ASTVผู้จัดการรายวัน-เปิดลงทะเบียนเยียวยาม๊อบการเมือง วันแรกคึกคัก “เสื้อแดง”โผล่รับสิทธิ์เงินล้าน กว่า 500 คน ศาลปกครองไม่รับสั่งระงับ เหตุแค่อยู่ขั้นลงทะเบียน “ยงยุทธ” เมินสั่งเดินหน้าจ่ายจนกว่าศาลฯมีคำสั่ง คนเพื่อไทยรุมอัดปชป.คับแคบ
วานนี้(8 มี.ค.) เวลา 14.00 น.ที่ศาลปกครอง ถนนแจ้งวัฒนะ นายสาธิต ปิตุเตชะ ส.ส.ระยอง พรรคประชาธิปัตย์ นายสมชาย เกิดรุ่งเรือง ผู้จัดการมรดกและลุงของ ด.ช.จักรพันธุ์ ศรีสอาด หรือน้องฟลุ๊ค เหยื่อที่เสียชีวิตจากการปฏิบัติการปราบปรามยาเสพติดของเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.บางชัน เมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2546 และนายตรีสิทธิ์ ศิริวรรณ ผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงทางการเมือง เมื่อเดือนพ.ค. 2535 หรือพฤษภาทมิฬ เป็นผู้ฟ้องคดีที่1-3 ได้ยื่นฟ้องน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีเป็นผู้ถูกฟ้องคดี1-2 เพื่อขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนมติครม. เมื่อวันที่ 6 มี.ค. 2555 ที่ได้อนุมัติงบประมาณเพื่อเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมืองระหว่างปีพ.ศ.2548-2554 และขอให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีมีมติกำหนดกฎเกณฑ์ในการเยียวยาความเสียหายให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบในเหตุการณ์ความรุนแรงครั้งต่างๆ อย่างเท่าเทียมกันจากข้อเท็จจริงในแต่ละกรณีอย่างเป็นธรรม โดยไม่รวมถึงกรณีผู้กระทำความผิดตามกฎหมายในเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น เนื่องจากเป็นการจ่ายเงินเยียวยาที่ไม่มีกฎหมายรองรับ รวมถึงเป็นการจ่ายเงินที่ไม่มีความเสมอภาคและเป็นธรรม อีกทั้งการชุมนุมระหว่างปี2552 -2553 ของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เป็นการชุมนุมที่ฝ่าฝืน พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ทั้งนี้ยังได้ขอให้ศาลดำเนินการไต่สวนเพื่อกำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา
ขณะที่ 20.00น.ศาลฯแจ้งว่า ศาลไม่รับคำขอไต่สวนฉุกเฉินตามที่ผู้ร้องยื่นมา เนื่องจากเป็นไปตามขั้นตอนลงทะเบียน ไม่ใช่การจ่ายเงิน แต่ศาลจะขอรายละเอียดมติ ครม.มาพิจารณา และเรียกเลขาครม.มาชี้แจง
นายวีระวงศ์ จิตต์มิตรภาพ โฆษกคณะกรรมการประสานและติดตามผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ อิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (ปคอป.) กล่าวว่า หากผลออกมาว่าให้คุ้มครอง ทางปคอป.และรัฐบาลก็ต้องยุติการเยียวยาลง
