ASTVผู้จัดการรายวัน - ประธานแบงก์ออมสินปัดเป็นร่างทรง “นิพัทธ พุกกะณะสุต” ยันเข้ามาทำงานที่ออมสินด้วยความบริสุทธิ์ใจไม่ต้องการขัดแย้งกับใคร พร้อมสร้างธรรมาภิบาลให้องค์กรในระยะยาว ระบุตั้งกรรมการสอบตามผลสอบแบงก์ชาติไม่ได้จ้องเล่นงานใคร
นางพรรณี สถาวโรดม ประธานกรรมการ ธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ถึงปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในธนาคารออมสินในขณะนี้นั้น ได้ทำไปตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้เข้ามาดูแลให้ธนาคารให้เติบโตอย่างมั่นคงและมีธรรมาภิบาล ไม่ได้ต้องการที่จะมีความขัดแย้งกับใคร เพราะจากรายงานผลการตรวจสอบของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ชี้ว่า สินเชื่อของธนาคารเติบโตอย่างก้าวกระโดดมากเกินไป จนจะทำให้จำนวนบุคคลากรที่ไม่เพียงพอ และธนาคารเริ่มที่จะแข่งขันกับธนาคารพาณิชย์ด้วยการปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้ารายใหญ่มากขึ้น แม้สัดส่วนการปล่อยรายใหญ่จะยังอยู่ในเพดานไม่เกิน 10% แต่หากกลายเป็นหนี้เสียจะกระทบกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับธนาคาร ทั้งผู้ฝากเงินและลูกหนี้สินเชื่อ
โดยหลังจากเข้ารับตำแหน่งในฐานะที่เป็นผู้กำกับและดูแลกิจการธนาคารได้ขอดูคู่มือการเป็นกรรมการจึงพบว่า มีความไม่ชอบกลของระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพราะมีการให้อำนาจผู้อำนวยการ 100% อย่างระเบียบการแต่งตั้งบุคลากร การพิจารณาสินเชื่อ ที่มีการมอบหมายต่อเป็นชั้นๆ ไม่ได้ระบุชัดเจนว่าควรจะเป็นอำนาจของใคร การตัดหนี้สูญ ซึ่งกฎหมายออมสินไม่ได้ระบุไว้ แต่เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานของกิจการธนาคาร จึงให้ใช้ตามประมวลกฎหมายรัษฎากร ฉบับที่ 186 ระบุชัดว่า อำนาจตัดหนี้สูญเป็นอำนาจของคณะกรรมการ แต่กลับมีมอบอำนาจให้ผู้อำนวยการ และเกณฑ์ในการโอนเงินงบประมาณและการเปิดสาขา
“เริ่มต้นที่คุยกันก็เห็นตรงกันว่าควรจะแก้ไข และเมื่อผ่านที่ประชุมคณะกรรมการก็เป็นมติเอกฉันท์เช่นกัน ควรทบทวนและ ควรเรียกอำนาจคืนและชะลอการใช้อำนาจลง เพื่อความมั่นคงของธนาคารในระยะยาว เพราะตามหลักธรรมาภิบาลก็ควรจะมีการคานอำนาจกัน 2 ฝ่ายคือ ฝ่ายบริหารกับคณะกรรมการ เพื่อสร้างกติกาให้ชัดเจนมุ่งสู่เป้าหมายสามารถตรวจสอบและสร้างความสมดุลได้ แต่เมื่อทำไปแล้วก็อาจจะกระทบต่อสิทธิบางอย่างที่มีอยู่เดิมบ้าง แต่ก็เพื่อผลประโยชน์ของธนาคารเป็นหลัก ไม่ใช่เพื่อพวกพ้องอะไร” นางพรรณีกล่าว
สำหรับการปรับเกณฑ์การให้สินเชื่อได้ข้อสรุปแล้ว ตามข้อสรุปของฝายกฎหมายที่มีตัวแทนอัยการสูงสุดกับกฤษฎีการ่วมอยู่ด้วย และปรับให้สอดคล้องกับธนาคารแห่งประเทศไทย แต่ยังไม่ได้ลงนามและนำเสนอในที่ประชุมคณะกรรมการครั้งต่อไป ส่วนที่เหลือเช่น ระเบียบในการตัดหนี้สูญ ระเบียบในการการลงทุน และการเปิดสาขาอยู่ระหว่างการดำเนินการ
อย่างไรก็ตาม ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในขณะนี้คงไม่สามารถพูดอะไรได้ เพราะต้องรอผลสอบของกระทรวงการคลังที่แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบข้อเท็จจริงในการดำเนินงานต่างๆ ทั้งการให้สินเชื่อ การแต่งตั้งบุคคลการ ซึ่งคาดว่าจะสรุปในเร็วๆ นี้ และยังมีคณะกรรมการที่ตนตั้งตามผลสอบของ ธปท.อีก 2 ชุดด้วย ซึ่งมีคณะกรรมการตรวจสอบการปล่อยสินเชื่อมีนายวิจิตร สุพินิจเป็นประธาน เพราะเห็นว่าเป็นอดีตผู้ว่าการ ธปท.ที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องกฎเกณฑ์ต่างในการปล่อยสินเชื่อ ไม่ได้คิดอะไรมากกว่านั้น หรือแม้แต่การมานั่งเป็นประธาน ก็ไม่ได้มาจากคำแนะนำของนายนิพัทธ พุกกะณะสุต ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีตามที่เป็นข่าวแต่อย่างใด
