ปัญญาพลวัตร
โดย...พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต
ในระหว่างช่วงวันหยุดสงกรานต์ อันเป็นประเพณีดั้งเดิมของไทยที่มีรากฐานอยู่บนความสัมพันธ์ทางสังคมแบบเอื้ออาทร ผมอยากทบทวนการเกิดของกระบวนการโลกาภิวัฒน์ โดยเริ่มต้นจากการแนะนำแนวคิดของนักวิชาการด้านทฤษฎีโลกาภิวัฒน์คนหนึ่งที่ชื่อว่า Roland Robertson ซึ่งได้เสนอแผนผังเส้นทางของโลกาภิวัฒน์จากอดีตถึงปัจุจุบัน จากนั้นผมจะชี้ให้เห็นว่ากระบวนการโลกาภิวัฒน์และแบบแผนของการพัฒนาและการบริหารของประเทศต่างๆ มีผลต่อการทำลายล้างมนุษยชาติและโลกที่เราอาศัยอยู่อย่างไร และหากเราจะหยุดยั้งหายนะพิบัติเช่นนี้ เราควรจะมีแนวทางอย่างไรบ้าง
Robertson เห็นว่าโลกาภิวัฒน์เกิดขึ้นเป็นเวลานานแล้ว แต่กระบวนการนี้มีอัตราความเร่งเพิ่มขึ้นและมีขอบข่ายของผลกระทบที่กว้างขวางและลึกซึ้งในยุคปัจจุบัน Robertson จำแนกโลกาภิวัฒน์ออกเป็นห้าระยะนับตั้งแต่ศริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมาซึ่งประกอบด้วย ระยะก่อกำเนิด (the germinal phase) ระยะเริ่มพัฒนา (the incipient phase) ระยะโจนทะยาน (the take-off phase) ระยะต่อสู้เพื่ออำนาจนำ (the struggle-for-hegemony phase) และระยะไม่แน่นอน (the uncertainty phase)
ระยะก่อกำเนิดของโลกาภิวัฒน์เกิดขึ้นและดำรงอยู่ในทวีปยุโรปจากช่วงต้นศตวรรษที่ 15 ถึง กลางศตวรรษที่ 18 ในระยะนี้มีการเกิดขึ้นและการเติบโตของประเทศต่างๆในยุโรปในลักษณะที่เป็น “รัฐชาติ”ขึ้นมาทดแทนระบอบศักดินาสวามิภักดิ์ (feudalism)แบบเก่า มีการขยายตัวทางการค้าและระบบเศรษฐกิจแบบเงินตรา มีกระบวนการฟื้นฟูศิลปะวิทยาการทำให้เกิดการพัฒนาทางปัญญา มีการเกิดขึ้นของความคิดแบบใหม่เกี่ยวกับมนุษยชาติ การเกิดระบบคิดแบบวิทยาศาสตร์ซึ่งมีการนำเสนอสิ่งที่เป็นศูนย์กลางจักรวาลขึ้นมาใหม่ จากเดิมที่มองว่าโลกเป็นศูนย์กลางจักรวาลก็ถูกท้าทายด้วย “ทฤษฎีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางจักรวาล” และมีการเขียนวรรณกรรมในรูปแบบและเนื้อหาใหม่ขึ้นมา สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นพร้อมกับความเสื่อมถอยของอำนาจครอบงำศาสนจักรคาทอลิก และมีการปฏิรูปศาสนาทำให้เกิดลัทธิใหม่ในศาสนาคริสต์ขึ้นมาส่งผลให้ความเป็นสามัญการ(generalization)ของความเชื่อทางศาสนาแบบคาทอลิกลดอิทธิพลลงไป
ระยะที่สองเป็นระยะเริ่มการพัฒนา ดำรงอยู่ในยุโรประหว่างกลางศวรรตที่ 18 ถึงปลายศวรรตที่ 19 สิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนในระยะนี้คือ ความคิดเกี่ยวกับความเหมือนและความเป็นหนึ่งเดียวของรัฐ เกิดการตกผลึกของมโนทัศน์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการขึ้นมา เกิดจินตภาพเกี่ยวกับลักษณะมาตรฐานของปัจเจกชนที่เป็นพลเมือง และมีแนวคิดที่เป็นรูปธรรมเกี่ยวกับมนุษยชาติมากยิ่งขึ้น มีการให้ความสำคัญและเห็นคุณค่าของมนุษย์มากขึ้น