ASTVผู้จัดการรายวัน - ธ.ก.ส.พบทุจริตสวมสิทธิ์รับจำนำข้าวนาปีช่วง 10 วันโค้งสุดท้าย กลุ่มคนชักจูงชาวนาส่งข้าวรอบ 2 รับค่าตอบแทนหลักหมื่นบาท เร่งปราบ พร้อมขู่โทษทั้งอาญาและแพ่ง
นายสุพัฒน์ เอี้ยวฉาย ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการนโยบายรัฐ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ช่วง 10 วันสุดท้ายก่อนที่จะปิดโครงการรับจำนำข้าวนาปี วันที่ 29 ก.พ.นี้ ธ.ก.ส.ได้ตรวจพบการทุจริตเกิดขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างทั้งหมด พื้นที่ละกว่า 100 ราย ที่มีกลุ่มคนแนะนำให้เกษตรกรสวมสิทธิ์จากโควต้าที่ยังเหลืออยู่ ด้วยการนำข้าวมาเข้าโครงการรอบ 2 อีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่เคยนำข้าวมาเข้าร่วมโครงการครั้งแรกไปแล้ว ทั้งๆ ที่เกษตรกรไม่มีข้าวแล้ว แต่ยังไม่ถึงหลักแสนตัน จึงได้แจ้งให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องตรวจสอบการรับใบประทวนรอบ 2 ทั้งหมดทุกภาคอย่างเข้มงวด หากพบว่าเป็นการสวมสิทธิ์ จะมีโทษทั้งทางอาญาและทางแพ่ง
“ตามปกติแล้วการรับจำนำข้าวจะดูจากใบประทวนที่มีหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนของเกษตรกรว่ามีพื้นที่เพาะปลูกเท่าใด มีผลผลิตเฉลี่ยเท่าใด แต่นโยบายของรัฐบาลประกาศว่ารับจำนำข้าวทุกเม็ด หากเกษตรกรต้องการส่งข้าวเข้าร่วมจำนำ 2 รอบ ควรแจ้งความจำนงไว้ตั้งแต่แรก ซึ่งจะต้องเขียนรายละเอียดลงสลักหลังในใบประทวนไว้ โดยเกษตรกรส่งข้าวได้ไม่เกินค่าเฉลี่ยผลผลิตสูงสุดของจังหวัด เช่นค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ที่ไร่ละ 10 ตัน แต่เกษตรกรเข้าร่วมจำนำเพียง 5 ตัน จึงยังมีโควตาเหลืออยู่อีก 5 ตัน จึงทำให้มีกลุ่มคนฉวยโอกาสไปชักจูงให้เกษตรกรสวมสิทธิ์ด้วยการส่งข้าวรอบ 2 อีก 5 ตันที่เหลือ โดยให้ค่าตอบแทนหลัก 10,000 บาทขึ้นไป”
ขณะนี้ธ.ก.ส.ได้แจ้งให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทราบแล้ว ทั้งกระทรวงพาณิชย์ องค์การคลังสินค้า (อคส.) องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ผู้ว่าราชการจังหวัด คณะกรรมการรับจำนำข้าวฯ ว่าหากมีเกษตรกรส่งข้าวเข้าร่วมโครงการรอบ 2 ในช่วงนี้ ต้องให้ผ่านการตรวจสอบจากคณะอนุกรรมการกำกับดูแลฯ ก่อน ส่วนข้าวผ่านกระบวนการไปแล้ว ธ.ก.ส.ชะลอการปล่อยสินเชื่อไว้ก่อน และส่งทีมเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบใหม่อีกครั้งด้วย
ทั้งนี้ยังไม่ได้รับรายงานว่าเป็นข้าวจากต่างประเทศ และไม่ชัดเจนว่าเป็นข้าวจากโรงสี และไม่ใช่ข้าวที่วนใหม่ แต่เป็นข้าวทั่วไปที่นำมารับจำนำ เพราะที่ผ่านมาธ.ก.ส.ตรวจสอบอย่างเข้มงวดมาโดยตลอด จนกระทั่งผิดปกติในช่วงโค้งสุดท้ายก่อนปิดโครงการนี้เอง ที่หลายคนอาจคิดว่าเป็นช่วงปล่อยผี และขณะนี้ยังมีกลุ่มคนพยายามชักจูงเกษตรกรให้สวมสิทธิ์อยู่ โดยเฉพาะจ.บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศีรษะเกต อำนาจเจริญ ยโสธร อุบลราชธานี แต่โดยภาพรวมแล้วยังไม่พบว่าปริมาณการรับจำนำสูงผิดปกติ โดยคาดว่าเมื่อ 29 ก.พ. จะมีข้าวเข้าร่วมโครงการ 7.5 ล้านตัน จากปัจจุบันที่ 6.43 ล้านตัน คิดเป็นวงเงิน 107,828 ล้านบาท
