“ThaiBMA” หยั่งเสียง “ก.ล.ต.” เสนอขอพิจารณาคลายกฏการใช้เรตติ้งท้องถิ่น แทนเรตติ้งอินเตอร์ สำหรับเอกชนที่จะระดมทุนข้ามพรมแดนระหว่างชาติอาเซียนด้วยกันเอง อ้าง เพิ่มความสะดวกในการระดมุทน ลดค่าใช้จ่ายการประเมินเรตติ้งใหม่ก่อนทำอันเดอร์ไรท์ในตลาดต่างประเทศ ขณะเดียวกันก็ยังเล็งการใช้กลไกค้ำประกันตราสารหนี้เอกชนผ่าน “CGIF” เป็นแผนสำรองเผื่อ “ก.ล.ต.” ไม่ยอมผ่อนกฎ
นิวัฒน์ กาญจนภูมินทร์ กรรมการผู้จัดการสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) ให้สัมภาษณ์ “ASTV ผู้จัดการรายวัน” ถึงความคืบหน้าในประเด็นสำคัญๆ จากการทำงานคณะทำงานด้านการพัฒนาความเชื่อมโยงตลาดทุนระหว่างประเทศของกลุ่มอาเซียน+3 (จีน, เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น) ตามข้อตกลงภายใต้กรอบความคิดริเริ่มเชียงใหม่ (Chang Mai Initiative) ที่มีก่อตัวเมื่อปี 2543 สมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร
บทบาทหน้าที่ตัวแทนจากไทยฐานะที่เป็นหนึ่งในคณะทำงานด้านการพัฒนาการเชื่อมโยงตลาดจะทำหน้าที่พิจารณาปรับปรุงกฏระเบียบในการกำกับดูแลการลงทุน, วิธีส่งมอบและชำระราคา (clearing&settlement) ครอบคลุมถึงประเด็นการพิจาณากฏหมายภาษีอันเป็นอุปสรรคต่อการลงทุน เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายในการลงทุนข้ามประเทศแก่ทั้งผู้ระดมทุนและนักลงทุนอาเซียน รวมทั้ง เพื่อสร้างสภาพคล่องในตลาด
กรรมการผู้จัดการ ThaiBMA เริ่มต้นว่า อันหนึ่งที่กำลังมีการหารือกันและเป็นประเด็นที่ค่อนข้างจะกลายเป็นแนวทางที่จะเริ่มดำเนินการคือการหาวิธีสร้างการยอมรับร่วมกันถึงการใช้เครดิตเรตติ้งท้องถิ่น (local rating) ที่ทำโดยบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือในแต่ละประเทศสำหรับตราสารเอกชนที่ออกเพื่อระดมทุนแบบข้ามพรมแดนระหว่างชาติอาเซียนด้วยกันเอง แทนการใช้เรตติ้งสากล (international rating) จากสถาบันจัดอันดับเครดิตเรตติ้งระดับโลก อย่าง เอสแอนด์พี, มูดี้ส์,สแตนดาร์ดแอนด์พัวร์ และฟิทช์ หรือต้องไปผ่านการจัดทำเรตติ้งใหม่โดยบริษัทจัดอันดับเรตติ้งท้องถิ่นภายในประเทศอันเป็นตลาดเป้าหมายของการระดมทุน ทั้งนี้ เพื่อทำให้การระดมทุนภาคเอกชนภายในกลุ่มมีความสะดวกสบายยิ่งขึ้น เนื่องจากการประเมินเรตติ้งก่อนการจัดจำหน่าย (underwrite) ล้วนแล้วแต่มีค่าใช้จ่าย
โดยที่ผ่านมาได้คุยกันไปในหลักการ วิธีการ เรื่องเกณฑ์อะไรต่างๆ แต่ตอนนี้ประเด็นอะไรต่างๆ ตอนนี้เป็นเรื่องในระดับผู้กำกับดูแลคือคณะกรรมการกำกับดูแลหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ของแต่ละประเทศว่าจะยอมรับได้อย่างไรกับเรตติ้งของบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือในอีกประเทศหนึ่ง
