จากยุคสงครามเย็น... สู่ยุคโลกาภิวัตน์
โดยทั่วไป เรามักจะคิดกันว่า หลังยุคสงครามเย็น การเผชิญหน้าระหว่างอเมริกากับจีนน่าจะลดลง แต่ผมกลับคิดแบบตรงกันข้าม
ผมพบว่า ในช่วงนี้ การเผชิญหน้าระหว่างอเมริกากับจีน กลับหนักหน่วงมากขึ้นอย่างมากๆ
ที่ผ่านมา นักวิชาการตะวันตกมักจะเปรียบเทียบจีนว่าคือ ยักษ์ใหญ่ที่นอนหลับ ชาวตะวันตกจะเชื่อกันว่า ถ้ายักษ์ตนนี้ตื่นจากหลับเมื่อไหร่โลกก็จะเปลี่ยนไป หรือ ยักษ์ตนนี้จะกลับมาเป็นใหญ่เหนือระบบโลกอีกครั้งหนึ่ง
วันนี้ ยักษ์ หรือ พญามังกร ที่ชาวตะวันตกกลัว ได้ตื่นขึ้นจริงๆ ในยุคโลกาภิวัตน์ ชนชั้นนำจีนได้ปฏิวัติเส้นทางการสร้างเศรษฐกิจจีนใหม่แบบสังคมนิยมการตลาด
ปรากฏชัดว่า เศรษฐกิจจีนขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ยาวมากเกือบ 30 ปี ในขณะที่สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นศูนย์ของระบบโลก กลับต้องเผชิญวิกฤตใหญ่ถึง 2 ครั้งซ้อนๆ กัน กล่าวคือ ได้เกิดฟองสบู่แตกในปี ค.ศ. 2000 และในปี ค.ศ. 2008
กล่าวอย่างเป็นรูปธรรมคือ วันนี้พญามังกรกำลังกลายเป็นคู่แข่งทางอำนาจกับพญาอินทรี สงครามการช่วงชิงฐานะอำนาจเหนือระบบโลกได้ก่อตัวขึ้นแล้ว
ในช่วงอดีตได้เคยเกิด “ปรากฏการณ์” ซึ่งคล้ายกับเหตุการณ์ครั้งนี้ครั้งหนึ่ง และกลายเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่สำคัญอย่างยิ่ง นี่คือ ช่วงประมาณปี ค.ศ. 1900 ถึง 1950 ช่วงเวลานี้ จักรวรรดิอังกฤษซึ่งเคยเป็นจ้าวมหาอำนาจของโลกทรุดตัวใหญ่ เยอรมนีรวมทั้งพันธมิตรในยุโรปได้ค่อยๆ เติบใหญ่ขึ้น และมีฐานะเป็น “คู่แข่ง” ทางอำนาจ
การช่วงชิงความเป็นจ้าวเหนือระบบโลกรุนแรงอย่างมาก เพราะในช่วงนี้ระบบเศรษฐกิจโลกทั้งระบบก็ก้าวสู่ช่วงถดถอยยาวด้วย จนในที่สุดได้เกิดสงครามโลกถึง 2 ครั้ง คือ สงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2
ผมคิดว่า ระบบการเมืองโลกปัจจุบัน มีสภาวะคล้ายๆ กับสภาวะโลกก่อนยุคสงครามโลก เกิดการช่วงชิงความเป็นจ้าวเหนือระบบโลกครั้งใหม่ ในขณะที่ระบบเศรษฐกิจโลกเองก็ถดถอยยาวทั้งระบบเช่นกัน
เมื่อพญามังกร (หรือจีน) เริ่มผงาดขึ้น และได้ผนวกสร้างพันธมิตรใหม่ด้วย ด้วยการสร้าง BRICS กล่าวคือ จีนได้สร้างอำนาจทางการเมืองใหม่ โดยสร้างพันธมิตรกับรัสเซีย อินเดีย บราซิล และแอฟริกาใต้
นอกจากนี้ จีนพยายามสร้าง “ศูนย์เศรษฐกิจโลกใหม่” ในย่านเอเชีย โดยการผนวกเอเชียเข้าเป็นหนึ่งเดียวกันด้วยการผนวกจีนกับญี่ปุ่น กับเกาหลีใต้
ผมคิดว่า การเปิดเส้นทางการเดินเรือใหม่ และการสร้างท่าเรือที่ทวาย (ที่ประเทศพม่า) โครงการแม่น้ำโขง รวมทั้งแนวคิดเรื่อง อาเซียน+3 หรือ บวก จีน ญี่ปุ่น และเกาหลี ก็น่าจะเป็นผลผลิตของความพยายามนี้
สหรัฐอเมริกา จึงพยายาม “สกัด” พัฒนาการของจีนทุกทาง และเริ่มทำสงครามทั้งทางเศรษฐกิจ และการเมือง (ทั้งแบบเปิดเผย และไม่เปิดเผย) เพื่อ “สกัด” หรือแม้แต่พยายาม “โค่นล้ม” จีน
ในช่วงที่ผ่านมามี “สงครามแบบไม่ประกาศ” ปรากฏขึ้นหลายครั้ง
1. สงครามตีค่าเงินบาท
สงครามนี้เกิดขึ้นประมาณปี พ.ศ. 2540 (หรือ ค.ศ. 1997) ก่อนเกิดสงครามตีค่าเงินบาท เศรษฐกิจเอเชีย รวมทั้งจีนและประเทศไทย ได้ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จนเกิดปรากฏการณ์พิเศษทางเศรษฐกิจเรื่อง “เสือเศรษฐกิจ” ไทยเองก็กลายเป็นเสือเหมือนกัน แต่เป็นเสือตัวเล็กๆ
