไปตามโครงการ ได้แก่ คณะกรรมการบริหารโครงการผลิตครูมืออาชีพ มี รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธาน และ คณะกรรมการคัดเลือกสถาบันฝ่ายผลิตและนักศึกษาทุนโครงการผลิตครูมืออาชีพ มี น.ส.ศรีญาดา ปาลิมาพันธ์ เป็นประธาน