เน้นความมีเสรีภาพในการคิดของมนุษย์ รวมทั้งการเกิดขึ้นของทฤษฎีประชาธิปไตย และทฤษฎีการปฏิวัติสังคม ซึ่งมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของหลายประเทศในโลก ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเกิดการเพิ่มขึ้นของการประชุม ข้อตกลง ระเบียบ การสื่อสาร และองค์การระหว่างประเทศ และเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาสิทธิในการเข้าไปเป็นสมาชิกประชาคมโลกของประเทศที่ไม่อยู่ในทวีปยุโรป การถกเถียงระหว่างความคิดแบบลัทธิชาตินิยม และสากลนิยมเป็นไปอย่างเข้มข้น ยิ่งกว่านั้นการปฏิวัติอุตสาหกรรมส่งผลให้เกิดการจัดรากฐานโครงสร้างใหม่เกี่ยวกับกระบวนการผลิตและการคมนาคม
ระยะที่สามการโจนทะยาน ดำรงอยู่ระหว่างช่วงปลายศตวรรษที่ 19 (1870) ถึงต้นศตวรรษที่ 20 (1920) มีการพัฒนาของสังคมประชาชาติ เกิดแนวคิดเกี่ยวกับลักษณะสากลของปัจเจกบุคคล (แต่มีพื้นฐานจากลักษณะของเพศชาย) มีการขยายตัวของแนวคิดที่ทำให้มนุษยชาติเป็นหนึ่งเดียว แนวความคิดเกี่ยวกับ ”สังคมระหว่างประเทศ” เพียงหนึ่งเดียวเกิดขึ้น แนวคิดนี้มีลักษณะที่ใช้ยุโรปเป็นศูนย์กลาง และมีประเทศที่ไม่ใช่ยุโรปเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่ถูกนับรวมเข้ามาอยู่ในสังคมระหว่างประเทศ ความคิดนี้ถูกแพร่กระจายผ่าน “สถาบันรัฐชาติ” ซึ่งเป็นสถาบันที่เกิดขึ้นและพัฒนาในทวีปยุโรป ยิ่งกว่านั้นก็เกิดการเพิ่มขึ้นทั้งด้านปริมาณและความเร่งของรูปแบบของการสื่อสารในระดับโลก อย่างไรก็ตามมีประเทศจำนวนมากไม่ถูกนับรวมเข้ามาในกระบวนการนี้ ในยุคนี้มีการพัฒนาของการแข่งขันในระดับโลกหลายด้านขึ้นมา เช่น การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก และ รางวัลโนเบล
ระยะที่สี่ การต่อสู้เพื่ออำนาจนำ ดำรงอยู่ระหว่างกลางทศวรรษ 1920s ถึงปลาย ทศวรรษ 1960s ซึ่งมีสภาวะความขัดแย้งและสงครามอย่างเข้มข้นเกิดขึ้นเพื่อช่วงชิงอำนาจนำในระดับโลก โดยเฉพาะสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งมีความขัดแย้งเกี่ยวแนวคิด “ความเป็นสมัยใหม่” ของสังคมโลกระหว่างฝ่ายพันธมิตร (allies) กับฝ่ายอักษะ (axis) จากนั้นก็มีการช่วงชิงอำนาจนำระหว่างแนวคิดทุนนิยม กับสังคมนิยม อันเกิดเป็นภาวะของสงครามเย็น และมีภาวะของการคุกคามของความเป็นไปได้ในการเกิดสงครามโลกครั้งที่สาม ในยุคนี้มีการจัดตั้งสันนิบาติชาติแต่ตั้งได้ไม่นานก็ถูกยกเลิกไป จากนั้นก็ตั้งสหประชาชาติขึ้นมาแทน และมีการสถาปนาหลักการของความเป็นอิสระของชาติขึ้นมาใช้เป็นหลักการสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในระยะนี้ของกระบวนการโลกาภิวัตน์ ธรรมชาติและความคาดหวังของมนุษย์ได้รับอิทธิพลจากความหายนะของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของพรรคนาซี และผลกระทบจากความหายนะของระเบิดปรมาณูที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเอาไปใช้กับประเทศญี่ปุ่นช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
