ถ้าพูดถึงข้าวโพดแล้ว เชื่อว่าหลายท่านคงจะนึกถึงของกินสีเหลืองนวล ที่เคยรับประทานทั้งแบบสดๆจากฝัก หรือว่ามีการแปรรูปเป็นข้าวโพดคลุกเนย คลุกน้ำตาล หลายท่านอาจจะเห็นว่า ข้าวโพด มีหน้าตาคล้ายกันไปหมด แต่ความจริงแล้วข้าวโพดนั้นถูกแบ่งออกเป็นหลายชนิด และมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจประเทศไทยอยู่พอสมควรเลยทีเดียว
หากแบ่งข้าวโพดตามลักษณะทางพฤกษศาสตร์แล้วจะแบ่งได้เป็น 7 ชนิด (สารานุกรมสำหรับเยาวชนฯ ) คือ
* ข้าวโพดหัวบุบ มีสีของเมล็ดเป็นสีขาว เหลือง หรือสีอื่นๆแล้วแต่พันธุ์ และนิยมปลูกกันมากในประเทศสหรัฐอเมริกา
* ข้าวโพดหัวแข็ง มีหัวเรียบ ไม่บุบ และเมล็ดค่อนข้างกลม มักจะปลูกกันมากในเอเชียและอเมริกาใต้ ซึ่งคนไทยนิยมปลูกข้าวโพดชนิดนี้
* ข้าวโพดหวาน นิยมปลูกกันอย่างแพร่หลาย ส่วนใหญ่รับประทานจากฝักสดๆ และเพราะฝักมีน้ำตาลมากจึงทำให้มีรสหวาน
* ข้าวโพดคั่วหรือที่รู้จักกันในชื่อว่า Pop Corn เมล็ดจะค่อนข้างเล็ก มีความชื้นอยู่ภายในพอสมควร เมื่อถูกความร้อนจะเกิดแรงดันภายในทำให้เมล็ดระเบิดตัวออกมา อาจมีลักษณะกลมหรือแหลมก็ได้
* ข้าวโพดข้าวเหนียว เมล็ดมีแป้งอ่อนคล้ายแป้งมันสำปะหลัง นิยมรับประทานสดคล้ายข้าวโพดหวาน เมล็ดนิ่ม
* ข้าวโพดแป้ง ในเมล็ดประกอบด้วยแป้งชนิดอ่อนมาก นิยมปลูกในอเมริกาใต้ อเมริกากลาง และชาวอินเดียนแดงนิยมปลูกไว้รับประทานเป็นอาหาร
* ข้าวโพดป่า มีฝักเล็กกว่าข้าวโพดธรรมดา มีขั้วเปลือกหุ้มเมล็ดทุกเม็ด และแต่ละเมล็ดมีลักษณะต่างๆกัน ส่วนใหญ่ปลูกไว้เพื่อการศึกษาเท่านั้น
สำหรับประโยชน์ของข้าวโพดนั้น สามารถนำไปใช้ได้หลายด้าน โดยแบ่งเป็น 3 ด้านหลัก ได้แก่ ใช้เป็นอาหารมนุษย์ ซึ่งนิยมรับประทานทั้งแบบฝักสดและแบบบรรจุกระป๋องส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรม ทั้งทำแอลกอฮอล์ น้ำเชื่อม น้ำมัน ยารักษาโรค กระดาษ น้ำมันใส่ผม หรือแบตเตอรี่ สุดท้ายใช้เป็นอาหารสัตว์ โดยอาจตัดต้นสดให้สัตว์กินโดยตรง หรือนำไปหมักก่อน ซึ่งในต่างประเทศนิยมใช้ข้าวโพดในการเลี้ยงสัตว์กันมาก
ในประเทศไทยนิยมนำข้าวโพดมารับประทานมากกว่าการใช้สำหรับเลี้ยงสัตว์ เนื่องจากอาหารสัตว์ชนิดอื่นมีราคาที่ต่ำกว่า และปัจจุบันประเทศไทยมีการส่งออกข้าวโพดแบบบรรจุกระป๋องเป็นอันดับหนึ่ง ซึ่งมีสัญญาณว่าอุตสาหกรรมนี้จะสดใส โดยเฉพาะในช่วงนี้ที่ทางยุโรปประสบภัยธรรมชาติจนทำให้พืชผลทางการเกษตรเสียหายไป ซึ่งปัจจุบันกลุ่มอุตสาหกรรมข้าวโพดได้ทำการเสนอสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ให้บรรจุข้าวโพดหวานเป็นพืชเศรษฐกิจ (กองบก. (19-22 กุมภาพันธ์ 2555). ส่งออกข้าวโพดหวานอนาคตรุ่ง. ฐานเศรษฐกิจ) (เวปไซต์ : http://www.thaifood.org/ )
