ผมได้เคยเขียนบทความเสนอรูปแบบประชาธิปไตย (ปชต.) ไทยที่เข้ากันได้กับนิสัยของคนไทย มิฉะนั้นชาติไทยจะร่อยหลอจนเหลือแต่กระดูกในที่สุด จากการถูกแทะทึ้งด้วย “ความชอบธรรม” แห่งเสียงข้างมาก... http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9540000103750
ในบทความดังกล่าวผมได้ชี้ให้เห็นว่านักการเมืองฝรั่งเขาโหวตกันแบบอิสระตามนิสัย “อิงตน” (individualistic) ของเขา จึงเกิดการ “คานอำนาจ” กับฝ่ายบริหารอย่างแท้จริง แต่ของเราโหวตกันตามแต่นายสั่งมาตามนิสัย “อิงนาย”ของเรา มันเลยไม่เกิดการคานอำนาจ ซึ่งเป็นหัวใจของ ปชต.
อย่างนี้มันเลวกว่าเผด็จการเสียอีก เพราะถ้าทำไม่ดีเรายังด่ากันได้ว่า “ไอ้เผด็จการ” แต่ระบบ “เลือกตังค์” นี้เราด่าไม่ได้เพราะพออ้างว่าเป็นมติของเสียงข้างมากในระบบ ปชต.ก็จบ
ระบบ ส.ว.ในปัจจุบันนี้เป็นก้างขวางคอพวกนักเลือกตังค์มาก โดยเฉพาะจาก ส.ว.สรรหาที่ไม่มีปลอกคอ ดังนั้นพวกเลือกตังค์จึงหวังจะแก้ รธน.ให้ ส.ว.มาจากการ “เลือกตั้ง” ให้หมด พวกเขาจะได้เขมือบชาติได้ง่ายขึ้นนั่นเอง
รัฐสภาอังกฤษที่เราชื่นชมว่าเป็นต้นแบบ ปชต.นั้น เขามีระบบสองสภา คือสภาไพร่ (house of commons) และสภาเจ้า (house of lords) โดยสภาเจ้านั้นไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ส่วนสภาไพร่มาจากการเลือกตั้ง
สภาสูง (สภาเจ้า) ของเขาให้โควตาเจ้า 92 องค์ดำรงตำแหน่งโดยการสืบทอดทางสายเลือด และให้โควตาพระระดับสูงอีก 26 รูป สมาชิกที่เหลือมาจากการคัดสรร นี่ต้นฉบับ ปชต.แท้ๆ แล้วทำไมเราจะเลียนแบบ “ดีๆ” ในส่วนนี้จากเขาไม่ได้
จะแก้ รธน.ก็ดีแล้ว ถือโอกาสเสนอว่าเราควรแก้ รธน.ให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการกำหนดทั้งหมด โดยไม่มีการเลือกตั้ง เหมือนกับ House of Lords ของอังกฤษ เพียงแต่วิธีการในรายละเอียดของเราควรต่างออกไป เนื่องจากบริบททางสังคมของเราต่างจากเขา
ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ หรือ “อำมาตย์” นั้นมีความสำคัญมากที่สุดต่อสังคมไทย เพราะเป็นกลุ่มบุคคลที่สะสมความรู้ของประเทศไว้มาก ตลอดอายุราชการที่ได้สั่งสมมา ดังนั้นผมขอเสนอไว้ว่าควรให้ตำแหน่งวุฒิสมาชิกโดยอัตโนมัติต่อปลัดกระทรวงที่เกษียณอายุทุกคน โดยให้ตำแหน่งไปจนตาย (แบบอังกฤษ) ทั้งนี้โดยไม่มีเงินเดือน หรือมีแต่น้อยมาก เช่น เฉพาะค่าเดินทางและเบี้ยประชุมวันละ 1,000 บาท เป็นต้น
ปลัดกระทรวงเป็นตำแหน่งอำมาตย์สูงสุดที่สะสมความรู้ในส่วนที่เกี่ยวกับกระทรวงนั้นๆ ไว้มาก พอเกษียณอายุเมื่อ 60 แล้ว ก็สมควรที่จะใช้ประโยชน์จากท่านให้มากที่สุดในการกลั่นกรองกฎหมาย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ยิ่งต่อชาติ ดีกว่าปล่อยให้ท่านนอนกินบำนาญเปล่าๆ หรือเลี้ยงหลาน ตัดแต่งกิ่งไม้รอบบ้านรอเชิงตะกอนไปวันๆ
