สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า เมื่อเร็วๆนี้ สำนักงานคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ส่งหนังสือถึงนายยุรนันท์ ภมรมนตรี ให้ชี้แจงข้อเท็จจริงกรณี นายยุรนันท์ไม่ยื่นรายการเงินลงทุนได้แก่ หุ้น บริษัท วิลล่า เมดิก้า ( ประเทศไทย ) จำกัด จำนวน 144,500 หุ้น มูลค่า 14,450,000 บาท (มูลค่าหุ้นละ 100 บาท) และหุ้นบริษัท โทรญ่า จำกัด จำนวน 3,000 หุ้น ของนางมาริษา ภมรมนตรี คู่สมรส ต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.ตอนรับตำแหน่ง ส.ส.เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2554
รายงานข่าวเปิดเผยว่า นายยุรนันท์สามารถชี้แจงเป็นหนังสือหรือเดินทางมาให้ปากคำ ด้วยตนเองก็ได้ ทั้งนี้ หากนายยุรนันท์ชี้แจงแล้ว หากไม่มีข้อยุ่งยาก คาดว่าจะใช้เวลาไม่นานสรุปข้อเท็จจริงส่งให้ กรรมการ ป.ป.ช.ชุดใหญ่วินิจฉัยต่อไปว่ามีเจตนาปกปิดบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.หรือไม่
ทั้งนี้ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 มาตร34 ระบุว่า ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองผู้ใดจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ภายในเวลาที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้กำหนด หรือจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบให้ คณะกรรมการ ป.ป.ช. เสนอเรื่องให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยต่อไป และเมื่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยชี้ขาดตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. เสนอแล้วให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งในวันที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัย และห้ามมิให้ผู้นั้นดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมืองเป็นเวลาห้าปีนับแต่วันที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยด้วย
ก่อนหน้านี้วันที่ 18 ธันวาคม 2554 สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ตรวจสอบพบว่า วันที่ 9 พฤศจิกายน 2554 นายยุรนันท์ ภมรมนตรี ถือครองหุ้นบริษัท วิลล่า เมดิก้า ( ประเทศไทย ) จำกัด 144,500 หุ้น (จากจำนวนหุ้นทั้งหมด 940,000 หุ้น)
และจากการตรวจสอบบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นบริษัท โทรญ่า จำกัด ณ วันที่ 30 เมษายน 2554 (นำส่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า วันที่ 30 พ.ค.2554) มีนางมาริษา ภมรมนตรี คู่สมรสนายยุรนันท์ ถือ 3,000 หุ้น (มูลค่าหุ้นละ 100 บาท) นายพัฒนา เต็งอำนวย 3,000 หุ้น นางสาวแพรว ศรีวิชัย 3,000 หุ้น นางธาวัลย์วรี พิจิตรนรการ 500 หุ้น และนางสาวจุฬานุช อรรถวรางกูร 500 หุ้น จากทั้งหมด 10,000 หุ้น หุ้นละ 100 บาท
ทว่าในบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินวันที่ 31 สิงหาคม 2554 ไม่ได้ระบุ “เงินลงทุน”ทั้งสองรายการ มีเพียง เงินลงทุน บริษัทหลักทรัพย์คันทรีกรุ๊ป 300,000 หุ้น มูลค่า 90,488.08 บาท และบริษัท หลักทรัพย์เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ ไม่ได้ระบุจำนวนหุ้น มูลค่า 1.97 บาท
สำหรับรายการทรัพย์สินที่นายยุรนันท์ แจ้งต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.ระบุว่ามี 90,884,815.29 บาท แบ่งเป็น เงินฝาก 8,021,600.24 บาท เงินลงทุน 90,490.05 บาท ที่ดิน 16 แปลง 27,361,525 บาท โรงเรือนและสิ่งปลูกสร้าง (บ้าน 3 หลัง) 48,541,200 บาท รถยนต์ 2 คัน 3,300,000 บาท ทรัพย์สินอื่น 3,570,000 บาท หนี้สิน 12,955,753.67 บาท
นางมาริษา คู่สมรส มี 17,617,719.81 บาท แบ่งเป็นเงินฝาก 110,659.81 บาท ทรัพย์สินอื่น (นาฬิกา เครื่องเพชร เครื่องประดับ 171 รายการ) มูลค่า 17,507,060 บาท ไม่มีหนี้สิน บุตรมีเงินฝาก 12,034.06 บาท รวมทรัพย์สินทั้งสิ้น 108,514,569.16 บาท หนี้สิน เงินกู้จากธนาคาร 12,955,753.67 บาท เบ็ดเสร็จมีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 95,558,815.49 บาท
ในบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินที่ยื่นต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. นายยุรนันท์ระบุว่ามีตำแหน่งเป็นรองประธาน บริษัท วิลล่า เมดิก้า ( ประเทศไทย ) จำกัด
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ตรวจสอบข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าพบว่า บริษัท วิลล่า เมดิก้า ( ประเทศไทย ) จำกัด ให้บริการทางแพทย์ จดทะเบียนวันที่ 24 เมษายน 2551 ทุน 94 ล้านบาท ที่ตั้งเลขที่ 2/55-57 ซอยสุขุมวิท 42 แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพฯ (อาคารแบงคอก เมดิเพล็กซ์) ปี 2553 รายได้ 56,638,309 บาท ขาดทุนสุทธิ 1,765,481 บาท
ขณะที่ บริษัท โทรญ่า จำกัด ทำธุรกิจขายเครื่องสำอางและวิตามิน จดทะเบียนวันที่ 5 พฤศจิกายน 2553 ทุน 1 ล้านบาท ที่ตั้งเลขที่ 1291/1 อาคารเอไอเอส ทาวเวอร์ ชั้น 2 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ
เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2555 นายยุรนันท์ ภมรมนตรี ให้สัมภาษณ์ สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการไม่แจ้งบัญชีทรัพย์สิน มูลค่า 14.5 ล้านบาทว่า มาจากความผิดพลาดในขั้นตอนการจัดทำเอกสารแจ้งบัญชีทรัพย์สินต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ของตนเองที่ดูรายละเอียดไม่เรียบร้อย โดยในส่วนเงินลงทุนบริษัท วิลล่า เมดิก้า ( ประเทศไทย ) จำกัด สาเหตุที่ไม่ได้แจ้งข้อมูลต่อ ป.ป.ช. เป็นเพราะอยู่ในช่วงที่เกิดน้ำท่วม และตนไปช่วยงานอยู่ที่ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ขณะที่บ้านของตนเองและลูกน้องก็ถูกน้ำท่วม ทำให้มีเอกสารบ้างส่วนตกหล่นไป การจัดทำข้อมูลส่วนนี้จึงไม่ครบถ้วน แต่ก็ได้มีการแจ้งข้อมูลว่าตนเองมีตำแหน่งอะไรอยู่ในบริษัทนี้ไปแล้ว จึงไม่ใช่เป็นการปกปิดข้อมูลอะไร
“ในช่วงที่ลูกน้องนำเอกสารแจ้งบัญชีทรัพย์สินมาให้เซ็น ผมมาช่วยงานอยู่ ศปภ. ซึ่งผมได้ย้ำไปว่า ให้ไปตรวจสอบข้อมูลให้เรียบร้อยก่อนนะ อะไรขาดหายไปก็เอามาให้ครบ ถ้าเจออะไรเพิ่มเติม ก็ไปแจ้งเขาให้เรียบร้อย แต่ก็เพิ่งมารู้ในภายหลังว่า ยังขาดข้อมูลส่วนนี้ไป ก็ได้สั่งการให้ลูกน้องไปแจ้ง ข้อมูลเพิ่มเติมอีกครั้ง ในช่วงเดือนธันวาคมก่อนหน้าที่ ป.ป.ช. จะมีหนังสือแจ้งมาให้ชี้แจงอีก โดยอ้างข้อมูลของสื่อมวลชน และผมก็ได้ยืนยันข้อมูลกับป.ป.ช.ไปเรียบร้อยแล้ว ไม่มีอะไรแอบแฝง ซึ่งทาง ป.ป.ช. ก็เข้าใจดีแล้ว”
นายยุรนันท์ กล่าวว่า ส่วนการลงทุนใน บริษัท โทรญ่า จำกัด ของภรรยาตน ที่ถูกระบุว่า ไม่มีการแจ้งข้อมูลต่อป.ป.ช. นั้น ปัญหามาจากความเข้าใจผิดพลาดของตนเองและภรรยา ที่คิดว่าไม่มีหุ้นอยู่ในบริษัทนี้อีกแล้ว เนื่องจากภรรยาของตนได้ขายหุ้นออกไปนานเป็นปีแล้ว แต่ทางบริษัทฯ ยังไม่ได้มีการเปลี่ยนชื่อภรรยาของตนออก เพราะอยู่ในขั้นตอนการดำเนินการ จึงทำให้ยังปรากฏชื่อภรรยาของตนอยู่ในบริษัทอีก ทั้งที่ทางพฤตินัย ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องอะไรอีกแล้ว และปัจจุบันบริษัทแห่งนี้ ก็ไม่ได้ทำธุรกิจอะไรอีก จึงไม่ได้แจ้ง
ข้อมูลส่วนนี้ไว้ แต่ก็ได้มีการแจ้งข้อมูลส่วนนี้ให้ ป.ป.ช. ทราบแล้วเช่นกัน
นายยุรนันท์ กล่าวว่า อยากจะขอความเห็นใจว่า ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ไม่ได้มาจากเจตนาของตน ที่จะจงใจปกปิดข้อมูล เพราะทราบดีอยู่แล้วว่า การแจ้งข้อมูลบัญชีทรัพย์สินก่อนเข้ารับตำแหน่งมีความสำคัญมากขนาดไหน รวมถึงช่วงหลังพ้นตำแหน่ง ด้วย เพราะเป็นข้อมูลสำคัญที่จะชี้ให้เห็นว่า นักการเมืองหลังพ้นตำแหน่งไปแล้ว มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติหรือไม่ เพราะเป็นข้อกำหนดทางกฎหมายที่นักการเมืองจะต้องถูกตรวจสอบ
“แต่เนื่องจากข้อมูลทรัพย์สิน มันมีมาก ทรัพย์สินบางส่วนตัวเราอาจจะลืมไปแล้ว เช่น บัญชีเงินฝากธนาคาร ที่เปิดไว้ และไม่ได้เข้าไปแตะต้องนานแล้ว แต่ถ้า ป.ป.ช. ไปตรวจเจอจะเป็นเรื่องขึ้นมา ล่าสุดผมก็เจอข้อมูลเรื่องเงินสหกรณ์ของภรรยาเพิ่มขึ้นมาอีก และก็รีบไปแจ้งข้อมูลเพิ่มแล้ว เพราะฉะนั้นเราต้องตรวจเช็คข้อมูลเราให้ละเอียด มีอะไรอยู่ที่ไหนต้องบอกหมด แต่ในช่วงที่ทำเรื่อง น้ำมันท่วม ทุกคนเดือนร้อนกันหมด ขอให้เห็นใจบ้าง” นายยุรนันท์กล่าว
สำนักข่าวอิศรา(www.isranews.org) ตรวจสอบพบว่า นายยุรนันท์เข้ารับตำแหน่ง ส.ส.บัญชีรายชื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2554 ต่อมาได้นำส่งบัญชีทรัพย์สินต่อสำนักตรวจสอบทรัพย์สินภาคการเมือง 1 สำนักงาน ป.ป.ช. วันที่ 11 ตุลาคม2554 เวลา 14.42 น. ขณะที่การก่อตั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.)นั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์ เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2554 ว่า จะเริ่มเตรียมการทั้งหมดตั้งแต่ 08.00 น.วันที่ 8 ต.ค. 2554 เป็นต้นไป
น่าสังเกตว่าการยื่นทรัพย์สินเงินลงทุนเพิ่มเติมต่อ ป.ป.ช. ของนายยุรนันท์ เกิดขึ้นภายหลังจากสำนักข่าวอิศรา(www.isranews.org) รายงานข่าวชิ้นนี้เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2554 ส่วนบริษัท โทรญ่า จำกัด เพิ่งจดทะเบียนวันที่ 5 พฤศจิกายน 2553 ปัจจุบันยังเปิดดำเนินการ มีชื่อ นางมาริษา ภมรมนตรี นายพัฒนา เต็งอำนวย น.ส. แพรวาดา ศรีวิชัย เป็นกรรมการ.
