อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร อยู่ในพื้นที่ของอำเภอน้ำยืน อำเภอน้ำขุ่น จังหวัดอุบลราชธานี และอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ มีเนื้อที่ประมาณ 81,250 ไร่ (130 ตารางกิโลเมตร) อาณาเขตด้านใต้ติดต่อกับประเทศกัมพูชา มีถนนและบันไดทางขึ้นสู่ปราสาทเขาพระวิหารบริเวณผามออีแดง ในตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอนที่ 14 ก ลงวันที่ 20 มีนาคม 2541) นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 19 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 83 ของประเทศ
พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาพระวิหาร ป่าฝั่งลำโดมใหญ่ ท้องที่อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ และอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี เป็นพื้นที่ป่าไม้ชายแดนให้เป็นพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์ ห้ามเข้าไปและอาศัยอยู่โดยเด็ดขาด เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวยังคงความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้และเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร มีสัตว์ป่านานาชนิดอาศัยอยู่มาก มีทัศนียภาพที่สวยงาม ตลอดจนโบราณสถานที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และกรมป่าไม้กำหนดประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ
อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร มีทัศนียภาพและทิวทัศน์ที่สวยงามอยู่หลายแห่ง เช่น จุดชมวิวผามออีแดง จุดชมวิวหน้าผาช่องโพย บริเวณป่าและสวนหินรอบสระตราว ถ้ำฤๅษี แหล่งตัดหิน สถูปคู่ ภาพสลักนูนต่ำใต้ผามออีแดง น้ำตกผาช่องโพย จุดชมวิว ภูเซี่ยงหม้อ ปราสาทโดนตวล และที่สำคัญคือ ปราสาทพระวิหารอันเป็นโบราณสถานสำคัญเก่าแก่ ที่เคยเป็นกรณีพิพาทระหว่างไทยกับประเทศกัมพูชา เมื่อ พ.ศ. 2505
และในที่สุดศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ได้ตัดสินให้ตัวปราสาทอยู่ในอธิปไตยของประเทศกัมพูชา แต่ถนนและบันไดทางขึ้นสู่ปราสาทเขาพระวิหารอยู่ทางฝั่งไทย และพื้นที่ทางขึ้นบริเวณผามออีแดง จากเอกสารดังกล่าวได้แสดงให้เห็นถึงพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหารเป็นของไทยอย่างไม่ต้องสงสัยและมีการประกาศพระราชกฤษฎีกาก่อนที่จะมีการทำ MOU 43 เสียอีก และตอนที่ได้มีการประกาศเป็นอุทยานดังกล่าว กัมพูชาก็ไม่เคยท้วงติงแต่ประการใด
นอกจากนี้ กรมศิลปากรยังได้ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารไว้ 2 ครั้ง คือ เมื่อ พ.ศ. 2483 และได้ประกาศขึ้นทะเบียนลงรายละเอียดเมื่อ พ.ศ. 2502 แม้ศาลตัดสินให้กัมพูชาได้ตัวปราสาทไป แต่ก็ไม่ได้ตัดสินให้ดินแดน และไม่ได้ตัดสินแผนที่ 1 : 200,000 สถูปคู่ สระตาวและบันไดสิงห์ ถ้ำและเพิงผาเป็นของไทยอย่างไม่มีใครปฏิเสธได้
จากข้อมูลดังกล่าวที่ผมได้นำเสนอมา ทำให้เห็นได้ว่า บริเวณโดยรอบตัวปราสาทพระวิหารเป็นดินแดนที่อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของไทย เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์พนมดงรัก (พื้นที่ในตำบลบึงมะลู) และอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร (พื้นที่ในตำบลเสาธงชัย) มีพระราชกฤษฎีกาประกาศเป็นพื้นที่อนุรักษ์มาแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 และ พ.ศ. 2541 ตามลำดับ นอกจากนี้ พื้นที่ดังกล่าวยังอยู่ภายใต้การดูแลของจังหวัดและกองทัพภาคที่ 2 ดังนั้น หากถามกลับว่าใครควรจะต้องรับผิดชอบต่อการสูญเสียพื้นที่นี้ ผมก็เห็นว่าเจ้าหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบพื้นที่ดังกล่าวนี้ก็คือ
1. เจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมดงรัก
2. เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร
3. เจ้าหน้าที่ในกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช
4. เจ้าหน้าที่ในท้องที่ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ นายอำเภอกันทรลักษ์
5. กรมศิลปากร
6. กองทัพภาคที่ 2
7. กระทรวงการต่างประเทศ