กล่าวคือ บรรดาประเทศในย่านเอเชีย รวมทั้งจีน ไต้หวัน และเกาหลี ซึ่งสามารถเติบใหญ่ขึ้นจากการขยายตัวของการลงทุนจากทุนญี่ปุ่น ซึ่งขยายฐานการผลิตเข้ามาสู่ย่านเอเชีย การลงทุนดังกล่าวทำให้ทุนชาวจีนในย่านเอเชียเติบใหญ่
หลังจากนั้นไม่นาน ทุนจีนโพ้นทะเลก็เริ่มเข้าไปลงทุนในประเทศจีน ซึ่งทำให้เศรษฐกิจจีนขยายตัวอย่างมาก
สงครามตีค่าเงินบาท จึงกลายเป็นสงครามทางเศรษฐกิจที่ไม่ประกาศ ชนชั้นนำอเมริกันเปิดฉากโจมตีที่ประเทศไทย เนื่องจากรัฐไทยเปิดให้ฟองสบู่ไทยเบ่งบานมาก
ผมคิดว่า สงครามครั้งนี้มีเป้าหมายสำคัญ 3 ประการ เรียกว่า “ยิงนกทีเดียว ได้นกถึง 3 ตัว”
เป้าหมายแรก คือ ต้องการขยายอิทธิพลสิงคโปร์ ซึ่งถือว่าเป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดกับอเมริกา ให้เข้าครอบเหนือเศรษฐกิจไทย ในขณะเดียวกัน เป้าหมายใหญ่ที่สำคัญกว่า คือ การสกัดการขยายตัวของเศรษฐกิจเอเชียทั้งระบบ และเป้าหมายเฉพาะที่ถือว่าสำคัญมากที่สุดคือ การโจมตีค่าเงินหยวน ที่ตลาดฮ่องกง
มองในแง่หนึ่ง การก่อสงครามครั้งนี้ประสบความสำเร็จพอสมควรเช่นกัน เพราะสามารถสกัดคลื่นการขยายตัวของเศรษฐกิจเอเชียได้ชั่วคราว การที่เศรษฐกิจเอเชียทรุดตัว ทุนโลกจึงหันกลับไปลงทุนที่สหรัฐอเมริกา จนทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ รุ่งเรืองสูงสุด ในช่วงปี ค.ศ. 1997 ถึง 2000
ในกรณีประเทศไทย ทุนสิงคโปร์ได้สยายปีกคุมเหนือทุนธนาคารไทย และพยายามเข้ามามีอิทธิพลทางการเมือง และน่าจะอยู่เบื้องหลังการสร้างพรรคการเมืองใหญ่มาก ด้วยเงินมหาศาล
พรรคนี้ มีชื่อเรียกว่า พรรคไทยรักไทย
แต่ถึงอย่างไร ในช่วงที่สหรัฐอเมริกาเติบโตสูงสุด (ค.ศ. 1997 ถึง 2000) เศรษฐกิจเอเชีย และจีน ก็ยังสามารถพลิกกลับ และขยายตัวต่อ สาเหตุส่วนหนึ่งเนื่องมาจากความล้มเหลวของสหรัฐอเมริกาในการทำสงครามโจมตีค่าเงินหยวน
2. สงครามผู้ก่อการร้าย
โดยทั่วไปเราจะเข้าใจว่า สงครามครั้งนี้ เป็นเพียงสงครามระหว่างสหรัฐอเมริกากับบรรดาผู้ที่เรียกว่า “ผู้ก่อการร้ายสากล” และ “ประเทศที่สนับสนุนผู้ก่อการร้าย” ซึ่งเอาเข้าจริงๆ แล้ว องค์กรผู้ก่อการร้ายสากล มีอยู่องค์กรเดียวเท่านั้น คือ อัลกออิดะห์
ที่แปลกก็คือ องค์การผู้ก่อการร้ายสากลองค์การนี้ คือ องค์การที่ CIA จัดตั้งขึ้นเองในช่วงสงครามต่อต้านอิทธิพลของรัสเซียที่ขยายเข้าไปในอัฟกานิสถาน
ดังนั้น ผมคิดว่า เป้าหมายที่แท้จริงของสงครามต่อต้านผู้ก่อการร้าย คือ การแผ่อำนาจเข้ายึดครองแหล่งน้ำมันของโลกที่ตะวันออกกลาง
ผู้อ่านอาจจะสงสัยว่า “ถ้าอเมริกายึดครองน้ำมันโลกสำเร็จ จะไปเกี่ยวอะไรกับความยิ่งใหญ่ของจีน”
คำตอบของผมก็คือ จีน และ เอเชีย โดยภาพรวม กำลังเติบโตขึ้นจากการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม แต่การผลิตสินค้าอุตสาหกรรมดังกล่าวต้องพึ่งพาหรือใช้น้ำมัน ถ้าน้ำมันโลกอยู่ในมือของสหรัฐฯ จีนและเอเชียก็ต้องตกอยู่ภายใต้อุ้งมือพญานกอินทรีเช่นกัน
ชนชั้นนำอเมริกาจึงเรียกสงครามนี้ว่า “การสร้างระเบียบโลกใหม่” ที่สามารถกำหนดวาง “ให้” สหรัฐอเมริกาครอง “ฐานะสูงสุด” เหนือระบบเศรษฐกิจโลกเกือบสิ้นเชิง
ที่น่าแปลกคือ สงครามครั้งนี้ เปิดฉากด้วยการบุกประเทศอัฟกานิสถาน(ประเทศที่ไม่มีน้ำมัน) ก่อนที่จะบุกอิรัก