ส่วนหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบทางการเมืองระหว่างปี 2548-2553 ด้วยว่า การจ่ายเงินช่วยเหลือเงินเยียวยาจะจ่ายเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกเป็นการเยียวยาให้ความช่วยเหลือด้านจิตใจ จำนวน 3 ล้านบาท และอีกด้านหนึ่งก็เป็นการดูแลค่าใช้จ่ายต่างๆ อีกจำนวน 4.5 ล้านบาท กรณีเสียชีวิตและทุพพลภาพ ส่วนคนที่ได้รับบาดเจ็บก็จะได้รับการเยียวยาตามอัตราต่างๆ
สำหรับการเยียวยาเหยื่อ ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นจะมาอีกชุดหนึ่ง แต่หลักการต่างกันซึ่งต้องให้คณะกรรมการอีกชุดดำเนินการส่งเรื่องเข้ามา ทั้งนี้ทางคณะกรรมการ จะเร่งศึกษาแนวทางในการเยียวยาสำหรับกลุ่มคนที่ได้รับความเสียหายด้านทรัพย์สิน กลุ่มที่ได้รับความเสียหายด้านอิสรภาพ หรือกลุ่มที่ถูกดำเนินคดีในระหว่างเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมือง โดยจะมีคณะกรรมการพิเศษขึ้นมาพิจารณาเป็นรายกรณี อย่างไรก็ตามกลุ่มดังกล่าวต้องใช้เวลาในการพิจารณาและหาข้อมูลเพิ่มเติมมาประกอบการพิจารณาอย่างละเอียด
นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย ในฐานะประธาน ปคอป. กล่าวว่า เป็นสิทธิของพรรคประชาธิปัตย์ รัฐบาลจะเดินหน้าต่อไปจนกว่าศาลจะมีคำสั่งยุติลงมา หากศาลปกครองเรียกให้ไปชี้แจง ก็พร้อมไปอธิบาย มอบเอกสารให้ศาลพิจารณาต่อไป แต่ตอนนี้ยังเป็นแค่ข่าวอยู่ คงไม่กระทบกับการจ่ายเงินเยียวยา แต่ถ้าศาลมีคำพิพากษาอย่างไรก็คงจะต้องคุยกันอีกที่หนึ่ง สุดแท้แต่ศาลจะพิจารณา ทางรัฐบาลถือว่าได้ทำไปโดยถูกต้องและชอบแล้ว
ทั้งนี้ หากศาลมีคำสั่งระงับจะทำให้เกิดปัญหาย้อนหลังขึ้นหรือไม่ นายยงยุทธ กล่าวว่า หากสมมติไปไกลก็ตอบยาก รอไว้ให้เหตุการณ์เกิดขึ้นแล้วค่อยพิจารณากัน อย่างไรก็ตาม ในส่วนของผู้ประกอบการที่ได้รับความเสียหายจะต้องพิจารณาให้เร็วที่สุด หลังจากเสร็จเรื่องคนตายคนบาดเจ็บก่อน ก็จะไปเรื่องของทรัพย์สินต่อไป ซึ่งในวันที่ 12 มี.ค. นี้จะมีการประชุมถึงแนวทางการเยียวยาทรัพย์สินของผู้ประกอบการที่เสียหาย
ส่วนที่พรรคประชาธิปัตย์อยากให้มีรวมการเยียวยาในเหตุการณ์เดือนตุลาหรือพฤษภาทมิฬ นายยงยุทธ กล่าวว่า คณะทำงานที่ตั้งขึ้นมาคือ ปคอป. มีเจตนาในการตั้งขึ้นมาเพื่อทำตามมติของ คอป. ซึ่งเราก็ไม่ได้เปลี่ยนเจตนารมณ์หรือตั้งเรื่องขึ้นใหม่เพราะไม่อย่างนั้นคงต้องเป็นอีกเรื่องหนึ่งแล้ว เนื่องจากตอนตั้ง ปคอป. ขึ้นมาก็เขียนเอาไว้ชัดเจนอยู่แล้วในคำสั่ง
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์ใจคับแคบที่เอะอะก็จะยื่นตรวจสอบทั้งๆที่เป็นประโยชน์ ต่อผู้ที่ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต อยากถามพรรคประชาธิปัตย์ว่าไม่ต้องการเห็นประชาชนได้รับการเยียวยาและชดเชยใช่หรือไม่ จึงไปยื่นศาลปกครองขัดขวางไม่ให้มีการใจเงิน ทั้งที่วันที่ 8 มี.ค. ถือเป็นวันแรกที่เปิดให้ลงทะเบียน พรรคประชาธิปัตย์ไม่รับรู้ถึงความเดือดร้อนของผู้ที่ดีรับผลกระทบเลยหรือ อยากเรียกร้องว่าเมื่อไหร่พรรคประชาธิปัตย์จะเลิกเล่นเกมการเมืองเสียที เงินจำนวน 2 พันล้านถือว่าไม่มาก ที่จะให้กับผู้สูญเสีย เพื่อทำให้เกิดความปรองดองแต่ก้าวแรกก็ถูกแตะตัดขาจากคนในพรรคประชาธิปัตย์ที่อ้างว่าฟังเสียงประชาชน อย่างไรก็ตามยืนยันว่าไม่ใช่การใช้เงินภาษีประชาชนเพื่อซื้อความปรองดอง