กฎหมายที่เห็นชอบโดยสภาผู้แทนฯ นั้นมักมีช่องโหว่และหรือวาระซ่อนเร้นเพื่อสนองต่อบุคคลหรือกลุ่มอยู่เนืองๆ ปลัดฯ ท่านเห็นมามาก ท่านย่อมรู้ ท่านย่อมทักท้วงในสภาสูงนี้แล
แต่ถ้าสมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ส่วนใหญ่พวกนี้ก็เป็น “ลูกน้อง ส.ส.” ตามครรลองของการเมืองไทย ดังนั้นการกลั่นกรองกฎหมายของคนพวกนี้มันก็เป็นเพียงแค่พิธีการเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับกฎหมายตามที่ “นายเงิน” สั่งมาเท่านั้นเอง ถ้าจะเอาแบบนี้ผมเสนอว่ามีสภาเดียวไปเลยดีกว่า เสียดายเงินที่ต้องเอามาจ่ายให้ ส.ว.พวกนี้
นอกจากกลุ่มปลัดฯ แล้ว ก็ควรมีกลุ่มวิชาชีพ อาจกำหนดเป็นประธานสมาคมวิชาชีพที่กฎหมายรับรอง นักวิชาการสาขาต่างๆ ที่เลือกสรรกันมา และจากการสรรหาอีกสัก 10% ของทั้งหมด
กลุ่มคนพวกนี้ไม่มีผลประโยชน์ทางการเมือง หรือการค้า แต่ถึงมีก็จะคานอำนาจกันเองโดยหลักสถิติ ก็ไม่สามารถทำการใดเพื่อประโยชน์ส่วนตนได้ (ถึงได้ก็ไม่มากนักหรอก) ในภาพรวม ส.ว.ในลักษณะนี้จะคานอำนาจน้ำเงินของพวก ส.ส.ได้
ก่อนนี้ สภาสูงอังกฤษมีแต่การสืบทอดตำแหน่งโดยสายเลือด (เจ้า) เท่านั้น แต่หลังปี ค.ศ. 1958 มีการลดอำนาจและจำนวนเจ้าลงเรื่อยๆ จนวันนี้พวกเจ้าได้โควตาโดยสายเลือดเพียง 92 องค์เท่านั้น (จากทั้งหมดประมาณ 700)
เป็นที่น่าสังเกตอย่างยิ่งว่า นับแต่ ค.ศ. 1958 เป็นต้นมา ประเทศอังกฤษที่เคยเป็นเจ้าโลกที่อาทิตย์ไม่อัสดง ก็เจริญลงเรื่อยๆ เป็นลำดับ จนในวันนี้อังกฤษแทบไม่มีบทบาทอะไรในเวทีเศรษฐกิจโลก
หรือว่านี่ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่เป็นเพราะรัฐสภาอังกฤษขาดการถ่วงดุลอำนาจจากพวกเจ้าที่คอยกลั่นกรองและทัดทานกฎหมายที่ไม่เข้าท่า ...เช่นกฎหมายพนันเสรี ทำให้คนอังกฤษติดการพนันกันมาก จนคุณภาพประชาชนก็ถดถอย
สมัยก่อนมีสินค้าอังกฤษขายในตลาดโลกมากพอควร เช่น รถยนต์มีออสติน ฮิลแมน มอริส แต่วันนี้หดหายไปหมดเลย เครื่องใช้ไฟฟ้าอังกฤษก็มีแต่วันนี้ก็ไม่เหลือ สินค้าอังกฤษตอนนี้ดูเหมือนมีอย่างเดียวคือฟุตบอล (และการพนันที่ตามมา)
ขนาดเจ้าโลกอย่างอังกฤษยังไม่เหลือ แล้วเราจะเหลือซากอะไรถ้าขืนปล่อยให้พวกนักเลือกตังค์แก้ รธน.ได้ตามใจพวกเขาเพื่อให้สมาชิกสภาสูงมาจากการเลือกตั้งล้วนๆ
ในบทความดังกล่าวผมได้ชี้ให้เห็นว่านักการเมืองฝรั่งเขาโหวตกันแบบอิสระตามนิสัย “อิงตน” (individualistic) ของเขา จึงเกิดการ “คานอำนาจ” กับฝ่ายบริหารอย่างแท้จริง แต่ของเราโหวตกันตามแต่นายสั่งมาตามนิสัย “อิงนาย”ของเรา มันเลยไม่เกิดการคานอำนาจ ซึ่งเป็นหัวใจของ ปชต.
