ASTVผู้จัดการรายวัน-“จารุพงศ์”ดันพัฒนาศักยภาพสร้างมาตรฐานขนส่งไทย เล็งตั้งศูนย์เปลี่ยนถ่ายกระจายสินค้าภูมิภาค จ.ขอนแก่น แก้ปัญหารถเที่ยวเปล่า หวังลดต้นทุนขนส่งลง 50%
นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดสัมมนาเรื่อง “เพิ่มศักยภาพการค้าให้อาเซียนด้วยมาตรฐานคุณภาพขนส่งไทย”ในการครบรอบ 100 ปี กระทรวงคมนาคม ด้านการขนส่งทางบก วานนี้(12 มี.ค.) ว่า ประเทศไทยต้องเพิ่มศักยภาพการขนส่งเพื่อเตรียมเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 ซึ่งจะไม่ใช่เพื่อการแข่งขันกับประเทศอื่นในอาเซียนด้วยกัน แต่จะเป็นการร่วมมือระหว่างกันเพื่อเพิ่มศักยภาพการขนส่งของประเทศในอาเซียนมากกว่า นอกจากนี้ยังมีความจำเป็นสำหรับประเทศไทยในการสร้างมาตรฐานด้านการขนส่งไทย ทั้งเรื่องกฎหมายที่ออกมาบังคับควบคุม แล้วยังต้องมีเรื่องของจริยธรรม คุณธรรม และจรรยาบรรณ เพื่ออุดรูรั่วของกฎหมายด้วย เพราะทั้ง 3 เรื่องจะสามารถช่วยลดปัญหาต่างๆ ได้
ทั้งนี้ ในการพัฒนามาตรฐานการขนส่งของไทย จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงของภาคการขนส่งทั้งทางบก น้ำ และอากาศ โดยเบื้องต้นรัฐบาลมีแนวคิดที่จะตั้งศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าในภูมิภาค เช่น ที่ จ.ขอนแก่น โดยจะใช้เป็นจุดในการขนถ่าย และกระจายสินค้า ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาการวิ่งรถเที่ยวเปล่าได้ เนื่องจากปัจจุบันมีสินค้าเฉพาะรถเที่ยวไปอย่างเดียวค่อนข้างมาก แต่เที่ยวกลับส่วนใหญ่ต้องวิ่งรถเปล่า ส่งผลให้ภาคการขนส่งสูญเสียต้นทุนไปประมาณ50%
นายจารุพงศ์กล่าวว่า ขณะนี้ต้นทุนการขนส่งของไทยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 17.9% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) สูงกว่าประเทศสิงคโปร์ที่อยู่ประมาณ 7% ประเทศในแถบยุโรปอยู่ที่ประมาณ 9% และสหรัฐอเมริกา ประมาณ 10% หากจะให้แข่งขันกับต่างประเทศได้ก็ต้องลดต้นทุนภาคการขนส่งให้ได้ โดยจะต้องพัฒนาระบบราง และทางน้ำเพื่อรองรับการขนส่งให้มากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันภาพรวมการขนส่งของไทย มีการขนส่งทางบก(รถยนต์) มากที่สุด ประมาณ 86% ทางรางประมาณ 2% ซึ่งถือว่าน้อยมาก โดยการขนส่งทางรางมีต้นทุนที่ถูกกว่าการขนส่งด้านอื่น ส่วนทางน้ำมีประมาณ 12% ซึ่งหากเปรียบเทียบปริมาณการขนส่งแต่ละครั้ง การขนส่งทางน้ำก็ถือว่ามีต้นทุนที่ถูกเช่นเดียวกัน เพราะสามารถขนส่งได้เป็นจำนวนมาก ส่วนที่เหลือเป็นการขนส่งทางอากาศ การที่จะลดต้นทุนการขนส่งได้ก็ต้องเพิ่มการขนส่งทางราง และทางน้ำให้มากยิ่งขึ้น
นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดสัมมนาเรื่อง “เพิ่มศักยภาพการค้าให้อาเซียนด้วยมาตรฐานคุณภาพขนส่งไทย”ในการครบรอบ 100 ปี กระทรวงคมนาคม ด้านการขนส่งทางบก วานนี้(12 มี.ค.) ว่า ประเทศไทยต้องเพิ่มศักยภาพการขนส่งเพื่อเตรียมเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 ซึ่งจะไม่ใช่เพื่อการแข่งขันกับประเทศอื่นในอาเซียนด้วยกัน แต่จะเป็นการร่วมมือระหว่างกันเพื่อเพิ่มศักยภาพการขนส่งของประเทศในอาเซียนมากกว่า นอกจากนี้ยังมีความจำเป็นสำหรับประเทศไทยในการสร้างมาตรฐานด้านการขนส่งไทย ทั้งเรื่องกฎหมายที่ออกมาบังคับควบคุม แล้วยังต้องมีเรื่องของจริยธรรม คุณธรรม และจรรยาบรรณ เพื่ออุดรูรั่วของกฎหมายด้วย เพราะทั้ง 3 เรื่องจะสามารถช่วยลดปัญหาต่างๆ ได้
ทั้งนี้ ในการพัฒนามาตรฐานการขนส่งของไทย จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงของภาคการขนส่งทั้งทางบก น้ำ และอากาศ โดยเบื้องต้นรัฐบาลมีแนวคิดที่จะตั้งศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าในภูมิภาค เช่น ที่ จ.ขอนแก่น โดยจะใช้เป็นจุดในการขนถ่าย และกระจายสินค้า ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาการวิ่งรถเที่ยวเปล่าได้ เนื่องจากปัจจุบันมีสินค้าเฉพาะรถเที่ยวไปอย่างเดียวค่อนข้างมาก แต่เที่ยวกลับส่วนใหญ่ต้องวิ่งรถเปล่า ส่งผลให้ภาคการขนส่งสูญเสียต้นทุนไปประมาณ50%
นายจารุพงศ์กล่าวว่า ขณะนี้ต้นทุนการขนส่งของไทยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 17.9% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) สูงกว่าประเทศสิงคโปร์ที่อยู่ประมาณ 7% ประเทศในแถบยุโรปอยู่ที่ประมาณ 9% และสหรัฐอเมริกา ประมาณ 10% หากจะให้แข่งขันกับต่างประเทศได้ก็ต้องลดต้นทุนภาคการขนส่งให้ได้ โดยจะต้องพัฒนาระบบราง และทางน้ำเพื่อรองรับการขนส่งให้มากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันภาพรวมการขนส่งของไทย มีการขนส่งทางบก(รถยนต์) มากที่สุด ประมาณ 86% ทางรางประมาณ 2% ซึ่งถือว่าน้อยมาก โดยการขนส่งทางรางมีต้นทุนที่ถูกกว่าการขนส่งด้านอื่น ส่วนทางน้ำมีประมาณ 12% ซึ่งหากเปรียบเทียบปริมาณการขนส่งแต่ละครั้ง การขนส่งทางน้ำก็ถือว่ามีต้นทุนที่ถูกเช่นเดียวกัน เพราะสามารถขนส่งได้เป็นจำนวนมาก ส่วนที่เหลือเป็นการขนส่งทางอากาศ การที่จะลดต้นทุนการขนส่งได้ก็ต้องเพิ่มการขนส่งทางราง และทางน้ำให้มากยิ่งขึ้น