นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวถึงการประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า ในสัปดาห์หน้าประธานรัฐสภาแจ้งมาว่า จะมีการประชุมเพียงแค่ 1 วัน ซึ่งจะเพิ่มวันประชุมหรือไม่นั้นยังไม่ทราบ
ทั้งนี้ ตนคิดว่าการที่รัฐบาลประกาศชัดเจนว่า จะขยายเวลาการประชุมมีเป้าหมายหลักไม่ใช่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่พิจารณากฎหมายที่ค้าง ดังนั้นการประชุมแก้ไขรัฐธรรมนูญควรจะประชุมเฉพาะวันอังคารเป็นหลัก ส่วนวันจันทร์ ก็ให้เป็นการประชุมวุฒิสภา และในวันพุธ-พฤหัสบดี ให้เป็นการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พิจารณากฎหมายที่ค้างอยู่ในสภา ถ้าเป็นอย่างที่ตนกำหนดไว้ ทุกอย่างก็จะลงตัว ไม่จำเป็นจะต้องขยายการประชุมรัฐสภาเพื่อพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติม
เมื่อถามว่า จะทำให้การประชุมแก้ไขรัฐธรรมนูญ ยืดเยื้อหรือไม่ นายจุรินทร์ กล่าวว่า ก็ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง เพราะผู้สงวนคำแปรญัตติก็มีสิทธิที่จะอภิปราย ตนก็เลยเสนอว่า ถ้าอยากให้การประชุมสั้นลง การประชุม 4 ฝ่ายคือวิปรัฐบาล วิปฝ่ายค้าน วิปวุฒิฯ และกรรมาธิการฯ ควรที่จะต้องดำเนินการอย่างใน มาตรา 291/5 แต่พอมามาตรา 291/6 ดูเหมือนกมธ.เสียงข้างมาก จะไม่ยอมเจรจา เพราะถ้ามีการเจราจากัน และมีการปรับปรุงแก้ไขบางส่วนก็จะทำให้การประชุมสั้นลง
สำหรับมาตรา 291/6 ที่รัฐบาลไม่ยอมปรับปรุง อาจจะเป็นผลมาจากต้องการล็อกสเปก 2 ชั้น คือ ล็อกองค์กรที่จะเสนอชื่อ ส.ส.ร. นักวิชาการ 22 คน รัฐบาลมีความประสงค์ที่จะล็อกสเปก ส.ส.ร. 22 คนนี้ไว้ในเสียงข้างมาก โดยใช้อำนาจประธานรัฐสภาเป็นผู้กำหนดกลไก และการล็อกสเปก ด้วยวิธีลงคะแนน เพื่อให้บล็อกโหวตได้ให้ส.ส.ร.ที่ทำโพลเข้ามา 22 คน เป็นไปตามความต้องการของเสียงข้างมาก ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง เพราะส.ส.ร. อย่างน้อย 22 คน อยู่ในมือรัฐบาล สามารถชี้เป็นชี้ตายได้
นายฉัตรพันธ์ เดชกิจสุนทร ส.ส.กาญจนบุรี พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า จากการลงพื้นที่นั้น ประชาชนได้ร้องเรียนปัญหาของแพง จึงอยากให้รัฐบาลจัดลำดับความสำคัญของปัญหาชาติเสียใหม่ ไม่ใช่มุ่งมั่นจะเอาชนะแต่เรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในสภาฯ จนลืมสิ่งที่เคยแถลงนโยบายเอาไว้ ว่าจะให้ความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาปากท้องเป็นอันดับแรก แต่ในวันนี้ประชาชนต้องเจอผลกระทบจากการขึ้นค่า เอฟที และการตัดโควต้าการใช้ไฟฟ้าฟรี 90 หน่วยของพรรคประชาธิปัตย์ ลดเหลือ 50 หน่วย เท่ากับประชาชนต้องเสียเงินเพิ่มขึ้นท่ามกลางภาวะของแพง ซึ่งถือเป็นการซ้ำเติมประชาชนอย่างหนัก
นายเอกนัฎ พร้อมพันธุ์ ส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ตนได้ติดตามการทำงานของรัฐบาลมาเกือบ 1 ปี รู้สึกผิดหวังอย่างมาก เพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน โดยรัฐบาลไม่ได้ทำตามสัญญาที่ให้ไว้กับประชาชน ปัญหาในขณะนี้ไม่ว่าจะเป็นการขึ้นค่าไฟฟ้า ค่าโดยสารรถประจำทาง รถแท๊กซี่ และราคาพืชผลทางเกษตร รัฐบาลกำลังได้รับเสียงสะท้อนจากประชาชน เห็นได้จากกรณีที่พรรคเพื่อไทย แพ้การเลือกตั้งที่ จ.ปทุมธานี
นายชื่นชอบ คงอุดม ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การมุ่งแก้ไขรัฐธรรมนูญในขณะนี้ เป็นจังหวะที่ผิดเวลา เพราะไม่ใช่เรื่องเร่งด่วนมากไปกว่าปัญหาปากท้องของประชาชน ที่ผ่านมาน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีพฤติกรรมที่ไม่ใส่ใจงานในสภาฯ จึงไม่รู้ว่านายกฯ จะรับฟังปัญหาของประชาชนจากที่ใด
