วานนี้(23 เม.ย.55) คณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา จัดการสัมมนาเรื่อง "ธุดงควัตรในป่าคอนกรีต...ถูกที่...ถูกแนวทาง??" โดย นายอำนาจ บัวศิริ รองผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) กล่าวว่า สาเหตุที่พศ.เห็นด้วยกับการธุดงค์เข้าเมืองของวัดพระธรรมกาย เนื่องจากปกติแล้วทางพุทธมณฑลจะจัดธุดงค์เข้าวัดทุกปี แต่ปี2554มาเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมก่อน เลย ทำให้ไม่สามารถจัดได้ ประกอบกับเมื่อพระธรรมกายต้องการธุดงค์เข้าวัดเช่นกันในโอกาสพุทธชยันตี 2,600ปีแห่งการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และต้องการขอแนวร่วม
ทำให้พศ.เห็นว่าเป็นเรื่องดี จึงยินดีร่วมด้วยเพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาออกไปให้มากที่สุด เช่นเดียวกับที่สำนักพุทธจัดสวดมนต์ข้ามปีซึ่งมีวัตถุประสงค์ต้องการเผยแพร่พระพุทธศาสนา ให้รณรงค์ให้มาร่วมสวดมนต์กันมากขึ้น
“การจะเผยแพร่พระพุทธศาสนาในปัจจุบันนี้จะทำได้ลำบากมาก ถ้าขาดการออร์แกร์ไนซ์(บริหารจัดการ) ครีเอชั่น (ความคิดสร้างสรรค์)และอีเว้นต์(กิจกรรม)ขึ้นมาเพื่อให้คนทั้งหมดทำในสิ่งที่เราเห็นว่าดี ไม่มีใครอยากปฎิเสธว่าคำสอนในพระพุทธศาสนาเป็นสิ่งที่ดีแต่ปัญหาคือจะทำอย่างไรให้คนปฎิบัติ ซึ่งตรงนี้ต้องมีการออแกร์ไนซ์ “นายอำนาจ กล่าว
นายอำนาจ กล่าวว่า ขณะนี้เริ่มคิดว่าทำอย่างไรจะส่งออกศาสนาพุทธเป็นสินค้าได้ เรามีวัดไทยในต่างประเทศประมาณ 350 แห่ง โดยถ้าเราทำให้นักธุรกิจต่างชาติเข้าใจและเรียนรู้ถึงอานิสงค์หรือคุณค่าของการปฎิบัติธรรมได้จนกระทั่งเข้ามาเป็นพุทศาสนิกชนได้ คิดว่าต่อไปการค้าขายต่างประเทศของไทยเชื่อว่าจะไม่มีปัญหา ซึ่งอยากให้รัฐบาลเข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุนเพื่อให้การเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลกของไทยให้มีความเป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง
“เราไม่ถือเรื่องวิธีการว่าจะแตกต่างกันอย่างไรเพราะไม่ว่าวิธีไหนก็ล้วนมีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนา เราไม่สามารถรวมสายพุทโธ สายยุบหนอก สายสัมมาอาระหังเข้ามาเป็นสายเดียวกัน แต่สิ่งที่ต้องร่วมกัน คือ ทำอย่างไรเพื่อให้ศาสนาพุทธเป็นที่รู้จักมากขึ้นมากกว่า"นายอำนาจ กล่าว
นายสันติสุข โสภณศิริ กรรมการที่ปรึกษามูลนิธิเฐียรโกเศศ-นาคะประทีป กล่าวว่า พระพุทธศาสนาสำหรับประเทศไทยถือเป็นที่เข้าใจโดยทั่วไปแล้วเป็นศาสนาประจำรัฐไทยแม้ไม่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่ถึงอย่างนั้นการดำเนินการอะไรเกี่ยวกับพุทธศาสนาจะต้องมีความระมัดระวังพอสมควรเพื่อไม่ให้เกิดความรู้สึกแตกต่าง โดยเฉพาะรัฐบาลต้องวางตัวให้เป็นกลาง เพราะจะทำให้เกิดความคิดว่าแล้วศาสนาอื่นรัฐบาลให้การสนับสนุนด้วยหรือไม่
"ตัวอย่างเช่นถ้ารัฐไทยหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปสนับสนุนธุดงค์ธรรมชัยของวัดพระธรรมกายแล้ว ต่อไปหากศาสนาพุทธในสายอื่นๆหรือศาสนาอื่นต้องการจัดกิจกรรมลักษณะเดียวกันโดยอ้างว่ามีวัตถุประสงค์ต้องการเผยแพร่ศาสนาเช่นกันจะได้รับการสนับสนุนเหมือนกันหรือไม่ ถ้าเป็นแบบนี้รัฐบาลจะดำเนินการอย่างไรเรื่องนี้ถือมีความละเอียดอ่อนมาก หากประชาชนส่วนอื่นๆเข้าใจก็ดีไปถ้าไม่เข้าใจรัฐบาลแก้ไขอย่างไร" นายสันติสุข กล่าว
พล.ต.ไชยนาจ ญาติฉิมพลี นายกเปรียญธรรมสมาคมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ไม่ว่าจะเป็นวัดหรือสำนักไหนจะออกวิธีการเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในรูปแบบไหนก็ถือว่าเป็นการพัฒนาและรักษาศาสนาพุทธเอาไว้ จึงเห็นด้วยกับแนวคิดการส่งออกพระพุทธศาสนาให้มากขึ้นโดยการส่งออกพระสงฆ์ที่มีความรู้ความสามารถไปในต่างประเทศเพื่อเผยแพร่ศาสนาพุทธซึ่งจะมีส่วนช่วยในการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศให้แน่นแฟ้นมากขึ้น
