ที่ทำเนียบรัฐบาล วานนี้ (20 ก.พ.55)ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงความคืบหน้าในการผลักดันร่างพ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติ ที่มีกระแสข่าวว่าเตรียมไปขึ้นปราศรัยรับฟังเสียงชาวอีสานที่ทุ่งศรีเมือง ในวันที่ 21ก.พ. ว่า ร่างพ.ร.บ.ปรองดองของตนมี 6 มาตราร่างไว้เรียบร้อย ถึงวันนี้คงไม่ต้องไปเปิดรับฟังเสียงประชาชนชาวอีสานเพราะร้อยละ 80 เขาเอาด้วยหมด และเราพูดเรื่องมาตั้งแต่ก่อนเลือกตั้ง
ในการเดินทางไป จ.อุดรธานี คงยังไม่ไปเปิดร่างพ.ร.บ.ปรองดอง คงไม่ไปพูดอย่างนั้น แต่บอกได้เลยว่าทำแน่ เขียนไว้แล้ว 6 มาตรา ทุกภาคส่วนได้หมด
สำหรับกรณีกลุ่มคนเสื้อแดง เลือกตั้งนางธิดา ถาวรเศรษฐ์ เป็นประธานนปช.แล้วมีการแตกแยกออกเป็นหลายกลุ่ม ร.ต.อ.เฉลิมกล่าวว่า ตนไม่กล้าแสดงความคิดเห็น เพราะไม่ได้ยุ่งกับเขามาตั้งแต่ต้น
ส่วนการเดินทางไป กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ระหว่างวันที่15-17 ก.พ.ที่ผ่านมา ได้พบกับพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯหรือไม่ โดยร.ต.อ.เฉลิม หัวเราะก่อนตอบว่า “ปักกิ่งหนาว ผมไม่ได้พบพ.ต.ท.ทักษิณ ท่านมีงานของท่าน ผมก็มีงานของผม ไม่ได้พบกันจริง ๆ แต่ก็เคยโทรคุยกัน ท่านก็สบายดี หัวเราะ ท่านกับผมคบกันมา 30 กว่าปี ไม่โทรคุยกันก็โกหกแล้ว” เมื่อถามว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ใกล้จะได้กลับบ้านหรือยัง ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า ตนไม่กล้าถาม
อีกด้านที่ จ.อุดรธานี เป็นวันที่ 2 ที่สมาชิกเสื้อแดงจากจังหวัดต่างๆ ของภาคอีสานทั้ง 20 จังหวัด บวกกับตัวแทนเสื้อแดงจากจังหวัดเพชรบูรณ์ และสุราษฎร์ธานี เดินทางไปรวมตัวกันที่บริเวณสนามทุ่งศรีเมืองด้านข้างของศาลพระหลักเมือง โดยตั้งเวทีการปราศรัยขนาดใหญ่ คู่ขนานกับเวทีปราศรัยของสภาเครือข่ายประชาชนประชาชน 4 ภาค
มีรายงานว่า ค่ำวันที่ 19 ก.พ.นายสุนัย จุลพงศธร ประธานกรรมาธิการการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษ ฏร ได้มาเป็นประธานในการมอบป้ายหมู่บ้านเสื้อแดงเพื่อประชาธิปไตยแห่งประเทศไทย ให้กับตัวแทนจังหวัดทั้ง 20 จังหวัด
โดยนายสุนัย อ้างว่าได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกสมาพันธ์หมู่บ้านเสื้อแดงเพื่อประชาธิปไตยแล้ว และยังย้ำว่าหากว่าสามารถเปิดหมู่บ้านเสื้อแดงให้ครบ 7 หมื่นหมู่บ้าน ก็จะสร้างความเข้มแข็งให้ประชาธิปไตยได้อย่างแท้จริง และสามารถที่จะนำเอา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กลับคืนประเทศไทยโดนที่จะไม่มีใครสามารถปิดกั้นได้อย่างแน่นอน
พร้อมกับพูดว่าการจัดตั้งหมู่บ้านเสื้อแดงฯที่ดำเนินการอยู่ในขณะนี้ไม่ผิดกฎหมาย เพราะหากว่าผิดกฎหมาย นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช ที่เดินทางมาเปิดหมู่บ้านเสื้อแดง คงไม่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรี
มีรายงานว่า นายสุนัยพยายามพูดกระทบกระเทียบนายขวัญชัย สาราคำหรือไพรพนา ประธานชมรมคนรักอุดร หลายครั้ง เช่น ตัวเองต่อสู้มาตั้งนานแล้วหลายปี และเคยทำมาก่อนแกนนำเสื้อแดงบางคน รวมถึงกรณีที่พิสูจน์แล้วว่าการจัดตั้งหมู่บ้านเสื้อแดงไม่ได้ผิดกฎหมายตามที่แกนนำเสื้อแดงบางคน กล่าวว่าเป็นเรื่องของการผิดกฎหมาย
