เอเอฟพี – แม้เมฆหมอกที่ปกคลุมยูโรโซนพัดผ่านไปแล้วพร้อมภัยคุกคามจากการผิดนัดชำระหนี้ของกรีซ แต่มาตรการอัดฉีดล่าสุดก็ยังอาจไม่ใช่ครั้งสุดท้ายสำหรับเอเธนส์ รายงานจาก “ทรอยกา” ระบุกรีซอาจต้องการเงินเพิ่มอีก 50,000 ล้านดอลลาร์ในปี 2015
หลังจากเจรจายืดเยื้อนาน 9 เดือน เมื่อวันพฤหัสบดี(8) เอเธนส์ประกาศว่า เจ้าหนี้เอกชนส่วนใหญ่ของกรีซตกลงสวอปพันธบัตร ยอมรับการขาดทุนถึง 100,000 ล้านยูโร (131,000 ล้านดอลลาร์) และรัฐมนตรีคลังยูโรโซนตอบรับทันควันด้วยการปลดล็อกมาตรการช่วยเหลือรอบสองบางส่วนจากทั้งหมด 130,000 ล้านยูโร และคาดว่าจะอนุมัติส่วนที่เหลือในการประชุมวันจันทร์(12)นี้
คริสติน ลาการ์ด กรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) แสดงความยินดีต่อข้อตกลงดังกล่าวว่า เป็นก้าวย่างสำคัญที่จะทำให้ความต้องการระดมทุนระยะกลางของกรีซลดลงอย่างมาก และทำให้หนี้อยู่ในระดับที่ยั่งยืน
ทิโมธี ไกธ์เนอร์ รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ ขานรับว่า มาตรการต่างๆ ของยุโรปช่วยกำราบวิกฤตหนี้ และภูมิภาคนี้ไม่ใช่ความเสี่ยงใหญ่หลวงต่อเศรษฐกิจโลกอีกต่อไป
ประธานาธิบดีนิโคลาส์ ซาร์โกซี ก็ระบุว่า วิกฤตการเงินพลิกสู่หน้าใหม่แล้ว
ด้านวูล์ฟกัง ชะออยเบิล ขุนคลังเมืองเบียร์ สำทับว่า แม้ปัญหายังไม่จบ แต่ถือได้ว่ายูโรโซนมีความคืบหน้าสำคัญ
ความคิดเห็นเหล่านี้ตอกย้ำว่า สถานการณ์สมมติที่เลวร้ายที่สุด นั่นคือ วิกฤตนี้แพร่กระจายไปยังภูมิภาคอื่นๆ ของโลก ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้อีกต่อไป
การสวอปพันธบัตรคลังกรีซที่ได้รับความเห็นชอบจากเจ้าหนี้เอกชน 83.5% เป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้แผนการอัดฉีดเงินช่วยเหลือกรีซรอบสอง 130,000 ล้านดอลลาร์เดินหน้าต่อ โดยที่ก่อนหน้านั้นไปอีก รัฐสภากรีซยังได้ยอมอนุมัติการลดการใช้จ่ายเพิ่มเติม ตลอดจนถึงการปฏิรูปเพื่อเปิดเสรีเศรษฐกิจเป็นที่เรียบร้อย
ขณะนี้ ผู้นำยุโรปกำลังรอคำตอบจากไอเอ็มเอฟว่า จะร่วมลงขันอัดฉีดกรีซเท่าใด
กระนั้น นักการทูตเตือนว่า เงินช่วยเหลือรอบ 2 ที่จะครอบคลุมจนถึงสิ้นปี 2014นั้นไม่ได้ทำให้กรีซแข็งแรงขึ้น และเอเธนส์อาจต้องการเงินช่วยเหลือเพิ่ม
นิตยสารแดร์ สปีเกลของเยอรมันระบุในทำนองคล้ายกัน โดยอ้างรายงานเบื้องต้นของสหภาพยุโรป (อียู) ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) และไอเอ็มเอฟ หรือ “ทรอยกา” ว่า กรีซอาจต้องการเงินอีก 50,000 ล้านยูโรระหว่างปี 2015-2020 และอาจมีปัญหาในการระดมทุน
ก่อนหน้านี้ ชะออยเบิลเคยเตือนรัฐสภาเยอรมนีว่า อาจต้องช่วยเอเธนส์อีกในอนาคต แต่ไม่ได้ระบุตัวเลข
ขณะที่ฌอง-โคลด จุงเกอร์ ประธานขุนคลังยูโรโซน ตั้งข้อสังเกตว่า ไม่ควรคิดว่ากรีซจะยืนด้วยตัวเองได้อย่างรวดเร็วโดยปราศจากความสมานฉันท์ของยูโรโซนและนโยบายการเติบโตที่เป็นระบบ
