ASTVผู้จัดการรายวัน-“สยามพิวรรธน์” ร่วมทุนเครือซีพี ทุ่มงบ 35,000 ล้านบาท ผุดโครงการศูนย์การค้าขนาดยักษ์หวังก้าวขึ้นระดับโลก ย่านฝั่งธนบุรี พื้นที่แปลงงามติดแม่น้ำกว่า 400 เมตร รวมกว่า 40 ไร่ คาดปี 58 เปิดบริการ หวังรองรับทันเปิดเออีซีพอดี
นางชฎาทิพ จูตระกูล กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด ผู้บริหารศูนย์การค้าสยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ สยามพารากอน เปิดเผยว่า บริษัทได้ร่วมทุนกับทางเครือเจริญโภคภัณฑ์หรือซีพี ประกอบด้วย บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด และบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด เพื่อลงทุนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ย่านฝั่งธนบุรี และถือเป็นครั้งแรกที่กลุ่มสยามพิวรรธน์ได้ร่วมทุนทำธุกริจทางด้านพัฒนาอสังหาริมทรัพย์กับทางเครือซีพี
การร่วมทุนดังกล่าว ได้ตั้งบริษัทขึ้นมาใหม่จำนวน 3 บริษัท คือ บริษัท แกรนด์ ริเวอร์ เพลส คอร์ปอเรชั่น จำกัด บริษัท แกรนด์ ริเวอร์ พาร์ค คอร์ปอเรชั่น จำกัด และบริษัท แกรนด์ ริเวอร์ ฟรอนท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด โดยมีทุนจดทะเบียนรวม 1,200 ล้านบาท แบ่งสัดส่วนการถือหุ้นออกเป็น สยามพิวรรธน์ ถือหุ้น 50% บริษัท แมกโนเลียฯ ถือหุ้น 25% และบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด ถือหุ้น 25% ในทุกบริษัทเท่ากัน
ในเบื้องต้นคาดว่า โครงการดังกล่าวจะมีมูลค่าประมาณ 35,000 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ที่สุดในเชิงพาณิชย์ของภาคเอกชนที่เกิดขึ้นในไทย เพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ใหม่ของกรุงเทพมหานคร โดยเงินลงทุนจะมาจากทั้งเงินสดของผู้ร่วมทุน 50% และเงินกู้ 50% โครงการนี้คาดว่าจะมีการว่าจ้างงานถึง 350,000 คน
สำหรับโครงการนี้ ตั้งอยู่บนพื้นที่ 40 ไร่ ถนนเจริญนคร 5 เขตคลองสาน ฝั่งธนบุรี ซึ่งเถือเป็นที่ดินผืนงามแทบจะหาไม่ได้อีกแล้วสำหรับพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยากลางเมืองแบบนี้ โดยมีทั้งฝั่งที่ติดถนนเจริญนครและติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งด้านหน้าทอดยาวเลียบริมแม่น้ำถึง 400 เมตร และมีท่าเทียบเรือขนาดใหญ่ 2 ท่า รายล้อมด้วย โรงแรมระดับ5ดาวมากมาย ห่างจากศูนย์กลางธุรกิจย่านสีลมเล็กน้อย สัญจรทางน้ำก็ได้ ตลอดจนมีรถไฟฟ้าบีทีเอสผ่านใกล้โครงการด้วย คาดว่าโครงการพัฒนาที่ดินผืนนี้จะสามารถเปิดบริการได้ในปี 2558 ซึ่งแนวทางจะเป็นการพัฒนาที่เรียกว่า Magnificent Location คือ การพัฒนาที่คำนึงถึงคุณค่าของสถานที่ที่จะทำให้แตกต่างจากโครงการอื่น เพื่อให้ก้าวข้ามผ่านจากเดิมสมัยก่อนที่พัฒนากันในคอนเซ็ปท์ที่เรียกว่า มิกซ์ยูส
จากนี้ทางกลุ่มผู้ร่วมทุนจะทำการวิจัยหาข้อมูล จากตัวอย่าง 5,000 คน ที่อยู่ในย่านนี้ รัศมี 20 ตารางกิโลเมตร ทุกเพศทุกวัย ทุกสถานภาพ ทั้งคนไทยและต่างชาติ เพื่อเก็บข้อมูลความต้องการของผู้บริโภคว่าต้องการอะไร เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการวางผังรายละเอียดโครงการอีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม ปัญหาน้ำท่วมนั้น ทางกลุ่มก็มีการป้องกันไว้แล้วเช่นกัน ซึ่งพื้นที่นี้ไม่ถูกน้ำท่วม และล่าสุดได้ว่าจ้างบริษัท ทีมคอนซัลติ้ง จำกัด เป็นที่ปรึกษาเรื่องระบบป้องกันไว้แล้ว