นายพิพัฒน์ชัย ไพบูลย์ โฆษกกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า เรื่องนี้มันน่าจะจบได้แล้วพรรคประชาธิปัตย์จะเอาอะไรนักหนาเล่นการเมืองแต่พอสมควรเถอะ และการที่นายสาทิต กล่าวว่า การเยียวยาครั้งนี้จำนวนเงิน7.5 ล้านบาทนั้นเยอะไป ขอเรียนขอย้ำอีกทีว่าพรรคประชาธิปัตย์อย่าตีค่าชีวิตคนเป็นตัวเลข ลูกที่ต้องสูญเสียพ่อ แม่ที่ต้องสูญเสียลูก ภรรยาที่ต้องสูญเสียสามี เพราะการกระทำอย่างอำมหิตของภาครัฐ จะตีค่าคำนวณเป็นตัวเลขไม่ได้ จิตใจพวกคุณอาจจะโหดเหี้ยมพอแต่อย่าลืมหัวอกของคนสูญเสียอยากเรียกร้องให้พรรคประชาธิปัตย์มีใจเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์บ้างและเงินเยียวยาครั้งนี้ถ้าเทียบแล้วคงน้อยกว่าการทุจริตของรัฐบาลที่ผ่านมาและอยากใช้คำพูดของท่าน ส.ส.จตุพร ว่า ถ้านายสาทิตย์บอกว่าจำนวนเงินมากไป เอาญาติพี่น้องนายสาทิตย์ไปตายบ้างแล้วได้เงิน7.5ล้านบาทนายสาทิตย์จะเอาหรือไม่
พ.อ.อภิวัทน์ วิริยะชัย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า การจ่ายเงินชดเชยถือเป็นแนวทางหนึ่งที่นำไปสู่การสร้างความปรองดอง แต่ไม่ขอวิจารณ์เรื่องตัวเลขจำนวนเงิน เพราะตนหยุดร่วมกิจกรรมกับคนเสื้อแดงมาเป็นปี
นายกิตติพงษ์ กิตติยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ในฐานะคณะกรรมการ คอป.ได้ทวิตเตอร์ ว่า บรรยากาศที่สถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี เป็นวันแรก ที่มีการเปิดให้รับลงทะเบียน เจ้าหน้าที่ได้จัดสถานที่ลงทะเบียนไว้ ที่บริเวณอาคารอเนกประสงค์ และมีการตรวจเอกสารขอรับเงินเยียวยาบริเวณด้านบนอาคารด้วย โดยเริ่มมาตั้งแต่เวลาประมาณ 08.30 น. เป็นต้นไป
ส่วนบรรยากาศที่สถานสงเคราะห์เด็กหญิง บ้านราชวิถีที่อาคารเอนกประสงค์ ได้เปิดเป็นศูนย์ช่วยเหลือ และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบทางการเมือง พศ. 2548-2553 ของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ตั้งแต่ช่วงเช้าเป็นไปอย่างคึกคัก โดยมีประชาชนได้ทยอยมาลงทะเบียนเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นญาติผู้เสียชีวิต ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย และ ผู้ทุพพลภาพ ซึ่งมีทั้งคนเสื้อแดง และเสื้อเหลือง แต่ส่วนใหญ่จะเป็นคนเสื้อแดง ทั้งนี้บางคนก็แสดงตนโดยสวมเสื้อแดง นอกจากนี้ยังมีเจ้าหน้าที่ตำรวจมาลงทะเบียนขอรับเงินเยียวยาด้วย
