ASTVผู้จัดการรายวัน - “นิวัฒน์ กาญจนภูมินทร์” ยอมรับ “Infrastructure Fund” อาจมีผลต่อวินัยการเงินการคลังและภาระหนี้รัฐอยู่บ้าง เหตุที่ยืนอยู่บนแนวคิดโยกหนี้ออกจากบัญชีงบดุล เว้นแต่รัฐจะจัดโครงสร้างซีเคียวฯ ให้ดี จำกัดภาระค้ำประกันจ่ายเงินชดเชยโครงการในอนาคต รัฐบาลเลิกแทรกแซงการกำหนดราคา
ผู้สื่อข่าวรายงานการจัดตั้งกองทุนโครงการโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund) ว่าเป็นเรื่องที่ต้องจับตามอง เนื่องจากเป็นอีกหนึ่งในแผนพัฒนาตลาดเอเชียบอนด์ภายใต้กรอบโครงการความคิดริเริ่มด้านการเงินที่เชียงใหม่ (Chang Mai Initiative) โดยเน้นย้ำความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการพัฒนาตลาดพันธบัตรในภูมิภาคระหว่างรัฐบาลอาเซียน+3 (จีน เกาหลีใต้และญี่ปุ่น) ที่เริ่มขึ้นในราวปี 2543 สมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร โดยในประเทศไทยรัฐบาลเคยออก Infrastructure fund เพื่อระดมเงินทุนผ่านการแปลงสินทรัพย์ในรูปรายได้ค่าเช่าให้เป็นตราสาร (Securitization) เพื่อจดทะเบียนและขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มาใช้พัฒนาโครงการศูนย์ราชการใหม่บนถนนแจ้งวัฒนะไปแล้วด้วยมูลค่ากว่า 20,000 ล้านบาท
"รายได้ที่ดูเหมือนอัฐยายซื้อขนมยายในรูปค่าเช่าซึ่งเก็บล่วงหน้า 30 ปีจากหน่วยงานราชการที่เข้าใช้พื้นที่เป็นหนุนหลังตราสารซีเคียวร์ แต่ยังมีอีก 4 กิจการรัฐวิสาหกิจ ได้แก่ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย, การประปานครหลวง, การท่าเรือแห่งประเทศไทย และวิทยุการบินแห่งประเทศไทย"
กระทรวงการคลังกำลังหมายมั่นว่าในอนาคตจะนำรายได้อันเป็นสินทรัพย์ของหน่วยงานเหล่านี้มาใช้หนุนหลังทำตราสาร secure เพื่อหาทุนก้อนใหม่มาขยายโครงการรลงทุนเพิ่มเติมซึ่งมีมูลค่าอีกหลายหมื่นล้านในหน่วยงานทั้ง 4 นี้
และแม้ปัจจุบันจะยังไม่มีรายใดได้เตรีมจัดตั้งกองทุนฯ ให้กระทรวงการคลังพิจารณาก็ตาม แต่ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงการคลัง เปิดเผย "ASTV ผู้จัดการรายวัน” ว่า การตั้งกองทุนนี้อาจเป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวังและต้องอาศัยการวิเคราะห์การเงินที่ดี การจัดตั้งกองทุนฯ จึงถูกกำหนดให้ต้องผ่านการพิจารณาในหลายขั้นตอนก่อนเสนอให้กระทรวงการคลังพิจารณาเป็นลำดับสุดท้ายเพื่อเสนอ ครม. อนุมัติแผนการจัดตั้ง เป็นเพราะ Infrastructure Fund ยังคงต้องผูกโยงกับการรักษาวินัยการเงินการคลังและภาระหนี้สินในระยะยาวของรัฐ เนื่องจากไม่อาจหลีกเลี่ยงเงื่อนไขการทำสัญญาประกันราคาและการจ่ายชดเชยค่าใช้บริการให้ผู้ร่วมทุนภาคเอกชนเข้าร่วมลงทุนในโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของรัฐในกรณีที่ตัวเลขรายได้อาจไม่เป็นไปตามประมาณการณ์จากสภาพเศรษฐกิจซึ่งไม่เอื้ออำนวย หรือในกรณีที่รัฐบาลไม่ยินยอมปรับขึ้นราคาในโครงการตามที่ข้อตกลงในสัญญาด้วยเหตุผลความมั่นคงทางการเมืองของรัฐบาลเองด้วย
นายนิวัฒน์ กาญจนภูมินทร์ กรรมการผู้จัดการสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย และผู้เคยมีประสบการณ์เขียนแผนการออกตราสาร securitization ให้แก่โครงการศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ กล่าวกับ “ASTV ผู้จัดการรายวัน” ระหว่างการจัดทำบทสัมภาษณ์พิเศษเรื่องความคืบหน้าในทิศทางการพัฒนาตลาดการเชื่อมตราสารหนี้ไทยภายใต้โครงการ Chang Mai Initiative ถึงประเด็นความห่วงใยของกระทรวงการคลังว่า "ก็เป็นเรื่องที่ใช่"