นายสุพัฒน์ กล่าวว่า พร้อมกันนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค.เป็นต้นไป รัฐบาลจะเริ่มโครงการรับจำนำข้าวนาปรับ ซึ่งคาดว่าหลังจากที่เสนอให้ครม.อนุมัติในวันที่ 22 ก.พ.นี้แล้วจะเริ่มดำเนินโครงการได้เลย โดยเงื่อนไขต่าง ๆ ยังคงเหมือนกับโครงการรับจำนำข้าวนาปีที่ผ่านมา แต่ปรับปริมาณชนิดข้าวลงมา คาดว่าจะมีข้าวเข้าร่วมโครงการเกือบ ๆ 9 ล้านตัน ใช้เงิน 120,000 ล้านบาท จากที่กระทรวงเกษตรประเมินว่าจะมีผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมดปีนี้ 11 ล้านตัน ทั้งนี้ไม่ได้รับจำนำทุกเมล็ด แต่กำหนดวงเงินให้เกษตรกรรับจำนำรายละไม่เกิน 500,000 บาท เชื่อว่า จะครอบคุลมเกษตรกรกว่า 90% ของผู้ที่จะเข้าร่วมโครงการแล้ว
นอกจากนี้ ธ.ก.ส.ได้เริ่มโครงการรับจำนำมันสำปะหลังแล้ว โดยขณะนี้มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 249 ราย รวมเป็นผลผลิต 13,446 ล้านตัน ใช้เงินไปแล้ว 36.9 ล้านบาท พร้อมกันนี้ธ.ก.ส.ได้ออก 2 มาตรการช่วยเหลือเกษตรกร ระหว่างที่ลานมัน โรงแป้ง ยังไม่พร้อมเข้าร่วมโครงการ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกร คือ ยืดหนี้ให้เกษตรกรมันสำปะหลังที่ต้องชำระหนี้คืนให้ธ.ก.ส.ออกไป 3 เดือน และให้สินเชื่อเพื่อชะลอการขุดมันออกไปก่อน โดยให้วงเงินรายละ 50,000 บาท ดอกเบี้ย 0% นาน 3 เดือน ซึ่งรัฐบาลจะชดเชยดอกเบี้ยและค่าบริหารงานให้ธ.ก.ส.ภายหลัง.
นายสุพัฒน์ เอี้ยวฉาย ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการนโยบายรัฐ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ช่วง 10 วันสุดท้ายก่อนที่จะปิดโครงการรับจำนำข้าวนาปี วันที่ 29 ก.พ.นี้ ธ.ก.ส.ได้ตรวจพบการทุจริตเกิดขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างทั้งหมด พื้นที่ละกว่า 100 ราย ที่มีกลุ่มคนแนะนำให้เกษตรกรสวมสิทธิ์จากโควต้าที่ยังเหลืออยู่ ด้วยการนำข้าวมาเข้าโครงการรอบ 2 อีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่เคยนำข้าวมาเข้าร่วมโครงการครั้งแรกไปแล้ว ทั้งๆ ที่เกษตรกรไม่มีข้าวแล้ว แต่ยังไม่ถึงหลักแสนตัน จึงได้แจ้งให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องตรวจสอบการรับใบประทวนรอบ 2 ทั้งหมดทุกภาคอย่างเข้มงวด หากพบว่าเป็นการสวมสิทธิ์ จะมีโทษทั้งทางอาญาและทางแพ่ง
“ตามปกติแล้วการรับจำนำข้าวจะดูจากใบประทวนที่มีหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนของเกษตรกรว่ามีพื้นที่เพาะปลูกเท่าใด มีผลผลิตเฉลี่ยเท่าใด แต่นโยบายของรัฐบาลประกาศว่ารับจำนำข้าวทุกเม็ด หากเกษตรกรต้องการส่งข้าวเข้าร่วมจำนำ 2 รอบ ควรแจ้งความจำนงไว้ตั้งแต่แรก ซึ่งจะต้องเขียนรายละเอียดลงสลักหลังในใบประทวนไว้ โดยเกษตรกรส่งข้าวได้ไม่เกินค่าเฉลี่ยผลผลิตสูงสุดของจังหวัด เช่นค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ที่ไร่ละ 10 ตัน แต่เกษตรกรเข้าร่วมจำนำเพียง 5 ตัน จึงยังมีโควตาเหลืออยู่อีก 5 ตัน จึงทำให้มีกลุ่มคนฉวยโอกาสไปชักจูงให้เกษตรกรสวมสิทธิ์ด้วยการส่งข้าวรอบ 2 อีก 5 ตันที่เหลือ โดยให้ค่าตอบแทนหลัก 10,000 บาทขึ้นไป”