นางทิพาพรณ์ เจียรวนนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวลอปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า เดิมทีโครงการนี้ บริษัทได้ซื้อที่ดินมาก่อนแล้วเมื่อปลายปี 2553 มีมูลค่าประมาณ 12% จากมูลค่าโครงการ 35,000 ล้านบาท และได้ศึกษา แต่ในที่สุดก็ได้มีการเจรจาร่วมทุนกับทางกลุ่มสยามพิวรรธน์ที่จะเข้ามาพัฒนาร่วมกัน
โครงการนี้พัฒนาขึ้นมาก็เพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ด้วย ส่วนหนึ่งเพราะหลังจากปี 2558 แล้วจะส่งผลให้มีนักท่องเที่ยวและชาวต่างชาติเดินทางข้ามประเทศกันมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มอาเซียน และประเทศไทยเองก็เป็นประเทศที่มีศักยภาพสามารถก้าวขึ้นเป็นฮับในกลุ่มอาเซียนได้ ทั้งในแง่ของเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว และชอปปิ้ง
“เราต้องการสร้างสัญลักษณ์ทางสถานที่ที่ไม่ใช่แค่สิ่งก่อสร้างหรือการลงทุนด้านการค้าที่แสดงออกถึงความเจริญทางเศรษฐกิจ แต่ยังเป็นการสร้างสถานที่ๆ แสดงถึงจิตใจและวัฒนธรรมอันดีงาม เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ ให้ขึ้นสู่ระดับโลก สิ่งที่เราสังเกตได้อีกอย่าง คือ เมืองที่อยู่ริมน้ำ เมื่อมีการสร้างสัญลักษณ์ทางสถานที่ ณ พื้นที่ริมน้ำ จะเป็นสิ่งที่แสดงออกถึงศิลปวัฒนธรรมของชนชาตินั้นๆ เช่น ปารีส ลอนดอน เซี่ยงไฮ้ หรือซิดนีย์ เป็นต้น”นางทิพาพรณ์กล่าว
นางชฎาทิพ จูตระกูล กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด ผู้บริหารศูนย์การค้าสยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ สยามพารากอน เปิดเผยว่า บริษัทได้ร่วมทุนกับทางเครือเจริญโภคภัณฑ์หรือซีพี ประกอบด้วย บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด และบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด เพื่อลงทุนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ย่านฝั่งธนบุรี และถือเป็นครั้งแรกที่กลุ่มสยามพิวรรธน์ได้ร่วมทุนทำธุกริจทางด้านพัฒนาอสังหาริมทรัพย์กับทางเครือซีพี
การร่วมทุนดังกล่าว ได้ตั้งบริษัทขึ้นมาใหม่จำนวน 3 บริษัท คือ บริษัท แกรนด์ ริเวอร์ เพลส คอร์ปอเรชั่น จำกัด บริษัท แกรนด์ ริเวอร์ พาร์ค คอร์ปอเรชั่น จำกัด และบริษัท แกรนด์ ริเวอร์ ฟรอนท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด โดยมีทุนจดทะเบียนรวม 1,200 ล้านบาท แบ่งสัดส่วนการถือหุ้นออกเป็น สยามพิวรรธน์ ถือหุ้น 50% บริษัท แมกโนเลียฯ ถือหุ้น 25% และบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด ถือหุ้น 25% ในทุกบริษัทเท่ากัน
ในเบื้องต้นคาดว่า โครงการดังกล่าวจะมีมูลค่าประมาณ 35,000 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ที่สุดในเชิงพาณิชย์ของภาคเอกชนที่เกิดขึ้นในไทย เพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ใหม่ของกรุงเทพมหานคร โดยเงินลงทุนจะมาจากทั้งเงินสดของผู้ร่วมทุน 50% และเงินกู้ 50% โครงการนี้คาดว่าจะมีการว่าจ้างงานถึง 350,000 คน