คำตอบของผมก็คือ อัฟกานิสถาน คือจุดยุทธศาสตร์สำคัญโลกที่เชื่อมจีนกับรัสเซีย และเป็นทางผ่านที่เชื่อมจีนไปยังโลกอาหรับ เพราะอัฟกานิสถานตั้งอยู่ ณ ใจกลางของเส้นทางสายไหมในยุคโบราณ
เหนือประเทศอัฟกานิสถาน มีแหล่งน้ำมันใหญ่ของโลก อาจจะมีน้ำมันไม่น้อยกว่าตะวันออกกลาง ที่แถบทะเลสาบแคสเปียน แต่ข้อสำคัญคือ แหล่งน้ำมันที่นี่ไม่มีทางออกทะเล
ปัจจุบัน “ย่านนี้” คือย่านประเทศเกิดใหม่ ซึ่งเดิมทีเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย
แหล่งน้ำมันในย่านนี้จะออกสู่ทะเลได้ ก็ต้องสร้างเส้นทางผ่านประเทศอัฟกานิสถาน
ก่อนหน้านี้ ประเทศรัสเซียได้เข้ามาสร้างอิทธิพลในอัฟกานิสถาน เจตนาสำคัญก็คือ การเปิด “ทางออก” สายน้ำมันจากย่านนี้ออกสู่ทะเล
ก่อนหน้าสงครามต่อต้านผู้ก่อการร้าย ทางรัฐบาลจีนก็พยายามสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับรัฐบาลตอลิบัน
นอกจากนี้ จีนเองได้พยายามดึงรัสเซียมาร่วมกัน “ลงทุน” น้ำมันที่แถบทะเลสาบแคสเบียน
ถ้าทำสำเร็จ ยุโรปตะวันออกก็จะพัฒนาและขยายตัว และจะส่งผลให้รัสเซีย และจีน เติบใหญ่โดยไม่ต้องพึ่งแหล่งน้ำมันโลกที่ตะวันออกกลางซึ่งสหรัฐอเมริกามีอิทธิพลครอบงำสูงมาก
สงครามปราบผู้ก่อการร้ายครั้งนี้ ทำให้สหรัฐอเมริกาสามารถอ้างเรื่องราวดังกล่าว “ยึดครองอิรัก” ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งน้ำมันใหญ่ระดับ 2 ของโลกได้ และสามารถปิดทางออกของสายน้ำมันจากยุโรปตะวันออกสำเร็จ
อิทธิพลของอเมริกาเหนือตะวันออกกลางและการกำหนดราคาน้ำมันโลกจึงค่อนข้างมั่นคงมาก
แต่ถึงอย่างไร สหรัฐอเมริกาก็ยังไม่สามารถยึดตะวันออกกลางได้ทั้งหมด เพราะยังมีหลายประเทศ อย่างเช่น อิหร่าน ลิเบีย และซีเรีย ซึ่งถือว่าเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันที่สำคัญเช่นกัน
แต่ถึงอย่างไร อเมริกามีแผนต่อเนื่อง ที่จะยึดครองประเทศเหล่านี้ อย่างเช่น อ้างว่า “อิหร่านกำลังผลิตอาวุธปรมณู” และได้พยายามปิดล้อมเศรษฐกิจอิหร่าน หนุนฝ่ายต่อต้านรัฐบาลอิหร่านก่อกบฏภายในประเทศ
นอกจากนี้ ชนชั้นนำอเมริกาและยุโรป ได้ขนอาวุธไปให้บรรดาชนเผ่าต่างๆ ที่มีผลประโยชน์แตกต่างจากทางรัฐลิเบีย และซีเรีย ก่อการกบฏล้มล้างรัฐบาลของตัวเอง โดยอ้างว่า “สงครามเหล่านี้ คือ สงครามโค่นล้มเผด็จการ และมุ่งสร้างประชาธิปไตย”
3. สงครามปั่นราคาน้ำมัน
หลังจากปี ค.ศ. 2000 ถึง 2006 (พ.ศ. 2543-2549) เศรษฐกิจอเมริกาซึ่งเคยเกิดฟองสบู่แตกปี 2000 เริ่มฟื้นตัวอย่างรวดเร็วด้วยยุทธการสงคราม (ค้าอาวุธ) และการลดดอกเบี้ย การฟื้นตัวอย่างง่ายๆ นี้ ทำให้สหรัฐอเมริกาไม่กังวลหรือกลัวอันตราย “เศรษฐกิจฟองสบู่” ชนชั้นนำอเมริกันจึงหันไปปั่นฟองสบู่อีก ซึ่งส่งผลทำให้เศรษฐกิจอเมริกาดูราวว่า “รุ่งเรืองใหญ่อีกครั้งหนึ่ง”
แต่ในช่วงเวลาเดียวกัน เศรษฐกิจจีนกลับรุ่งเรืองอย่างมากเช่นกัน เศรษฐกิจจีนและเอเชียขยายตัวมากกว่าเศรษฐกิจอเมริกาเสียอีก
จีนกลายเป็นประเทศที่มีการขยายตัวของเศรษฐกิจที่ยาวที่สุดในโลก จนกลายเป็น ศูนย์ผลิตสินค้าอุตสาหกรรมของโลก และสามารถทำกำไรมหาศาลทุกปีจากการส่งออก
