ASTVผู้จัดการรายวัน – ทีเอชเอ เริ่มมีความหวัง ดันโรงแรมนอกรีดเข้าสู่ระบบ หลัง รองนายกรัฐมนตรี”ยงยุทธ” ไฟเขียว ตั้งคณะทำงานแก้ไขการจดทะเบียนโรงแรม ประชุมนัดแรก 9 ธันวาคมนี้ ททท. ผนึกเอกชน เร่งฟื้นตลาดท่องเที่ยว เตือนผู้ประกอบการอดใจรอ อย่าสาดสงครามราคา
นายสัมพันธ์ แป้นพัฒน์ ที่ปรึกษากิติมศักดิ์ด้านกฏหมาย สมาคมโรงแรมไทย (ทีเอชเอ) กล่าวว่า ล่าสุดนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ รองนายกฯ กำกับดูแลกระทรวงมหาดไทย ได้สั่งการให้แต่งตั้งคณะทำงานแก้กฏกระทรวง เพื่อดำเนินการไขการจดทะเบียนโรงแรม
โดยมีตัวแทนจากหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นคณะทำงาน ซึ่งในวันที่ 9 ธันวาคมศกนี้ ทางคณะทำงานจะเชิญตัวแทนจากสมาคมโรงแรม ร่วมหารือเพื่อเสนอแนวทางการกำหนดและแก้ไขระเบียบธุรกิจโรงแรมใหม่
ประเด็นที่ทีเอชเอ จะเสนอต่อกระทรวงมหาดไทย คือ จำนวนโรงแรมที่ไม่ได้จดทะเบียนประกอบธุรกิจอย่างถูกกฏหมาย ซึ่งปัจจุบันมีมากถึง 50% ของจำนวนโรงแรมทั้งหมด ที่เปิดให้บริการในประเทศไทยขณะนี้ โดยเปิดในรูปแบบของเซอร์วิสอพาร์ทเมนต์ หอพักรายวัน โดยการที่ไม่จดทะเบียนธุรกิจอย่างถูกกฏหมาย ทำให้
ธุรกิจมีต้นทุนต่ำกว่าผู้ประกอบการที่ถูกกฏหมายถึง 3 เท่า เพราะโรงแรมที่จดทะเบียนถูกกฏหมายต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน อัตรา 12.5% ต่อห้องต่อปี ส่วนโรงแรมไม่ได้จดทะเบียนจะเสียเพียงภาษีโรงเรือนและที่ดินในอัตรา12.5% ต่อปีเท่านั้น
ด้านขั้นตอนการกำหนดแนวทางการแก้ระเบียบธุรกิจโรงแรม จะต้องทำการยกร่างกฏหมายเดิมมาพิจารณาประกอบว่า มีหลักเกณฑ์ใดบ้าง ที่ทำให้ ที่พักประเภทอื่นๆ ไม่สามารถเข้าเกณฑ์เป็นธุรกิจโรงแรม จากนั้นจะนำไปปรับแก้ข้อความ ให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น เช่น ข้อเดิมกำหนดว่าโรงแรมเล็กขนาดต่ำกว่า 79 ห้อง ไม่อยู่ในกฎหมายควบคุมอาคารสำหรับประกอบธุรกิจโรงแรม
ก็ให้ขยายกรอบดังกล่าวเพื่อรวมโรงแรมขนาดเล็กเข้ามาได้
“การแก้กฎหมายครั้งนี้ ให้เริ่มบังคับใช้พร้อมกันทั่วประเทศ อย่าจำกัดแค่พื้นที่กรุงเทพฯ โดยคาดหวังว่าหลังจากกฎหมายที่แก้ไขใหม่มีผลบังคับใช้แล้ว จะมีธุรกิจห้องพักกว่า 90% ของผู้ประกอบการที่ยังไม่ได้จดทะเบียน
นำธุรกิจเข้ามาจดทะเบียนได้ตามกฏหมาย จากปัจจุบันที่ทีเอชเอมีสมาชิกอยู่แล้วกว่า 500 แห่ง ส่วนอีก 10% ที่ไม่นำธุรกิจเข้าสู่ระบบ อาจติดเรื่องมาตรฐานอาคารด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม”
วานนี้(30 พ.ย.54) การประชุมสมาชิกสมาคมไทยบริการท่องเที่ยวหรือ แอตต้า นายสุรพล เศวตเศรนี ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) ได้กล่าวแก่ สมาชิกแอตต้า ว่า ขณะนี้ ททท. สมาคมท่องเที่ยว และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำลังร่วมกันทำงานเพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยวของประเทศไทยให้กลับสู่ภาวะปรกติ ภายหลังผ่านเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ ภายใต้โครงการ “บิวตี้ฟลู ไทยแลนด์