จุงเกอร์ยังเตือนว่า อาจไม่สามารถตัดความเป็นไปได้สำหรับเงินช่วยเหลือก้อนที่ 3 แต่ก็ยังไม่ควรด่วนสรุปว่า สถานการณ์นี้จะเกิดขึ้น
ขณะเดียวกัน แหล่งข่าวในรัฐบาลยุโรปแย้มว่า เงินช่วยเหลือรอบ 3 มีความเป็นไปได้มาก เพราะมีโอกาสน้อยเหลือเกินที่กรีซจะกลับไประดมทุนในตลาดได้ อย่างไรก็ดี เงินช่วยเหลือเพิ่มเติมจะไม่มากเท่าเดิม ทำให้มีอุปสรรคน้อยลง
ทั้งนี้ ข้อตกลงสวอปพันธบัตรมีเป้าหมายเพื่อลดหนี้กรีซให้อยู่ในระดับที่ยั่งยืนที่ราว 120% ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ในปี 2020 จาก 160% ในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญมองว่า เป้าหมายดังกล่าวเป็นการมองแง่ดีเกินไป หากพิจารณาจากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่ติดลบมากขึ้น
เบน เมย์ จากแคปิตอล อิโคโนมิกส์ แจงว่า ความเชื่อมั่นของธุรกิจและผู้บริโภคที่เสื่อมลง อัตราว่างงานที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และการขาดแคลนสินเชื่อ บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจกรีซจะหดตัวรุนแรงในปีนี้ ซึ่งตรงข้ามกับความเชื่อของทรอยกาว่า ภาวะถดถอยของกรีซใกล้สิ้นสุดแล้ว นอกจากนั้น ยังเป็นได้ว่า จีดีพีและอัตราเงินเฟ้อในระยะกลางอาจต่ำกว่าที่ทรอยกาประเมิน
ทั้งนี้ ข้อมูลล่าสุดที่เผยแพร่ออกมาเมื่อวันศุกร์ (9) เศรษฐกิจกรีซติดลบมากกว่าคาดถึง 7.5% ในไตรมาส 4 ปีที่แล้ว และตลอดทั้งปีหดตัว 6.9% จากที่คาดไว้ว่าจะติดลบแค่ 5.5% และ 2.8%สำหรับปีนี้
หลังจากเจรจายืดเยื้อนาน 9 เดือน เมื่อวันพฤหัสบดี(8) เอเธนส์ประกาศว่า เจ้าหนี้เอกชนส่วนใหญ่ของกรีซตกลงสวอปพันธบัตร ยอมรับการขาดทุนถึง 100,000 ล้านยูโร (131,000 ล้านดอลลาร์) และรัฐมนตรีคลังยูโรโซนตอบรับทันควันด้วยการปลดล็อกมาตรการช่วยเหลือรอบสองบางส่วนจากทั้งหมด 130,000 ล้านยูโร และคาดว่าจะอนุมัติส่วนที่เหลือในการประชุมวันจันทร์(12)นี้
คริสติน ลาการ์ด กรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) แสดงความยินดีต่อข้อตกลงดังกล่าวว่า เป็นก้าวย่างสำคัญที่จะทำให้ความต้องการระดมทุนระยะกลางของกรีซลดลงอย่างมาก และทำให้หนี้อยู่ในระดับที่ยั่งยืน
ทิโมธี ไกธ์เนอร์ รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ ขานรับว่า มาตรการต่างๆ ของยุโรปช่วยกำราบวิกฤตหนี้ และภูมิภาคนี้ไม่ใช่ความเสี่ยงใหญ่หลวงต่อเศรษฐกิจโลกอีกต่อไป
ประธานาธิบดีนิโคลาส์ ซาร์โกซี ก็ระบุว่า วิกฤตการเงินพลิกสู่หน้าใหม่แล้ว
ด้านวูล์ฟกัง ชะออยเบิล ขุนคลังเมืองเบียร์ สำทับว่า แม้ปัญหายังไม่จบ แต่ถือได้ว่ายูโรโซนมีความคืบหน้าสำคัญ
ความคิดเห็นเหล่านี้ตอกย้ำว่า สถานการณ์สมมติที่เลวร้ายที่สุด นั่นคือ วิกฤตนี้แพร่กระจายไปยังภูมิภาคอื่นๆ ของโลก ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้อีกต่อไป
