ASTVผู้จัดการรายวัน – กระทรวงท่องเที่ยวฯ เร่งยกมาตรฐานแรงงานไทย สู้ศึกอาเซียน ผนึกสถาบันการศึกษา จัดทำหลักสูตร-ตำรา วางมาตรฐานแรงงานไทย ให้สูงกว่าอาเซียน หวังใช้เป็นอาวุธ ให้แรงงานไทย ต่อสู้ได้ทั้งเชิงรับและเชิงรุก
วานนี้(11เม.ย.55) ในงานสัมมนา”อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยกับการเป็น AEC-ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” จัดโดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานด้านการท่องเที่ยวทั้งจากภาครัฐ เอกชน และกลุ่มเครือข่ายในภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ผู้แทนสถานบันการศึกษา ร่วมรับฟังกว่า 200 คน จากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อ อาทิ สำนักเลขาธิการอาเซียน
ผู้อำนวยการสถาบันนานาชาติเพื่อเอเชียแปซิฟิกศึกษา มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
นางธนิฏฐา มณีโชติ เศวตศิลา รองปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวฯ กล่าวว่า ได้ใช้เงินเกือบ 41 ล้านบาท จากงบที่ได้รับจัดสรรจากปีงบประมาณ 2555 ในการเตรียมความพร้อม ให้แก่บุคคลากรในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เพื่อรองรับเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) ปี 2558 ซึ่งงบประมาณดังกล่าว จะเร่งดำเนินการใน 4 ภาระกิจหลัก ประกอบด้วย โครงการE-Learning การจัดทำระบบประเมิน และ
การจัดทำหลักสูตรอบรมบุคคลากร ภายใต้โจทย์ การสร้างมาตารฐานบุคคลากรของไทย ให้ เหนือกว่า มาตรฐานอาเซียน เพื่อโอกาสในการแข่งขัน , เร่งประชาสัมพันธ์แก่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
***ทำคู่มือการเรียน 10 ภาษาอาเซียน******
นางจันทรา อุไรรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาบุคคลากรท่องเที่ยวและกีฬา สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่า การพัฒฯบุคคลากรจะลงทุนทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ ล่าสุด ร่วมกับ สถาบันการศึกษา จัดทำคู่มือการเรียนการสอน ใน 32 ตำแหน่งงาน ที่จะเปิดเสรีในปี 2558 ใกล้แสร็จแล้ว 6 หลักสูตร และ จะเดินหน้าทำต่ออีก 23 หลัสูตรในปีนี้ และ ปีหน้า อีก 3 หลักสูตร
เบื้องต้น ทำเป็น 2 ภาษา คือ อังกฤษ และ ภาษาไทย ใน 1 หลักสูตรจะมี 2 ชุด คือ ชุดสำหรับครูผู้ฝึกสอน และ อีก 1 ชุด สำหรับผู้เรียน จากนั้น จะพัฒนาคู่มือการสอน เป็นภาษาอื่นๆให้ครบทั้ง 10 ชาติในอาเซียน ซึ่งลำดับต่อไป ตำราน่าจะเป็นภาษา ตากาล็อก ของ ฟิลิปปินส์ และ ภาษาถิ่นของประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งทั้งสองประเทศ ธุรกิจท่องเที่ยวเติบโตสูง
คนไทยที่สนใจก็สามารถไปทำงานได้
“คู่มือการเรียนนี้ ใช้สำหรับการอบรมหลักสูตรระยะสั้น 3 เดือน ถึง 2 ปี เมื่อจบแต่ละคอร์ส จะต้องมีการสอบวัดความรู้ โดยกระทรวงการท่องเที่ยวจะเป็นผู้ออกใบรับรองให้แก่ผู้สอบผ่าน โดย มาตรฐาน ที่ กระทรวงฯวางไว้ จะเน้น เพิ่มศักยภาพด้านการแข่งขันให้แก่คนไทย ใน 3 ด้านหลัก คือ ความรู้ความสามารถ ทักษะการทำงาน และ คุณสมบัติอื่นๆ โดยจะเน้น
แรงงานในระดับผู้บริหาร ส่วนแรงงานระดับล่าง เช่น แม่บ้าน แรงงานซักรีด ซึ่งเป้นกลุ่มไม่ต้องใช้ภาษามากนัก ก็จะเน้นพัฒนาทักษะการทำงาน ให้ดีขึ้น “
อย่างไรก็ตาม จากการ เข้าร่วมประชุมเตรียมความพร้อม เปิดเสรี AEC กับ ตัวแทนจาก 10 ประเทศในกลุ่มอาเซียน พบว่า ในธุรกิจบริการ ไทย เป็นประเทศที่มีความโดดเด่น โดยเฉพาะ การให้บริการอย่างไทย ซึ่ง เราจะดึงความเด่นนี้ให้เป็นจุดขายสำคัญ และ นำเข้ามาใส่ไว้ในหลักสูตร จัดเป็นมาตรฐาน ที่สูงกว่าประเทศอื่นๆ ทำให้ เรามีความพร้อมทั้งเชิงรับและเชิงรุก กล่าวคือ