สำหรับโครงการนี้ ตั้งอยู่บนพื้นที่ 40 ไร่ ถนนเจริญนคร 5 เขตคลองสาน ฝั่งธนบุรี ซึ่งเถือเป็นที่ดินผืนงามแทบจะหาไม่ได้อีกแล้วสำหรับพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยากลางเมืองแบบนี้ โดยมีทั้งฝั่งที่ติดถนนเจริญนครและติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งด้านหน้าทอดยาวเลียบริมแม่น้ำถึง 400 เมตร และมีท่าเทียบเรือขนาดใหญ่ 2 ท่า รายล้อมด้วย โรงแรมระดับ5ดาวมากมาย ห่างจากศูนย์กลางธุรกิจย่านสีลมเล็กน้อย สัญจรทางน้ำก็ได้ ตลอดจนมีรถไฟฟ้าบีทีเอสผ่านใกล้โครงการด้วย คาดว่าโครงการพัฒนาที่ดินผืนนี้จะสามารถเปิดบริการได้ในปี 2558 ซึ่งแนวทางจะเป็นการพัฒนาที่เรียกว่า Magnificent Location คือ การพัฒนาที่คำนึงถึงคุณค่าของสถานที่ที่จะทำให้แตกต่างจากโครงการอื่น เพื่อให้ก้าวข้ามผ่านจากเดิมสมัยก่อนที่พัฒนากันในคอนเซ็ปท์ที่เรียกว่า มิกซ์ยูส
จากนี้ทางกลุ่มผู้ร่วมทุนจะทำการวิจัยหาข้อมูล จากตัวอย่าง 5,000 คน ที่อยู่ในย่านนี้ รัศมี 20 ตารางกิโลเมตร ทุกเพศทุกวัย ทุกสถานภาพ ทั้งคนไทยและต่างชาติ เพื่อเก็บข้อมูลความต้องการของผู้บริโภคว่าต้องการอะไร เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการวางผังรายละเอียดโครงการอีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม ปัญหาน้ำท่วมนั้น ทางกลุ่มก็มีการป้องกันไว้แล้วเช่นกัน ซึ่งพื้นที่นี้ไม่ถูกน้ำท่วม และล่าสุดได้ว่าจ้างบริษัท ทีมคอนซัลติ้ง จำกัด เป็นที่ปรึกษาเรื่องระบบป้องกันไว้แล้ว
นางทิพาพรณ์ เจียรวนนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวลอปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า เดิมทีโครงการนี้ บริษัทได้ซื้อที่ดินมาก่อนแล้วเมื่อปลายปี 2553 มีมูลค่าประมาณ 12% จากมูลค่าโครงการ 35,000 ล้านบาท และได้ศึกษา แต่ในที่สุดก็ได้มีการเจรจาร่วมทุนกับทางกลุ่มสยามพิวรรธน์ที่จะเข้ามาพัฒนาร่วมกัน
โครงการนี้พัฒนาขึ้นมาก็เพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ด้วย ส่วนหนึ่งเพราะหลังจากปี 2558 แล้วจะส่งผลให้มีนักท่องเที่ยวและชาวต่างชาติเดินทางข้ามประเทศกันมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มอาเซียน และประเทศไทยเองก็เป็นประเทศที่มีศักยภาพสามารถก้าวขึ้นเป็นฮับในกลุ่มอาเซียนได้ ทั้งในแง่ของเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว และชอปปิ้ง
“เราต้องการสร้างสัญลักษณ์ทางสถานที่ที่ไม่ใช่แค่สิ่งก่อสร้างหรือการลงทุนด้านการค้าที่แสดงออกถึงความเจริญทางเศรษฐกิจ แต่ยังเป็นการสร้างสถานที่ๆ แสดงถึงจิตใจและวัฒนธรรมอันดีงาม เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ ให้ขึ้นสู่ระดับโลก สิ่งที่เราสังเกตได้อีกอย่าง คือ เมืองที่อยู่ริมน้ำ เมื่อมีการสร้างสัญลักษณ์ทางสถานที่ ณ พื้นที่ริมน้ำ จะเป็นสิ่งที่แสดงออกถึงศิลปวัฒนธรรมของชนชาตินั้นๆ เช่น ปารีส ลอนดอน เซี่ยงไฮ้ หรือซิดนีย์ เป็นต้น”นางทิพาพรณ์กล่าว