อย่างไรก็ตาม ตนขอเรียกร้องไปยังรัฐบาลว่า ในการเลือกตั้ง ส.ส.ร.ที่จะมีขึ้นนั้น ตนอยากจะให้มีการใส่ช่องที่ระบุว่า "ไม่ต้องการให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ" อยู่ในบัตรเลือกตั้ง เพื่อให้ประชาชนได้เลือกด้วย และถ้ามีประชาชนเลือกช่องดังกล่าวจำนวนมาก รัฐบาลก็ควรจะหยุดความพยายามในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ ตนคิดว่าการที่รัฐบาลประกาศชัดเจนว่า จะขยายเวลาการประชุมมีเป้าหมายหลักไม่ใช่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่พิจารณากฎหมายที่ค้าง ดังนั้นการประชุมแก้ไขรัฐธรรมนูญควรจะประชุมเฉพาะวันอังคารเป็นหลัก ส่วนวันจันทร์ ก็ให้เป็นการประชุมวุฒิสภา และในวันพุธ-พฤหัสบดี ให้เป็นการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พิจารณากฎหมายที่ค้างอยู่ในสภา ถ้าเป็นอย่างที่ตนกำหนดไว้ ทุกอย่างก็จะลงตัว ไม่จำเป็นจะต้องขยายการประชุมรัฐสภาเพื่อพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติม
เมื่อถามว่า จะทำให้การประชุมแก้ไขรัฐธรรมนูญ ยืดเยื้อหรือไม่ นายจุรินทร์ กล่าวว่า ก็ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง เพราะผู้สงวนคำแปรญัตติก็มีสิทธิที่จะอภิปราย ตนก็เลยเสนอว่า ถ้าอยากให้การประชุมสั้นลง การประชุม 4 ฝ่ายคือวิปรัฐบาล วิปฝ่ายค้าน วิปวุฒิฯ และกรรมาธิการฯ ควรที่จะต้องดำเนินการอย่างใน มาตรา 291/5 แต่พอมามาตรา 291/6 ดูเหมือนกมธ.เสียงข้างมาก จะไม่ยอมเจรจา เพราะถ้ามีการเจราจากัน และมีการปรับปรุงแก้ไขบางส่วนก็จะทำให้การประชุมสั้นลง
สำหรับมาตรา 291/6 ที่รัฐบาลไม่ยอมปรับปรุง อาจจะเป็นผลมาจากต้องการล็อกสเปก 2 ชั้น คือ ล็อกองค์กรที่จะเสนอชื่อ ส.ส.ร. นักวิชาการ 22 คน รัฐบาลมีความประสงค์ที่จะล็อกสเปก ส.ส.ร. 22 คนนี้ไว้ในเสียงข้างมาก โดยใช้อำนาจประธานรัฐสภาเป็นผู้กำหนดกลไก และการล็อกสเปก ด้วยวิธีลงคะแนน เพื่อให้บล็อกโหวตได้ให้ส.ส.ร.ที่ทำโพลเข้ามา 22 คน เป็นไปตามความต้องการของเสียงข้างมาก ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง เพราะส.ส.ร. อย่างน้อย 22 คน อยู่ในมือรัฐบาล สามารถชี้เป็นชี้ตายได้
นายฉัตรพันธ์ เดชกิจสุนทร ส.ส.กาญจนบุรี พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า จากการลงพื้นที่นั้น ประชาชนได้ร้องเรียนปัญหาของแพง จึงอยากให้รัฐบาลจัดลำดับความสำคัญของปัญหาชาติเสียใหม่ ไม่ใช่มุ่งมั่นจะเอาชนะแต่เรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในสภาฯ จนลืมสิ่งที่เคยแถลงนโยบายเอาไว้ ว่าจะให้ความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาปากท้องเป็นอันดับแรก แต่ในวันนี้ประชาชนต้องเจอผลกระทบจากการขึ้นค่า เอฟที และการตัดโควต้าการใช้ไฟฟ้าฟรี 90 หน่วยของพรรคประชาธิปัตย์ ลดเหลือ 50 หน่วย เท่ากับประชาชนต้องเสียเงินเพิ่มขึ้นท่ามกลางภาวะของแพง ซึ่งถือเป็นการซ้ำเติมประชาชนอย่างหนัก
นายเอกนัฎ พร้อมพันธุ์ ส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ตนได้ติดตามการทำงานของรัฐบาลมาเกือบ 1 ปี รู้สึกผิดหวังอย่างมาก เพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน โดยรัฐบาลไม่ได้ทำตามสัญญาที่ให้ไว้กับประชาชน ปัญหาในขณะนี้ไม่ว่าจะเป็นการขึ้นค่าไฟฟ้า ค่าโดยสารรถประจำทาง รถแท๊กซี่ และราคาพืชผลทางเกษตร รัฐบาลกำลังได้รับเสียงสะท้อนจากประชาชน เห็นได้จากกรณีที่พรรคเพื่อไทย แพ้การเลือกตั้งที่ จ.ปทุมธานี
นายชื่นชอบ คงอุดม ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การมุ่งแก้ไขรัฐธรรมนูญในขณะนี้ เป็นจังหวะที่ผิดเวลา เพราะไม่ใช่เรื่องเร่งด่วนมากไปกว่าปัญหาปากท้องของประชาชน ที่ผ่านมาน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีพฤติกรรมที่ไม่ใส่ใจงานในสภาฯ จึงไม่รู้ว่านายกฯ จะรับฟังปัญหาของประชาชนจากที่ใด
อย่างไรก็ตาม ตนขอเรียกร้องไปยังรัฐบาลว่า ในการเลือกตั้ง ส.ส.ร.ที่จะมีขึ้นนั้น ตนอยากจะให้มีการใส่ช่องที่ระบุว่า "ไม่ต้องการให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ" อยู่ในบัตรเลือกตั้ง เพื่อให้ประชาชนได้เลือกด้วย และถ้ามีประชาชนเลือกช่องดังกล่าวจำนวนมาก รัฐบาลก็ควรจะหยุดความพยายามในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