ประมาณ ค.ศ. 2006 สหรัฐอเมริกาเริ่มทำสงครามปั่นราคาน้ำมัน เริ่มด้วยการสร้างความเชื่อว่า “น้ำมันจะหมดโลก” และอ้างความเชื่อว่า “เกิดการขยายตัวของความต้องการน้ำมัน มีมากกว่าจำนวนน้ำมันที่ผลิตขึ้นได้”
ราคาน้ำมันได้พุ่งขึ้น และพุ่งขึ้นอีก จนส่งผลทำให้เศรษฐกิจเอเชียทั้งระบบสั่นไปทั่วหมด
ประเทศไทยถูกกระทบอย่างหนักหน่วง แต่จีนสามารถตั้งยันได้ และกระทบไม่มากนัก เพราะจีนมีเงินสำรองที่ได้จากการส่งออกจำนวนมหาศาล จึงเอาเงินดังกล่าวมา “อุ้ม” ราคาน้ำมัน
นอกจากนี้ จีนสามารถซื้อน้ำมันจากอิหร่าน ลิเบีย และซีเรีย ซึ่งยังคงเป็นประเทศที่ขายน้ำมันให้กับจีนในราคามิตรภาพ
แต่ กรรมมักจะสนองแก่ผู้ก่อกรรม ราคาน้ำมันที่สหรัฐอเมริกาได้เริ่มค่อยๆ พุ่งขึ้น แม้ว่าสหรัฐฯ จะพยายามพยุงราคาไว้ก็ตาม
การพุ่งขึ้นของราคาน้ำมันส่งผลทำให้เศรษฐกิจอเมริกาแย่ลง ชาวอเมริกันจำนวนหนึ่งซึ่งซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่อเก็งกำไร และเป็นกลุ่มคนที่ไม่มีรายได้ที่แน่นอนนัก เริ่มไม่ส่งดอกเบี้ย จนก่อวิกฤตที่เรียกว่า “วิกฤตซับไพร์ม” และส่งผลให้ฟองสบู่อเมริกาแตกปี 2008
4. สงครามปิดล้อมจีน
สงครามนี้ คือการปรับยุทธศาสตร์สงครามในยุคสงครามเย็นกลับมาใช้ใหม่อีกครั้งหนึ่ง นี่คือ การสร้างแนวยุทธศาสตร์ทางการทหารเพื่อปิดล้อมการขยายตัวของจีนในย่านนี้ทั้งหมด
นี่คือ ที่มาของคำประกาศของนางฮิลลารี คลินตัน ว่า
“อเมริกา จะต้องกลับมาสู่เอเชีย”
เป้าหมายใหญ่ของสงคราม คือ การแยกจีนออกจากญี่ปุ่น เพราะหากจีนกับญี่ปุ่นรวมกันได้ ทั้งสองประเทศจะกลายเป็นมหาอำนาจทางการเงินของโลก และเป็นเจ้าหนี้ที่สำคัญของโลกด้วย รวมทั้งอำนาจของจีนผนวกญี่ปุ่นจะกลายเป็นมี “อำนาจ” ทางการเงินในฐานะผู้ “ช่วยค้ำ” หรือ “ไม่ค้ำ” ค่าเงินดอลลาร์ หากสหรัฐอเมริกาเกิดวิกฤตเศรษฐกิจรอบใหม่
สงครามครั้งนี้ เปิดฉากด้วย “ยุทธการ” การซ้อมรบทางทหารร่วมระหว่างสหรัฐอเมริกาและเกาหลีใต้ ซึ่งได้ทำการซ้อมรบในพื้นที่ที่ติดกับพรมแดนเกาหลีเหนือ
ดังนั้น ลูกปืน และลูกระเบิด ตกไปย่านเกาหลีเหนือ
ผู้นำเกาหลีเหนือโกรธ และสั่งปฏิบัติการถล่มกลับ กลายเป็นข่าวไปทั่วโลก
สหรัฐอเมริกาใช้เงื่อนไขนี้ประกาศสร้างพันธมิตรทางทหารใหม่ คือ ระหว่างสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ และได้ประกาศจะช่วยญี่ปุ่นพัฒนาศักยภาพของกองทัพญี่ปุ่น (อันมีนัยว่า พร้อมจะขายเทคโนโลยีสงครามและอาวุธทันสมัยให้ญี่ปุ่น)
ผมคิดว่า ผู้นำจีนอ่านยุทธการครั้งนี้ออก ดังนั้นแทนที่จะหนุนเกาหลีเหนือ ก็กลับวางตัวเป็นกลาง ไม่เข้าข้างเกาหลีเหนือ และได้เสนอต่อญี่ปุ่นกับเกาหลีใต้ว่า “จำเป็นต้องสร้างพันธมิตรที่ใกล้ชิด” ระหว่างจีนกับญี่ปุ่น และเกาหลีใต้
ถ้าพันธมิตรนี้เข้มแข็ง ก็จะช่วยทำให้สิ่งที่เรียกว่า “อันตรายจากเกาหลีเหนือ” ลดลง
แผนสหรัฐอเมริกา (ซึ่งจะคืนกลับสู่เอเชีย) จึงล้มเหลว เพราะต้องเผชิญหน้ากับจีน มหาอำนาจใหม่ ซึ่งเชี่ยวชาญเรื่องยุทธศาสตร์ยุทธวิธีที่ “ไม่แพ้” โลกตะวันตก
ผมเชื่อว่า ยุทธการปิดล้อมจีนครั้งนี้เกี่ยวกับประเทศไทยด้วย เพราะถ้าจะปิดล้อมจีน ต้องขยายอำนาจเข้ามา “กึ่งยึดครอง” ไทย น่าจะคล้ายกับช่วงสงครามเย็นที่ไทยต้องถูกผนวกอยู่ภายใต้ปีกของพญาอินทรี
และช่วงที่ผมจะกล่าวต่อไปนี้ เป็นช่วงที่ผู้อ่านต้องใช้วิจารญาณมากๆ เพราะ จริง ไม่จริง แค่ไหน อย่างไร ต้องคิด... และคิดอีก อย่าเชื่อ (ยังมีต่อ)