ทั้งนี้ เมื่อผู้ที่ประสงค์จะลงทะเบียน โดยเมื่อเดินทางมาถึงอาคารเอนกประสงค์ต้องเดินมาที่โต๊ะรับบัตรคิว ที่อยู่บริเวณชั้นหนึ่ง พร้อมกรอกแบบฟอร์มการลทะเบียน และต้องมีเอกสารประกอบการยื่นเบื้องต้น คือ สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน ใบรับรองแพทย์ ส่วนในกรณีผู้เสียชีวิตก็ต้องมีใบมรณบัตร ทะเบียนสมรส ในกรณีเป็นคู่สมรส ทั้งนี้ในกรนีที่เป็นผู้ดูแล ทั้งผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต ก็ให้นำพยานแวดล้อมมายืนยันว่าเป็นผู้ดูแลจริง ซึ่งหลังจากรับบัตรคิด และกรอกเอกสารเรียบร้อย ก็ต้องขึ้นไปที่ชั้นสอง เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสาร จากนั้นจะได้รับใบตอบรับ เพื่อจะติดต่อกลับไปอีกครั้ง ซึ่งเจ้าหน้าที่ระบุว่าต้องนำเอกสารมาตรวจสอบความถูกต้อง อีกครั้ง โดยการลงทะเบียน จะเปิดให้บริการตั้งแต่ 08.30 น. - 16.30 น. ตามเวลาราชการ และในเบื้องต้นในแต่ละวันจะเปิดรับลงทะเบียนวันละ 500 คน ซึ่งกำหนดเบื้องต้นใช้เวลา 5 วัน ทั้งนี้ที่กำหนดไว้วันละ 500 คนเพื่อให้เพียงพอต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสาร ที่มีมาทำงานประมาณ 15 คน และตั้งแต่ช่วงเช้าของวันแรก ก็มีผู้มาลงทะเบียนแล้ว กว่า 400 ราย ทั้งนี้การลงทะเบียนในครั้งนี้เพราะผู้ที่ได้รับบาดเจ็บหือเสียชีวิตเท่านั้น ไม่เกี่ยวข้องกับผู้ที่ได้รับความเสียหายกับทรัพย์สินแต่อย่างใดขณะที่เมื่อสอบถามเจ้าหน้าที่ว่าจะได้รับเงินเมื่อไหร่ ก็ได้รับคำตอบว่า ยังไม่สามารถระบุได้ เพราะอาจจะมีปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะกรณีการยื่นศาลปกครอง.
****ศาลไม่ไต่ระงับเยียวยาม็อบ
ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งไม่รับไต่สวนฉุกเฉิน คดีหมายเลชดำที่ 351/2555 กรณี นายสาธิต ปิตุเตชะ ส.ส.ระยอง พรรคประชาธิปัตย์ นายสมชาย เกิดรุ่งเรือง ผู้จัดการมรดกและลุงของ ด.ช.จักรพันธุ์ ศรีสอาด หรือ น้องฟลุ๊ค เหยื่อที่เสียชีวิตจากการปฏิบัติการปราบปรามยาเสพติดของเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.บางชัน เมื่อวันที่ 23 ก.พ.2546 และ นายตรีสิทธิ์ ศิริวรรณ ผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงทางการเมือง เมื่อเดือน พ.ค.2535 หรือพฤษภาทมิฬ เป็นผู้ฟ้องคดีที่ 1-3 ได้ยื่นฟ้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีเป็นผู้ถูกฟ้องคดี 1-2 เพื่อขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนมติ ครม.เมื่อวันที่ 6 มี.ค.55 ที่ได้อนุมัติงบประมาณเพื่อเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการ เมืองระหว่างปี พ.ศ.2548-2554
โดยโจทก์ ขอให้ไต่สวนฉุกเฉินและออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวเพื่อระงับมติครม. 6 มีนาคม 2555 เยียวยาแดง 2 พันล้านบาทต่อมา ศาลมีคำสั่งไม่รับไต่สวนฉุกเฉิน แต่จะเรียกเอกสารรายละเอียดทั้งหมดเกี่ยวกับมติครม. ดังกล่าวจากเลขาฑิการคณะรัฐมนตรี (ครม.) มาพิจารณา
