ASTVผู้จัดการรายวัน – โรงแรมเล็กประเภท บังกาโลว์ และ รีสอร์ท เตรียม เฮ กระทรวงมหาดไทยเตรียมแก้ พ.ร.บ. ควบคุมอาคารพร้อมผ่อนกฎเหล็กในหลายข้อ ให้โรงแรมขนาดไม่ถึง 50 ห้องเข้าสู่ระบบธุรกิจได้อย่างถูกต้อง หลังผลักดันมาเกือบ 10 ปี งานนี้ทำได้ win win ผู้ประกอบการพ้นผิด มหาดไทยมีรายได้เพิ่ม ปีละ 200 ล้านบาท
นายสัมพันธ์ แป้นพัฒน์ กรรมการสมาคมโรงแรมไทย (ทีเอชเอ) กล่าวว่า ความคืบหน้าการแก้ไขกฎหมายเพื่อเอื้อแก่ผู้ประกอบการโรงแรม ล่าสุดเตรียมแก้ไข พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร เพื่อเปิดโอกาสให้โรงแรมขนาดเล็กไม่ถึง 50 ห้อง จากเดิมที่ไม่มีคุณสมบัติ ในการเข้าจดทะเบียนเป็นธุรกิจโรงแรมได้ เพราะใช้วัสดุหรือรูปแบบไม่ตรงข้อกำหนด ให้สามารถเข้าจดทะเบียนเป็นอาคารสำหรับกิจการโรงแรมได้ แต่ทั้งนี้ต้องพิสูจน์ได้ว่า อาคารหรือสิ่งก่อสร้างดังกล่าว ต้องไม่มีลักษณะที่จะเป็นอันตรายต่อชีวิตแก่ผู้เข้าพัก เช่น บังกาโลว์ หรือรีสอร์ท ที่ก่อสร้างจากวัสดุธรรมชาติในท้องถิ่น เป็นต้น
“เท่าที่สมาคม ได้ทำการสำรวจ พบว่า มีบังกาโลว์ ที่พัก กว่า 1,000 แห่ง ทั่วประเทศ ที่มีลักษณะ เป็นกระต๊อบ หรือรีสอร์ท ทำจากวัสดุธรรมชาติ ซึ่งจะไม่เข้าหลักเกณฑ์กฏหมายควบคุมอาคาร แต่ก็มีความแข็งแรงเหมาะกับการเข้าพักอาศัย ของนักท่องเที่ยวและนักเดินทางได้ รวมถึงสถานที่สะอาด ปลอดภัย หากการแก้พ.ร.บ.ฉบับนี้ผ่าน
โรงแรมกลุ่มนี้ก็จะสามารถเข้าจดทะเบียนในธุรกิจโรงแรมได้ตามกฏหมาย คาดว่าผลักดันให้ประกาศใช้ได้ภายในปีนี้”
ทั้งนี้หากโรงแรมกลุ่มนี้ เข้าสู่ธุรกิจโรงแรมได้ถูกกฏหมาย ก็จะสร้างรายได้ให้แก่กระทรวงมหาดไทย ผ่านการจัดเก็บเสียค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบธุรกิจซึ่งผู้ประกอบการต้องเสียทุกๆ 5 ปี และค่าธรรมเนียมรายปีในอัตรา 80 บาทต่อห้อง รวมแล้วเป็นเงินที่กระทรวงมหาดไทยจะได้คือ 200 ล้านบาทต่อปี โดยเป็นรายได้ที่ไม่ต้องนำส่งกระทรวงการคลัง ส่วนผู้ประกอบการที่เข้าสู่ระบบก็ไม่ได้เสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม เมื่อเทียบกับค่าใช้จ่าย ที่ต้องเสียให้กับ ข้าราชการที่เห็นช่องว่างนี้ในการกอบโกยรายได้เข้ากระเป๋าตัวเอง
นอกจากนั้นกรมโยธาธิการและผังเมือง อยู่ระหว่างการพิจารณาผ่อนปรนให้อาคารเก่าที่นำมาปรับเปลี่ยนเป็นโรงแรม เข้าจดทะเบียนธุรกิจได้ จากเดิมอาคารเหล่านี้จะติดปัญหาระยะถอยร้น ไม่ได้ตามหลักเกณฑ์ จึงจดทะเบียนธุรกิจไม่ได้ คาดว่าเร็วๆนี้จะได้ข้อสรุป ซึ่งเงื่อนไขสำคัญ คือจะต้องเป็นอาคารที่พิสูจน์ได้ว่า สร้างก่อนกฏหมายกำหนดระยะถอยร้นประกาศใช้ จึงจะเข้าข่ายได้รับการผ่อนปรน ซึ่งเมื่อสรุปได้แล้วกรมโยธาธิการฯจะแจ้งมายัง คณะกรรมการส่งเสริมและกำกับธุรกิจโรงแรมให้ได้รับทราบ พร้อมกับการแจ้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรับทราบด้วย