ขณะที่ สมาพันธ์หมู่บ้านเสื้อแดงเพื่อประชาธิปไตยแห่งประเทศ ได้เปิดหมู่บ้านคนเสื้อแดงทั่วประเทศไปได้แล้วจำนวน 12,600 หมู่บ้าน จากเป้าหมายว่าจะเปิดให้ได้ 3 หมื่นหมู่บ้านในเวลา 2 ปี และในการเปิดหมู่บ้านเสื้อแดงที่สนามทุ่งศรีเมืองเป็นการเปิดหมู่บ้านเฉพาะในภาคอีสานจำนวน 1,000 หมู่บ้าน แยกเป็น ขอนแก่น 20 แห่ง,อุดรธานี 100 แห่ง,สุรินทร์ 5 แห่ง,ศรีษะเกษ 80 แห่ง,มุกดาหาร 200 แห่ง,ชัยภูมิ 10 แห่ง,ร้อยเอ็ด 20 แห่ง,หนองบัวลำภู 10 แห่ง,เลย 30 แห่ง,สกลนคร 100 แห่ง,บุริรัมย์ 50 แห่ง,อำนาจเจริญ 5 แห่ง,นครราชสีมา 20 แห่ง,กาฬสินธุ์ 100 แห่ง, นครพนม 50 แห่ง,อุบลราชธานี 5 แห่ง,หนองคาย 20 แห่ง,ยโสธร 5แห่ง,บึงกาฬ 20 แห่ง และ จ.มหาสารคาม 200 แห่ง.
อีกด้านนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวปฏิเสธกรณีที่ “เอเชียไทมส์” ลงข่าวระบุว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี สั่งการลับให้ตั้งวอร์รูมคนเสื้อแดงเพื่อต้านการรัฐประหาร เนื่องจากมีกระแสข่าวว่าอาจจะมีการปฏิวัติรัฐประหารภายในเดือนมิ.ย. ซึ่งเป็นคำสั่งการของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โดยระบุว่าเป็นการเสนอข่าวโคมลอย ปราศจากข้อเท็จจริง ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำฝ่ายบริหาร การสั่งการไปยังทุกกระทรวง ทบวง กรมนั้นเป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรี และพ.ต.ท.ทักษิณก็ประกาศชัดเจนมาหลายครั้งแล้วว่า ไม่ได้เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการบริหารและการเมืองในพรรคไทยรักไทยภายใต้รัฐบาลของน.ส.ยิ่งลักษณ์
วันเดียวกัน ศาลได้อ่านคำสั่งของศาลอุทธรณ์ กรณี บุตรชายนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข แกนนำกลุ่ม 24 มิถุนา เพื่อประชาธิปไตย และอดีตบรรณาธิการหนังสือ วอยซ์ ออฟ ทักษิณ จำเลยคดีหมิ่นเบื้องสูง ตามมาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา ยื่นคำร้องอุทธรณ์พร้อมหลักทรัพย์เป็นเงินสดจำนวน 1.6 ล้านบาท ต่อศาลอุทธรณ์ เพื่อขอปล่อยชั่วคราว โดยองค์คณะผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ พิเคราะห์แล้วเห็นว่า ความผิดที่ถูกกล่าวหามีอัตราโทษสูง ทั้งพฤติการณ์แห่งคดีกระทบต่อความรู้สึก และศีลธรรมอันดีงามของประชาชน หากปล่อยชั่วคราวไปจำเลยอาจหลบหนี หรือไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ยกคำร้อง
อีกด้านนายธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการเยียวยาทางแพ่ง และฟื้นฟูด้วยวิธีการอื่น ที่แต่งตั้งโดยคณะกรรมการประสานและติดตามผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (ปคอป.)เปิดเผยว่า ได้พิจารณาหลักเกณฑ์กลุ่มที่จะได้รับการเยียวยาคือ ประชาชน เจ้าหน้าที่ของรัฐ สื่อมวลชนทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ ที่เสียชีวิต ทุพลภาพ บาดเจ็บ ที่ครอบคลุมผู้ที่ได้รับผลกระทบทั้งหมด ทั้งชาวบ้านที่อยู่ในบริเวณที่เกิดเหตุ หรือประชาชนที่สัญจรไปมา จะได้รับการเยียวยาทั้งหมด โดยนิยามคำว่าทุพลภาพนั้นให้ใช้ตามมาตรา 18 (3) ของพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เงินทดแทน พ.ศ.2537
