วานนี้ ( 29 ก.พ.) ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษายกฟ้องคดีที่นายสนั่น วรสุขศรี และพวก 359 รายซึ่งเป็นกลุ่มชาวบ้านที่พักอาศัยในชุมชนรอบสนามบินสนามบินสุวรรณภูมิที่ได้รับความเดือดร้อนจากมลภาวะทางเสียงจากการบินขึ้น-ลงของเครื่องบินในสนามบินสุวรรณภูมิ ยื่นฟ้องบมจ. ท่าอากาศยานไทย (ทอท.) อธิบดีกรมขนส่งทางอากาศ รมว.คมนาคม อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ และรมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในข้อหาละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควรในการออกคำสั่งเพื่อลดผลกระทบด้านเสียงต่อชาวบ้าน
โดยขอให้ศาลมีคำสั่งให้อธิบดีกรมขนส่งทางอากาศ รมว.คมนาคม อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ และรมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ออกคำสั่งให้ บมจ.ทอท.หยุดให้บริการสนามบินสุวรรณภูมิ โดยห้ามอากาศยานของสายการบินต่างๆขึ้นลงเป็นการชั่วคราวจนกว่า บมจ.ทอท.จะได้ปฏิบัติตามมาตรการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เมื่อวันที่ 10 มี.ค.2548 และให้ บมจ.ทอท.หยุดการก่อสร้างทางวิ่งที่ 3 และ4 ในสนามบินสุวรรณภูมิจนกว่า บมจ.ทอท.จะเสนอรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพิจารณา
ทั้งศาลปกครองให้ความเห็นว่า ข้อเท็จจริงปรากฏว่า บมจ.ทอท. ได้ดำเนินกระบวนการชดเชยความเสียหายแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดให้บริหารสนามบินสุวรรณภูมิตามมาตรการป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามมติของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติแล้ว แต่ยังมีปัญหาไม่อาจตกลงกับชาวบ้านได้ จนต้องมีการตั้งคณะกรรมการร่วม3ฝ่าย เพื่อหาข้อสรุป และเสนอให้ ครม.เห็นชอบเมื่อวันที่ 2 ม.ค.2551 จึงยังถือว่า บมจ.ทอท.ไม่ได้ข้อหาละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการเปิดให้บริการสนามบินสุวรรณภูมิแล้วก็ตาม การดำเนินการชดเชยแก่ผู้ได้รับผลกระทบด้านเสียงจากการเดให้บริการสนามบินสุวรรณภูมิก็สามารถดำเนินการต่อไปได้ ไม่มีความความจำเป็นถึงขนาดจะต้องให้หยุดดำเนินการสนามบินไว้ก่อนจนกว่า บมจ.ทอท.จะได้ปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าว
ส่วนประเด็นขอศาลสั่งให้ บมจ.ทอท.หยุดการก่อสร้างทางวิ่งที่ 3 และ4 ในสนามบินสุวรรณภูมิจนกว่า บมจ.ทอท.จะเสนอรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ้งแวดล้อมให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพิจารณานั้น เห็นว่า เมื่อยังไม่ปรากฏว่า มีการเปิดให้บริการทางวิ่งที่ 3 และที่ 4 การที่ บมจ.ทอท.ยังไม่ได้จัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม จึงยังไม่อาจถือว่า บมจ.ทอท.ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด และไม่ได้เป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดีทั้ง 359ราย พิพากษายกฟ้อง
โดยขอให้ศาลมีคำสั่งให้อธิบดีกรมขนส่งทางอากาศ รมว.คมนาคม อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ และรมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ออกคำสั่งให้ บมจ.ทอท.หยุดให้บริการสนามบินสุวรรณภูมิ โดยห้ามอากาศยานของสายการบินต่างๆขึ้นลงเป็นการชั่วคราวจนกว่า บมจ.ทอท.จะได้ปฏิบัติตามมาตรการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เมื่อวันที่ 10 มี.ค.2548 และให้ บมจ.ทอท.หยุดการก่อสร้างทางวิ่งที่ 3 และ4 ในสนามบินสุวรรณภูมิจนกว่า บมจ.ทอท.จะเสนอรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพิจารณา
ทั้งศาลปกครองให้ความเห็นว่า ข้อเท็จจริงปรากฏว่า บมจ.ทอท. ได้ดำเนินกระบวนการชดเชยความเสียหายแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดให้บริหารสนามบินสุวรรณภูมิตามมาตรการป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามมติของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติแล้ว แต่ยังมีปัญหาไม่อาจตกลงกับชาวบ้านได้ จนต้องมีการตั้งคณะกรรมการร่วม3ฝ่าย เพื่อหาข้อสรุป และเสนอให้ ครม.เห็นชอบเมื่อวันที่ 2 ม.ค.2551 จึงยังถือว่า บมจ.ทอท.ไม่ได้ข้อหาละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการเปิดให้บริการสนามบินสุวรรณภูมิแล้วก็ตาม การดำเนินการชดเชยแก่ผู้ได้รับผลกระทบด้านเสียงจากการเดให้บริการสนามบินสุวรรณภูมิก็สามารถดำเนินการต่อไปได้ ไม่มีความความจำเป็นถึงขนาดจะต้องให้หยุดดำเนินการสนามบินไว้ก่อนจนกว่า บมจ.ทอท.จะได้ปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าว
ส่วนประเด็นขอศาลสั่งให้ บมจ.ทอท.หยุดการก่อสร้างทางวิ่งที่ 3 และ4 ในสนามบินสุวรรณภูมิจนกว่า บมจ.ทอท.จะเสนอรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ้งแวดล้อมให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพิจารณานั้น เห็นว่า เมื่อยังไม่ปรากฏว่า มีการเปิดให้บริการทางวิ่งที่ 3 และที่ 4 การที่ บมจ.ทอท.ยังไม่ได้จัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม จึงยังไม่อาจถือว่า บมจ.ทอท.ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด และไม่ได้เป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดีทั้ง 359ราย พิพากษายกฟ้อง