เพราะเป็นหลักเกณฑ์ของ ก.ล.ต. ในอีกประเทศหนึ่ง โดยในแต่ละประเทศก็มีระดับการพัฒนาที่ต่างกัน อย่างเช่นที่สิงคโปร์ก็ไม่มี local rating ส่วนมาเลเซีย, ไทย, อินโดนีเซียมี local rating แม้บางประเทศที่มีการพัฒนามาแล้วระดับหนึ่งจนอาจมีอะไรที่ใกล้เคียงกัน แต่ในด้านมาตรฐานบัญชีก็ยังคงมีความแตกต่างกันอยู่ ฉะนั้นสิ่งเหล่านี้จะปรับเข้าหากันได้อย่างไร เพื่อให้การระดมทุนระหว่างอาเซียนด้วยกันเองสามารถเป็นที่ยอมรับกันได้ และทำให้การระดมทุนของนักลงทุนเกิดความสะดวกสบายยิ่งขึ้น
“เราอยากรู้ว่าถ้าประเทศไทย บริษัท A, B, C อยากไประดมทุนในมาเลเซียจะใช้ทริสเรตติ้งของเมืองไทยได้ไหม และ ก.ล.ต. มาเลเซียจะยอมรับเรตติ้งจากทริสของไทยได้หรือเปล่า ถ้าเราบอกว่าบริษัทนี้เคยระดมทุนในเมืองไทยมาแล้ว และก็มีทริสเรตติ้งของเมืองไทยอยู่แล้ว ถ้าเขาจะไปมาเลเซียแล้วจะสามารถระดมทุนได้เลยไม๊ โดยไม่ต้องไปจ้างเอเจนซี่ท้องถิ่นในมาเลเซียหรือต้องไปใช้เรตติ้งเอเจนซี่เป็นที่อินเตอร์เนชั่นแนลมาจัดเรตติ้งให้ใหม่อีก” นิวัฒน์ กล่าว
ส่วนการยอมรับเรตติ้งระดับท้องถิ่นในลักษณะเช่นนี้มีแนวโน้มที่จะเป็นไปได้แค่ไหน เจ้าตัวก็มองว่าหากเป็นประเทศที่มีมาตรฐานการพัฒนาในระดับที่ใกล้เคียงกันอย่างไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ในเวลานี้ก็น่าที่จะมีความเป็นไปได้ ส่วนอินโดนีเซียเขาก็เห็นว่าพอจะเป็นไปได้ด้วยเหมือนกัน เพราะปัจจุบันตลาดตราสารหนี้ที่นั่นได้พัฒนามามากพอสมควรจนจะใกล้เคียงกับเมืองไทยแล้ว ขณะในฟิลิปปินส์ระดับการพัฒนาถือว่ายังห่างจากไทยเล็กน้อย แต่ที่บรูไนการระดมทุนก็ไม่ค่อยจะมี เพราะประเทศนี้มีความร่ำรวยเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว หากจะมีก็มีแต่จะไปลงทุนในประเทศอื่นๆ มากกว่า
แต่เนื่องจากเหตุผลที่ว่าการพิจารณาในเรื่องการใช้เรตติ้งความน่าเชื่อถือระดับท้องถิ่นเพื่อระดมทุนข้ามชาติแทนการใช้เรตติ้งระดับอินเตอร์เช่นนี้มันยังไม่เคยมีมาก่อน จึงยังคงมีประเด็นให้ต้องพิจารณาเผื่อไว้สำหรับเป็นทางเลือกในกรณีที่เกิดปัญหาการยอมรับจาก ก.ล.ต. ทั้งนี้ นิวัฒน์บอกว่าพวกเขากำลังพิจารณาถึงการใช้ประโยชน์จากกลไกการค้ำประกันจากองค์กรที่ชื่อว่า “หน่วยงานค้ำประกันเครดิตและการลงทุนแห่งภูมิภาค ASEAN+3” (Credit Guarantee and Investment Facility ; CGIF) ซึ่งจะคอยรับค้ำประกันเรตติ้งความน่าเชื่อถือให้แก่ตราสารหนี้สกุลเงินท้องถิ่นของเอกชนในภูมิภาค ASEAN+3 ที่ต้องการระดมทุนจากตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศรวมถึงในตลาดเอเชียบอนด์ แต่ยังติดปัญหาตรงที่ว่ายังมีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าอันดับชั้นการลงทุน (investment grade) ตามมาตรฐานเรตติ้งสากลที่ AAA หรือ AA