แต่แนวคิดการทำ securitization คือการตัดหนี้สินออกจากงบดุลบัญชีกิจการเช่นเดียวกับกรณีการขายสินทรัพย์ดีออกมาทำตราสาร secured ของสถาบันการเงิน ซึ่งรัฐก็มองว่าหลังแปลงสินทรัพย์เป็นตราสารเพื่อจัดหาเงินทุนก้อนใหม่แบบนี้แล้ว หนี้สินก้อนนี้จะไม่ปรากฎให้เห็นว่าเป็นหนี้สาธารณะ
“ที่ทางคลังห่วงเรื่องวินัยการเงินการคลัง มันก็เป็นอันหนึ่งเหมือนกัน เพราะมันทำให้คนไม่เห็นหนี้ก้อนนี้ซึ่งเป็นภาระของรัฐ แต่นั่นคือแนวคิดของมันอยู่แล้ว จะไปให้รัฐ recognize หนี้ก้อนนี้ได้ยังไง เพราะแนวคิดมันไปอย่างนี้ เพียงแต่ว่าจะทำอย่างไรให้โครงการนี้ดูแล้วมันมีความมั่นคง” นายนิวัฒน์กล่าว
หากจะพิจารณาในเชิงที่ว่าโครงการลงทุนเหล่านี้ถือว่ารัฐได้เข้าไปกู้หรือเปล่าก็ขึ้นอยู่กับว่ารัฐได้เข้าค้ำประกันหรือสัญญาว่าจะจ่ายอะไรให้ด้วยหรือไม่ หากรัฐบอกว่าโครงการเหล่านั้นต้องเลี้ยงตัวเองได้ รัฐก็อาจสนับสนุนด้วยการกำหนดเงื่อนไขการดูแลที่มีข้อจำกัดโดยไม่จำเป็นต้องดูแลทั้งโครงการก็ได้
แต่ securitization นี้จะเกิดขึ้นได้หรือไม่นั้นนายนิวัฒน์ก็เห็นว่าขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม แต่โดยหลักการและวิธีการถือเป็นสิ่งที่ทำได้อยู่แล้ว เพียงแต่จะทำเช่นไรตลาดจึงจะเกิดขึ้นได้ เพราะสิ่งหนึ่งที่นักลงทุนห่วงใยในเรื่องการทำ secure โดยเฉพาะกับสาธารณูปโภคคือการแทรกแซงราคาของรัฐบาล และการจัดโครงสร้างตราสารที่จะสนับสนุนความมั่นใจแก่นักลงทุนยังเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณาให้ดี.
ผู้สื่อข่าวรายงานการจัดตั้งกองทุนโครงการโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund) ว่าเป็นเรื่องที่ต้องจับตามอง เนื่องจากเป็นอีกหนึ่งในแผนพัฒนาตลาดเอเชียบอนด์ภายใต้กรอบโครงการความคิดริเริ่มด้านการเงินที่เชียงใหม่ (Chang Mai Initiative) โดยเน้นย้ำความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการพัฒนาตลาดพันธบัตรในภูมิภาคระหว่างรัฐบาลอาเซียน+3 (จีน เกาหลีใต้และญี่ปุ่น) ที่เริ่มขึ้นในราวปี 2543 สมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร โดยในประเทศไทยรัฐบาลเคยออก Infrastructure fund เพื่อระดมเงินทุนผ่านการแปลงสินทรัพย์ในรูปรายได้ค่าเช่าให้เป็นตราสาร (Securitization) เพื่อจดทะเบียนและขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มาใช้พัฒนาโครงการศูนย์ราชการใหม่บนถนนแจ้งวัฒนะไปแล้วด้วยมูลค่ากว่า 20,000 ล้านบาท
"รายได้ที่ดูเหมือนอัฐยายซื้อขนมยายในรูปค่าเช่าซึ่งเก็บล่วงหน้า 30 ปีจากหน่วยงานราชการที่เข้าใช้พื้นที่เป็นหนุนหลังตราสารซีเคียวร์ แต่ยังมีอีก 4 กิจการรัฐวิสาหกิจ ได้แก่ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย, การประปานครหลวง, การท่าเรือแห่งประเทศไทย และวิทยุการบินแห่งประเทศไทย"
กระทรวงการคลังกำลังหมายมั่นว่าในอนาคตจะนำรายได้อันเป็นสินทรัพย์ของหน่วยงานเหล่านี้มาใช้หนุนหลังทำตราสาร secure เพื่อหาทุนก้อนใหม่มาขยายโครงการรลงทุนเพิ่มเติมซึ่งมีมูลค่าอีกหลายหมื่นล้านในหน่วยงานทั้ง 4 นี้
