วานนี้ (17 เม.ย.) นายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการประชุมครม. ว่า ที่ประชุมเห็นชอบโครงการนำที่ราชพัสดุไปสนับสนุนการตั้งสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ(เอ็นจีวี) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยการนำพื้นที่ว่างที่ส่วนราชการยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ ไปจัดตั้งสถานีบริการเอ็นจีวี เพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลด้านพลังงานและแก้ไขปัญหาสถานที่ให้บริการก๊าซเอ็นจีวีไม่เพียงพอ
ทั้งนี้จากการสำรวจที่ราชพัสดุที่เหมาะสมในการจัดตั้งสถานีบริการเอ็นจีวี เบื้องต้นในเขตกทม. มีจำนวน 10 แห่ง ได้แก่ พื้นที่บริเวณ แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี ใช้ประโยชน์โดยเรือนจำพิเศษมีนบุรี ,พื้นที่ย่านแขวงบางจาก เขตพระโขนง ใช้ประโยชน์โดยกรมการขนส่งทางอากาศ, พื้นที่แขวงบางบอน เขตบางบอน ใช้ประโยชน์เป็นที่ตั้งของวิทยาลัยเทคนิคราชสิทธาราม, พื้นที่ย่านบางขุนเทียน ซึ่งเป็นสำนักงานพัฒนาที่ดินชายทะเลเขต 2 กรมพัฒนาที่ดิน, พื้นที่เขตบางเขน ใช้ประโยชน์ในราชการหมวดการทางบางเขน
นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ย่านบางขุนเทียน เขตจอมทอง ใช้ประโยชน์เป็นในราชการสำนักงานสรรพากรเขตพื้นที่ 15, ย่านทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ ใช้ประโยชน์โดยบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด, ย่านแขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน ใช้ประโยชน์ในราชการสถาบันพัฒนาข้าราชการกรมที่ดิน, แปลงย่านแขวงอนุเสาวรีย์ เขตบางเขน ใช้ประโยชน์ในราชการทหารบก (กรมยุทธบริการ), ย่านแขวงสีกัน เขตดอนเมือง ใช้ประโยชน์ในราชการสถานีโทรคมนาคมทหารทุ่งสีกัน
จากการสำรวจของกรมธนารักษ์ พบว่าที่ราชพัสดุทั้ง 10 แปลง ยังมีที่ว่างที่สามารถนำมาสร้างเป็นสถานีบริการก๊าซเอ็นจีวี ได้ แต่การที่จะให้ส่วนราชการนำที่ดินที่ยังว่างอยู่ทั้งหมดมาให้กรมธนารักษ์เพื่อนำมาพัฒนาได้ จำเป็นต้องให้ครม.มีมติให้ส่วนราชการยินยอมก่อน
ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.). เสนอความเห็นว่า เพื่อให้การพัฒนาสถานีเอ็นจีวีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับสถานการณ์ขยายสถานีบริการเอ็นจีวีของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) จึงเห็นควรให้กรมธนารักษ์นำเรื่องการใช้ที่ราชพัสดุไปหารือรายละเอียดกับ ปตท.เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมของการใช้พื้นที่ที่สอดคล้องกับแนวท่อก๊าซธรรมชาติ หรือสถานีแม่ที่มีอยู่ในปัจจุบัน และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของ ปตท.ตลอดจนข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความชัดเจนของความเป็นไปได้ในการจัดตั้งสถานีบริการเอ็นจีวี ก่อนทำความตกลงกับหน่วยงานผู้ครอบครองพื้นที่ราชพัสดุดังกล่าว
ทั้งนี้จากการสำรวจที่ราชพัสดุที่เหมาะสมในการจัดตั้งสถานีบริการเอ็นจีวี เบื้องต้นในเขตกทม. มีจำนวน 10 แห่ง ได้แก่ พื้นที่บริเวณ แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี ใช้ประโยชน์โดยเรือนจำพิเศษมีนบุรี ,พื้นที่ย่านแขวงบางจาก เขตพระโขนง ใช้ประโยชน์โดยกรมการขนส่งทางอากาศ, พื้นที่แขวงบางบอน เขตบางบอน ใช้ประโยชน์เป็นที่ตั้งของวิทยาลัยเทคนิคราชสิทธาราม, พื้นที่ย่านบางขุนเทียน ซึ่งเป็นสำนักงานพัฒนาที่ดินชายทะเลเขต 2 กรมพัฒนาที่ดิน, พื้นที่เขตบางเขน ใช้ประโยชน์ในราชการหมวดการทางบางเขน
นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ย่านบางขุนเทียน เขตจอมทอง ใช้ประโยชน์เป็นในราชการสำนักงานสรรพากรเขตพื้นที่ 15, ย่านทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ ใช้ประโยชน์โดยบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด, ย่านแขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน ใช้ประโยชน์ในราชการสถาบันพัฒนาข้าราชการกรมที่ดิน, แปลงย่านแขวงอนุเสาวรีย์ เขตบางเขน ใช้ประโยชน์ในราชการทหารบก (กรมยุทธบริการ), ย่านแขวงสีกัน เขตดอนเมือง ใช้ประโยชน์ในราชการสถานีโทรคมนาคมทหารทุ่งสีกัน
จากการสำรวจของกรมธนารักษ์ พบว่าที่ราชพัสดุทั้ง 10 แปลง ยังมีที่ว่างที่สามารถนำมาสร้างเป็นสถานีบริการก๊าซเอ็นจีวี ได้ แต่การที่จะให้ส่วนราชการนำที่ดินที่ยังว่างอยู่ทั้งหมดมาให้กรมธนารักษ์เพื่อนำมาพัฒนาได้ จำเป็นต้องให้ครม.มีมติให้ส่วนราชการยินยอมก่อน
ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.). เสนอความเห็นว่า เพื่อให้การพัฒนาสถานีเอ็นจีวีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับสถานการณ์ขยายสถานีบริการเอ็นจีวีของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) จึงเห็นควรให้กรมธนารักษ์นำเรื่องการใช้ที่ราชพัสดุไปหารือรายละเอียดกับ ปตท.เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมของการใช้พื้นที่ที่สอดคล้องกับแนวท่อก๊าซธรรมชาติ หรือสถานีแม่ที่มีอยู่ในปัจจุบัน และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของ ปตท.ตลอดจนข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความชัดเจนของความเป็นไปได้ในการจัดตั้งสถานีบริการเอ็นจีวี ก่อนทำความตกลงกับหน่วยงานผู้ครอบครองพื้นที่ราชพัสดุดังกล่าว