อย่างนี้มันเลวกว่าเผด็จการเสียอีก เพราะถ้าทำไม่ดีเรายังด่ากันได้ว่า “ไอ้เผด็จการ” แต่ระบบ “เลือกตังค์” นี้เราด่าไม่ได้เพราะพออ้างว่าเป็นมติของเสียงข้างมากในระบบ ปชต.ก็จบ
ระบบ ส.ว.ในปัจจุบันนี้เป็นก้างขวางคอพวกนักเลือกตังค์มาก โดยเฉพาะจาก ส.ว.สรรหาที่ไม่มีปลอกคอ ดังนั้นพวกเลือกตังค์จึงหวังจะแก้ รธน.ให้ ส.ว.มาจากการ “เลือกตั้ง” ให้หมด พวกเขาจะได้เขมือบชาติได้ง่ายขึ้นนั่นเอง
รัฐสภาอังกฤษที่เราชื่นชมว่าเป็นต้นแบบ ปชต.นั้น เขามีระบบสองสภา คือสภาไพร่ (house of commons) และสภาเจ้า (house of lords) โดยสภาเจ้านั้นไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ส่วนสภาไพร่มาจากการเลือกตั้ง
สภาสูง (สภาเจ้า) ของเขาให้โควตาเจ้า 92 องค์ดำรงตำแหน่งโดยการสืบทอดทางสายเลือด และให้โควตาพระระดับสูงอีก 26 รูป สมาชิกที่เหลือมาจากการคัดสรร นี่ต้นฉบับ ปชต.แท้ๆ แล้วทำไมเราจะเลียนแบบ “ดีๆ” ในส่วนนี้จากเขาไม่ได้
จะแก้ รธน.ก็ดีแล้ว ถือโอกาสเสนอว่าเราควรแก้ รธน.ให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการกำหนดทั้งหมด โดยไม่มีการเลือกตั้ง เหมือนกับ House of Lords ของอังกฤษ เพียงแต่วิธีการในรายละเอียดของเราควรต่างออกไป เนื่องจากบริบททางสังคมของเราต่างจากเขา
ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ หรือ “อำมาตย์” นั้นมีความสำคัญมากที่สุดต่อสังคมไทย เพราะเป็นกลุ่มบุคคลที่สะสมความรู้ของประเทศไว้มาก ตลอดอายุราชการที่ได้สั่งสมมา ดังนั้นผมขอเสนอไว้ว่าควรให้ตำแหน่งวุฒิสมาชิกโดยอัตโนมัติต่อปลัดกระทรวงที่เกษียณอายุทุกคน โดยให้ตำแหน่งไปจนตาย (แบบอังกฤษ) ทั้งนี้โดยไม่มีเงินเดือน หรือมีแต่น้อยมาก เช่น เฉพาะค่าเดินทางและเบี้ยประชุมวันละ 1,000 บาท เป็นต้น
ปลัดกระทรวงเป็นตำแหน่งอำมาตย์สูงสุดที่สะสมความรู้ในส่วนที่เกี่ยวกับกระทรวงนั้นๆ ไว้มาก พอเกษียณอายุเมื่อ 60 แล้ว ก็สมควรที่จะใช้ประโยชน์จากท่านให้มากที่สุดในการกลั่นกรองกฎหมาย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ยิ่งต่อชาติ ดีกว่าปล่อยให้ท่านนอนกินบำนาญเปล่าๆ หรือเลี้ยงหลาน ตัดแต่งกิ่งไม้รอบบ้านรอเชิงตะกอนไปวันๆ