สำหรับ อนาคตของข้าวโพดไทย นอกจากจะขึ้นกับการสนับสนุนหรือไม่ของนโยบายภาครัฐแล้ว กลุ่มอุตสาหกรรมและภาคประชาชนเองก็คงต้องมีการเตรียมความพร้อมต่อสิ่งต่างๆที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สภาพอากาศที่ในปัจจุบันมีความแปรปรวนอย่างมาก
หากแบ่งข้าวโพดตามลักษณะทางพฤกษศาสตร์แล้วจะแบ่งได้เป็น 7 ชนิด (สารานุกรมสำหรับเยาวชนฯ ) คือ
* ข้าวโพดหัวบุบ มีสีของเมล็ดเป็นสีขาว เหลือง หรือสีอื่นๆแล้วแต่พันธุ์ และนิยมปลูกกันมากในประเทศสหรัฐอเมริกา
* ข้าวโพดหัวแข็ง มีหัวเรียบ ไม่บุบ และเมล็ดค่อนข้างกลม มักจะปลูกกันมากในเอเชียและอเมริกาใต้ ซึ่งคนไทยนิยมปลูกข้าวโพดชนิดนี้
* ข้าวโพดหวาน นิยมปลูกกันอย่างแพร่หลาย ส่วนใหญ่รับประทานจากฝักสดๆ และเพราะฝักมีน้ำตาลมากจึงทำให้มีรสหวาน
* ข้าวโพดคั่วหรือที่รู้จักกันในชื่อว่า Pop Corn เมล็ดจะค่อนข้างเล็ก มีความชื้นอยู่ภายในพอสมควร เมื่อถูกความร้อนจะเกิดแรงดันภายในทำให้เมล็ดระเบิดตัวออกมา อาจมีลักษณะกลมหรือแหลมก็ได้
* ข้าวโพดข้าวเหนียว เมล็ดมีแป้งอ่อนคล้ายแป้งมันสำปะหลัง นิยมรับประทานสดคล้ายข้าวโพดหวาน เมล็ดนิ่ม
* ข้าวโพดแป้ง ในเมล็ดประกอบด้วยแป้งชนิดอ่อนมาก นิยมปลูกในอเมริกาใต้ อเมริกากลาง และชาวอินเดียนแดงนิยมปลูกไว้รับประทานเป็นอาหาร
* ข้าวโพดป่า มีฝักเล็กกว่าข้าวโพดธรรมดา มีขั้วเปลือกหุ้มเมล็ดทุกเม็ด และแต่ละเมล็ดมีลักษณะต่างๆกัน ส่วนใหญ่ปลูกไว้เพื่อการศึกษาเท่านั้น
สำหรับประโยชน์ของข้าวโพดนั้น สามารถนำไปใช้ได้หลายด้าน โดยแบ่งเป็น 3 ด้านหลัก ได้แก่ ใช้เป็นอาหารมนุษย์ ซึ่งนิยมรับประทานทั้งแบบฝักสดและแบบบรรจุกระป๋องส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรม ทั้งทำแอลกอฮอล์ น้ำเชื่อม น้ำมัน ยารักษาโรค กระดาษ น้ำมันใส่ผม หรือแบตเตอรี่ สุดท้ายใช้เป็นอาหารสัตว์ โดยอาจตัดต้นสดให้สัตว์กินโดยตรง หรือนำไปหมักก่อน ซึ่งในต่างประเทศนิยมใช้ข้าวโพดในการเลี้ยงสัตว์กันมาก
ในประเทศไทยนิยมนำข้าวโพดมารับประทานมากกว่าการใช้สำหรับเลี้ยงสัตว์ เนื่องจากอาหารสัตว์ชนิดอื่นมีราคาที่ต่ำกว่า และปัจจุบันประเทศไทยมีการส่งออกข้าวโพดแบบบรรจุกระป๋องเป็นอันดับหนึ่ง ซึ่งมีสัญญาณว่าอุตสาหกรรมนี้จะสดใส โดยเฉพาะในช่วงนี้ที่ทางยุโรปประสบภัยธรรมชาติจนทำให้พืชผลทางการเกษตรเสียหายไป ซึ่งปัจจุบันกลุ่มอุตสาหกรรมข้าวโพดได้ทำการเสนอสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ให้บรรจุข้าวโพดหวานเป็นพืชเศรษฐกิจ (กองบก. (19-22 กุมภาพันธ์ 2555). ส่งออกข้าวโพดหวานอนาคตรุ่ง. ฐานเศรษฐกิจ) (เวปไซต์ : http://www.thaifood.org/ )
สำหรับ อนาคตของข้าวโพดไทย นอกจากจะขึ้นกับการสนับสนุนหรือไม่ของนโยบายภาครัฐแล้ว กลุ่มอุตสาหกรรมและภาคประชาชนเองก็คงต้องมีการเตรียมความพร้อมต่อสิ่งต่างๆที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สภาพอากาศที่ในปัจจุบันมีความแปรปรวนอย่างมาก