ระยะที่ห้า ระยะความไม่แน่นอน เริ่มต้นในปลายทศวรรษ 1960s และเริ่มแสดงแนวโน้มของวิกฤติการณ์ในช่วงต้นทศวรรษ 1990s เป็นต้นมา ระยะนี้มีการเน้นจิตสำนึกระดับโลก การส่งมนุษย์ไปดวงจันทร์ มีการเน้นค่านิยมหลังวัตถุนิยม (post-materialist values) เช่น การให้ความสำคัญกับความรู้สึกเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย เสรีภาพของการแสดงออกทางความคิดเห็น และการพึงพอใจในการพัฒนาปัญญาและสุนทรียภาพ
สงครามเย็นได้สิ้นสุดลงในยุคนี้และได้สร้างปัญหาเกี่ยวกับสิทธิและการเข้าถึงความรู้และอาวุธนิวเคลียร์ สถาบันระดับโลกและขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมขยายตัวเพิ่มขึ้น มีการให้ความสำคัญและสนใจในการสื่อสารระดับโลกอย่างเข้มข้น สังคมมีการเผชิญกับปัญหาของความแตกต่างทางวัฒนธรรมและเชื้อชาติมากขึ้น แนวคิดเกี่ยวกับปัจเจกชนมีความซับซ้อนมากขึ้นตามลักษณะของเพศสภาพ ชาติพันธุ์ และเชื้อชาติ สิทธิมนุษยชนกลายเป็นประเด็นในระดับโลก ระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีความยืดหยุ่นมากขึ้น และสิ้นสุดของความเป็นขั้วขัดแย้ง ความตระหนักเกี่ยวกับมนุษยชาติในฐานะที่เป็นเผ่าพันธุ์เดียวกันขยายตัวออกไป ผ่านการเคลื่อนไหวของขบวนการสิ่งแวดล้อม ความสนใจเกี่ยวกับแนวคิดประชาสังคมโลกและพลเมืองโลกเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง มีการผนึกแน่นของระบบการสื่อสารระดับโลกที่เชื่อมโยงเป็นเครือข่าย ขณะเดียวกันก็เกิดขบวนการเคลื่อนไหวในการลดทอนโลกาภิวัฒน์แบบเดิมและการจัดระบบโลกาภิวัฒน์ใหม่จากกลุ่มผู้นับถือศาสนาอิสลามบางกลุ่มขึ้นมา
แนวคิดเกี่ยวกับขั้นตอนของโลกาภิวัฒน์ของ Robertson เป็นการแสดงลักษณะสำคัญของแต่ละยุคสมัยที่ส่งผลต่อชุมชนนานาชาติ จะเห็นได้ว่าในสี่ยุคแรกนั้นลักษณะของการเป็นโลกภิวัฒน์ถูกกำหนดมาจากความระบบคิด ความเชื่อ ค่านิยม และวัฒนธรรมของสังคมและการเมืองในประเทศยุโรปทั้งสิ้น จากนั้นก็มีการแพร่ขยายออกไปสู่ส่วนอื่นๆของโลกโดยใช้ลัทธิการล่าอาณานิคมซึ่งอาศัยความเหนือกว่าของกำลังอาวุธและกระบวนการผลิตด้านอุตสาหกรรม เป็นกลไกหลักในการเข้าไปครอบครอง ครอบงำและถ่ายทอดความคิด ความเชื่อ และค่านิยมไปสู่ประเทศต่างๆ
ส่วนในยุคที่ห้าซึ่ง Robertson ระบุว่าเป็นยุคแห่งความไม่แน่นอนนั้น อันที่จริงเกิดจากกระบวนปฏิสัมพันธ์ที่ซับซ้อนมากขึ้นของการสื่อสาร ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การจัดการระบบเศรษฐกิจ การเมือง การใช้ทรัพยากร และทิศทางการพัฒนาสังคมของแต่ละประเทศ ความไม่แน่นอนนี้เกิดขึ้นในหลายด้าน