กฎหมายที่เห็นชอบโดยสภาผู้แทนฯ นั้นมักมีช่องโหว่และหรือวาระซ่อนเร้นเพื่อสนองต่อบุคคลหรือกลุ่มอยู่เนืองๆ ปลัดฯ ท่านเห็นมามาก ท่านย่อมรู้ ท่านย่อมทักท้วงในสภาสูงนี้แล
แต่ถ้าสมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ส่วนใหญ่พวกนี้ก็เป็น “ลูกน้อง ส.ส.” ตามครรลองของการเมืองไทย ดังนั้นการกลั่นกรองกฎหมายของคนพวกนี้มันก็เป็นเพียงแค่พิธีการเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับกฎหมายตามที่ “นายเงิน” สั่งมาเท่านั้นเอง ถ้าจะเอาแบบนี้ผมเสนอว่ามีสภาเดียวไปเลยดีกว่า เสียดายเงินที่ต้องเอามาจ่ายให้ ส.ว.พวกนี้
นอกจากกลุ่มปลัดฯ แล้ว ก็ควรมีกลุ่มวิชาชีพ อาจกำหนดเป็นประธานสมาคมวิชาชีพที่กฎหมายรับรอง นักวิชาการสาขาต่างๆ ที่เลือกสรรกันมา และจากการสรรหาอีกสัก 10% ของทั้งหมด
กลุ่มคนพวกนี้ไม่มีผลประโยชน์ทางการเมือง หรือการค้า แต่ถึงมีก็จะคานอำนาจกันเองโดยหลักสถิติ ก็ไม่สามารถทำการใดเพื่อประโยชน์ส่วนตนได้ (ถึงได้ก็ไม่มากนักหรอก) ในภาพรวม ส.ว.ในลักษณะนี้จะคานอำนาจน้ำเงินของพวก ส.ส.ได้
ก่อนนี้ สภาสูงอังกฤษมีแต่การสืบทอดตำแหน่งโดยสายเลือด (เจ้า) เท่านั้น แต่หลังปี ค.ศ. 1958 มีการลดอำนาจและจำนวนเจ้าลงเรื่อยๆ จนวันนี้พวกเจ้าได้โควตาโดยสายเลือดเพียง 92 องค์เท่านั้น (จากทั้งหมดประมาณ 700)
เป็นที่น่าสังเกตอย่างยิ่งว่า นับแต่ ค.ศ. 1958 เป็นต้นมา ประเทศอังกฤษที่เคยเป็นเจ้าโลกที่อาทิตย์ไม่อัสดง ก็เจริญลงเรื่อยๆ เป็นลำดับ จนในวันนี้อังกฤษแทบไม่มีบทบาทอะไรในเวทีเศรษฐกิจโลก
หรือว่านี่ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่เป็นเพราะรัฐสภาอังกฤษขาดการถ่วงดุลอำนาจจากพวกเจ้าที่คอยกลั่นกรองและทัดทานกฎหมายที่ไม่เข้าท่า ...เช่นกฎหมายพนันเสรี ทำให้คนอังกฤษติดการพนันกันมาก จนคุณภาพประชาชนก็ถดถอย
สมัยก่อนมีสินค้าอังกฤษขายในตลาดโลกมากพอควร เช่น รถยนต์มีออสติน ฮิลแมน มอริส แต่วันนี้หดหายไปหมดเลย เครื่องใช้ไฟฟ้าอังกฤษก็มีแต่วันนี้ก็ไม่เหลือ สินค้าอังกฤษตอนนี้ดูเหมือนมีอย่างเดียวคือฟุตบอล (และการพนันที่ตามมา)
ขนาดเจ้าโลกอย่างอังกฤษยังไม่เหลือ แล้วเราจะเหลือซากอะไรถ้าขืนปล่อยให้พวกนักเลือกตังค์แก้ รธน.ได้ตามใจพวกเขาเพื่อให้สมาชิกสภาสูงมาจากการเลือกตั้งล้วนๆ