ชาวกัมพูชาและกองกำลังติดอาวุธได้เข้ามารุกล้ำพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมดงรักและอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร มาตั้งแต่ พ.ศ. 2546 จนกระทั่งถึงปัจจุบัน และดูไม่มีอนาคตเลยว่าเราจะได้พื้นที่รอบปราสาทพระวิหารกลับคืน หากศาลโลกตัดสินอย่างใดอย่างหนึ่ง อันอาจส่งผลให้ไทยต้องสูญเสียพื้นที่นี้ไป หน่วยงานที่ผมยกมาข้างต้นจะต้องถูกตัดสินประหารชีวิต
พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาพระวิหาร ป่าฝั่งลำโดมใหญ่ ท้องที่อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ และอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี เป็นพื้นที่ป่าไม้ชายแดนให้เป็นพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์ ห้ามเข้าไปและอาศัยอยู่โดยเด็ดขาด เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวยังคงความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้และเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร มีสัตว์ป่านานาชนิดอาศัยอยู่มาก มีทัศนียภาพที่สวยงาม ตลอดจนโบราณสถานที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และกรมป่าไม้กำหนดประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ
อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร มีทัศนียภาพและทิวทัศน์ที่สวยงามอยู่หลายแห่ง เช่น จุดชมวิวผามออีแดง จุดชมวิวหน้าผาช่องโพย บริเวณป่าและสวนหินรอบสระตราว ถ้ำฤๅษี แหล่งตัดหิน สถูปคู่ ภาพสลักนูนต่ำใต้ผามออีแดง น้ำตกผาช่องโพย จุดชมวิว ภูเซี่ยงหม้อ ปราสาทโดนตวล และที่สำคัญคือ ปราสาทพระวิหารอันเป็นโบราณสถานสำคัญเก่าแก่ ที่เคยเป็นกรณีพิพาทระหว่างไทยกับประเทศกัมพูชา เมื่อ พ.ศ. 2505
และในที่สุดศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ได้ตัดสินให้ตัวปราสาทอยู่ในอธิปไตยของประเทศกัมพูชา แต่ถนนและบันไดทางขึ้นสู่ปราสาทเขาพระวิหารอยู่ทางฝั่งไทย และพื้นที่ทางขึ้นบริเวณผามออีแดง จากเอกสารดังกล่าวได้แสดงให้เห็นถึงพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหารเป็นของไทยอย่างไม่ต้องสงสัยและมีการประกาศพระราชกฤษฎีกาก่อนที่จะมีการทำ MOU 43 เสียอีก และตอนที่ได้มีการประกาศเป็นอุทยานดังกล่าว กัมพูชาก็ไม่เคยท้วงติงแต่ประการใด
นอกจากนี้ กรมศิลปากรยังได้ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารไว้ 2 ครั้ง คือ เมื่อ พ.ศ. 2483 และได้ประกาศขึ้นทะเบียนลงรายละเอียดเมื่อ พ.ศ. 2502 แม้ศาลตัดสินให้กัมพูชาได้ตัวปราสาทไป แต่ก็ไม่ได้ตัดสินให้ดินแดน และไม่ได้ตัดสินแผนที่ 1 : 200,000 สถูปคู่ สระตาวและบันไดสิงห์ ถ้ำและเพิงผาเป็นของไทยอย่างไม่มีใครปฏิเสธได้
จากข้อมูลดังกล่าวที่ผมได้นำเสนอมา ทำให้เห็นได้ว่า บริเวณโดยรอบตัวปราสาทพระวิหารเป็นดินแดนที่อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของไทย เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์พนมดงรัก (พื้นที่ในตำบลบึงมะลู) และอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร (พื้นที่ในตำบลเสาธงชัย) มีพระราชกฤษฎีกาประกาศเป็นพื้นที่อนุรักษ์มาแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 และ พ.ศ. 2541 ตามลำดับ นอกจากนี้ พื้นที่ดังกล่าวยังอยู่ภายใต้การดูแลของจังหวัดและกองทัพภาคที่ 2 ดังนั้น หากถามกลับว่าใครควรจะต้องรับผิดชอบต่อการสูญเสียพื้นที่นี้ ผมก็เห็นว่าเจ้าหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบพื้นที่ดังกล่าวนี้ก็คือ
1. เจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมดงรัก
2. เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร
3. เจ้าหน้าที่ในกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช
4. เจ้าหน้าที่ในท้องที่ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ นายอำเภอกันทรลักษ์
5. กรมศิลปากร
6. กองทัพภาคที่ 2
7. กระทรวงการต่างประเทศ
ชาวกัมพูชาและกองกำลังติดอาวุธได้เข้ามารุกล้ำพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมดงรักและอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร มาตั้งแต่ พ.ศ. 2546 จนกระทั่งถึงปัจจุบัน และดูไม่มีอนาคตเลยว่าเราจะได้พื้นที่รอบปราสาทพระวิหารกลับคืน หากศาลโลกตัดสินอย่างใดอย่างหนึ่ง อันอาจส่งผลให้ไทยต้องสูญเสียพื้นที่นี้ไป หน่วยงานที่ผมยกมาข้างต้นจะต้องถูกตัดสินประหารชีวิต