นอกจากนี้ หากยังมีข้อสงสัยก็จะให้เลขาครม.มาชี้แจงต่อศาล จากนั้นศาลจะพิจารณาว่าจะทุเลาบังคับมติครม.หรือไม่ โดยจะแจ้งให้ผู้ร้องทราบอีกครั้ง
วานนี้(8 มี.ค.) เวลา 14.00 น.ที่ศาลปกครอง ถนนแจ้งวัฒนะ นายสาธิต ปิตุเตชะ ส.ส.ระยอง พรรคประชาธิปัตย์ นายสมชาย เกิดรุ่งเรือง ผู้จัดการมรดกและลุงของ ด.ช.จักรพันธุ์ ศรีสอาด หรือน้องฟลุ๊ค เหยื่อที่เสียชีวิตจากการปฏิบัติการปราบปรามยาเสพติดของเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.บางชัน เมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2546 และนายตรีสิทธิ์ ศิริวรรณ ผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงทางการเมือง เมื่อเดือนพ.ค. 2535 หรือพฤษภาทมิฬ เป็นผู้ฟ้องคดีที่1-3 ได้ยื่นฟ้องน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีเป็นผู้ถูกฟ้องคดี1-2 เพื่อขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนมติครม. เมื่อวันที่ 6 มี.ค. 2555 ที่ได้อนุมัติงบประมาณเพื่อเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมืองระหว่างปีพ.ศ.2548-2554 และขอให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีมีมติกำหนดกฎเกณฑ์ในการเยียวยาความเสียหายให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบในเหตุการณ์ความรุนแรงครั้งต่างๆ อย่างเท่าเทียมกันจากข้อเท็จจริงในแต่ละกรณีอย่างเป็นธรรม โดยไม่รวมถึงกรณีผู้กระทำความผิดตามกฎหมายในเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น เนื่องจากเป็นการจ่ายเงินเยียวยาที่ไม่มีกฎหมายรองรับ รวมถึงเป็นการจ่ายเงินที่ไม่มีความเสมอภาคและเป็นธรรม อีกทั้งการชุมนุมระหว่างปี2552 -2553 ของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เป็นการชุมนุมที่ฝ่าฝืน พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ทั้งนี้ยังได้ขอให้ศาลดำเนินการไต่สวนเพื่อกำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา
ขณะที่ 20.00น.ศาลฯแจ้งว่า ศาลไม่รับคำขอไต่สวนฉุกเฉินตามที่ผู้ร้องยื่นมา เนื่องจากเป็นไปตามขั้นตอนลงทะเบียน ไม่ใช่การจ่ายเงิน แต่ศาลจะขอรายละเอียดมติ ครม.มาพิจารณา และเรียกเลขาครม.มาชี้แจง
นายวีระวงศ์ จิตต์มิตรภาพ โฆษกคณะกรรมการประสานและติดตามผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ อิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (ปคอป.) กล่าวว่า หากผลออกมาว่าให้คุ้มครอง ทางปคอป.และรัฐบาลก็ต้องยุติการเยียวยาลง
ส่วนหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบทางการเมืองระหว่างปี 2548-2553 ด้วยว่า การจ่ายเงินช่วยเหลือเงินเยียวยาจะจ่ายเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกเป็นการเยียวยาให้ความช่วยเหลือด้านจิตใจ จำนวน 3 ล้านบาท และอีกด้านหนึ่งก็เป็นการดูแลค่าใช้จ่ายต่างๆ อีกจำนวน 4.5 ล้านบาท กรณีเสียชีวิตและทุพพลภาพ ส่วนคนที่ได้รับบาดเจ็บก็จะได้รับการเยียวยาตามอัตราต่างๆ