“ถ้าเรตติ้งเป็นเรื่องสำคัญ เราก็จะใช้ CGIF ที่เขา recognize ซึ่งไอ้ตัว CGIF เองก็มี international rating ของเขาที่เป็น AAA อยู่แล้วมาเป็นคนค้ำประกันให้อีกที ถ้าเอกชนอาเซียนรายใดอยากจะไประดมทุนประเทศไหนภายในกลุ่ม แต่ละประเทศก็ไม่ต้องไปจัดทำเรตติ้งระดับอินเตอร์กันอีกแล้ว เพราะ CGIF จะเข้ามาทำหน้าที่ค้ำประกันความน่าเชื่อถือให้แทน และถ้าได้การันตีจาก CGIF แล้วเรตติ้งตราสารเอกชนรายนั้นก็จะกลายเป็น AAA” กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย สรุปไว้แบบนี้
ทั้งนี้ การจัดตั้ง CGFI ที่เป็นส่วนหนึ่งใน Trust Fund of ADB ได้เริ่มขึ้นเมื่อ 10 พ.ย. 2553 ก่อนจะบรรลุผลในอีก 1 ปีถัดมา และมีเงินทุนมูลค่าราว 700 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ จากการจ่ายสมทบร่วมกันระหว่าง ADB และรัฐบาลประเทศสมาชิก ASEAN+3 โดยปัจจุบันสุวิชญ์ โรจนวานิช รองผู้อำนวยการสำนักบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นผู้แทนไทยได้ทำหน้าที่เป็นกรรมการผู้อำนวยการของกลุ่มประเทศ ASEAN ใน CGIF ส่วนการระดมทุนภาคเอกชนไทยที่สามารถขอรับการค้ำประกันได้ตามกลไก CGIF นั้นจะมีตัวเลขอยู่ที่ประมาณ 4,000 ล้านบาท
นิวัฒน์ กาญจนภูมินทร์ กรรมการผู้จัดการสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) ให้สัมภาษณ์ “ASTV ผู้จัดการรายวัน” ถึงความคืบหน้าในประเด็นสำคัญๆ จากการทำงานคณะทำงานด้านการพัฒนาความเชื่อมโยงตลาดทุนระหว่างประเทศของกลุ่มอาเซียน+3 (จีน, เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น) ตามข้อตกลงภายใต้กรอบความคิดริเริ่มเชียงใหม่ (Chang Mai Initiative) ที่มีก่อตัวเมื่อปี 2543 สมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร
บทบาทหน้าที่ตัวแทนจากไทยฐานะที่เป็นหนึ่งในคณะทำงานด้านการพัฒนาการเชื่อมโยงตลาดจะทำหน้าที่พิจารณาปรับปรุงกฏระเบียบในการกำกับดูแลการลงทุน, วิธีส่งมอบและชำระราคา (clearing&settlement) ครอบคลุมถึงประเด็นการพิจาณากฏหมายภาษีอันเป็นอุปสรรคต่อการลงทุน เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายในการลงทุนข้ามประเทศแก่ทั้งผู้ระดมทุนและนักลงทุนอาเซียน รวมทั้ง เพื่อสร้างสภาพคล่องในตลาด