“ จากนั้นจะต่อด้วย แคมเปญใหญ่ ตามนโยบายของรัฐบาล คือ “มิราเคิลไทยแลนด์เยียร์”
สิ่งที่จะขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการคือ อย่าใช้กลยุทธ์ลดราคาเพื่อดึงนักท่องเที่ยว เพราะจะกระทบต่อโครงสร้างราคาในระยะยาว แต่ให้ใช้กลยุทธ์การนำเสนอขายสินค้าและบริการให้คุ้มค่าเงิน
จากสถานการณ์น้ำท่วม ททท.ประเมินว่า นักท่องเที่ยวต่างชาติหายไป 4-5 แสนคน เหลือนักท่องเที่ยวรวมทั้งปีที่ 18.3 – 18.6 ล้านคน จากที่คาดหวังจะได้ 19-19.5 ล้านคน ส่วนตลาดคนไทยเที่ยวในประเทศ คาดจะเหลือ 98 ล้านคนครั้งจากที่คาดหวังปีนี้จะทำได้ 104 ล้านคนครั้ง รวม สองตลาดจะเสียโอกาสสร้างรายได้ราว 6 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็น ตลาดต่างประเทศ 3.5 หมื่นล้านบาท และตลาดในประเทศ 2.6 หมื่นล้านบาท
นายศิษฎิวัชร ชีวรัตนพร นายกสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว หรือ แอตต้า กล่าวว่า สถานการณ์ท่องเที่ยวจากนี้ไปจะเริ่มดีขึ้นตามลำดับ และฟื้นตัวเป็นปรกติได้ภายในไตรมาส 2 ปีหน้า ซึ่ง มองว่าผู้ประกอบการจะใช้โอกาสที่ตลาดกลับสู่ภาวะปรกตินี้ ปรับขึ้นราคาโรงแรมและแพกเกจทัวร์ ซึ่งปัจจุบัน มียอดบุ๊กกิ้งช่วงไฮซีซั่นนี้ราว 30%
แต่เริ่มมีการสอบถามเข้ามามากขึ้นคาดอาจมีบุ๊กกิ๊งเพิ่มเป็น 40% แต่หากถึงกลางเดือน ธันวาคม ยอดจองยังไม่มีเพิ่มขึ้น ผู้ประกอบการทัวร์และโรงแรม อาจต้องตัดสินใจลดราคาห้องพักลงราว 10-20% ซึ่งเป็นเพดานที่ยังพอลดได้
นายสัมพันธ์ แป้นพัฒน์ ที่ปรึกษากิติมศักดิ์ด้านกฏหมาย สมาคมโรงแรมไทย (ทีเอชเอ) กล่าวว่า ล่าสุดนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ รองนายกฯ กำกับดูแลกระทรวงมหาดไทย ได้สั่งการให้แต่งตั้งคณะทำงานแก้กฏกระทรวง เพื่อดำเนินการไขการจดทะเบียนโรงแรม
โดยมีตัวแทนจากหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นคณะทำงาน ซึ่งในวันที่ 9 ธันวาคมศกนี้ ทางคณะทำงานจะเชิญตัวแทนจากสมาคมโรงแรม ร่วมหารือเพื่อเสนอแนวทางการกำหนดและแก้ไขระเบียบธุรกิจโรงแรมใหม่
ประเด็นที่ทีเอชเอ จะเสนอต่อกระทรวงมหาดไทย คือ จำนวนโรงแรมที่ไม่ได้จดทะเบียนประกอบธุรกิจอย่างถูกกฏหมาย ซึ่งปัจจุบันมีมากถึง 50% ของจำนวนโรงแรมทั้งหมด ที่เปิดให้บริการในประเทศไทยขณะนี้ โดยเปิดในรูปแบบของเซอร์วิสอพาร์ทเมนต์ หอพักรายวัน โดยการที่ไม่จดทะเบียนธุรกิจอย่างถูกกฏหมาย ทำให้
ธุรกิจมีต้นทุนต่ำกว่าผู้ประกอบการที่ถูกกฏหมายถึง 3 เท่า เพราะโรงแรมที่จดทะเบียนถูกกฏหมายต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน อัตรา 12.5% ต่อห้องต่อปี ส่วนโรงแรมไม่ได้จดทะเบียนจะเสียเพียงภาษีโรงเรือนและที่ดินในอัตรา12.5% ต่อปีเท่านั้น