สำหรับการเยียวยาเหยื่อ ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นจะมาอีกชุดหนึ่ง แต่หลักการต่างกันซึ่งต้องให้คณะกรรมการอีกชุดดำเนินการส่งเรื่องเข้ามา ทั้งนี้ทางคณะกรรมการ จะเร่งศึกษาแนวทางในการเยียวยาสำหรับกลุ่มคนที่ได้รับความเสียหายด้านทรัพย์สิน กลุ่มที่ได้รับความเสียหายด้านอิสรภาพ หรือกลุ่มที่ถูกดำเนินคดีในระหว่างเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมือง โดยจะมีคณะกรรมการพิเศษขึ้นมาพิจารณาเป็นรายกรณี อย่างไรก็ตามกลุ่มดังกล่าวต้องใช้เวลาในการพิจารณาและหาข้อมูลเพิ่มเติมมาประกอบการพิจารณาอย่างละเอียด
นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย ในฐานะประธาน ปคอป. กล่าวว่า เป็นสิทธิของพรรคประชาธิปัตย์ รัฐบาลจะเดินหน้าต่อไปจนกว่าศาลจะมีคำสั่งยุติลงมา หากศาลปกครองเรียกให้ไปชี้แจง ก็พร้อมไปอธิบาย มอบเอกสารให้ศาลพิจารณาต่อไป แต่ตอนนี้ยังเป็นแค่ข่าวอยู่ คงไม่กระทบกับการจ่ายเงินเยียวยา แต่ถ้าศาลมีคำพิพากษาอย่างไรก็คงจะต้องคุยกันอีกที่หนึ่ง สุดแท้แต่ศาลจะพิจารณา ทางรัฐบาลถือว่าได้ทำไปโดยถูกต้องและชอบแล้ว
ทั้งนี้ หากศาลมีคำสั่งระงับจะทำให้เกิดปัญหาย้อนหลังขึ้นหรือไม่ นายยงยุทธ กล่าวว่า หากสมมติไปไกลก็ตอบยาก รอไว้ให้เหตุการณ์เกิดขึ้นแล้วค่อยพิจารณากัน อย่างไรก็ตาม ในส่วนของผู้ประกอบการที่ได้รับความเสียหายจะต้องพิจารณาให้เร็วที่สุด หลังจากเสร็จเรื่องคนตายคนบาดเจ็บก่อน ก็จะไปเรื่องของทรัพย์สินต่อไป ซึ่งในวันที่ 12 มี.ค. นี้จะมีการประชุมถึงแนวทางการเยียวยาทรัพย์สินของผู้ประกอบการที่เสียหาย
ส่วนที่พรรคประชาธิปัตย์อยากให้มีรวมการเยียวยาในเหตุการณ์เดือนตุลาหรือพฤษภาทมิฬ นายยงยุทธ กล่าวว่า คณะทำงานที่ตั้งขึ้นมาคือ ปคอป. มีเจตนาในการตั้งขึ้นมาเพื่อทำตามมติของ คอป. ซึ่งเราก็ไม่ได้เปลี่ยนเจตนารมณ์หรือตั้งเรื่องขึ้นใหม่เพราะไม่อย่างนั้นคงต้องเป็นอีกเรื่องหนึ่งแล้ว เนื่องจากตอนตั้ง ปคอป. ขึ้นมาก็เขียนเอาไว้ชัดเจนอยู่แล้วในคำสั่ง
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์ใจคับแคบที่เอะอะก็จะยื่นตรวจสอบทั้งๆที่เป็นประโยชน์ ต่อผู้ที่ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต อยากถามพรรคประชาธิปัตย์ว่าไม่ต้องการเห็นประชาชนได้รับการเยียวยาและชดเชยใช่หรือไม่ จึงไปยื่นศาลปกครองขัดขวางไม่ให้มีการใจเงิน ทั้งที่วันที่ 8 มี.ค. ถือเป็นวันแรกที่เปิดให้ลงทะเบียน พรรคประชาธิปัตย์ไม่รับรู้ถึงความเดือดร้อนของผู้ที่ดีรับผลกระทบเลยหรือ อยากเรียกร้องว่าเมื่อไหร่พรรคประชาธิปัตย์จะเลิกเล่นเกมการเมืองเสียที เงินจำนวน 2 พันล้านถือว่าไม่มาก ที่จะให้กับผู้สูญเสีย เพื่อทำให้เกิดความปรองดองแต่ก้าวแรกก็ถูกแตะตัดขาจากคนในพรรคประชาธิปัตย์ที่อ้างว่าฟังเสียงประชาชน อย่างไรก็ตามยืนยันว่าไม่ใช่การใช้เงินภาษีประชาชนเพื่อซื้อความปรองดอง