และแม้ปัจจุบันจะยังไม่มีรายใดได้เตรีมจัดตั้งกองทุนฯ ให้กระทรวงการคลังพิจารณาก็ตาม แต่ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงการคลัง เปิดเผย "ASTV ผู้จัดการรายวัน” ว่า การตั้งกองทุนนี้อาจเป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวังและต้องอาศัยการวิเคราะห์การเงินที่ดี การจัดตั้งกองทุนฯ จึงถูกกำหนดให้ต้องผ่านการพิจารณาในหลายขั้นตอนก่อนเสนอให้กระทรวงการคลังพิจารณาเป็นลำดับสุดท้ายเพื่อเสนอ ครม. อนุมัติแผนการจัดตั้ง เป็นเพราะ Infrastructure Fund ยังคงต้องผูกโยงกับการรักษาวินัยการเงินการคลังและภาระหนี้สินในระยะยาวของรัฐ เนื่องจากไม่อาจหลีกเลี่ยงเงื่อนไขการทำสัญญาประกันราคาและการจ่ายชดเชยค่าใช้บริการให้ผู้ร่วมทุนภาคเอกชนเข้าร่วมลงทุนในโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของรัฐในกรณีที่ตัวเลขรายได้อาจไม่เป็นไปตามประมาณการณ์จากสภาพเศรษฐกิจซึ่งไม่เอื้ออำนวย หรือในกรณีที่รัฐบาลไม่ยินยอมปรับขึ้นราคาในโครงการตามที่ข้อตกลงในสัญญาด้วยเหตุผลความมั่นคงทางการเมืองของรัฐบาลเองด้วย
นายนิวัฒน์ กาญจนภูมินทร์ กรรมการผู้จัดการสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย และผู้เคยมีประสบการณ์เขียนแผนการออกตราสาร securitization ให้แก่โครงการศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ กล่าวกับ “ASTV ผู้จัดการรายวัน” ระหว่างการจัดทำบทสัมภาษณ์พิเศษเรื่องความคืบหน้าในทิศทางการพัฒนาตลาดการเชื่อมตราสารหนี้ไทยภายใต้โครงการ Chang Mai Initiative ถึงประเด็นความห่วงใยของกระทรวงการคลังว่า "ก็เป็นเรื่องที่ใช่"
แต่แนวคิดการทำ securitization คือการตัดหนี้สินออกจากงบดุลบัญชีกิจการเช่นเดียวกับกรณีการขายสินทรัพย์ดีออกมาทำตราสาร secured ของสถาบันการเงิน ซึ่งรัฐก็มองว่าหลังแปลงสินทรัพย์เป็นตราสารเพื่อจัดหาเงินทุนก้อนใหม่แบบนี้แล้ว หนี้สินก้อนนี้จะไม่ปรากฎให้เห็นว่าเป็นหนี้สาธารณะ
“ที่ทางคลังห่วงเรื่องวินัยการเงินการคลัง มันก็เป็นอันหนึ่งเหมือนกัน เพราะมันทำให้คนไม่เห็นหนี้ก้อนนี้ซึ่งเป็นภาระของรัฐ แต่นั่นคือแนวคิดของมันอยู่แล้ว จะไปให้รัฐ recognize หนี้ก้อนนี้ได้ยังไง เพราะแนวคิดมันไปอย่างนี้ เพียงแต่ว่าจะทำอย่างไรให้โครงการนี้ดูแล้วมันมีความมั่นคง” นายนิวัฒน์กล่าว
หากจะพิจารณาในเชิงที่ว่าโครงการลงทุนเหล่านี้ถือว่ารัฐได้เข้าไปกู้หรือเปล่าก็ขึ้นอยู่กับว่ารัฐได้เข้าค้ำประกันหรือสัญญาว่าจะจ่ายอะไรให้ด้วยหรือไม่ หากรัฐบอกว่าโครงการเหล่านั้นต้องเลี้ยงตัวเองได้ รัฐก็อาจสนับสนุนด้วยการกำหนดเงื่อนไขการดูแลที่มีข้อจำกัดโดยไม่จำเป็นต้องดูแลทั้งโครงการก็ได้
แต่ securitization นี้จะเกิดขึ้นได้หรือไม่นั้นนายนิวัฒน์ก็เห็นว่าขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม แต่โดยหลักการและวิธีการถือเป็นสิ่งที่ทำได้อยู่แล้ว เพียงแต่จะทำเช่นไรตลาดจึงจะเกิดขึ้นได้ เพราะสิ่งหนึ่งที่นักลงทุนห่วงใยในเรื่องการทำ secure โดยเฉพาะกับสาธารณูปโภคคือการแทรกแซงราคาของรัฐบาล และการจัดโครงสร้างตราสารที่จะสนับสนุนความมั่นใจแก่นักลงทุนยังเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณาให้ดี.