โดยทั่วไป เรามักจะคิดกันว่า หลังยุคสงครามเย็น การเผชิญหน้าระหว่างอเมริกากับจีนน่าจะลดลง แต่ผมกลับคิดแบบตรงกันข้าม
ผมพบว่า ในช่วงนี้ การเผชิญหน้าระหว่างอเมริกากับจีน กลับหนักหน่วงมากขึ้นอย่างมากๆ
ที่ผ่านมา นักวิชาการตะวันตกมักจะเปรียบเทียบจีนว่าคือ ยักษ์ใหญ่ที่นอนหลับ ชาวตะวันตกจะเชื่อกันว่า ถ้ายักษ์ตนนี้ตื่นจากหลับเมื่อไหร่โลกก็จะเปลี่ยนไป หรือ ยักษ์ตนนี้จะกลับมาเป็นใหญ่เหนือระบบโลกอีกครั้งหนึ่ง
วันนี้ ยักษ์ หรือ พญามังกร ที่ชาวตะวันตกกลัว ได้ตื่นขึ้นจริงๆ ในยุคโลกาภิวัตน์ ชนชั้นนำจีนได้ปฏิวัติเส้นทางการสร้างเศรษฐกิจจีนใหม่แบบสังคมนิยมการตลาด
ปรากฏชัดว่า เศรษฐกิจจีนขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ยาวมากเกือบ 30 ปี ในขณะที่สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นศูนย์ของระบบโลก กลับต้องเผชิญวิกฤตใหญ่ถึง 2 ครั้งซ้อนๆ กัน กล่าวคือ ได้เกิดฟองสบู่แตกในปี ค.ศ. 2000 และในปี ค.ศ. 2008
กล่าวอย่างเป็นรูปธรรมคือ วันนี้พญามังกรกำลังกลายเป็นคู่แข่งทางอำนาจกับพญาอินทรี สงครามการช่วงชิงฐานะอำนาจเหนือระบบโลกได้ก่อตัวขึ้นแล้ว
ในช่วงอดีตได้เคยเกิด “ปรากฏการณ์” ซึ่งคล้ายกับเหตุการณ์ครั้งนี้ครั้งหนึ่ง และกลายเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่สำคัญอย่างยิ่ง นี่คือ ช่วงประมาณปี ค.ศ. 1900 ถึง 1950 ช่วงเวลานี้ จักรวรรดิอังกฤษซึ่งเคยเป็นจ้าวมหาอำนาจของโลกทรุดตัวใหญ่ เยอรมนีรวมทั้งพันธมิตรในยุโรปได้ค่อยๆ เติบใหญ่ขึ้น และมีฐานะเป็น “คู่แข่ง” ทางอำนาจ
การช่วงชิงความเป็นจ้าวเหนือระบบโลกรุนแรงอย่างมาก เพราะในช่วงนี้ระบบเศรษฐกิจโลกทั้งระบบก็ก้าวสู่ช่วงถดถอยยาวด้วย จนในที่สุดได้เกิดสงครามโลกถึง 2 ครั้ง คือ สงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2
ผมคิดว่า ระบบการเมืองโลกปัจจุบัน มีสภาวะคล้ายๆ กับสภาวะโลกก่อนยุคสงครามโลก เกิดการช่วงชิงความเป็นจ้าวเหนือระบบโลกครั้งใหม่ ในขณะที่ระบบเศรษฐกิจโลกเองก็ถดถอยยาวทั้งระบบเช่นกัน
เมื่อพญามังกร (หรือจีน) เริ่มผงาดขึ้น และได้ผนวกสร้างพันธมิตรใหม่ด้วย ด้วยการสร้าง BRICS กล่าวคือ จีนได้สร้างอำนาจทางการเมืองใหม่ โดยสร้างพันธมิตรกับรัสเซีย อินเดีย บราซิล และแอฟริกาใต้
นอกจากนี้ จีนพยายามสร้าง “ศูนย์เศรษฐกิจโลกใหม่” ในย่านเอเชีย โดยการผนวกเอเชียเข้าเป็นหนึ่งเดียวกันด้วยการผนวกจีนกับญี่ปุ่น กับเกาหลีใต้
ผมคิดว่า การเปิดเส้นทางการเดินเรือใหม่ และการสร้างท่าเรือที่ทวาย (ที่ประเทศพม่า) โครงการแม่น้ำโขง รวมทั้งแนวคิดเรื่อง อาเซียน+3 หรือ บวก จีน ญี่ปุ่น และเกาหลี ก็น่าจะเป็นผลผลิตของความพยายามนี้
สหรัฐอเมริกา จึงพยายาม “สกัด” พัฒนาการของจีนทุกทาง และเริ่มทำสงครามทั้งทางเศรษฐกิจ และการเมือง (ทั้งแบบเปิดเผย และไม่เปิดเผย) เพื่อ “สกัด” หรือแม้แต่พยายาม “โค่นล้ม” จีน
ในช่วงที่ผ่านมามี “สงครามแบบไม่ประกาศ” ปรากฏขึ้นหลายครั้ง
1. สงครามตีค่าเงินบาท
สงครามนี้เกิดขึ้นประมาณปี พ.ศ. 2540 (หรือ ค.ศ. 1997) ก่อนเกิดสงครามตีค่าเงินบาท เศรษฐกิจเอเชีย รวมทั้งจีนและประเทศไทย ได้ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จนเกิดปรากฏการณ์พิเศษทางเศรษฐกิจเรื่อง “เสือเศรษฐกิจ” ไทยเองก็กลายเป็นเสือเหมือนกัน แต่เป็นเสือตัวเล็กๆ
