ASTVผู้จัดการรายวัน - นักธรณีวิทยาห่วง “รอยเลื่อนระนอง-คลองมะรุ่ย” ที่สะสมพลังงานและเตรียมปลดปล่อย ซึ่งหลักฐานทางธรณีวิทยาพบว่าเมื่อ 2,000 ปีและ 4,000 ที่แล้วเคยเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ 6-7 ริกเตอร์บนบก อีกทั้ง “รอยเลื่อนแม่จัน” รอยเลื่อนมีพลังที่สุดในประเทศที่ถูกจับตามากที่สุด เนื่องจากรอยเลื่อนในระแวกเพื่อนบ้าน จีน พม่าและลาว ไหวใหญ่กันไปแล้ว
รศ.ดร.ปัญญา จารุศิริ ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้สัมภาษณ์ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ ย้ำว่าภูเก็ตไม่จมทะเลง่ายๆ เนื่องจากตั้งอยู่บนฐานหินแข็งอายุกว่า 100 ล้านปี ซึ่งรองรับแผ่นดินไหวได้มาก ส่วนเหตุแผ่นดินไหวตามมาหรืออาฟเตอร์ช็อกที่ดูเหมือนเกิดขึ้นบ่อยนั้นเป็นปรากฏการณ์ปกติหลังแผ่นดินไหว เพียงแต่เกิดบริเวณเปลือกโลกที่ค่อนข้างตื้น จึงรับรู้ได้มาก
โดยก่อนหน้านี้รอยเลื่อนในประเทศไทยที่ได้รับความสนใจที่สุดคือรอยเลื่อนแม่จันที่พาดผ่านเชียงรายและเชียงใหม่ เนื่องจากเป็นรอยเลื่อนที่มีพลังมากที่สุด และเกิดแผ่นดินไหวใหญ่จากรอยเลื่อนระแวกใกล้เคียงแล้ว คือรอยเลื่อนในมณฑลยูนนานของจีนที่เกิดแผ่นดินไหวใหญ่เมื่อปี 2552 และรอยเลื่อนน้ำมาในลาวและพม่าที่เกิดแผ่นดินไหวใหญ่เมื่อปี 2554 ที่ผ่านมา แต่รอยเลื่อนแม่จันยังไม่ขยับและกำลังสะสมพลังงานอยู่ ซึ่งเมื่อ 1,000 กว่าปีที่แล้วเคยแผลงฤทธิ์ และทำให้นครโยนกในอดีตต้องล่มสลาย ซึ่งมีการบันทึกไว้ในพงศาวดาร
อย่างไรก็ดี เมื่อเกิดแผ่นดินไหวที่มีจุดศูนย์กลางที่ภูเก็ต ทำให้รอยเลื่อน 2 แห่งในภาคใต้คือ รอยเลื่อนระนองและรอยเลื่อนคลองมะรุ่ยได้รับความสนใจมากขึ้น และมีความเป็นไปได้ว่ามีแนวรอยเลื่อนใหม่ที่ยังไม่รู้จัก ซึ่งทางกรมทรัพยากรธรณีกำลังส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ไปตรวจสอบ แต่สิ่งที่ รศ.ดร.ปัญญาห่วงอยู่ตอนนี้คือการสะสมพลังงานของรอยเลื่อนทั้งสองแห่ง ซึ่งตอนนี้ยังไม่เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ขึ้นบนบก
จากหลักฐานทางธรณีวิทยาระบุว่า เคยเกิดการแผ่นดินไหวบนบก 6-7 ริกเตอร์จากรอยเลื่อนระนองและรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย เมื่อ 2,000 ปีที่แล้วและ 4,000 ปีที่แล้ว ซึ่งตอนนี้ “ใกล้คาบอุบัติซ้ำ” ของการเกิดแผ่นดินไหวใหญ่แล้ว แต่ยังไม่มีแผ่นดินไหวใหญ่เกิดขึ้น ซึ่ง รศ.ดร.ปัญญหากล่าวว่าไม่ชอบนัก เพราะแสดงให้เห็นว่ารอยเลื่อนกำลังสะสมพลังงานอยู่และไม่รู้ว่าปลดปล่อยออกมาเมื่อไหร่ ซึ่งไม่มีใครระบุได้