ด้านขั้นตอนการกำหนดแนวทางการแก้ระเบียบธุรกิจโรงแรม จะต้องทำการยกร่างกฏหมายเดิมมาพิจารณาประกอบว่า มีหลักเกณฑ์ใดบ้าง ที่ทำให้ ที่พักประเภทอื่นๆ ไม่สามารถเข้าเกณฑ์เป็นธุรกิจโรงแรม จากนั้นจะนำไปปรับแก้ข้อความ ให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น เช่น ข้อเดิมกำหนดว่าโรงแรมเล็กขนาดต่ำกว่า 79 ห้อง ไม่อยู่ในกฎหมายควบคุมอาคารสำหรับประกอบธุรกิจโรงแรม
ก็ให้ขยายกรอบดังกล่าวเพื่อรวมโรงแรมขนาดเล็กเข้ามาได้
“การแก้กฎหมายครั้งนี้ ให้เริ่มบังคับใช้พร้อมกันทั่วประเทศ อย่าจำกัดแค่พื้นที่กรุงเทพฯ โดยคาดหวังว่าหลังจากกฎหมายที่แก้ไขใหม่มีผลบังคับใช้แล้ว จะมีธุรกิจห้องพักกว่า 90% ของผู้ประกอบการที่ยังไม่ได้จดทะเบียน
นำธุรกิจเข้ามาจดทะเบียนได้ตามกฏหมาย จากปัจจุบันที่ทีเอชเอมีสมาชิกอยู่แล้วกว่า 500 แห่ง ส่วนอีก 10% ที่ไม่นำธุรกิจเข้าสู่ระบบ อาจติดเรื่องมาตรฐานอาคารด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม”
วานนี้(30 พ.ย.54) การประชุมสมาชิกสมาคมไทยบริการท่องเที่ยวหรือ แอตต้า นายสุรพล เศวตเศรนี ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) ได้กล่าวแก่ สมาชิกแอตต้า ว่า ขณะนี้ ททท. สมาคมท่องเที่ยว และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำลังร่วมกันทำงานเพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยวของประเทศไทยให้กลับสู่ภาวะปรกติ ภายหลังผ่านเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ ภายใต้โครงการ “บิวตี้ฟลู ไทยแลนด์
“ จากนั้นจะต่อด้วย แคมเปญใหญ่ ตามนโยบายของรัฐบาล คือ “มิราเคิลไทยแลนด์เยียร์”
สิ่งที่จะขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการคือ อย่าใช้กลยุทธ์ลดราคาเพื่อดึงนักท่องเที่ยว เพราะจะกระทบต่อโครงสร้างราคาในระยะยาว แต่ให้ใช้กลยุทธ์การนำเสนอขายสินค้าและบริการให้คุ้มค่าเงิน
จากสถานการณ์น้ำท่วม ททท.ประเมินว่า นักท่องเที่ยวต่างชาติหายไป 4-5 แสนคน เหลือนักท่องเที่ยวรวมทั้งปีที่ 18.3 – 18.6 ล้านคน จากที่คาดหวังจะได้ 19-19.5 ล้านคน ส่วนตลาดคนไทยเที่ยวในประเทศ คาดจะเหลือ 98 ล้านคนครั้งจากที่คาดหวังปีนี้จะทำได้ 104 ล้านคนครั้ง รวม สองตลาดจะเสียโอกาสสร้างรายได้ราว 6 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็น ตลาดต่างประเทศ 3.5 หมื่นล้านบาท และตลาดในประเทศ 2.6 หมื่นล้านบาท
นายศิษฎิวัชร ชีวรัตนพร นายกสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว หรือ แอตต้า กล่าวว่า สถานการณ์ท่องเที่ยวจากนี้ไปจะเริ่มดีขึ้นตามลำดับ และฟื้นตัวเป็นปรกติได้ภายในไตรมาส 2 ปีหน้า ซึ่ง มองว่าผู้ประกอบการจะใช้โอกาสที่ตลาดกลับสู่ภาวะปรกตินี้ ปรับขึ้นราคาโรงแรมและแพกเกจทัวร์ ซึ่งปัจจุบัน มียอดบุ๊กกิ้งช่วงไฮซีซั่นนี้ราว 30%
แต่เริ่มมีการสอบถามเข้ามามากขึ้นคาดอาจมีบุ๊กกิ๊งเพิ่มเป็น 40% แต่หากถึงกลางเดือน ธันวาคม ยอดจองยังไม่มีเพิ่มขึ้น ผู้ประกอบการทัวร์และโรงแรม อาจต้องตัดสินใจลดราคาห้องพักลงราว 10-20% ซึ่งเป็นเพดานที่ยังพอลดได้