กล่าวคือ บรรดาประเทศในย่านเอเชีย รวมทั้งจีน ไต้หวัน และเกาหลี ซึ่งสามารถเติบใหญ่ขึ้นจากการขยายตัวของการลงทุนจากทุนญี่ปุ่น ซึ่งขยายฐานการผลิตเข้ามาสู่ย่านเอเชีย การลงทุนดังกล่าวทำให้ทุนชาวจีนในย่านเอเชียเติบใหญ่
หลังจากนั้นไม่นาน ทุนจีนโพ้นทะเลก็เริ่มเข้าไปลงทุนในประเทศจีน ซึ่งทำให้เศรษฐกิจจีนขยายตัวอย่างมาก
สงครามตีค่าเงินบาท จึงกลายเป็นสงครามทางเศรษฐกิจที่ไม่ประกาศ ชนชั้นนำอเมริกันเปิดฉากโจมตีที่ประเทศไทย เนื่องจากรัฐไทยเปิดให้ฟองสบู่ไทยเบ่งบานมาก
ผมคิดว่า สงครามครั้งนี้มีเป้าหมายสำคัญ 3 ประการ เรียกว่า “ยิงนกทีเดียว ได้นกถึง 3 ตัว”
เป้าหมายแรก คือ ต้องการขยายอิทธิพลสิงคโปร์ ซึ่งถือว่าเป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดกับอเมริกา ให้เข้าครอบเหนือเศรษฐกิจไทย ในขณะเดียวกัน เป้าหมายใหญ่ที่สำคัญกว่า คือ การสกัดการขยายตัวของเศรษฐกิจเอเชียทั้งระบบ และเป้าหมายเฉพาะที่ถือว่าสำคัญมากที่สุดคือ การโจมตีค่าเงินหยวน ที่ตลาดฮ่องกง
มองในแง่หนึ่ง การก่อสงครามครั้งนี้ประสบความสำเร็จพอสมควรเช่นกัน เพราะสามารถสกัดคลื่นการขยายตัวของเศรษฐกิจเอเชียได้ชั่วคราว การที่เศรษฐกิจเอเชียทรุดตัว ทุนโลกจึงหันกลับไปลงทุนที่สหรัฐอเมริกา จนทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ รุ่งเรืองสูงสุด ในช่วงปี ค.ศ. 1997 ถึง 2000
ในกรณีประเทศไทย ทุนสิงคโปร์ได้สยายปีกคุมเหนือทุนธนาคารไทย และพยายามเข้ามามีอิทธิพลทางการเมือง และน่าจะอยู่เบื้องหลังการสร้างพรรคการเมืองใหญ่มาก ด้วยเงินมหาศาล
พรรคนี้ มีชื่อเรียกว่า พรรคไทยรักไทย
แต่ถึงอย่างไร ในช่วงที่สหรัฐอเมริกาเติบโตสูงสุด (ค.ศ. 1997 ถึง 2000) เศรษฐกิจเอเชีย และจีน ก็ยังสามารถพลิกกลับ และขยายตัวต่อ สาเหตุส่วนหนึ่งเนื่องมาจากความล้มเหลวของสหรัฐอเมริกาในการทำสงครามโจมตีค่าเงินหยวน
2. สงครามผู้ก่อการร้าย
โดยทั่วไปเราจะเข้าใจว่า สงครามครั้งนี้ เป็นเพียงสงครามระหว่างสหรัฐอเมริกากับบรรดาผู้ที่เรียกว่า “ผู้ก่อการร้ายสากล” และ “ประเทศที่สนับสนุนผู้ก่อการร้าย” ซึ่งเอาเข้าจริงๆ แล้ว องค์กรผู้ก่อการร้ายสากล มีอยู่องค์กรเดียวเท่านั้น คือ อัลกออิดะห์
ที่แปลกก็คือ องค์การผู้ก่อการร้ายสากลองค์การนี้ คือ องค์การที่ CIA จัดตั้งขึ้นเองในช่วงสงครามต่อต้านอิทธิพลของรัสเซียที่ขยายเข้าไปในอัฟกานิสถาน
ดังนั้น ผมคิดว่า เป้าหมายที่แท้จริงของสงครามต่อต้านผู้ก่อการร้าย คือ การแผ่อำนาจเข้ายึดครองแหล่งน้ำมันของโลกที่ตะวันออกกลาง
ผู้อ่านอาจจะสงสัยว่า “ถ้าอเมริกายึดครองน้ำมันโลกสำเร็จ จะไปเกี่ยวอะไรกับความยิ่งใหญ่ของจีน”
คำตอบของผมก็คือ จีน และ เอเชีย โดยภาพรวม กำลังเติบโตขึ้นจากการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม แต่การผลิตสินค้าอุตสาหกรรมดังกล่าวต้องพึ่งพาหรือใช้น้ำมัน ถ้าน้ำมันโลกอยู่ในมือของสหรัฐฯ จีนและเอเชียก็ต้องตกอยู่ภายใต้อุ้งมือพญานกอินทรีเช่นกัน
ชนชั้นนำอเมริกาจึงเรียกสงครามนี้ว่า “การสร้างระเบียบโลกใหม่” ที่สามารถกำหนดวาง “ให้” สหรัฐอเมริกาครอง “ฐานะสูงสุด” เหนือระบบเศรษฐกิจโลกเกือบสิ้นเชิง
ที่น่าแปลกคือ สงครามครั้งนี้ เปิดฉากด้วยการบุกประเทศอัฟกานิสถาน(ประเทศที่ไม่มีน้ำมัน) ก่อนที่จะบุกอิรัก