นางพรรณี สถาวโรดม ประธานกรรมการ ธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ถึงปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในธนาคารออมสินในขณะนี้นั้น ได้ทำไปตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้เข้ามาดูแลให้ธนาคารให้เติบโตอย่างมั่นคงและมีธรรมาภิบาล ไม่ได้ต้องการที่จะมีความขัดแย้งกับใคร เพราะจากรายงานผลการตรวจสอบของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ชี้ว่า สินเชื่อของธนาคารเติบโตอย่างก้าวกระโดดมากเกินไป จนจะทำให้จำนวนบุคคลากรที่ไม่เพียงพอ และธนาคารเริ่มที่จะแข่งขันกับธนาคารพาณิชย์ด้วยการปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้ารายใหญ่มากขึ้น แม้สัดส่วนการปล่อยรายใหญ่จะยังอยู่ในเพดานไม่เกิน 10% แต่หากกลายเป็นหนี้เสียจะกระทบกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับธนาคาร ทั้งผู้ฝากเงินและลูกหนี้สินเชื่อ
โดยหลังจากเข้ารับตำแหน่งในฐานะที่เป็นผู้กำกับและดูแลกิจการธนาคารได้ขอดูคู่มือการเป็นกรรมการจึงพบว่า มีความไม่ชอบกลของระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพราะมีการให้อำนาจผู้อำนวยการ 100% อย่างระเบียบการแต่งตั้งบุคลากร การพิจารณาสินเชื่อ ที่มีการมอบหมายต่อเป็นชั้นๆ ไม่ได้ระบุชัดเจนว่าควรจะเป็นอำนาจของใคร การตัดหนี้สูญ ซึ่งกฎหมายออมสินไม่ได้ระบุไว้ แต่เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานของกิจการธนาคาร จึงให้ใช้ตามประมวลกฎหมายรัษฎากร ฉบับที่ 186 ระบุชัดว่า อำนาจตัดหนี้สูญเป็นอำนาจของคณะกรรมการ แต่กลับมีมอบอำนาจให้ผู้อำนวยการ และเกณฑ์ในการโอนเงินงบประมาณและการเปิดสาขา
“เริ่มต้นที่คุยกันก็เห็นตรงกันว่าควรจะแก้ไข และเมื่อผ่านที่ประชุมคณะกรรมการก็เป็นมติเอกฉันท์เช่นกัน ควรทบทวนและ ควรเรียกอำนาจคืนและชะลอการใช้อำนาจลง เพื่อความมั่นคงของธนาคารในระยะยาว เพราะตามหลักธรรมาภิบาลก็ควรจะมีการคานอำนาจกัน 2 ฝ่ายคือ ฝ่ายบริหารกับคณะกรรมการ เพื่อสร้างกติกาให้ชัดเจนมุ่งสู่เป้าหมายสามารถตรวจสอบและสร้างความสมดุลได้ แต่เมื่อทำไปแล้วก็อาจจะกระทบต่อสิทธิบางอย่างที่มีอยู่เดิมบ้าง แต่ก็เพื่อผลประโยชน์ของธนาคารเป็นหลัก ไม่ใช่เพื่อพวกพ้องอะไร” นางพรรณีกล่าว
สำหรับการปรับเกณฑ์การให้สินเชื่อได้ข้อสรุปแล้ว ตามข้อสรุปของฝายกฎหมายที่มีตัวแทนอัยการสูงสุดกับกฤษฎีการ่วมอยู่ด้วย และปรับให้สอดคล้องกับธนาคารแห่งประเทศไทย แต่ยังไม่ได้ลงนามและนำเสนอในที่ประชุมคณะกรรมการครั้งต่อไป ส่วนที่เหลือเช่น ระเบียบในการตัดหนี้สูญ ระเบียบในการการลงทุน และการเปิดสาขาอยู่ระหว่างการดำเนินการ
อย่างไรก็ตาม ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในขณะนี้คงไม่สามารถพูดอะไรได้ เพราะต้องรอผลสอบของกระทรวงการคลังที่แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบข้อเท็จจริงในการดำเนินงานต่างๆ ทั้งการให้สินเชื่อ การแต่งตั้งบุคคลการ ซึ่งคาดว่าจะสรุปในเร็วๆ นี้ และยังมีคณะกรรมการที่ตนตั้งตามผลสอบของ ธปท.อีก 2 ชุดด้วย ซึ่งมีคณะกรรมการตรวจสอบการปล่อยสินเชื่อมีนายวิจิตร สุพินิจเป็นประธาน เพราะเห็นว่าเป็นอดีตผู้ว่าการ ธปท.ที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องกฎเกณฑ์ต่างในการปล่อยสินเชื่อ ไม่ได้คิดอะไรมากกว่านั้น หรือแม้แต่การมานั่งเป็นประธาน ก็ไม่ได้มาจากคำแนะนำของนายนิพัทธ พุกกะณะสุต ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีตามที่เป็นข่าวแต่อย่างใด