ความไม่แน่นอนทางการเมืองระหว่างประเทศ เกิดจากภาวะที่การรวมศูนย์อำนาจของประเทศมหาอำนาจกำลังอยู่ในภาวะเสื่อมสลาย ทำให้เกิดกลุ่มอำนาจใหม่ทางการเมืองระดับโลกขึ้นมาหลายกลุ่ม การท้าทายอำนาจการครอบงำของตะวันตกจากกลุ่มก่อการร้ายระหว่างประเทศ การพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของประเทศอิหร่านและเกาหลีเหนือ การตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนในกลุ่มประเทศอาหรับที่ทำให้ผู้ปกครองดั้งเดิมและอำนาจเดิมแตกสลายซึ่งทำให้ประเทศเหล่านั้นต้องจัดระบบการเมืองขึ้นมาใหม่ แต่ระหว่างการสร้างระบอบการเมืองแบบใหม่ขึ้นมาความสับสนอลหม่านทางการเมืองก็เกิดขึ้นและอาจจะส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ในระดับโลกได้
ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจจากภาวการณ์ไร้ธรรมาภิบาลของบริษัทเอกชนในประเทศตะวันตกอย่างสหรัฐอเมริกา และประเทศอื่นๆ ผนวกกับความไร้ธรรมาภิบาลในการบริหารประเทศ การใช้นโยบายประชานิยม และการทุจริตของรัฐบาลในประเทศแถบเอเชียอย่างประเทศไทย หรือประเทศในยุโรปอย่างประเทศกรีซ รวมทั้งประเทศในละตินอเมริกา และอาฟริกาอีกหลายประเทศ ส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศเหล่านั้นมีปัญหา เกิดวิกฤตการณ์ และสร้างผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ความไม่แน่นอนของภัยพิบัติทางธรรมชาติอันเป็นผลมาจากการใช้ทรัพยากรธรรมและการทำลายสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องยาวนานของมนุษย์ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้โลกร้อนขึ้น เกิดความแปรปรวนของดินฟ้าอากาศและสภาพทางธรณีวิทยาอันนำไปสู่ การเกิดพายุ การเกิดอุทกภัย แผ่นดินไหว คลื่นสินามิ หมอกควันพิษ ซึ่งกระทบต่อพื้นที่ในอาณาบริเวณที่กว้างขวางอย่างไร้พรมแดน อาจกล่าวได้ว่าแม้กระทั่งภัยพิบัติก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของโลกาภิวัฒน์ไปแล้ว
เป็นที่ชัดเจนว่าภาวะความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นในหลากหลายมิติทำให้ระบบการเมืองระหว่างประเทศ วิธีการจัดการบริหารเศรษฐกิจ ระบบการจัดการกับภัยพิบัติ และระบบความสัมพันธ์ทางสังคมแบบเดิมไม่อาจรับมือกับความไม่แน่นอนเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความจำเป็นของการเปลี่ยนแปลงระบบความคิดและการบริหารจัดการรัฐ เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคมทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติจึงเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
หากยังมนุษย์ต้องการรักษาเผ่าพันธุ์ของตนเองให้ยืนยาวต่อไป มนุษย์จำเป็นที่ต้องลดและเลิกพฤติกรรมและการกระทำในการทำลายตนเองและโลกให้หมดไปในที่สุด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ การไร้ธรรมาภิบาลในการบริหารประเทศและในการจัดการกับระบบเศรษฐกิจ การทำลายสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติแบบล้างผลาญ และการเกลียดชังระหว่างมนุษย์ด้วยกันเอง หาไม่แล้วอีกเพียงไม่นาน มนุษยชาติก็อาจถูกลบออกไปจากประวัติศาสตร์ของจักรวาล
