ASTVผู้จัดการรายวัน - "กันกุล"เดินหน้าโครงการโรงไฟฟ้าพลังลม 1,000 เมกะวัตต์ที่สหภาพพม่า โดยเตรียมติดตั้งอุปกรณ์ประเมินความเร็วลมคาดได้ข้อสรุปภายใน 1-2ปี แย้มเฟสแรกทำขนาด 100เมกะวัตต์ก่อน แย้มเจรจาหาพันธมิตรเข้าถือหุ้นประมาณ 3 รายเพื่อซัปพอร์ตด้านการเงินและกังหันลม ขณะเดียวกันสนใจทำโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซฯและดีเซลในพม่าด้วย ด้านปตท.สผ.ชี้ไทยมีความได้เปรียบและโอกาสลงทุนในพม่า โดยรัฐบาลไทยต้องเพิ่มบทบาทให้มากกว่านี้ เพื่อฉกฉวยความเป็นผู้นำในแถบอินโดไชน่ารับการเปิดAECในปี58
นางสาวโศภชา ดำรงปิยวุฒิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) (GUNKUL) กล่าวภายหลังการสัมมนาMyanmar: The New Frontier Market เปิดเส้นทางสู่พม่าโอกาสใหม่ของธุรกิจไทยเตรียมพร้อมผู้ประกอบการไทยขยายตลาดสู่ประเทศเพื่อนบ้านโดยธนาคารไทยพาณิชย์ เมื่อวานนี้ (29 มี.ค.)ว่า บริษัทฯได้ยื่นข้อเสนอที่ทำโรงไฟฟ้าพลังลมขนาด 1,000เมกะวัตต์ใน 3 รัฐไม่ห่างจากทวายที่สหภาพพม่า
ซึ่งได้รับอนุญาตจากรัฐบาลพม่าเรียบร้อยแล้ว ขณะนี้บริษัทฯได้ส่งพนักงานเข้าไปสำรวจพื้นที่ที่เหมาะสมในการเข้าไปติดตั้งเสาวัดลมเพื่อประเมินความแรงของลมคาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ในเดือนเม.ย.นี้ โดยจะใช้เวลา 1-2ปีกว่าจะได้ข้อสรุปความเหมาะสมของพื้นที่ตั้งและขนาดกำลังการผลิตโรงไฟฟ้าพลังลม หลังจากนั้นจะดำเนินการติดตั้งเครื่องจักรทันที
ทั้งนี้ บริษัทฯอยู่ระหว่างการเจรจาหาพันธมิตรร่วมทุนในโครงการโรงไฟฟ้าพลังลมที่สหภาพพม่าคาดว่าจะหาพาร์ทเนอร์ 3 รายเข้าร่วมทุนโดยเน้นพาร์ทเนอร์ที่เป็นเจ้าของกังหันลม และซัพพอร์ตการเงิน โดยโครงการดังกล่าวจะใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูงถึงเมกะวัตต์ละ 100 ล้านบาท ทำให้บริษัทฯต้องหาพาร์ทเนอร์ที่มีความเข้มแข็งด้านการเงินด้วย โดยเฟสแรกบริษัทฯมองโอกาสการลงทุนไว้ 100 เมกะวัตต์ก่อนที่จะขยายกำลังการผลิตเพิ่มเติม ซึ่งกำลังการผลิตไฟฟ้าในช่วงแรกจะจ่ายไฟให้กับพม่า แต่หลังจากขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นก็จะส่งขายไฟกลับมายังไทย ซึ่งสายส่งไฟฟ้าในไทยมีความพร้อมที่จะรองรับกำลังการผลิตไฟฟ้าดังกล่าวได้
นอกจากนี้ บริษัทฯยังมีแผนจะทำโรงไฟฟ้าที่ใช้ดีเซลเป็นเชื้อเพลิงขนาด 5-10 เมกะวัตต์ เพื่อป้อนให้กับชุมชนใกล้ๆกับทวาย ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวมีโรงไฟฟ้าเดิมอยู่แล้ว โดยบริษัทฯจะเข้าไปปรับปรุงเครื่องจักรต่างๆให้ดีขึ้น ขณะเดียวกันก็มองโอกาสการทำโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงในบริเวณที่มีท่อส่งก๊าซฯของปตท.ผ่านจากแหล่งM9 เพื่อขายไฟฟ้าให้พม่าเนื่องจากพม่ายังขาดแคลนไฟฟ้าอีกมาก
นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า อุตสาหกรรมไทยที่ควรจะเข้าไปลงทุนในพม่าขณะนี้คือ อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานมาก เช่น สิ่งทอ รองเท้า ประมง เกษตรและแปรรูปอาหาร โดยนักลงทุนที่เข้าไปนั้นต้องหาพันธมิตรร่วมทุนท้องถิ่นและกระแสเงินสดที่แข็งแรงจริง เนื่องจากระบบอัตราแลกเปลี่ยนยังมีปัญหาอยู่ เชื่อว่าภายในปีหน้า บรรดาชาติยุโรปและสหรัฐฯจะเลิกคว่ำบาตรพม่าภายหลังการเลือกตั้งในวันที่ 1เม.ย.นี้ หลังรัฐบาลพม่าแสดงเจตนารมย์ที่จะให้มีการเลือกตั้งมีความยุติธรรมมากที่สุด ทำให้ชาติยุโรปไม่มีข้ออ้างในการคว่ำบาตรได้อีก ซึ่งจะมีผลดีต่อโครงการนิคมอุตสาหกรรมทวาย ซึ่งไทยก็เตรียมพร้อมที่จะเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมจากทวายมายังกาญจนบุรีและกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขงด้วย
นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าประเทศไทยมีความได้เปรียบและโอกาสในการเข้าไปลงทุนในพม่า ดังนั้นรัฐบาลควรจะมีบทบาทมากกว่านี้ในการนำพานักลงทุนไทยไปลงทุนในพม่าเพื่อให้ได้ประโยชน์จากการเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC)ในปี 2558โดยใช้โอกาสนี้ให้ไทยเป็นผู้นำในแถบอินโดไชน่า
ในปีนี้บริษัทจะเจาะหลุมสำรวจเพิ่มอีก 2 หลุมในแหล่งM3 ที่สหภาพพม่าเพื่อประเมินศักยภาพของก๊าซธรรมชาติว่ามีปริมาณเท่าใดและเหมาะที่จะต่อยอดไปสู่อุตสาหกรรมปิโตรเคมีได้หรือไม่ หลังจากมีแผนตั้งโรงแยกก๊าซฯและสร้างโรงไฟฟ้าในอนาคต สืบเนื่องจากพม่ามีความต้องการใช้ก๊าซฯเพื่อผลิตไฟฟ้ามากขึ้น ดังนั้นปริมาณก๊าซฯที่ผลิตได้จากแหล่งM 3 จะขายให้กับพม่าทั้งหมด
นางสาวโศภชา ดำรงปิยวุฒิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) (GUNKUL) กล่าวภายหลังการสัมมนาMyanmar: The New Frontier Market เปิดเส้นทางสู่พม่าโอกาสใหม่ของธุรกิจไทยเตรียมพร้อมผู้ประกอบการไทยขยายตลาดสู่ประเทศเพื่อนบ้านโดยธนาคารไทยพาณิชย์ เมื่อวานนี้ (29 มี.ค.)ว่า บริษัทฯได้ยื่นข้อเสนอที่ทำโรงไฟฟ้าพลังลมขนาด 1,000เมกะวัตต์ใน 3 รัฐไม่ห่างจากทวายที่สหภาพพม่า
ซึ่งได้รับอนุญาตจากรัฐบาลพม่าเรียบร้อยแล้ว ขณะนี้บริษัทฯได้ส่งพนักงานเข้าไปสำรวจพื้นที่ที่เหมาะสมในการเข้าไปติดตั้งเสาวัดลมเพื่อประเมินความแรงของลมคาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ในเดือนเม.ย.นี้ โดยจะใช้เวลา 1-2ปีกว่าจะได้ข้อสรุปความเหมาะสมของพื้นที่ตั้งและขนาดกำลังการผลิตโรงไฟฟ้าพลังลม หลังจากนั้นจะดำเนินการติดตั้งเครื่องจักรทันที