ขณะนี้ธ.ก.ส.ได้แจ้งให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทราบแล้ว ทั้งกระทรวงพาณิชย์ องค์การคลังสินค้า (อคส.) องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ผู้ว่าราชการจังหวัด คณะกรรมการรับจำนำข้าวฯ ว่าหากมีเกษตรกรส่งข้าวเข้าร่วมโครงการรอบ 2 ในช่วงนี้ ต้องให้ผ่านการตรวจสอบจากคณะอนุกรรมการกำกับดูแลฯ ก่อน ส่วนข้าวผ่านกระบวนการไปแล้ว ธ.ก.ส.ชะลอการปล่อยสินเชื่อไว้ก่อน และส่งทีมเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบใหม่อีกครั้งด้วย
ทั้งนี้ยังไม่ได้รับรายงานว่าเป็นข้าวจากต่างประเทศ และไม่ชัดเจนว่าเป็นข้าวจากโรงสี และไม่ใช่ข้าวที่วนใหม่ แต่เป็นข้าวทั่วไปที่นำมารับจำนำ เพราะที่ผ่านมาธ.ก.ส.ตรวจสอบอย่างเข้มงวดมาโดยตลอด จนกระทั่งผิดปกติในช่วงโค้งสุดท้ายก่อนปิดโครงการนี้เอง ที่หลายคนอาจคิดว่าเป็นช่วงปล่อยผี และขณะนี้ยังมีกลุ่มคนพยายามชักจูงเกษตรกรให้สวมสิทธิ์อยู่ โดยเฉพาะจ.บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศีรษะเกต อำนาจเจริญ ยโสธร อุบลราชธานี แต่โดยภาพรวมแล้วยังไม่พบว่าปริมาณการรับจำนำสูงผิดปกติ โดยคาดว่าเมื่อ 29 ก.พ. จะมีข้าวเข้าร่วมโครงการ 7.5 ล้านตัน จากปัจจุบันที่ 6.43 ล้านตัน คิดเป็นวงเงิน 107,828 ล้านบาท
นายสุพัฒน์ กล่าวว่า พร้อมกันนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค.เป็นต้นไป รัฐบาลจะเริ่มโครงการรับจำนำข้าวนาปรับ ซึ่งคาดว่าหลังจากที่เสนอให้ครม.อนุมัติในวันที่ 22 ก.พ.นี้แล้วจะเริ่มดำเนินโครงการได้เลย โดยเงื่อนไขต่าง ๆ ยังคงเหมือนกับโครงการรับจำนำข้าวนาปีที่ผ่านมา แต่ปรับปริมาณชนิดข้าวลงมา คาดว่าจะมีข้าวเข้าร่วมโครงการเกือบ ๆ 9 ล้านตัน ใช้เงิน 120,000 ล้านบาท จากที่กระทรวงเกษตรประเมินว่าจะมีผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมดปีนี้ 11 ล้านตัน ทั้งนี้ไม่ได้รับจำนำทุกเมล็ด แต่กำหนดวงเงินให้เกษตรกรรับจำนำรายละไม่เกิน 500,000 บาท เชื่อว่า จะครอบคุลมเกษตรกรกว่า 90% ของผู้ที่จะเข้าร่วมโครงการแล้ว
นอกจากนี้ ธ.ก.ส.ได้เริ่มโครงการรับจำนำมันสำปะหลังแล้ว โดยขณะนี้มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 249 ราย รวมเป็นผลผลิต 13,446 ล้านตัน ใช้เงินไปแล้ว 36.9 ล้านบาท พร้อมกันนี้ธ.ก.ส.ได้ออก 2 มาตรการช่วยเหลือเกษตรกร ระหว่างที่ลานมัน โรงแป้ง ยังไม่พร้อมเข้าร่วมโครงการ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกร คือ ยืดหนี้ให้เกษตรกรมันสำปะหลังที่ต้องชำระหนี้คืนให้ธ.ก.ส.ออกไป 3 เดือน และให้สินเชื่อเพื่อชะลอการขุดมันออกไปก่อน โดยให้วงเงินรายละ 50,000 บาท ดอกเบี้ย 0% นาน 3 เดือน ซึ่งรัฐบาลจะชดเชยดอกเบี้ยและค่าบริหารงานให้ธ.ก.ส.ภายหลัง.