หากชาติใดจะเข้ามาทำงานในประเทศไทยก็ต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่กระทรวงกำหนดไว้ และคนไทยที่ผ่านมาตรฐาน ตามหลักสูตร ก็สามารถออกไปทำงานยังต่างประเทศได้ ไม่แพ้ชาติอื่น
วานนี้(11เม.ย.55) ในงานสัมมนา”อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยกับการเป็น AEC-ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” จัดโดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานด้านการท่องเที่ยวทั้งจากภาครัฐ เอกชน และกลุ่มเครือข่ายในภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ผู้แทนสถานบันการศึกษา ร่วมรับฟังกว่า 200 คน จากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อ อาทิ สำนักเลขาธิการอาเซียน
ผู้อำนวยการสถาบันนานาชาติเพื่อเอเชียแปซิฟิกศึกษา มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
นางธนิฏฐา มณีโชติ เศวตศิลา รองปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวฯ กล่าวว่า ได้ใช้เงินเกือบ 41 ล้านบาท จากงบที่ได้รับจัดสรรจากปีงบประมาณ 2555 ในการเตรียมความพร้อม ให้แก่บุคคลากรในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เพื่อรองรับเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) ปี 2558 ซึ่งงบประมาณดังกล่าว จะเร่งดำเนินการใน 4 ภาระกิจหลัก ประกอบด้วย โครงการE-Learning การจัดทำระบบประเมิน และ
การจัดทำหลักสูตรอบรมบุคคลากร ภายใต้โจทย์ การสร้างมาตารฐานบุคคลากรของไทย ให้ เหนือกว่า มาตรฐานอาเซียน เพื่อโอกาสในการแข่งขัน , เร่งประชาสัมพันธ์แก่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
***ทำคู่มือการเรียน 10 ภาษาอาเซียน******
นางจันทรา อุไรรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาบุคคลากรท่องเที่ยวและกีฬา สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่า การพัฒฯบุคคลากรจะลงทุนทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ ล่าสุด ร่วมกับ สถาบันการศึกษา จัดทำคู่มือการเรียนการสอน ใน 32 ตำแหน่งงาน ที่จะเปิดเสรีในปี 2558 ใกล้แสร็จแล้ว 6 หลักสูตร และ จะเดินหน้าทำต่ออีก 23 หลัสูตรในปีนี้ และ ปีหน้า อีก 3 หลักสูตร
เบื้องต้น ทำเป็น 2 ภาษา คือ อังกฤษ และ ภาษาไทย ใน 1 หลักสูตรจะมี 2 ชุด คือ ชุดสำหรับครูผู้ฝึกสอน และ อีก 1 ชุด สำหรับผู้เรียน จากนั้น จะพัฒนาคู่มือการสอน เป็นภาษาอื่นๆให้ครบทั้ง 10 ชาติในอาเซียน ซึ่งลำดับต่อไป ตำราน่าจะเป็นภาษา ตากาล็อก ของ ฟิลิปปินส์ และ ภาษาถิ่นของประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งทั้งสองประเทศ ธุรกิจท่องเที่ยวเติบโตสูง
คนไทยที่สนใจก็สามารถไปทำงานได้
“คู่มือการเรียนนี้ ใช้สำหรับการอบรมหลักสูตรระยะสั้น 3 เดือน ถึง 2 ปี เมื่อจบแต่ละคอร์ส จะต้องมีการสอบวัดความรู้ โดยกระทรวงการท่องเที่ยวจะเป็นผู้ออกใบรับรองให้แก่ผู้สอบผ่าน โดย มาตรฐาน ที่ กระทรวงฯวางไว้ จะเน้น เพิ่มศักยภาพด้านการแข่งขันให้แก่คนไทย ใน 3 ด้านหลัก คือ ความรู้ความสามารถ ทักษะการทำงาน และ คุณสมบัติอื่นๆ โดยจะเน้น
แรงงานในระดับผู้บริหาร ส่วนแรงงานระดับล่าง เช่น แม่บ้าน แรงงานซักรีด ซึ่งเป้นกลุ่มไม่ต้องใช้ภาษามากนัก ก็จะเน้นพัฒนาทักษะการทำงาน ให้ดีขึ้น “
อย่างไรก็ตาม จากการ เข้าร่วมประชุมเตรียมความพร้อม เปิดเสรี AEC กับ ตัวแทนจาก 10 ประเทศในกลุ่มอาเซียน พบว่า ในธุรกิจบริการ ไทย เป็นประเทศที่มีความโดดเด่น โดยเฉพาะ การให้บริการอย่างไทย ซึ่ง เราจะดึงความเด่นนี้ให้เป็นจุดขายสำคัญ และ นำเข้ามาใส่ไว้ในหลักสูตร จัดเป็นมาตรฐาน ที่สูงกว่าประเทศอื่นๆ ทำให้ เรามีความพร้อมทั้งเชิงรับและเชิงรุก กล่าวคือ
หากชาติใดจะเข้ามาทำงานในประเทศไทยก็ต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่กระทรวงกำหนดไว้ และคนไทยที่ผ่านมาตรฐาน ตามหลักสูตร ก็สามารถออกไปทำงานยังต่างประเทศได้ ไม่แพ้ชาติอื่น