โดย...พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต
ในระหว่างช่วงวันหยุดสงกรานต์ อันเป็นประเพณีดั้งเดิมของไทยที่มีรากฐานอยู่บนความสัมพันธ์ทางสังคมแบบเอื้ออาทร ผมอยากทบทวนการเกิดของกระบวนการโลกาภิวัฒน์ โดยเริ่มต้นจากการแนะนำแนวคิดของนักวิชาการด้านทฤษฎีโลกาภิวัฒน์คนหนึ่งที่ชื่อว่า Roland Robertson ซึ่งได้เสนอแผนผังเส้นทางของโลกาภิวัฒน์จากอดีตถึงปัจุจุบัน จากนั้นผมจะชี้ให้เห็นว่ากระบวนการโลกาภิวัฒน์และแบบแผนของการพัฒนาและการบริหารของประเทศต่างๆ มีผลต่อการทำลายล้างมนุษยชาติและโลกที่เราอาศัยอยู่อย่างไร และหากเราจะหยุดยั้งหายนะพิบัติเช่นนี้ เราควรจะมีแนวทางอย่างไรบ้าง
Robertson เห็นว่าโลกาภิวัฒน์เกิดขึ้นเป็นเวลานานแล้ว แต่กระบวนการนี้มีอัตราความเร่งเพิ่มขึ้นและมีขอบข่ายของผลกระทบที่กว้างขวางและลึกซึ้งในยุคปัจจุบัน Robertson จำแนกโลกาภิวัฒน์ออกเป็นห้าระยะนับตั้งแต่ศริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมาซึ่งประกอบด้วย ระยะก่อกำเนิด (the germinal phase) ระยะเริ่มพัฒนา (the incipient phase) ระยะโจนทะยาน (the take-off phase) ระยะต่อสู้เพื่ออำนาจนำ (the struggle-for-hegemony phase) และระยะไม่แน่นอน (the uncertainty phase)
ระยะก่อกำเนิดของโลกาภิวัฒน์เกิดขึ้นและดำรงอยู่ในทวีปยุโรปจากช่วงต้นศตวรรษที่ 15 ถึง กลางศตวรรษที่ 18 ในระยะนี้มีการเกิดขึ้นและการเติบโตของประเทศต่างๆในยุโรปในลักษณะที่เป็น “รัฐชาติ”ขึ้นมาทดแทนระบอบศักดินาสวามิภักดิ์ (feudalism)แบบเก่า มีการขยายตัวทางการค้าและระบบเศรษฐกิจแบบเงินตรา มีกระบวนการฟื้นฟูศิลปะวิทยาการทำให้เกิดการพัฒนาทางปัญญา มีการเกิดขึ้นของความคิดแบบใหม่เกี่ยวกับมนุษยชาติ การเกิดระบบคิดแบบวิทยาศาสตร์ซึ่งมีการนำเสนอสิ่งที่เป็นศูนย์กลางจักรวาลขึ้นมาใหม่ จากเดิมที่มองว่าโลกเป็นศูนย์กลางจักรวาลก็ถูกท้าทายด้วย “ทฤษฎีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางจักรวาล” และมีการเขียนวรรณกรรมในรูปแบบและเนื้อหาใหม่ขึ้นมา สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นพร้อมกับความเสื่อมถอยของอำนาจครอบงำศาสนจักรคาทอลิก และมีการปฏิรูปศาสนาทำให้เกิดลัทธิใหม่ในศาสนาคริสต์ขึ้นมาส่งผลให้ความเป็นสามัญการ(generalization)ของความเชื่อทางศาสนาแบบคาทอลิกลดอิทธิพลลงไป
ระยะที่สองเป็นระยะเริ่มการพัฒนา ดำรงอยู่ในยุโรประหว่างกลางศวรรตที่ 18 ถึงปลายศวรรตที่ 19 สิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนในระยะนี้คือ ความคิดเกี่ยวกับความเหมือนและความเป็นหนึ่งเดียวของรัฐ เกิดการตกผลึกของมโนทัศน์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการขึ้นมา เกิดจินตภาพเกี่ยวกับลักษณะมาตรฐานของปัจเจกชนที่เป็นพลเมือง และมีแนวคิดที่เป็นรูปธรรมเกี่ยวกับมนุษยชาติมากยิ่งขึ้น มีการให้ความสำคัญและเห็นคุณค่าของมนุษย์มากขึ้น