กรมโยธาธิการฯยังได้ทำการพิจารณาผ่อนปรนโรงแรมที่อยู่ในเขตชานเมือง ย่านถนนรัตนโกสินทร์ มีนบุรี ลาดกระบัง และอีกหลายพื้นที่ในจังหวัดเชียงใหม่ ให้เป็นเขตเศรษฐกิจและท่องเที่ยว เพื่อจะได้ขออนุญาติสร้างโรงแรมได้ หรือโรงแรมที่มีอยู่แล้วในพื้นที่จะได้เข้าสู่ระบบการจดทะเบียนอย่างถูกกฏหมาย เพราะปัจจุบัน
การเติบโตของเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวได้ขยายวงกว้าง กินพื้นที่เพิ่มขึ้น ชานเมืองในพื้นที่ดังกล่าว ยังใกล้กับสนามบินสุวรรณภูมิ จึงต้องปรับกฏเกณฑ์ให้เป็นปัจจุบันมากที่สุด โดยประเด็นนี้จะดูในรายละเอียด และต้องไม่สร้างอยู่ในพื้นที่ flood way
อย่างไรก็ตาม ภายใน 2 เดือนนี้ หากกระทรวงมหาดไทย เตรียมออกประกาศกฏกระทรวง อนุญาตให้โรงแรมที่ไม่มีห้องประชุมและจัดเลี้ยง ไม่จำเป็นต้องมีที่จอดรถได้ ซึ่งจะช่วยให้โรงแรมขนาดเล็ก ประเภทบ้านพัก และ บังกาโลว์ จะเข้าสู่ระบบธุรกิจโรงแรมได้อย่างถูกกฏหมาย เช่นกัน
นายสัมพันธ์ กล่าวว่า สมาคมฯพยายามผลักดันการแก้กฏหมาย ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจโรงแรม ให้มีความยืดหยุ่น สอดคล้องกับความเป็นจริงมากที่สุด โดยเริ่มทำอย่างจริงจังตั้งแต่ปี 2548 เพื่อให้ผู้ประกอบการโรงแรมขนาดเล็ก ซึ่ง 99% เป็นของคนไทย นี้ให้ได้เข้าสู่ระบบธุรกิจโรงแรมได้อย่างถูกกฏหมาย เพราะผู้ประกอบการกลุ่มนี้ เงินทุนน้อย จัดเป็นกลุ่ม SMEที่รัฐบาลควรช่วยเหลือ ควรมองที่ความสะอาดปลอดภัย และการให้บริการเป็นสำคัญ ซึ่งถ้าทำได้จะ win win ทั้งรัฐและเอกชน
นายสัมพันธ์ แป้นพัฒน์ กรรมการสมาคมโรงแรมไทย (ทีเอชเอ) กล่าวว่า ความคืบหน้าการแก้ไขกฎหมายเพื่อเอื้อแก่ผู้ประกอบการโรงแรม ล่าสุดเตรียมแก้ไข พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร เพื่อเปิดโอกาสให้โรงแรมขนาดเล็กไม่ถึง 50 ห้อง จากเดิมที่ไม่มีคุณสมบัติ ในการเข้าจดทะเบียนเป็นธุรกิจโรงแรมได้ เพราะใช้วัสดุหรือรูปแบบไม่ตรงข้อกำหนด ให้สามารถเข้าจดทะเบียนเป็นอาคารสำหรับกิจการโรงแรมได้ แต่ทั้งนี้ต้องพิสูจน์ได้ว่า อาคารหรือสิ่งก่อสร้างดังกล่าว ต้องไม่มีลักษณะที่จะเป็นอันตรายต่อชีวิตแก่ผู้เข้าพัก เช่น บังกาโลว์ หรือรีสอร์ท ที่ก่อสร้างจากวัสดุธรรมชาติในท้องถิ่น เป็นต้น
“เท่าที่สมาคม ได้ทำการสำรวจ พบว่า มีบังกาโลว์ ที่พัก กว่า 1,000 แห่ง ทั่วประเทศ ที่มีลักษณะ เป็นกระต๊อบ หรือรีสอร์ท ทำจากวัสดุธรรมชาติ ซึ่งจะไม่เข้าหลักเกณฑ์กฏหมายควบคุมอาคาร แต่ก็มีความแข็งแรงเหมาะกับการเข้าพักอาศัย ของนักท่องเที่ยวและนักเดินทางได้ รวมถึงสถานที่สะอาด ปลอดภัย หากการแก้พ.ร.บ.ฉบับนี้ผ่าน
โรงแรมกลุ่มนี้ก็จะสามารถเข้าจดทะเบียนในธุรกิจโรงแรมได้ตามกฏหมาย คาดว่าผลักดันให้ประกาศใช้ได้ภายในปีนี้”