"ความมั่นคงชาติถือว่าความมั่นคงศาสนาพุทธมีความสำคัญมากที่สุด แต่ต้องระวังไม่ให้เกิดความรู้สึกแตกแยกเกิดขึ้น" พล.ต.ไชยนาจ กล่าว
ทำให้พศ.เห็นว่าเป็นเรื่องดี จึงยินดีร่วมด้วยเพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาออกไปให้มากที่สุด เช่นเดียวกับที่สำนักพุทธจัดสวดมนต์ข้ามปีซึ่งมีวัตถุประสงค์ต้องการเผยแพร่พระพุทธศาสนา ให้รณรงค์ให้มาร่วมสวดมนต์กันมากขึ้น
“การจะเผยแพร่พระพุทธศาสนาในปัจจุบันนี้จะทำได้ลำบากมาก ถ้าขาดการออร์แกร์ไนซ์(บริหารจัดการ) ครีเอชั่น (ความคิดสร้างสรรค์)และอีเว้นต์(กิจกรรม)ขึ้นมาเพื่อให้คนทั้งหมดทำในสิ่งที่เราเห็นว่าดี ไม่มีใครอยากปฎิเสธว่าคำสอนในพระพุทธศาสนาเป็นสิ่งที่ดีแต่ปัญหาคือจะทำอย่างไรให้คนปฎิบัติ ซึ่งตรงนี้ต้องมีการออแกร์ไนซ์ “นายอำนาจ กล่าว
นายอำนาจ กล่าวว่า ขณะนี้เริ่มคิดว่าทำอย่างไรจะส่งออกศาสนาพุทธเป็นสินค้าได้ เรามีวัดไทยในต่างประเทศประมาณ 350 แห่ง โดยถ้าเราทำให้นักธุรกิจต่างชาติเข้าใจและเรียนรู้ถึงอานิสงค์หรือคุณค่าของการปฎิบัติธรรมได้จนกระทั่งเข้ามาเป็นพุทศาสนิกชนได้ คิดว่าต่อไปการค้าขายต่างประเทศของไทยเชื่อว่าจะไม่มีปัญหา ซึ่งอยากให้รัฐบาลเข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุนเพื่อให้การเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลกของไทยให้มีความเป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง
“เราไม่ถือเรื่องวิธีการว่าจะแตกต่างกันอย่างไรเพราะไม่ว่าวิธีไหนก็ล้วนมีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนา เราไม่สามารถรวมสายพุทโธ สายยุบหนอก สายสัมมาอาระหังเข้ามาเป็นสายเดียวกัน แต่สิ่งที่ต้องร่วมกัน คือ ทำอย่างไรเพื่อให้ศาสนาพุทธเป็นที่รู้จักมากขึ้นมากกว่า"นายอำนาจ กล่าว
นายสันติสุข โสภณศิริ กรรมการที่ปรึกษามูลนิธิเฐียรโกเศศ-นาคะประทีป กล่าวว่า พระพุทธศาสนาสำหรับประเทศไทยถือเป็นที่เข้าใจโดยทั่วไปแล้วเป็นศาสนาประจำรัฐไทยแม้ไม่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่ถึงอย่างนั้นการดำเนินการอะไรเกี่ยวกับพุทธศาสนาจะต้องมีความระมัดระวังพอสมควรเพื่อไม่ให้เกิดความรู้สึกแตกต่าง โดยเฉพาะรัฐบาลต้องวางตัวให้เป็นกลาง เพราะจะทำให้เกิดความคิดว่าแล้วศาสนาอื่นรัฐบาลให้การสนับสนุนด้วยหรือไม่
"ตัวอย่างเช่นถ้ารัฐไทยหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปสนับสนุนธุดงค์ธรรมชัยของวัดพระธรรมกายแล้ว ต่อไปหากศาสนาพุทธในสายอื่นๆหรือศาสนาอื่นต้องการจัดกิจกรรมลักษณะเดียวกันโดยอ้างว่ามีวัตถุประสงค์ต้องการเผยแพร่ศาสนาเช่นกันจะได้รับการสนับสนุนเหมือนกันหรือไม่ ถ้าเป็นแบบนี้รัฐบาลจะดำเนินการอย่างไรเรื่องนี้ถือมีความละเอียดอ่อนมาก หากประชาชนส่วนอื่นๆเข้าใจก็ดีไปถ้าไม่เข้าใจรัฐบาลแก้ไขอย่างไร" นายสันติสุข กล่าว
พล.ต.ไชยนาจ ญาติฉิมพลี นายกเปรียญธรรมสมาคมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ไม่ว่าจะเป็นวัดหรือสำนักไหนจะออกวิธีการเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในรูปแบบไหนก็ถือว่าเป็นการพัฒนาและรักษาศาสนาพุทธเอาไว้ จึงเห็นด้วยกับแนวคิดการส่งออกพระพุทธศาสนาให้มากขึ้นโดยการส่งออกพระสงฆ์ที่มีความรู้ความสามารถไปในต่างประเทศเพื่อเผยแพร่ศาสนาพุทธซึ่งจะมีส่วนช่วยในการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศให้แน่นแฟ้นมากขึ้น
"ความมั่นคงชาติถือว่าความมั่นคงศาสนาพุทธมีความสำคัญมากที่สุด แต่ต้องระวังไม่ให้เกิดความรู้สึกแตกแยกเกิดขึ้น" พล.ต.ไชยนาจ กล่าว