เน้นความมีเสรีภาพในการคิดของมนุษย์ รวมทั้งการเกิดขึ้นของทฤษฎีประชาธิปไตย และทฤษฎีการปฏิวัติสังคม ซึ่งมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของหลายประเทศในโลก ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเกิดการเพิ่มขึ้นของการประชุม ข้อตกลง ระเบียบ การสื่อสาร และองค์การระหว่างประเทศ และเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาสิทธิในการเข้าไปเป็นสมาชิกประชาคมโลกของประเทศที่ไม่อยู่ในทวีปยุโรป การถกเถียงระหว่างความคิดแบบลัทธิชาตินิยม และสากลนิยมเป็นไปอย่างเข้มข้น ยิ่งกว่านั้นการปฏิวัติอุตสาหกรรมส่งผลให้เกิดการจัดรากฐานโครงสร้างใหม่เกี่ยวกับกระบวนการผลิตและการคมนาคม
ระยะที่สามการโจนทะยาน ดำรงอยู่ระหว่างช่วงปลายศตวรรษที่ 19 (1870) ถึงต้นศตวรรษที่ 20 (1920) มีการพัฒนาของสังคมประชาชาติ เกิดแนวคิดเกี่ยวกับลักษณะสากลของปัจเจกบุคคล (แต่มีพื้นฐานจากลักษณะของเพศชาย) มีการขยายตัวของแนวคิดที่ทำให้มนุษยชาติเป็นหนึ่งเดียว แนวความคิดเกี่ยวกับ ”สังคมระหว่างประเทศ” เพียงหนึ่งเดียวเกิดขึ้น แนวคิดนี้มีลักษณะที่ใช้ยุโรปเป็นศูนย์กลาง และมีประเทศที่ไม่ใช่ยุโรปเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่ถูกนับรวมเข้ามาอยู่ในสังคมระหว่างประเทศ ความคิดนี้ถูกแพร่กระจายผ่าน “สถาบันรัฐชาติ” ซึ่งเป็นสถาบันที่เกิดขึ้นและพัฒนาในทวีปยุโรป ยิ่งกว่านั้นก็เกิดการเพิ่มขึ้นทั้งด้านปริมาณและความเร่งของรูปแบบของการสื่อสารในระดับโลก อย่างไรก็ตามมีประเทศจำนวนมากไม่ถูกนับรวมเข้ามาในกระบวนการนี้ ในยุคนี้มีการพัฒนาของการแข่งขันในระดับโลกหลายด้านขึ้นมา เช่น การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก และ รางวัลโนเบล
ระยะที่สี่ การต่อสู้เพื่ออำนาจนำ ดำรงอยู่ระหว่างกลางทศวรรษ 1920s ถึงปลาย ทศวรรษ 1960s ซึ่งมีสภาวะความขัดแย้งและสงครามอย่างเข้มข้นเกิดขึ้นเพื่อช่วงชิงอำนาจนำในระดับโลก โดยเฉพาะสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งมีความขัดแย้งเกี่ยวแนวคิด “ความเป็นสมัยใหม่” ของสังคมโลกระหว่างฝ่ายพันธมิตร (allies) กับฝ่ายอักษะ (axis) จากนั้นก็มีการช่วงชิงอำนาจนำระหว่างแนวคิดทุนนิยม กับสังคมนิยม อันเกิดเป็นภาวะของสงครามเย็น และมีภาวะของการคุกคามของความเป็นไปได้ในการเกิดสงครามโลกครั้งที่สาม ในยุคนี้มีการจัดตั้งสันนิบาติชาติแต่ตั้งได้ไม่นานก็ถูกยกเลิกไป จากนั้นก็ตั้งสหประชาชาติขึ้นมาแทน และมีการสถาปนาหลักการของความเป็นอิสระของชาติขึ้นมาใช้เป็นหลักการสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในระยะนี้ของกระบวนการโลกาภิวัตน์ ธรรมชาติและความคาดหวังของมนุษย์ได้รับอิทธิพลจากความหายนะของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของพรรคนาซี และผลกระทบจากความหายนะของระเบิดปรมาณูที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเอาไปใช้กับประเทศญี่ปุ่นช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