ทั้งนี้จะมีการกำหนดรายละเอียด เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบอีกครั้ง ให้ผู้ที่ได้รับสิทธิ์ ต้องเตรียมเอกสารมาแจ้งความจำนง ซึ่งก็คาดว่าจะเป็นสัปดาห์หน้า
ในการเดินทางไป จ.อุดรธานี คงยังไม่ไปเปิดร่างพ.ร.บ.ปรองดอง คงไม่ไปพูดอย่างนั้น แต่บอกได้เลยว่าทำแน่ เขียนไว้แล้ว 6 มาตรา ทุกภาคส่วนได้หมด
สำหรับกรณีกลุ่มคนเสื้อแดง เลือกตั้งนางธิดา ถาวรเศรษฐ์ เป็นประธานนปช.แล้วมีการแตกแยกออกเป็นหลายกลุ่ม ร.ต.อ.เฉลิมกล่าวว่า ตนไม่กล้าแสดงความคิดเห็น เพราะไม่ได้ยุ่งกับเขามาตั้งแต่ต้น
ส่วนการเดินทางไป กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ระหว่างวันที่15-17 ก.พ.ที่ผ่านมา ได้พบกับพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯหรือไม่ โดยร.ต.อ.เฉลิม หัวเราะก่อนตอบว่า “ปักกิ่งหนาว ผมไม่ได้พบพ.ต.ท.ทักษิณ ท่านมีงานของท่าน ผมก็มีงานของผม ไม่ได้พบกันจริง ๆ แต่ก็เคยโทรคุยกัน ท่านก็สบายดี หัวเราะ ท่านกับผมคบกันมา 30 กว่าปี ไม่โทรคุยกันก็โกหกแล้ว” เมื่อถามว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ใกล้จะได้กลับบ้านหรือยัง ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า ตนไม่กล้าถาม
อีกด้านที่ จ.อุดรธานี เป็นวันที่ 2 ที่สมาชิกเสื้อแดงจากจังหวัดต่างๆ ของภาคอีสานทั้ง 20 จังหวัด บวกกับตัวแทนเสื้อแดงจากจังหวัดเพชรบูรณ์ และสุราษฎร์ธานี เดินทางไปรวมตัวกันที่บริเวณสนามทุ่งศรีเมืองด้านข้างของศาลพระหลักเมือง โดยตั้งเวทีการปราศรัยขนาดใหญ่ คู่ขนานกับเวทีปราศรัยของสภาเครือข่ายประชาชนประชาชน 4 ภาค
มีรายงานว่า ค่ำวันที่ 19 ก.พ.นายสุนัย จุลพงศธร ประธานกรรมาธิการการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษ ฏร ได้มาเป็นประธานในการมอบป้ายหมู่บ้านเสื้อแดงเพื่อประชาธิปไตยแห่งประเทศไทย ให้กับตัวแทนจังหวัดทั้ง 20 จังหวัด
โดยนายสุนัย อ้างว่าได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกสมาพันธ์หมู่บ้านเสื้อแดงเพื่อประชาธิปไตยแล้ว และยังย้ำว่าหากว่าสามารถเปิดหมู่บ้านเสื้อแดงให้ครบ 7 หมื่นหมู่บ้าน ก็จะสร้างความเข้มแข็งให้ประชาธิปไตยได้อย่างแท้จริง และสามารถที่จะนำเอา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กลับคืนประเทศไทยโดนที่จะไม่มีใครสามารถปิดกั้นได้อย่างแน่นอน
พร้อมกับพูดว่าการจัดตั้งหมู่บ้านเสื้อแดงฯที่ดำเนินการอยู่ในขณะนี้ไม่ผิดกฎหมาย เพราะหากว่าผิดกฎหมาย นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช ที่เดินทางมาเปิดหมู่บ้านเสื้อแดง คงไม่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรี
มีรายงานว่า นายสุนัยพยายามพูดกระทบกระเทียบนายขวัญชัย สาราคำหรือไพรพนา ประธานชมรมคนรักอุดร หลายครั้ง เช่น ตัวเองต่อสู้มาตั้งนานแล้วหลายปี และเคยทำมาก่อนแกนนำเสื้อแดงบางคน รวมถึงกรณีที่พิสูจน์แล้วว่าการจัดตั้งหมู่บ้านเสื้อแดงไม่ได้ผิดกฎหมายตามที่แกนนำเสื้อแดงบางคน กล่าวว่าเป็นเรื่องของการผิดกฎหมาย