คำตอบของผมก็คือ อัฟกานิสถาน คือจุดยุทธศาสตร์สำคัญโลกที่เชื่อมจีนกับรัสเซีย และเป็นทางผ่านที่เชื่อมจีนไปยังโลกอาหรับ เพราะอัฟกานิสถานตั้งอยู่ ณ ใจกลางของเส้นทางสายไหมในยุคโบราณ
เหนือประเทศอัฟกานิสถาน มีแหล่งน้ำมันใหญ่ของโลก อาจจะมีน้ำมันไม่น้อยกว่าตะวันออกกลาง ที่แถบทะเลสาบแคสเปียน แต่ข้อสำคัญคือ แหล่งน้ำมันที่นี่ไม่มีทางออกทะเล
ปัจจุบัน “ย่านนี้” คือย่านประเทศเกิดใหม่ ซึ่งเดิมทีเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย
แหล่งน้ำมันในย่านนี้จะออกสู่ทะเลได้ ก็ต้องสร้างเส้นทางผ่านประเทศอัฟกานิสถาน
ก่อนหน้านี้ ประเทศรัสเซียได้เข้ามาสร้างอิทธิพลในอัฟกานิสถาน เจตนาสำคัญก็คือ การเปิด “ทางออก” สายน้ำมันจากย่านนี้ออกสู่ทะเล
ก่อนหน้าสงครามต่อต้านผู้ก่อการร้าย ทางรัฐบาลจีนก็พยายามสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับรัฐบาลตอลิบัน
นอกจากนี้ จีนเองได้พยายามดึงรัสเซียมาร่วมกัน “ลงทุน” น้ำมันที่แถบทะเลสาบแคสเบียน
ถ้าทำสำเร็จ ยุโรปตะวันออกก็จะพัฒนาและขยายตัว และจะส่งผลให้รัสเซีย และจีน เติบใหญ่โดยไม่ต้องพึ่งแหล่งน้ำมันโลกที่ตะวันออกกลางซึ่งสหรัฐอเมริกามีอิทธิพลครอบงำสูงมาก
สงครามปราบผู้ก่อการร้ายครั้งนี้ ทำให้สหรัฐอเมริกาสามารถอ้างเรื่องราวดังกล่าว “ยึดครองอิรัก” ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งน้ำมันใหญ่ระดับ 2 ของโลกได้ และสามารถปิดทางออกของสายน้ำมันจากยุโรปตะวันออกสำเร็จ
อิทธิพลของอเมริกาเหนือตะวันออกกลางและการกำหนดราคาน้ำมันโลกจึงค่อนข้างมั่นคงมาก
แต่ถึงอย่างไร สหรัฐอเมริกาก็ยังไม่สามารถยึดตะวันออกกลางได้ทั้งหมด เพราะยังมีหลายประเทศ อย่างเช่น อิหร่าน ลิเบีย และซีเรีย ซึ่งถือว่าเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันที่สำคัญเช่นกัน
แต่ถึงอย่างไร อเมริกามีแผนต่อเนื่อง ที่จะยึดครองประเทศเหล่านี้ อย่างเช่น อ้างว่า “อิหร่านกำลังผลิตอาวุธปรมณู” และได้พยายามปิดล้อมเศรษฐกิจอิหร่าน หนุนฝ่ายต่อต้านรัฐบาลอิหร่านก่อกบฏภายในประเทศ
นอกจากนี้ ชนชั้นนำอเมริกาและยุโรป ได้ขนอาวุธไปให้บรรดาชนเผ่าต่างๆ ที่มีผลประโยชน์แตกต่างจากทางรัฐลิเบีย และซีเรีย ก่อการกบฏล้มล้างรัฐบาลของตัวเอง โดยอ้างว่า “สงครามเหล่านี้ คือ สงครามโค่นล้มเผด็จการ และมุ่งสร้างประชาธิปไตย”
3. สงครามปั่นราคาน้ำมัน
หลังจากปี ค.ศ. 2000 ถึง 2006 (พ.ศ. 2543-2549) เศรษฐกิจอเมริกาซึ่งเคยเกิดฟองสบู่แตกปี 2000 เริ่มฟื้นตัวอย่างรวดเร็วด้วยยุทธการสงคราม (ค้าอาวุธ) และการลดดอกเบี้ย การฟื้นตัวอย่างง่ายๆ นี้ ทำให้สหรัฐอเมริกาไม่กังวลหรือกลัวอันตราย “เศรษฐกิจฟองสบู่” ชนชั้นนำอเมริกันจึงหันไปปั่นฟองสบู่อีก ซึ่งส่งผลทำให้เศรษฐกิจอเมริกาดูราวว่า “รุ่งเรืองใหญ่อีกครั้งหนึ่ง”
แต่ในช่วงเวลาเดียวกัน เศรษฐกิจจีนกลับรุ่งเรืองอย่างมากเช่นกัน เศรษฐกิจจีนและเอเชียขยายตัวมากกว่าเศรษฐกิจอเมริกาเสียอีก
จีนกลายเป็นประเทศที่มีการขยายตัวของเศรษฐกิจที่ยาวที่สุดในโลก จนกลายเป็น ศูนย์ผลิตสินค้าอุตสาหกรรมของโลก และสามารถทำกำไรมหาศาลทุกปีจากการส่งออก
ประมาณ ค.ศ. 2006 สหรัฐอเมริกาเริ่มทำสงครามปั่นราคาน้ำมัน เริ่มด้วยการสร้างความเชื่อว่า “น้ำมันจะหมดโลก” และอ้างความเชื่อว่า “เกิดการขยายตัวของความต้องการน้ำมัน มีมากกว่าจำนวนน้ำมันที่ผลิตขึ้นได้”