ระยะที่ห้า ระยะความไม่แน่นอน เริ่มต้นในปลายทศวรรษ 1960s และเริ่มแสดงแนวโน้มของวิกฤติการณ์ในช่วงต้นทศวรรษ 1990s เป็นต้นมา ระยะนี้มีการเน้นจิตสำนึกระดับโลก การส่งมนุษย์ไปดวงจันทร์ มีการเน้นค่านิยมหลังวัตถุนิยม (post-materialist values) เช่น การให้ความสำคัญกับความรู้สึกเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย เสรีภาพของการแสดงออกทางความคิดเห็น และการพึงพอใจในการพัฒนาปัญญาและสุนทรียภาพ
สงครามเย็นได้สิ้นสุดลงในยุคนี้และได้สร้างปัญหาเกี่ยวกับสิทธิและการเข้าถึงความรู้และอาวุธนิวเคลียร์ สถาบันระดับโลกและขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมขยายตัวเพิ่มขึ้น มีการให้ความสำคัญและสนใจในการสื่อสารระดับโลกอย่างเข้มข้น สังคมมีการเผชิญกับปัญหาของความแตกต่างทางวัฒนธรรมและเชื้อชาติมากขึ้น แนวคิดเกี่ยวกับปัจเจกชนมีความซับซ้อนมากขึ้นตามลักษณะของเพศสภาพ ชาติพันธุ์ และเชื้อชาติ สิทธิมนุษยชนกลายเป็นประเด็นในระดับโลก ระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีความยืดหยุ่นมากขึ้น และสิ้นสุดของความเป็นขั้วขัดแย้ง ความตระหนักเกี่ยวกับมนุษยชาติในฐานะที่เป็นเผ่าพันธุ์เดียวกันขยายตัวออกไป ผ่านการเคลื่อนไหวของขบวนการสิ่งแวดล้อม ความสนใจเกี่ยวกับแนวคิดประชาสังคมโลกและพลเมืองโลกเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง มีการผนึกแน่นของระบบการสื่อสารระดับโลกที่เชื่อมโยงเป็นเครือข่าย ขณะเดียวกันก็เกิดขบวนการเคลื่อนไหวในการลดทอนโลกาภิวัฒน์แบบเดิมและการจัดระบบโลกาภิวัฒน์ใหม่จากกลุ่มผู้นับถือศาสนาอิสลามบางกลุ่มขึ้นมา
แนวคิดเกี่ยวกับขั้นตอนของโลกาภิวัฒน์ของ Robertson เป็นการแสดงลักษณะสำคัญของแต่ละยุคสมัยที่ส่งผลต่อชุมชนนานาชาติ จะเห็นได้ว่าในสี่ยุคแรกนั้นลักษณะของการเป็นโลกภิวัฒน์ถูกกำหนดมาจากความระบบคิด ความเชื่อ ค่านิยม และวัฒนธรรมของสังคมและการเมืองในประเทศยุโรปทั้งสิ้น จากนั้นก็มีการแพร่ขยายออกไปสู่ส่วนอื่นๆของโลกโดยใช้ลัทธิการล่าอาณานิคมซึ่งอาศัยความเหนือกว่าของกำลังอาวุธและกระบวนการผลิตด้านอุตสาหกรรม เป็นกลไกหลักในการเข้าไปครอบครอง ครอบงำและถ่ายทอดความคิด ความเชื่อ และค่านิยมไปสู่ประเทศต่างๆ
ส่วนในยุคที่ห้าซึ่ง Robertson ระบุว่าเป็นยุคแห่งความไม่แน่นอนนั้น อันที่จริงเกิดจากกระบวนปฏิสัมพันธ์ที่ซับซ้อนมากขึ้นของการสื่อสาร ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การจัดการระบบเศรษฐกิจ การเมือง การใช้ทรัพยากร และทิศทางการพัฒนาสังคมของแต่ละประเทศ ความไม่แน่นอนนี้เกิดขึ้นในหลายด้าน