นายพิพัฒน์ชัย ไพบูลย์ โฆษกกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า เรื่องนี้มันน่าจะจบได้แล้วพรรคประชาธิปัตย์จะเอาอะไรนักหนาเล่นการเมืองแต่พอสมควรเถอะ และการที่นายสาทิต กล่าวว่า การเยียวยาครั้งนี้จำนวนเงิน7.5 ล้านบาทนั้นเยอะไป ขอเรียนขอย้ำอีกทีว่าพรรคประชาธิปัตย์อย่าตีค่าชีวิตคนเป็นตัวเลข ลูกที่ต้องสูญเสียพ่อ แม่ที่ต้องสูญเสียลูก ภรรยาที่ต้องสูญเสียสามี เพราะการกระทำอย่างอำมหิตของภาครัฐ จะตีค่าคำนวณเป็นตัวเลขไม่ได้ จิตใจพวกคุณอาจจะโหดเหี้ยมพอแต่อย่าลืมหัวอกของคนสูญเสียอยากเรียกร้องให้พรรคประชาธิปัตย์มีใจเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์บ้างและเงินเยียวยาครั้งนี้ถ้าเทียบแล้วคงน้อยกว่าการทุจริตของรัฐบาลที่ผ่านมาและอยากใช้คำพูดของท่าน ส.ส.จตุพร ว่า ถ้านายสาทิตย์บอกว่าจำนวนเงินมากไป เอาญาติพี่น้องนายสาทิตย์ไปตายบ้างแล้วได้เงิน7.5ล้านบาทนายสาทิตย์จะเอาหรือไม่
พ.อ.อภิวัทน์ วิริยะชัย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า การจ่ายเงินชดเชยถือเป็นแนวทางหนึ่งที่นำไปสู่การสร้างความปรองดอง แต่ไม่ขอวิจารณ์เรื่องตัวเลขจำนวนเงิน เพราะตนหยุดร่วมกิจกรรมกับคนเสื้อแดงมาเป็นปี
นายกิตติพงษ์ กิตติยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ในฐานะคณะกรรมการ คอป.ได้ทวิตเตอร์ ว่า บรรยากาศที่สถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี เป็นวันแรก ที่มีการเปิดให้รับลงทะเบียน เจ้าหน้าที่ได้จัดสถานที่ลงทะเบียนไว้ ที่บริเวณอาคารอเนกประสงค์ และมีการตรวจเอกสารขอรับเงินเยียวยาบริเวณด้านบนอาคารด้วย โดยเริ่มมาตั้งแต่เวลาประมาณ 08.30 น. เป็นต้นไป
ส่วนบรรยากาศที่สถานสงเคราะห์เด็กหญิง บ้านราชวิถีที่อาคารเอนกประสงค์ ได้เปิดเป็นศูนย์ช่วยเหลือ และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบทางการเมือง พศ. 2548-2553 ของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ตั้งแต่ช่วงเช้าเป็นไปอย่างคึกคัก โดยมีประชาชนได้ทยอยมาลงทะเบียนเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นญาติผู้เสียชีวิต ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย และ ผู้ทุพพลภาพ ซึ่งมีทั้งคนเสื้อแดง และเสื้อเหลือง แต่ส่วนใหญ่จะเป็นคนเสื้อแดง ทั้งนี้บางคนก็แสดงตนโดยสวมเสื้อแดง นอกจากนี้ยังมีเจ้าหน้าที่ตำรวจมาลงทะเบียนขอรับเงินเยียวยาด้วย