ทั้งนี้ เป็นการให้สัมภาษณ์ระหว่างการประชุมโต๊ะกลม “2012 แผ่นดินไหวข่าวลือหรือความจริง” ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 30 เม.ย. โดยความร่วมมือระหว่างศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านวิศวกรรมแผ่นดินไหวและการสั่นสะเทือน กับหน่วยวิจัยธรณีวิทยาแผ่นดินไหวไหวและธรณีแปรสัณฐานผืนแผ่นดินของเอเชียตะวันออก ณ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รศ.ดร.ปัญญา จารุศิริ ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้สัมภาษณ์ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ ย้ำว่าภูเก็ตไม่จมทะเลง่ายๆ เนื่องจากตั้งอยู่บนฐานหินแข็งอายุกว่า 100 ล้านปี ซึ่งรองรับแผ่นดินไหวได้มาก ส่วนเหตุแผ่นดินไหวตามมาหรืออาฟเตอร์ช็อกที่ดูเหมือนเกิดขึ้นบ่อยนั้นเป็นปรากฏการณ์ปกติหลังแผ่นดินไหว เพียงแต่เกิดบริเวณเปลือกโลกที่ค่อนข้างตื้น จึงรับรู้ได้มาก
โดยก่อนหน้านี้รอยเลื่อนในประเทศไทยที่ได้รับความสนใจที่สุดคือรอยเลื่อนแม่จันที่พาดผ่านเชียงรายและเชียงใหม่ เนื่องจากเป็นรอยเลื่อนที่มีพลังมากที่สุด และเกิดแผ่นดินไหวใหญ่จากรอยเลื่อนระแวกใกล้เคียงแล้ว คือรอยเลื่อนในมณฑลยูนนานของจีนที่เกิดแผ่นดินไหวใหญ่เมื่อปี 2552 และรอยเลื่อนน้ำมาในลาวและพม่าที่เกิดแผ่นดินไหวใหญ่เมื่อปี 2554 ที่ผ่านมา แต่รอยเลื่อนแม่จันยังไม่ขยับและกำลังสะสมพลังงานอยู่ ซึ่งเมื่อ 1,000 กว่าปีที่แล้วเคยแผลงฤทธิ์ และทำให้นครโยนกในอดีตต้องล่มสลาย ซึ่งมีการบันทึกไว้ในพงศาวดาร
อย่างไรก็ดี เมื่อเกิดแผ่นดินไหวที่มีจุดศูนย์กลางที่ภูเก็ต ทำให้รอยเลื่อน 2 แห่งในภาคใต้คือ รอยเลื่อนระนองและรอยเลื่อนคลองมะรุ่ยได้รับความสนใจมากขึ้น และมีความเป็นไปได้ว่ามีแนวรอยเลื่อนใหม่ที่ยังไม่รู้จัก ซึ่งทางกรมทรัพยากรธรณีกำลังส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ไปตรวจสอบ แต่สิ่งที่ รศ.ดร.ปัญญาห่วงอยู่ตอนนี้คือการสะสมพลังงานของรอยเลื่อนทั้งสองแห่ง ซึ่งตอนนี้ยังไม่เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ขึ้นบนบก
จากหลักฐานทางธรณีวิทยาระบุว่า เคยเกิดการแผ่นดินไหวบนบก 6-7 ริกเตอร์จากรอยเลื่อนระนองและรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย เมื่อ 2,000 ปีที่แล้วและ 4,000 ปีที่แล้ว ซึ่งตอนนี้ “ใกล้คาบอุบัติซ้ำ” ของการเกิดแผ่นดินไหวใหญ่แล้ว แต่ยังไม่มีแผ่นดินไหวใหญ่เกิดขึ้น ซึ่ง รศ.ดร.ปัญญหากล่าวว่าไม่ชอบนัก เพราะแสดงให้เห็นว่ารอยเลื่อนกำลังสะสมพลังงานอยู่และไม่รู้ว่าปลดปล่อยออกมาเมื่อไหร่ ซึ่งไม่มีใครระบุได้
ทั้งนี้ เป็นการให้สัมภาษณ์ระหว่างการประชุมโต๊ะกลม “2012 แผ่นดินไหวข่าวลือหรือความจริง” ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 30 เม.ย. โดยความร่วมมือระหว่างศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านวิศวกรรมแผ่นดินไหวและการสั่นสะเทือน กับหน่วยวิจัยธรณีวิทยาแผ่นดินไหวไหวและธรณีแปรสัณฐานผืนแผ่นดินของเอเชียตะวันออก ณ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย