เอเจนซีส์ - รัฐสภากรีซลงมติอนุมัติมาตรการรัดเข็มขัดรอบใหม่เพื่อปลดล็อกให้ได้รับเงินช่วยเหลือก้อน 2 จากอียู-ไอเอ็มเอฟ ท่ามกลางการปะทะเดือดระหว่างตำรวจกับผู้ประท้วงตลอดวันอาทิตย์ (12) ซึ่งทำให้มีผู้บาดเจ็บนับสิบและอาคารหลายแห่งในเอเธนส์ถูกเผา สำหรับทางด้านอียูและเยอรมนีวานนี้(13) ได้ออกมาแสดงความยินดีต่อการลงมติดังกล่าว
มาตรการรัดเข็มขัดรอบใหม่ได้รับความเห็นชอบจากสมาชิกรัฐสภา 199 คน และมี 74 คนคัดค้าน โดยที่มี สส.ของพรรคร่วมรัฐบาล 2 พรรคก่อการกบฎออกเสียงค้านรวม 43 คน ซึ่งก็ได้ถูกขับออกจากพรรคทันที
ในมาตรการดังกล่าวประกอบด้วยการลดค่าแรงขั้นต่ำ 22% (32% สำหรับพนักงานอายุต่ำกว่า 25 ปี) การผ่อนคลายกฎในตลาดแรงงานเพื่อเปิดทางในการปลดพนักงาน และมาตรการภาษี รวมทั้งการปฏิรูประบบบำนาญ การเจรจาสวอปหนี้กับเจ้าหนี้เอกชนเพื่อลดภาระหนี้ลงราว 100,000 ล้านยูโร จากทั้งหมด 350,000 ล้านยูโรให้ลุล่วงภายในวันศุกร์ที่จะถึง (17) จะได้มีเวลาเพียงพอสำหรับหลีกเลี่ยงไม่ให้ต้องผิดนัดชำระหนี้เกือบ 14,500 ล้านดอลลาร์ที่จะถึงกำหนดในวันที่ 14 เดือนหน้า
แต่ก่อนที่รัฐสภาจะโหวตอนุมัติมาตรการนี้ซึ่งจะทำให้มีการตัดลดค่าใช้จ่ายเฉพาะปีนี้ถึง 3,300 ล้านยูโร (4,350 ล้านดอลลาร์) นั้น ร้านค้า 150 แห่งในเอเธนส์ก็ถูกปล้น รวมถึงอาคาร 34 แห่งถูกเผา
สถานีโทรทัศน์ของรัฐแพร่ภาพความรุนแรงซึ่งนอกจากในเมืองหลวงเอเธนส์แล้ว ยังลุกลามไปที่ 2 เกาะท่องเที่ยวชื่อดังอย่าง คอร์ฟู และ ครีต ตลอดจนเมืองเทสซาโลนิกี้ ทางภาคเหนือและอีกหลายเมืองในตอนกลางของประเทศ
กระทรวงสาธารณสุขรายงานว่า มีผู้ได้รับบาดเจ็บในการประท้วง 54 ราย ขณะที่ตำรวจคาดว่า มีผู้ประท้วงราว 80,000 คนในเอเธนส์ พอๆ กับการประท้วงครั้งใหญ่ที่สุดเพื่อต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัดเมื่อปีที่แล้ว นอกจากนั้นมีประชาชนราว 20,000 คนชุมนุมในเทสซาโลนิกี เมืองใหญ่อันดับ 2 ของกรีซ
นายกรัฐมนตรีลูคัส ปาปาเดมอส ประณามความรุนแรงที่เกิดขึ้น โดยระบุว่าเป็นสิ่งที่ระบอบประชาธิปไตยยอมรับไม่ได้
ด้านอิแวนเจลอส เวนิเซลอส รัฐมนตรีคลัง กล่าวว่าสมาชิกรัฐสภาจำเป็นต้องอนุมัติแผนซึ่งรัฐบาลผ่านความเห็นชอบแล้ว เพื่อปลดล็อกให้กรีซได้รับเงินกู้ช่วยเหลือรอบ 2 จำนวน 130,000 ล้านยูโร (171,000 ล้านดอลลาร์) จากสหภาพยุโรป (อียู) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) หรือไม่เช่นนั้นก็ปล่อยให้กรีซตกลงสู่ภาวะผิดนัดชำระหนี้
การที่รัฐสภาของกรีซผ่านความเห็นชอบดังกล่าวนี้ ยังไม่ใช่ว่าเอเธนส์จะได้รับเงินกู้ช่วยเหลืออย่างอัตโนมัติ โดยที่บรรดารัฐมนตรียูโรโซนซึ่งต่างแสดงความเอือมระอาใกล้หมดความอดทนกับกรีซแล้ว มีกำหนดประชุมกันที่กรุงบรัสเซลส์ในวันพุธ (15) เพื่อหารือถึงขั้นตอนต่อไป