รายงานข่าวเปิดเผยว่า นายยุรนันท์สามารถชี้แจงเป็นหนังสือหรือเดินทางมาให้ปากคำ ด้วยตนเองก็ได้ ทั้งนี้ หากนายยุรนันท์ชี้แจงแล้ว หากไม่มีข้อยุ่งยาก คาดว่าจะใช้เวลาไม่นานสรุปข้อเท็จจริงส่งให้ กรรมการ ป.ป.ช.ชุดใหญ่วินิจฉัยต่อไปว่ามีเจตนาปกปิดบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.หรือไม่
ทั้งนี้ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 มาตร34 ระบุว่า ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองผู้ใดจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ภายในเวลาที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้กำหนด หรือจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบให้ คณะกรรมการ ป.ป.ช. เสนอเรื่องให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยต่อไป และเมื่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยชี้ขาดตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. เสนอแล้วให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งในวันที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัย และห้ามมิให้ผู้นั้นดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมืองเป็นเวลาห้าปีนับแต่วันที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยด้วย
ก่อนหน้านี้วันที่ 18 ธันวาคม 2554 สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ตรวจสอบพบว่า วันที่ 9 พฤศจิกายน 2554 นายยุรนันท์ ภมรมนตรี ถือครองหุ้นบริษัท วิลล่า เมดิก้า ( ประเทศไทย ) จำกัด 144,500 หุ้น (จากจำนวนหุ้นทั้งหมด 940,000 หุ้น)
และจากการตรวจสอบบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นบริษัท โทรญ่า จำกัด ณ วันที่ 30 เมษายน 2554 (นำส่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า วันที่ 30 พ.ค.2554) มีนางมาริษา ภมรมนตรี คู่สมรสนายยุรนันท์ ถือ 3,000 หุ้น (มูลค่าหุ้นละ 100 บาท) นายพัฒนา เต็งอำนวย 3,000 หุ้น นางสาวแพรว ศรีวิชัย 3,000 หุ้น นางธาวัลย์วรี พิจิตรนรการ 500 หุ้น และนางสาวจุฬานุช อรรถวรางกูร 500 หุ้น จากทั้งหมด 10,000 หุ้น หุ้นละ 100 บาท
ทว่าในบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินวันที่ 31 สิงหาคม 2554 ไม่ได้ระบุ “เงินลงทุน”ทั้งสองรายการ มีเพียง เงินลงทุน บริษัทหลักทรัพย์คันทรีกรุ๊ป 300,000 หุ้น มูลค่า 90,488.08 บาท และบริษัท หลักทรัพย์เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ ไม่ได้ระบุจำนวนหุ้น มูลค่า 1.97 บาท
สำหรับรายการทรัพย์สินที่นายยุรนันท์ แจ้งต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.ระบุว่ามี 90,884,815.29 บาท แบ่งเป็น เงินฝาก 8,021,600.24 บาท เงินลงทุน 90,490.05 บาท ที่ดิน 16 แปลง 27,361,525 บาท โรงเรือนและสิ่งปลูกสร้าง (บ้าน 3 หลัง) 48,541,200 บาท รถยนต์ 2 คัน 3,300,000 บาท ทรัพย์สินอื่น 3,570,000 บาท หนี้สิน 12,955,753.67 บาท