ราคาน้ำมันได้พุ่งขึ้น และพุ่งขึ้นอีก จนส่งผลทำให้เศรษฐกิจเอเชียทั้งระบบสั่นไปทั่วหมด
ประเทศไทยถูกกระทบอย่างหนักหน่วง แต่จีนสามารถตั้งยันได้ และกระทบไม่มากนัก เพราะจีนมีเงินสำรองที่ได้จากการส่งออกจำนวนมหาศาล จึงเอาเงินดังกล่าวมา “อุ้ม” ราคาน้ำมัน
นอกจากนี้ จีนสามารถซื้อน้ำมันจากอิหร่าน ลิเบีย และซีเรีย ซึ่งยังคงเป็นประเทศที่ขายน้ำมันให้กับจีนในราคามิตรภาพ
แต่ กรรมมักจะสนองแก่ผู้ก่อกรรม ราคาน้ำมันที่สหรัฐอเมริกาได้เริ่มค่อยๆ พุ่งขึ้น แม้ว่าสหรัฐฯ จะพยายามพยุงราคาไว้ก็ตาม
การพุ่งขึ้นของราคาน้ำมันส่งผลทำให้เศรษฐกิจอเมริกาแย่ลง ชาวอเมริกันจำนวนหนึ่งซึ่งซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่อเก็งกำไร และเป็นกลุ่มคนที่ไม่มีรายได้ที่แน่นอนนัก เริ่มไม่ส่งดอกเบี้ย จนก่อวิกฤตที่เรียกว่า “วิกฤตซับไพร์ม” และส่งผลให้ฟองสบู่อเมริกาแตกปี 2008
4. สงครามปิดล้อมจีน
สงครามนี้ คือการปรับยุทธศาสตร์สงครามในยุคสงครามเย็นกลับมาใช้ใหม่อีกครั้งหนึ่ง นี่คือ การสร้างแนวยุทธศาสตร์ทางการทหารเพื่อปิดล้อมการขยายตัวของจีนในย่านนี้ทั้งหมด
นี่คือ ที่มาของคำประกาศของนางฮิลลารี คลินตัน ว่า
“อเมริกา จะต้องกลับมาสู่เอเชีย”
เป้าหมายใหญ่ของสงคราม คือ การแยกจีนออกจากญี่ปุ่น เพราะหากจีนกับญี่ปุ่นรวมกันได้ ทั้งสองประเทศจะกลายเป็นมหาอำนาจทางการเงินของโลก และเป็นเจ้าหนี้ที่สำคัญของโลกด้วย รวมทั้งอำนาจของจีนผนวกญี่ปุ่นจะกลายเป็นมี “อำนาจ” ทางการเงินในฐานะผู้ “ช่วยค้ำ” หรือ “ไม่ค้ำ” ค่าเงินดอลลาร์ หากสหรัฐอเมริกาเกิดวิกฤตเศรษฐกิจรอบใหม่
สงครามครั้งนี้ เปิดฉากด้วย “ยุทธการ” การซ้อมรบทางทหารร่วมระหว่างสหรัฐอเมริกาและเกาหลีใต้ ซึ่งได้ทำการซ้อมรบในพื้นที่ที่ติดกับพรมแดนเกาหลีเหนือ
ดังนั้น ลูกปืน และลูกระเบิด ตกไปย่านเกาหลีเหนือ
ผู้นำเกาหลีเหนือโกรธ และสั่งปฏิบัติการถล่มกลับ กลายเป็นข่าวไปทั่วโลก
สหรัฐอเมริกาใช้เงื่อนไขนี้ประกาศสร้างพันธมิตรทางทหารใหม่ คือ ระหว่างสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ และได้ประกาศจะช่วยญี่ปุ่นพัฒนาศักยภาพของกองทัพญี่ปุ่น (อันมีนัยว่า พร้อมจะขายเทคโนโลยีสงครามและอาวุธทันสมัยให้ญี่ปุ่น)
ผมคิดว่า ผู้นำจีนอ่านยุทธการครั้งนี้ออก ดังนั้นแทนที่จะหนุนเกาหลีเหนือ ก็กลับวางตัวเป็นกลาง ไม่เข้าข้างเกาหลีเหนือ และได้เสนอต่อญี่ปุ่นกับเกาหลีใต้ว่า “จำเป็นต้องสร้างพันธมิตรที่ใกล้ชิด” ระหว่างจีนกับญี่ปุ่น และเกาหลีใต้
ถ้าพันธมิตรนี้เข้มแข็ง ก็จะช่วยทำให้สิ่งที่เรียกว่า “อันตรายจากเกาหลีเหนือ” ลดลง
แผนสหรัฐอเมริกา (ซึ่งจะคืนกลับสู่เอเชีย) จึงล้มเหลว เพราะต้องเผชิญหน้ากับจีน มหาอำนาจใหม่ ซึ่งเชี่ยวชาญเรื่องยุทธศาสตร์ยุทธวิธีที่ “ไม่แพ้” โลกตะวันตก
ผมเชื่อว่า ยุทธการปิดล้อมจีนครั้งนี้เกี่ยวกับประเทศไทยด้วย เพราะถ้าจะปิดล้อมจีน ต้องขยายอำนาจเข้ามา “กึ่งยึดครอง” ไทย น่าจะคล้ายกับช่วงสงครามเย็นที่ไทยต้องถูกผนวกอยู่ภายใต้ปีกของพญาอินทรี
และช่วงที่ผมจะกล่าวต่อไปนี้ เป็นช่วงที่ผู้อ่านต้องใช้วิจารญาณมากๆ เพราะ จริง ไม่จริง แค่ไหน อย่างไร ต้องคิด... และคิดอีก อย่าเชื่อ (ยังมีต่อ)