ขณะที่ สมาพันธ์หมู่บ้านเสื้อแดงเพื่อประชาธิปไตยแห่งประเทศ ได้เปิดหมู่บ้านคนเสื้อแดงทั่วประเทศไปได้แล้วจำนวน 12,600 หมู่บ้าน จากเป้าหมายว่าจะเปิดให้ได้ 3 หมื่นหมู่บ้านในเวลา 2 ปี และในการเปิดหมู่บ้านเสื้อแดงที่สนามทุ่งศรีเมืองเป็นการเปิดหมู่บ้านเฉพาะในภาคอีสานจำนวน 1,000 หมู่บ้าน แยกเป็น ขอนแก่น 20 แห่ง,อุดรธานี 100 แห่ง,สุรินทร์ 5 แห่ง,ศรีษะเกษ 80 แห่ง,มุกดาหาร 200 แห่ง,ชัยภูมิ 10 แห่ง,ร้อยเอ็ด 20 แห่ง,หนองบัวลำภู 10 แห่ง,เลย 30 แห่ง,สกลนคร 100 แห่ง,บุริรัมย์ 50 แห่ง,อำนาจเจริญ 5 แห่ง,นครราชสีมา 20 แห่ง,กาฬสินธุ์ 100 แห่ง, นครพนม 50 แห่ง,อุบลราชธานี 5 แห่ง,หนองคาย 20 แห่ง,ยโสธร 5แห่ง,บึงกาฬ 20 แห่ง และ จ.มหาสารคาม 200 แห่ง.
อีกด้านนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวปฏิเสธกรณีที่ “เอเชียไทมส์” ลงข่าวระบุว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี สั่งการลับให้ตั้งวอร์รูมคนเสื้อแดงเพื่อต้านการรัฐประหาร เนื่องจากมีกระแสข่าวว่าอาจจะมีการปฏิวัติรัฐประหารภายในเดือนมิ.ย. ซึ่งเป็นคำสั่งการของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โดยระบุว่าเป็นการเสนอข่าวโคมลอย ปราศจากข้อเท็จจริง ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำฝ่ายบริหาร การสั่งการไปยังทุกกระทรวง ทบวง กรมนั้นเป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรี และพ.ต.ท.ทักษิณก็ประกาศชัดเจนมาหลายครั้งแล้วว่า ไม่ได้เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการบริหารและการเมืองในพรรคไทยรักไทยภายใต้รัฐบาลของน.ส.ยิ่งลักษณ์
วันเดียวกัน ศาลได้อ่านคำสั่งของศาลอุทธรณ์ กรณี บุตรชายนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข แกนนำกลุ่ม 24 มิถุนา เพื่อประชาธิปไตย และอดีตบรรณาธิการหนังสือ วอยซ์ ออฟ ทักษิณ จำเลยคดีหมิ่นเบื้องสูง ตามมาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา ยื่นคำร้องอุทธรณ์พร้อมหลักทรัพย์เป็นเงินสดจำนวน 1.6 ล้านบาท ต่อศาลอุทธรณ์ เพื่อขอปล่อยชั่วคราว โดยองค์คณะผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ พิเคราะห์แล้วเห็นว่า ความผิดที่ถูกกล่าวหามีอัตราโทษสูง ทั้งพฤติการณ์แห่งคดีกระทบต่อความรู้สึก และศีลธรรมอันดีงามของประชาชน หากปล่อยชั่วคราวไปจำเลยอาจหลบหนี หรือไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ยกคำร้อง
อีกด้านนายธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการเยียวยาทางแพ่ง และฟื้นฟูด้วยวิธีการอื่น ที่แต่งตั้งโดยคณะกรรมการประสานและติดตามผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (ปคอป.)เปิดเผยว่า ได้พิจารณาหลักเกณฑ์กลุ่มที่จะได้รับการเยียวยาคือ ประชาชน เจ้าหน้าที่ของรัฐ สื่อมวลชนทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ ที่เสียชีวิต ทุพลภาพ บาดเจ็บ ที่ครอบคลุมผู้ที่ได้รับผลกระทบทั้งหมด ทั้งชาวบ้านที่อยู่ในบริเวณที่เกิดเหตุ หรือประชาชนที่สัญจรไปมา จะได้รับการเยียวยาทั้งหมด โดยนิยามคำว่าทุพลภาพนั้นให้ใช้ตามมาตรา 18 (3) ของพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เงินทดแทน พ.ศ.2537
ทั้งนี้จะมีการกำหนดรายละเอียด เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบอีกครั้ง ให้ผู้ที่ได้รับสิทธิ์ ต้องเตรียมเอกสารมาแจ้งความจำนง ซึ่งก็คาดว่าจะเป็นสัปดาห์หน้า