ทั้งนี้ เมื่อผู้ที่ประสงค์จะลงทะเบียน โดยเมื่อเดินทางมาถึงอาคารเอนกประสงค์ต้องเดินมาที่โต๊ะรับบัตรคิว ที่อยู่บริเวณชั้นหนึ่ง พร้อมกรอกแบบฟอร์มการลทะเบียน และต้องมีเอกสารประกอบการยื่นเบื้องต้น คือ สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน ใบรับรองแพทย์ ส่วนในกรณีผู้เสียชีวิตก็ต้องมีใบมรณบัตร ทะเบียนสมรส ในกรณีเป็นคู่สมรส ทั้งนี้ในกรนีที่เป็นผู้ดูแล ทั้งผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต ก็ให้นำพยานแวดล้อมมายืนยันว่าเป็นผู้ดูแลจริง ซึ่งหลังจากรับบัตรคิด และกรอกเอกสารเรียบร้อย ก็ต้องขึ้นไปที่ชั้นสอง เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสาร จากนั้นจะได้รับใบตอบรับ เพื่อจะติดต่อกลับไปอีกครั้ง ซึ่งเจ้าหน้าที่ระบุว่าต้องนำเอกสารมาตรวจสอบความถูกต้อง อีกครั้ง โดยการลงทะเบียน จะเปิดให้บริการตั้งแต่ 08.30 น. - 16.30 น. ตามเวลาราชการ และในเบื้องต้นในแต่ละวันจะเปิดรับลงทะเบียนวันละ 500 คน ซึ่งกำหนดเบื้องต้นใช้เวลา 5 วัน ทั้งนี้ที่กำหนดไว้วันละ 500 คนเพื่อให้เพียงพอต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสาร ที่มีมาทำงานประมาณ 15 คน และตั้งแต่ช่วงเช้าของวันแรก ก็มีผู้มาลงทะเบียนแล้ว กว่า 400 ราย ทั้งนี้การลงทะเบียนในครั้งนี้เพราะผู้ที่ได้รับบาดเจ็บหือเสียชีวิตเท่านั้น ไม่เกี่ยวข้องกับผู้ที่ได้รับความเสียหายกับทรัพย์สินแต่อย่างใดขณะที่เมื่อสอบถามเจ้าหน้าที่ว่าจะได้รับเงินเมื่อไหร่ ก็ได้รับคำตอบว่า ยังไม่สามารถระบุได้ เพราะอาจจะมีปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะกรณีการยื่นศาลปกครอง.
****ศาลไม่ไต่ระงับเยียวยาม็อบ
ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งไม่รับไต่สวนฉุกเฉิน คดีหมายเลชดำที่ 351/2555 กรณี นายสาธิต ปิตุเตชะ ส.ส.ระยอง พรรคประชาธิปัตย์ นายสมชาย เกิดรุ่งเรือง ผู้จัดการมรดกและลุงของ ด.ช.จักรพันธุ์ ศรีสอาด หรือ น้องฟลุ๊ค เหยื่อที่เสียชีวิตจากการปฏิบัติการปราบปรามยาเสพติดของเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.บางชัน เมื่อวันที่ 23 ก.พ.2546 และ นายตรีสิทธิ์ ศิริวรรณ ผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงทางการเมือง เมื่อเดือน พ.ค.2535 หรือพฤษภาทมิฬ เป็นผู้ฟ้องคดีที่ 1-3 ได้ยื่นฟ้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีเป็นผู้ถูกฟ้องคดี 1-2 เพื่อขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนมติ ครม.เมื่อวันที่ 6 มี.ค.55 ที่ได้อนุมัติงบประมาณเพื่อเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการ เมืองระหว่างปี พ.ศ.2548-2554
โดยโจทก์ ขอให้ไต่สวนฉุกเฉินและออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวเพื่อระงับมติครม. 6 มีนาคม 2555 เยียวยาแดง 2 พันล้านบาทต่อมา ศาลมีคำสั่งไม่รับไต่สวนฉุกเฉิน แต่จะเรียกเอกสารรายละเอียดทั้งหมดเกี่ยวกับมติครม. ดังกล่าวจากเลขาฑิการคณะรัฐมนตรี (ครม.) มาพิจารณา
นอกจากนี้ หากยังมีข้อสงสัยก็จะให้เลขาครม.มาชี้แจงต่อศาล จากนั้นศาลจะพิจารณาว่าจะทุเลาบังคับมติครม.หรือไม่ โดยจะแจ้งให้ผู้ร้องทราบอีกครั้ง