ทั้งนี้ บริษัทฯอยู่ระหว่างการเจรจาหาพันธมิตรร่วมทุนในโครงการโรงไฟฟ้าพลังลมที่สหภาพพม่าคาดว่าจะหาพาร์ทเนอร์ 3 รายเข้าร่วมทุนโดยเน้นพาร์ทเนอร์ที่เป็นเจ้าของกังหันลม และซัพพอร์ตการเงิน โดยโครงการดังกล่าวจะใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูงถึงเมกะวัตต์ละ 100 ล้านบาท ทำให้บริษัทฯต้องหาพาร์ทเนอร์ที่มีความเข้มแข็งด้านการเงินด้วย โดยเฟสแรกบริษัทฯมองโอกาสการลงทุนไว้ 100 เมกะวัตต์ก่อนที่จะขยายกำลังการผลิตเพิ่มเติม ซึ่งกำลังการผลิตไฟฟ้าในช่วงแรกจะจ่ายไฟให้กับพม่า แต่หลังจากขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นก็จะส่งขายไฟกลับมายังไทย ซึ่งสายส่งไฟฟ้าในไทยมีความพร้อมที่จะรองรับกำลังการผลิตไฟฟ้าดังกล่าวได้
นอกจากนี้ บริษัทฯยังมีแผนจะทำโรงไฟฟ้าที่ใช้ดีเซลเป็นเชื้อเพลิงขนาด 5-10 เมกะวัตต์ เพื่อป้อนให้กับชุมชนใกล้ๆกับทวาย ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวมีโรงไฟฟ้าเดิมอยู่แล้ว โดยบริษัทฯจะเข้าไปปรับปรุงเครื่องจักรต่างๆให้ดีขึ้น ขณะเดียวกันก็มองโอกาสการทำโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงในบริเวณที่มีท่อส่งก๊าซฯของปตท.ผ่านจากแหล่งM9 เพื่อขายไฟฟ้าให้พม่าเนื่องจากพม่ายังขาดแคลนไฟฟ้าอีกมาก
นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า อุตสาหกรรมไทยที่ควรจะเข้าไปลงทุนในพม่าขณะนี้คือ อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานมาก เช่น สิ่งทอ รองเท้า ประมง เกษตรและแปรรูปอาหาร โดยนักลงทุนที่เข้าไปนั้นต้องหาพันธมิตรร่วมทุนท้องถิ่นและกระแสเงินสดที่แข็งแรงจริง เนื่องจากระบบอัตราแลกเปลี่ยนยังมีปัญหาอยู่ เชื่อว่าภายในปีหน้า บรรดาชาติยุโรปและสหรัฐฯจะเลิกคว่ำบาตรพม่าภายหลังการเลือกตั้งในวันที่ 1เม.ย.นี้ หลังรัฐบาลพม่าแสดงเจตนารมย์ที่จะให้มีการเลือกตั้งมีความยุติธรรมมากที่สุด ทำให้ชาติยุโรปไม่มีข้ออ้างในการคว่ำบาตรได้อีก ซึ่งจะมีผลดีต่อโครงการนิคมอุตสาหกรรมทวาย ซึ่งไทยก็เตรียมพร้อมที่จะเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมจากทวายมายังกาญจนบุรีและกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขงด้วย
นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าประเทศไทยมีความได้เปรียบและโอกาสในการเข้าไปลงทุนในพม่า ดังนั้นรัฐบาลควรจะมีบทบาทมากกว่านี้ในการนำพานักลงทุนไทยไปลงทุนในพม่าเพื่อให้ได้ประโยชน์จากการเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC)ในปี 2558โดยใช้โอกาสนี้ให้ไทยเป็นผู้นำในแถบอินโดไชน่า
ในปีนี้บริษัทจะเจาะหลุมสำรวจเพิ่มอีก 2 หลุมในแหล่งM3 ที่สหภาพพม่าเพื่อประเมินศักยภาพของก๊าซธรรมชาติว่ามีปริมาณเท่าใดและเหมาะที่จะต่อยอดไปสู่อุตสาหกรรมปิโตรเคมีได้หรือไม่ หลังจากมีแผนตั้งโรงแยกก๊าซฯและสร้างโรงไฟฟ้าในอนาคต สืบเนื่องจากพม่ามีความต้องการใช้ก๊าซฯเพื่อผลิตไฟฟ้ามากขึ้น ดังนั้นปริมาณก๊าซฯที่ผลิตได้จากแหล่งM 3 จะขายให้กับพม่าทั้งหมด