กรรมการผู้จัดการ ThaiBMA เริ่มต้นว่า อันหนึ่งที่กำลังมีการหารือกันและเป็นประเด็นที่ค่อนข้างจะกลายเป็นแนวทางที่จะเริ่มดำเนินการคือการหาวิธีสร้างการยอมรับร่วมกันถึงการใช้เครดิตเรตติ้งท้องถิ่น (local rating) ที่ทำโดยบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือในแต่ละประเทศสำหรับตราสารเอกชนที่ออกเพื่อระดมทุนแบบข้ามพรมแดนระหว่างชาติอาเซียนด้วยกันเอง แทนการใช้เรตติ้งสากล (international rating) จากสถาบันจัดอันดับเครดิตเรตติ้งระดับโลก อย่าง เอสแอนด์พี, มูดี้ส์,สแตนดาร์ดแอนด์พัวร์ และฟิทช์ หรือต้องไปผ่านการจัดทำเรตติ้งใหม่โดยบริษัทจัดอันดับเรตติ้งท้องถิ่นภายในประเทศอันเป็นตลาดเป้าหมายของการระดมทุน ทั้งนี้ เพื่อทำให้การระดมทุนภาคเอกชนภายในกลุ่มมีความสะดวกสบายยิ่งขึ้น เนื่องจากการประเมินเรตติ้งก่อนการจัดจำหน่าย (underwrite) ล้วนแล้วแต่มีค่าใช้จ่าย
โดยที่ผ่านมาได้คุยกันไปในหลักการ วิธีการ เรื่องเกณฑ์อะไรต่างๆ แต่ตอนนี้ประเด็นอะไรต่างๆ ตอนนี้เป็นเรื่องในระดับผู้กำกับดูแลคือคณะกรรมการกำกับดูแลหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ของแต่ละประเทศว่าจะยอมรับได้อย่างไรกับเรตติ้งของบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือในอีกประเทศหนึ่ง
เพราะเป็นหลักเกณฑ์ของ ก.ล.ต. ในอีกประเทศหนึ่ง โดยในแต่ละประเทศก็มีระดับการพัฒนาที่ต่างกัน อย่างเช่นที่สิงคโปร์ก็ไม่มี local rating ส่วนมาเลเซีย, ไทย, อินโดนีเซียมี local rating แม้บางประเทศที่มีการพัฒนามาแล้วระดับหนึ่งจนอาจมีอะไรที่ใกล้เคียงกัน แต่ในด้านมาตรฐานบัญชีก็ยังคงมีความแตกต่างกันอยู่ ฉะนั้นสิ่งเหล่านี้จะปรับเข้าหากันได้อย่างไร เพื่อให้การระดมทุนระหว่างอาเซียนด้วยกันเองสามารถเป็นที่ยอมรับกันได้ และทำให้การระดมทุนของนักลงทุนเกิดความสะดวกสบายยิ่งขึ้น
“เราอยากรู้ว่าถ้าประเทศไทย บริษัท A, B, C อยากไประดมทุนในมาเลเซียจะใช้ทริสเรตติ้งของเมืองไทยได้ไหม และ ก.ล.ต. มาเลเซียจะยอมรับเรตติ้งจากทริสของไทยได้หรือเปล่า ถ้าเราบอกว่าบริษัทนี้เคยระดมทุนในเมืองไทยมาแล้ว และก็มีทริสเรตติ้งของเมืองไทยอยู่แล้ว ถ้าเขาจะไปมาเลเซียแล้วจะสามารถระดมทุนได้เลยไม๊ โดยไม่ต้องไปจ้างเอเจนซี่ท้องถิ่นในมาเลเซียหรือต้องไปใช้เรตติ้งเอเจนซี่เป็นที่อินเตอร์เนชั่นแนลมาจัดเรตติ้งให้ใหม่อีก” นิวัฒน์ กล่าว