ทั้งนี้หากโรงแรมกลุ่มนี้ เข้าสู่ธุรกิจโรงแรมได้ถูกกฏหมาย ก็จะสร้างรายได้ให้แก่กระทรวงมหาดไทย ผ่านการจัดเก็บเสียค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบธุรกิจซึ่งผู้ประกอบการต้องเสียทุกๆ 5 ปี และค่าธรรมเนียมรายปีในอัตรา 80 บาทต่อห้อง รวมแล้วเป็นเงินที่กระทรวงมหาดไทยจะได้คือ 200 ล้านบาทต่อปี โดยเป็นรายได้ที่ไม่ต้องนำส่งกระทรวงการคลัง ส่วนผู้ประกอบการที่เข้าสู่ระบบก็ไม่ได้เสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม เมื่อเทียบกับค่าใช้จ่าย ที่ต้องเสียให้กับ ข้าราชการที่เห็นช่องว่างนี้ในการกอบโกยรายได้เข้ากระเป๋าตัวเอง
นอกจากนั้นกรมโยธาธิการและผังเมือง อยู่ระหว่างการพิจารณาผ่อนปรนให้อาคารเก่าที่นำมาปรับเปลี่ยนเป็นโรงแรม เข้าจดทะเบียนธุรกิจได้ จากเดิมอาคารเหล่านี้จะติดปัญหาระยะถอยร้น ไม่ได้ตามหลักเกณฑ์ จึงจดทะเบียนธุรกิจไม่ได้ คาดว่าเร็วๆนี้จะได้ข้อสรุป ซึ่งเงื่อนไขสำคัญ คือจะต้องเป็นอาคารที่พิสูจน์ได้ว่า สร้างก่อนกฏหมายกำหนดระยะถอยร้นประกาศใช้ จึงจะเข้าข่ายได้รับการผ่อนปรน ซึ่งเมื่อสรุปได้แล้วกรมโยธาธิการฯจะแจ้งมายัง คณะกรรมการส่งเสริมและกำกับธุรกิจโรงแรมให้ได้รับทราบ พร้อมกับการแจ้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรับทราบด้วย
กรมโยธาธิการฯยังได้ทำการพิจารณาผ่อนปรนโรงแรมที่อยู่ในเขตชานเมือง ย่านถนนรัตนโกสินทร์ มีนบุรี ลาดกระบัง และอีกหลายพื้นที่ในจังหวัดเชียงใหม่ ให้เป็นเขตเศรษฐกิจและท่องเที่ยว เพื่อจะได้ขออนุญาติสร้างโรงแรมได้ หรือโรงแรมที่มีอยู่แล้วในพื้นที่จะได้เข้าสู่ระบบการจดทะเบียนอย่างถูกกฏหมาย เพราะปัจจุบัน
การเติบโตของเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวได้ขยายวงกว้าง กินพื้นที่เพิ่มขึ้น ชานเมืองในพื้นที่ดังกล่าว ยังใกล้กับสนามบินสุวรรณภูมิ จึงต้องปรับกฏเกณฑ์ให้เป็นปัจจุบันมากที่สุด โดยประเด็นนี้จะดูในรายละเอียด และต้องไม่สร้างอยู่ในพื้นที่ flood way
อย่างไรก็ตาม ภายใน 2 เดือนนี้ หากกระทรวงมหาดไทย เตรียมออกประกาศกฏกระทรวง อนุญาตให้โรงแรมที่ไม่มีห้องประชุมและจัดเลี้ยง ไม่จำเป็นต้องมีที่จอดรถได้ ซึ่งจะช่วยให้โรงแรมขนาดเล็ก ประเภทบ้านพัก และ บังกาโลว์ จะเข้าสู่ระบบธุรกิจโรงแรมได้อย่างถูกกฏหมาย เช่นกัน
นายสัมพันธ์ กล่าวว่า สมาคมฯพยายามผลักดันการแก้กฏหมาย ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจโรงแรม ให้มีความยืดหยุ่น สอดคล้องกับความเป็นจริงมากที่สุด โดยเริ่มทำอย่างจริงจังตั้งแต่ปี 2548 เพื่อให้ผู้ประกอบการโรงแรมขนาดเล็ก ซึ่ง 99% เป็นของคนไทย นี้ให้ได้เข้าสู่ระบบธุรกิจโรงแรมได้อย่างถูกกฏหมาย เพราะผู้ประกอบการกลุ่มนี้ เงินทุนน้อย จัดเป็นกลุ่ม SMEที่รัฐบาลควรช่วยเหลือ ควรมองที่ความสะอาดปลอดภัย และการให้บริการเป็นสำคัญ ซึ่งถ้าทำได้จะ win win ทั้งรัฐและเอกชน