การสวอปพันธบัตรคลังกรีซที่ได้รับความเห็นชอบจากเจ้าหนี้เอกชน 83.5% เป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้แผนการอัดฉีดเงินช่วยเหลือกรีซรอบสอง 130,000 ล้านดอลลาร์เดินหน้าต่อ โดยที่ก่อนหน้านั้นไปอีก รัฐสภากรีซยังได้ยอมอนุมัติการลดการใช้จ่ายเพิ่มเติม ตลอดจนถึงการปฏิรูปเพื่อเปิดเสรีเศรษฐกิจเป็นที่เรียบร้อย
ขณะนี้ ผู้นำยุโรปกำลังรอคำตอบจากไอเอ็มเอฟว่า จะร่วมลงขันอัดฉีดกรีซเท่าใด
กระนั้น นักการทูตเตือนว่า เงินช่วยเหลือรอบ 2 ที่จะครอบคลุมจนถึงสิ้นปี 2014นั้นไม่ได้ทำให้กรีซแข็งแรงขึ้น และเอเธนส์อาจต้องการเงินช่วยเหลือเพิ่ม
นิตยสารแดร์ สปีเกลของเยอรมันระบุในทำนองคล้ายกัน โดยอ้างรายงานเบื้องต้นของสหภาพยุโรป (อียู) ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) และไอเอ็มเอฟ หรือ “ทรอยกา” ว่า กรีซอาจต้องการเงินอีก 50,000 ล้านยูโรระหว่างปี 2015-2020 และอาจมีปัญหาในการระดมทุน
ก่อนหน้านี้ ชะออยเบิลเคยเตือนรัฐสภาเยอรมนีว่า อาจต้องช่วยเอเธนส์อีกในอนาคต แต่ไม่ได้ระบุตัวเลข
ขณะที่ฌอง-โคลด จุงเกอร์ ประธานขุนคลังยูโรโซน ตั้งข้อสังเกตว่า ไม่ควรคิดว่ากรีซจะยืนด้วยตัวเองได้อย่างรวดเร็วโดยปราศจากความสมานฉันท์ของยูโรโซนและนโยบายการเติบโตที่เป็นระบบ
จุงเกอร์ยังเตือนว่า อาจไม่สามารถตัดความเป็นไปได้สำหรับเงินช่วยเหลือก้อนที่ 3 แต่ก็ยังไม่ควรด่วนสรุปว่า สถานการณ์นี้จะเกิดขึ้น
ขณะเดียวกัน แหล่งข่าวในรัฐบาลยุโรปแย้มว่า เงินช่วยเหลือรอบ 3 มีความเป็นไปได้มาก เพราะมีโอกาสน้อยเหลือเกินที่กรีซจะกลับไประดมทุนในตลาดได้ อย่างไรก็ดี เงินช่วยเหลือเพิ่มเติมจะไม่มากเท่าเดิม ทำให้มีอุปสรรคน้อยลง
ทั้งนี้ ข้อตกลงสวอปพันธบัตรมีเป้าหมายเพื่อลดหนี้กรีซให้อยู่ในระดับที่ยั่งยืนที่ราว 120% ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ในปี 2020 จาก 160% ในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญมองว่า เป้าหมายดังกล่าวเป็นการมองแง่ดีเกินไป หากพิจารณาจากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่ติดลบมากขึ้น
เบน เมย์ จากแคปิตอล อิโคโนมิกส์ แจงว่า ความเชื่อมั่นของธุรกิจและผู้บริโภคที่เสื่อมลง อัตราว่างงานที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และการขาดแคลนสินเชื่อ บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจกรีซจะหดตัวรุนแรงในปีนี้ ซึ่งตรงข้ามกับความเชื่อของทรอยกาว่า ภาวะถดถอยของกรีซใกล้สิ้นสุดแล้ว นอกจากนั้น ยังเป็นได้ว่า จีดีพีและอัตราเงินเฟ้อในระยะกลางอาจต่ำกว่าที่ทรอยกาประเมิน
ทั้งนี้ ข้อมูลล่าสุดที่เผยแพร่ออกมาเมื่อวันศุกร์ (9) เศรษฐกิจกรีซติดลบมากกว่าคาดถึง 7.5% ในไตรมาส 4 ปีที่แล้ว และตลอดทั้งปีหดตัว 6.9% จากที่คาดไว้ว่าจะติดลบแค่ 5.5% และ 2.8%สำหรับปีนี้