ความไม่แน่นอนทางการเมืองระหว่างประเทศ เกิดจากภาวะที่การรวมศูนย์อำนาจของประเทศมหาอำนาจกำลังอยู่ในภาวะเสื่อมสลาย ทำให้เกิดกลุ่มอำนาจใหม่ทางการเมืองระดับโลกขึ้นมาหลายกลุ่ม การท้าทายอำนาจการครอบงำของตะวันตกจากกลุ่มก่อการร้ายระหว่างประเทศ การพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของประเทศอิหร่านและเกาหลีเหนือ การตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนในกลุ่มประเทศอาหรับที่ทำให้ผู้ปกครองดั้งเดิมและอำนาจเดิมแตกสลายซึ่งทำให้ประเทศเหล่านั้นต้องจัดระบบการเมืองขึ้นมาใหม่ แต่ระหว่างการสร้างระบอบการเมืองแบบใหม่ขึ้นมาความสับสนอลหม่านทางการเมืองก็เกิดขึ้นและอาจจะส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ในระดับโลกได้
ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจจากภาวการณ์ไร้ธรรมาภิบาลของบริษัทเอกชนในประเทศตะวันตกอย่างสหรัฐอเมริกา และประเทศอื่นๆ ผนวกกับความไร้ธรรมาภิบาลในการบริหารประเทศ การใช้นโยบายประชานิยม และการทุจริตของรัฐบาลในประเทศแถบเอเชียอย่างประเทศไทย หรือประเทศในยุโรปอย่างประเทศกรีซ รวมทั้งประเทศในละตินอเมริกา และอาฟริกาอีกหลายประเทศ ส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศเหล่านั้นมีปัญหา เกิดวิกฤตการณ์ และสร้างผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ความไม่แน่นอนของภัยพิบัติทางธรรมชาติอันเป็นผลมาจากการใช้ทรัพยากรธรรมและการทำลายสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องยาวนานของมนุษย์ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้โลกร้อนขึ้น เกิดความแปรปรวนของดินฟ้าอากาศและสภาพทางธรณีวิทยาอันนำไปสู่ การเกิดพายุ การเกิดอุทกภัย แผ่นดินไหว คลื่นสินามิ หมอกควันพิษ ซึ่งกระทบต่อพื้นที่ในอาณาบริเวณที่กว้างขวางอย่างไร้พรมแดน อาจกล่าวได้ว่าแม้กระทั่งภัยพิบัติก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของโลกาภิวัฒน์ไปแล้ว
เป็นที่ชัดเจนว่าภาวะความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นในหลากหลายมิติทำให้ระบบการเมืองระหว่างประเทศ วิธีการจัดการบริหารเศรษฐกิจ ระบบการจัดการกับภัยพิบัติ และระบบความสัมพันธ์ทางสังคมแบบเดิมไม่อาจรับมือกับความไม่แน่นอนเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความจำเป็นของการเปลี่ยนแปลงระบบความคิดและการบริหารจัดการรัฐ เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคมทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติจึงเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
หากยังมนุษย์ต้องการรักษาเผ่าพันธุ์ของตนเองให้ยืนยาวต่อไป มนุษย์จำเป็นที่ต้องลดและเลิกพฤติกรรมและการกระทำในการทำลายตนเองและโลกให้หมดไปในที่สุด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ การไร้ธรรมาภิบาลในการบริหารประเทศและในการจัดการกับระบบเศรษฐกิจ การทำลายสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติแบบล้างผลาญ และการเกลียดชังระหว่างมนุษย์ด้วยกันเอง หาไม่แล้วอีกเพียงไม่นาน มนุษยชาติก็อาจถูกลบออกไปจากประวัติศาสตร์ของจักรวาล