ส่วนการยอมรับเรตติ้งระดับท้องถิ่นในลักษณะเช่นนี้มีแนวโน้มที่จะเป็นไปได้แค่ไหน เจ้าตัวก็มองว่าหากเป็นประเทศที่มีมาตรฐานการพัฒนาในระดับที่ใกล้เคียงกันอย่างไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ในเวลานี้ก็น่าที่จะมีความเป็นไปได้ ส่วนอินโดนีเซียเขาก็เห็นว่าพอจะเป็นไปได้ด้วยเหมือนกัน เพราะปัจจุบันตลาดตราสารหนี้ที่นั่นได้พัฒนามามากพอสมควรจนจะใกล้เคียงกับเมืองไทยแล้ว ขณะในฟิลิปปินส์ระดับการพัฒนาถือว่ายังห่างจากไทยเล็กน้อย แต่ที่บรูไนการระดมทุนก็ไม่ค่อยจะมี เพราะประเทศนี้มีความร่ำรวยเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว หากจะมีก็มีแต่จะไปลงทุนในประเทศอื่นๆ มากกว่า
แต่เนื่องจากเหตุผลที่ว่าการพิจารณาในเรื่องการใช้เรตติ้งความน่าเชื่อถือระดับท้องถิ่นเพื่อระดมทุนข้ามชาติแทนการใช้เรตติ้งระดับอินเตอร์เช่นนี้มันยังไม่เคยมีมาก่อน จึงยังคงมีประเด็นให้ต้องพิจารณาเผื่อไว้สำหรับเป็นทางเลือกในกรณีที่เกิดปัญหาการยอมรับจาก ก.ล.ต. ทั้งนี้ นิวัฒน์บอกว่าพวกเขากำลังพิจารณาถึงการใช้ประโยชน์จากกลไกการค้ำประกันจากองค์กรที่ชื่อว่า “หน่วยงานค้ำประกันเครดิตและการลงทุนแห่งภูมิภาค ASEAN+3” (Credit Guarantee and Investment Facility ; CGIF) ซึ่งจะคอยรับค้ำประกันเรตติ้งความน่าเชื่อถือให้แก่ตราสารหนี้สกุลเงินท้องถิ่นของเอกชนในภูมิภาค ASEAN+3 ที่ต้องการระดมทุนจากตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศรวมถึงในตลาดเอเชียบอนด์ แต่ยังติดปัญหาตรงที่ว่ายังมีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าอันดับชั้นการลงทุน (investment grade) ตามมาตรฐานเรตติ้งสากลที่ AAA หรือ AA
“ถ้าเรตติ้งเป็นเรื่องสำคัญ เราก็จะใช้ CGIF ที่เขา recognize ซึ่งไอ้ตัว CGIF เองก็มี international rating ของเขาที่เป็น AAA อยู่แล้วมาเป็นคนค้ำประกันให้อีกที ถ้าเอกชนอาเซียนรายใดอยากจะไประดมทุนประเทศไหนภายในกลุ่ม แต่ละประเทศก็ไม่ต้องไปจัดทำเรตติ้งระดับอินเตอร์กันอีกแล้ว เพราะ CGIF จะเข้ามาทำหน้าที่ค้ำประกันความน่าเชื่อถือให้แทน และถ้าได้การันตีจาก CGIF แล้วเรตติ้งตราสารเอกชนรายนั้นก็จะกลายเป็น AAA” กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย สรุปไว้แบบนี้
ทั้งนี้ การจัดตั้ง CGFI ที่เป็นส่วนหนึ่งใน Trust Fund of ADB ได้เริ่มขึ้นเมื่อ 10 พ.ย. 2553 ก่อนจะบรรลุผลในอีก 1 ปีถัดมา และมีเงินทุนมูลค่าราว 700 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ จากการจ่ายสมทบร่วมกันระหว่าง ADB และรัฐบาลประเทศสมาชิก ASEAN+3 โดยปัจจุบันสุวิชญ์ โรจนวานิช รองผู้อำนวยการสำนักบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นผู้แทนไทยได้ทำหน้าที่เป็นกรรมการผู้อำนวยการของกลุ่มประเทศ ASEAN ใน CGIF ส่วนการระดมทุนภาคเอกชนไทยที่สามารถขอรับการค้ำประกันได้ตามกลไก CGIF นั้นจะมีตัวเลขอยู่ที่ประมาณ 4,000 ล้านบาท