กระนั้นก็มีสัญญาณในทางบวกอยู่มาก โอลลี เรห์น กรรมการธิการกิจการเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป (อียู) กล่าวในการแถลงข่าววานนี้(13)ว่า การโหวตในรัฐสภาของกรีซเมื่อวันอาทิตย์ คือขั้นตอนอันสำคัญยิ่งยวดในการก้าวไปสู่การปล่อยเงินกู้ช่วยเหลือก้อน 2 ให้เอเธนส์
เรห์นแสดงความคาดหมายว่า บรรดาขุนคลังยูโรโซนจะเปิดไฟเขียวให้ผ่านได้ในการประชุมกันวันพุธนี้ เนื่องจากกรีซกำลังส่งสัญญาณบ่งบอก “ความมุ่งมั่นเด็ดเดี่ยว” ของตน ที่จะยุติ “การดำดิ่งควงสว่านของการคลังสาธารณะที่ไม่มีความยั่งยืน” ถึงแม้จะเกิดความรุนแรงที่ “ยอมรับไม่ได้” ขึ้นมาในประเทศนั้นก็ตามที
อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีเศรษฐกิจ ฟิลิปป์ รืสเลอร์ ของเยอรมนี ยังคงออกมากล่าวเตือนว่าไม่ควรมองสถานการณ์ในแง่ดีจนเกินไป เขาบอกกับสถานีโทรทัศน์เออาร์ดีของเยอรมนีว่า “เป็นเรื่องดีที่กฏหมายต่างๆ เหล่านี้ผ่านออกมาได้แล้วโดยได้ส่วนข้างมากอันหนักแน่น แต่มาถึงเวลานี้สิ่งที่จะถือว่ามีความหมาย ก็มีแต่การดำเนินการปฏิรูปเชิงโครงสร้างต่างๆ เหล่านี้ให้เป็นจริง”
ในอีกด้านหนึ่ง มาตรการรัดเข็มขัดที่ผ่านการอนุมัติเมื่อวันอาทิตย์นั้นคาดว่า จะทำให้ชาวกรีซยากลำบากยิ่งขึ้น
ชาวกรีซมากมายประณามว่า ประเทศกำลังถูกอียู ไอเอ็มเอฟ และธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ยึดและแบล็กเมล์ โดยเอาเงินช่วยเหลือมาล่อ
“การใช้ชีวิตในสภาพนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ปี 2020 เราจะกลายเป็นทาสของเยอรมัน” แอนเดรียส์ มารากูดาคิส วิศวกรวัย 49 ปี บอก
อนาสเตเซีย ปาปาเดกิ วิศวกรพลเรือนวัย 27 ปี สำทับว่า “มาตรการเหล่านี้ไม่ใช่วิธีแก้ปัญหา เพราะไม่ได้ช่วยให้เศรษฐกิจเติบโต”
มาตรการรัดเข็มขัดรอบใหม่ได้รับความเห็นชอบจากสมาชิกรัฐสภา 199 คน และมี 74 คนคัดค้าน โดยที่มี สส.ของพรรคร่วมรัฐบาล 2 พรรคก่อการกบฎออกเสียงค้านรวม 43 คน ซึ่งก็ได้ถูกขับออกจากพรรคทันที
ในมาตรการดังกล่าวประกอบด้วยการลดค่าแรงขั้นต่ำ 22% (32% สำหรับพนักงานอายุต่ำกว่า 25 ปี) การผ่อนคลายกฎในตลาดแรงงานเพื่อเปิดทางในการปลดพนักงาน และมาตรการภาษี รวมทั้งการปฏิรูประบบบำนาญ การเจรจาสวอปหนี้กับเจ้าหนี้เอกชนเพื่อลดภาระหนี้ลงราว 100,000 ล้านยูโร จากทั้งหมด 350,000 ล้านยูโรให้ลุล่วงภายในวันศุกร์ที่จะถึง (17) จะได้มีเวลาเพียงพอสำหรับหลีกเลี่ยงไม่ให้ต้องผิดนัดชำระหนี้เกือบ 14,500 ล้านดอลลาร์ที่จะถึงกำหนดในวันที่ 14 เดือนหน้า
แต่ก่อนที่รัฐสภาจะโหวตอนุมัติมาตรการนี้ซึ่งจะทำให้มีการตัดลดค่าใช้จ่ายเฉพาะปีนี้ถึง 3,300 ล้านยูโร (4,350 ล้านดอลลาร์) นั้น ร้านค้า 150 แห่งในเอเธนส์ก็ถูกปล้น รวมถึงอาคาร 34 แห่งถูกเผา
สถานีโทรทัศน์ของรัฐแพร่ภาพความรุนแรงซึ่งนอกจากในเมืองหลวงเอเธนส์แล้ว ยังลุกลามไปที่ 2 เกาะท่องเที่ยวชื่อดังอย่าง คอร์ฟู และ ครีต ตลอดจนเมืองเทสซาโลนิกี้ ทางภาคเหนือและอีกหลายเมืองในตอนกลางของประเทศ
