วานนี้( 22 ก.พ. 55) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกองทุนพัฒนาสตรีว่า ตนสนับสนุนในเรื่องการพัฒนาสตรี และเห็นด้วยกับการมีกองทุนนี้ แต่ควรจะมีการกำหนดหลักเกณฑ์การใช้เงินให้ชัดเจน และทำให้เป็นเรื่องของการพัฒนาสตรีจริง ๆ ไม่ใช่เรื่องของการเมือง และขณะนี้ก็มีข่าวเข้ามาจากหลายพื้นที่ว่าการจัดสรรกองทุนเป็นเรื่องของการให้พวก หรือให้ฝ่ายตนเองในภาวะที่สังคมยังแบ่งฝักแบ่งฝ่ายกันอยู่ ซึ่งถ้าเป็นอย่างนี้จริง กองทุนนี้ก็จะเป็นส่วนที่ทำให้เกิดความแตกแยก เพราะฉะนั้นรัฐบาลจะต้องแสดงความจริงใจพิสูจน์ให้เห็นด้วยการกระทำว่า ไม่เอากองทุนตัวนี้ไปทำให้เกิดความขัดแย้ง และวางหลักเกณฑ์ให้ดีเพื่อให้งานการพัฒนาสตรีเดินหน้าได้
ที่หอประชุม มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการชี้แจงแนวทาง“กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี”เป็นจังหวัดแรกในชี้แจงนโยบายและมีสตรีกว่า 1 พันคนเข้าร่วมงานโดยนายกรัฐมนตรีได้เดินพูดคุย ทักทายกับกลุ่มสตรี ชมการทอผ้า และทดลองกรีดยางต้นยางจำลอง
ทั้งนี้นายกรัฐมนตรี กล่าวชี้แจงตอนหนึ่งว่า ตนเป็นสตรีย่อมรู้ความต้องการของสตรีว่าต้องการได้รับความเท่าเทียมและการยอมรับในสังคม ซึ่งกองทุนนี้ต้องการบูรณาการองค์กรเกี่ยวกับสตรีทั้งหมดให้มาทำงานร่วมกัน โดยมีวัตถุประสงค์ 4 ประการคือ 1. เป็นแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำหรือปลอดดอกเบี้ย 2. เป็นแหล่งเงินทุนในการสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังปัญหาสตรีโดยเฉพาะสตรีที่ถูกกดขี่ข่มเหงทางเพศ 3.เป็นแหล่งเงินทุนสำหรับสนับสนนุกิจกรรมและรณรงค์ให้เข้าใจสตรีในทุกๆมิติ
4.เป็นแหล่งเงินทุนสนับสนุนโครงการอื่นที่จะแก้ปัญหาและพัฒนาบทบาทสตรี โดยหลังจากนี้จะเลือกตัวแทนสตรีระดับตำบล อำเภอ หรือจังหวัด เข้าไปแต่งตั้งเป็นกรรมการระดับชาติเพื่อมาพิจารณาการเบิกจ่ายงบประมาณลงไปโดยเฉลี่ยจังหวัดละ 100 ล้านบาท โดยเชื่อว่าจะแก้ปัญหาได้ 3 มิติ 1.สตรีที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ 2.สตรีที่ต้องการเพิ่มศักยภาพ และ3.สตรีที่อยากให้ขึ้นมาเป็นผู้นำทางสังคม.
ที่หอประชุม มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการชี้แจงแนวทาง“กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี”เป็นจังหวัดแรกในชี้แจงนโยบายและมีสตรีกว่า 1 พันคนเข้าร่วมงานโดยนายกรัฐมนตรีได้เดินพูดคุย ทักทายกับกลุ่มสตรี ชมการทอผ้า และทดลองกรีดยางต้นยางจำลอง
ทั้งนี้นายกรัฐมนตรี กล่าวชี้แจงตอนหนึ่งว่า ตนเป็นสตรีย่อมรู้ความต้องการของสตรีว่าต้องการได้รับความเท่าเทียมและการยอมรับในสังคม ซึ่งกองทุนนี้ต้องการบูรณาการองค์กรเกี่ยวกับสตรีทั้งหมดให้มาทำงานร่วมกัน โดยมีวัตถุประสงค์ 4 ประการคือ 1. เป็นแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำหรือปลอดดอกเบี้ย 2. เป็นแหล่งเงินทุนในการสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังปัญหาสตรีโดยเฉพาะสตรีที่ถูกกดขี่ข่มเหงทางเพศ 3.เป็นแหล่งเงินทุนสำหรับสนับสนนุกิจกรรมและรณรงค์ให้เข้าใจสตรีในทุกๆมิติ
4.เป็นแหล่งเงินทุนสนับสนุนโครงการอื่นที่จะแก้ปัญหาและพัฒนาบทบาทสตรี โดยหลังจากนี้จะเลือกตัวแทนสตรีระดับตำบล อำเภอ หรือจังหวัด เข้าไปแต่งตั้งเป็นกรรมการระดับชาติเพื่อมาพิจารณาการเบิกจ่ายงบประมาณลงไปโดยเฉลี่ยจังหวัดละ 100 ล้านบาท โดยเชื่อว่าจะแก้ปัญหาได้ 3 มิติ 1.สตรีที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ 2.สตรีที่ต้องการเพิ่มศักยภาพ และ3.สตรีที่อยากให้ขึ้นมาเป็นผู้นำทางสังคม.