กระทรวงสาธารณสุขรายงานว่า มีผู้ได้รับบาดเจ็บในการประท้วง 54 ราย ขณะที่ตำรวจคาดว่า มีผู้ประท้วงราว 80,000 คนในเอเธนส์ พอๆ กับการประท้วงครั้งใหญ่ที่สุดเพื่อต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัดเมื่อปีที่แล้ว นอกจากนั้นมีประชาชนราว 20,000 คนชุมนุมในเทสซาโลนิกี เมืองใหญ่อันดับ 2 ของกรีซ
นายกรัฐมนตรีลูคัส ปาปาเดมอส ประณามความรุนแรงที่เกิดขึ้น โดยระบุว่าเป็นสิ่งที่ระบอบประชาธิปไตยยอมรับไม่ได้
ด้านอิแวนเจลอส เวนิเซลอส รัฐมนตรีคลัง กล่าวว่าสมาชิกรัฐสภาจำเป็นต้องอนุมัติแผนซึ่งรัฐบาลผ่านความเห็นชอบแล้ว เพื่อปลดล็อกให้กรีซได้รับเงินกู้ช่วยเหลือรอบ 2 จำนวน 130,000 ล้านยูโร (171,000 ล้านดอลลาร์) จากสหภาพยุโรป (อียู) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) หรือไม่เช่นนั้นก็ปล่อยให้กรีซตกลงสู่ภาวะผิดนัดชำระหนี้
การที่รัฐสภาของกรีซผ่านความเห็นชอบดังกล่าวนี้ ยังไม่ใช่ว่าเอเธนส์จะได้รับเงินกู้ช่วยเหลืออย่างอัตโนมัติ โดยที่บรรดารัฐมนตรียูโรโซนซึ่งต่างแสดงความเอือมระอาใกล้หมดความอดทนกับกรีซแล้ว มีกำหนดประชุมกันที่กรุงบรัสเซลส์ในวันพุธ (15) เพื่อหารือถึงขั้นตอนต่อไป
กระนั้นก็มีสัญญาณในทางบวกอยู่มาก โอลลี เรห์น กรรมการธิการกิจการเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป (อียู) กล่าวในการแถลงข่าววานนี้(13)ว่า การโหวตในรัฐสภาของกรีซเมื่อวันอาทิตย์ คือขั้นตอนอันสำคัญยิ่งยวดในการก้าวไปสู่การปล่อยเงินกู้ช่วยเหลือก้อน 2 ให้เอเธนส์
เรห์นแสดงความคาดหมายว่า บรรดาขุนคลังยูโรโซนจะเปิดไฟเขียวให้ผ่านได้ในการประชุมกันวันพุธนี้ เนื่องจากกรีซกำลังส่งสัญญาณบ่งบอก “ความมุ่งมั่นเด็ดเดี่ยว” ของตน ที่จะยุติ “การดำดิ่งควงสว่านของการคลังสาธารณะที่ไม่มีความยั่งยืน” ถึงแม้จะเกิดความรุนแรงที่ “ยอมรับไม่ได้” ขึ้นมาในประเทศนั้นก็ตามที
อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีเศรษฐกิจ ฟิลิปป์ รืสเลอร์ ของเยอรมนี ยังคงออกมากล่าวเตือนว่าไม่ควรมองสถานการณ์ในแง่ดีจนเกินไป เขาบอกกับสถานีโทรทัศน์เออาร์ดีของเยอรมนีว่า “เป็นเรื่องดีที่กฏหมายต่างๆ เหล่านี้ผ่านออกมาได้แล้วโดยได้ส่วนข้างมากอันหนักแน่น แต่มาถึงเวลานี้สิ่งที่จะถือว่ามีความหมาย ก็มีแต่การดำเนินการปฏิรูปเชิงโครงสร้างต่างๆ เหล่านี้ให้เป็นจริง”
ในอีกด้านหนึ่ง มาตรการรัดเข็มขัดที่ผ่านการอนุมัติเมื่อวันอาทิตย์นั้นคาดว่า จะทำให้ชาวกรีซยากลำบากยิ่งขึ้น
ชาวกรีซมากมายประณามว่า ประเทศกำลังถูกอียู ไอเอ็มเอฟ และธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ยึดและแบล็กเมล์ โดยเอาเงินช่วยเหลือมาล่อ
“การใช้ชีวิตในสภาพนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ปี 2020 เราจะกลายเป็นทาสของเยอรมัน” แอนเดรียส์ มารากูดาคิส วิศวกรวัย 49 ปี บอก
อนาสเตเซีย ปาปาเดกิ วิศวกรพลเรือนวัย 27 ปี สำทับว่า “มาตรการเหล่านี้ไม่ใช่วิธีแก้ปัญหา เพราะไม่ได้ช่วยให้เศรษฐกิจเติบโต”