นางมาริษา คู่สมรส มี 17,617,719.81 บาท แบ่งเป็นเงินฝาก 110,659.81 บาท ทรัพย์สินอื่น (นาฬิกา เครื่องเพชร เครื่องประดับ 171 รายการ) มูลค่า 17,507,060 บาท ไม่มีหนี้สิน บุตรมีเงินฝาก 12,034.06 บาท รวมทรัพย์สินทั้งสิ้น 108,514,569.16 บาท หนี้สิน เงินกู้จากธนาคาร 12,955,753.67 บาท เบ็ดเสร็จมีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 95,558,815.49 บาท
ในบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินที่ยื่นต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. นายยุรนันท์ระบุว่ามีตำแหน่งเป็นรองประธาน บริษัท วิลล่า เมดิก้า ( ประเทศไทย ) จำกัด
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ตรวจสอบข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าพบว่า บริษัท วิลล่า เมดิก้า ( ประเทศไทย ) จำกัด ให้บริการทางแพทย์ จดทะเบียนวันที่ 24 เมษายน 2551 ทุน 94 ล้านบาท ที่ตั้งเลขที่ 2/55-57 ซอยสุขุมวิท 42 แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพฯ (อาคารแบงคอก เมดิเพล็กซ์) ปี 2553 รายได้ 56,638,309 บาท ขาดทุนสุทธิ 1,765,481 บาท
ขณะที่ บริษัท โทรญ่า จำกัด ทำธุรกิจขายเครื่องสำอางและวิตามิน จดทะเบียนวันที่ 5 พฤศจิกายน 2553 ทุน 1 ล้านบาท ที่ตั้งเลขที่ 1291/1 อาคารเอไอเอส ทาวเวอร์ ชั้น 2 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ
เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2555 นายยุรนันท์ ภมรมนตรี ให้สัมภาษณ์ สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการไม่แจ้งบัญชีทรัพย์สิน มูลค่า 14.5 ล้านบาทว่า มาจากความผิดพลาดในขั้นตอนการจัดทำเอกสารแจ้งบัญชีทรัพย์สินต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ของตนเองที่ดูรายละเอียดไม่เรียบร้อย โดยในส่วนเงินลงทุนบริษัท วิลล่า เมดิก้า ( ประเทศไทย ) จำกัด สาเหตุที่ไม่ได้แจ้งข้อมูลต่อ ป.ป.ช. เป็นเพราะอยู่ในช่วงที่เกิดน้ำท่วม และตนไปช่วยงานอยู่ที่ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ขณะที่บ้านของตนเองและลูกน้องก็ถูกน้ำท่วม ทำให้มีเอกสารบ้างส่วนตกหล่นไป การจัดทำข้อมูลส่วนนี้จึงไม่ครบถ้วน แต่ก็ได้มีการแจ้งข้อมูลว่าตนเองมีตำแหน่งอะไรอยู่ในบริษัทนี้ไปแล้ว จึงไม่ใช่เป็นการปกปิดข้อมูลอะไร
“ในช่วงที่ลูกน้องนำเอกสารแจ้งบัญชีทรัพย์สินมาให้เซ็น ผมมาช่วยงานอยู่ ศปภ. ซึ่งผมได้ย้ำไปว่า ให้ไปตรวจสอบข้อมูลให้เรียบร้อยก่อนนะ อะไรขาดหายไปก็เอามาให้ครบ ถ้าเจออะไรเพิ่มเติม ก็ไปแจ้งเขาให้เรียบร้อย แต่ก็เพิ่งมารู้ในภายหลังว่า ยังขาดข้อมูลส่วนนี้ไป ก็ได้สั่งการให้ลูกน้องไปแจ้ง ข้อมูลเพิ่มเติมอีกครั้ง ในช่วงเดือนธันวาคมก่อนหน้าที่ ป.ป.ช. จะมีหนังสือแจ้งมาให้ชี้แจงอีก โดยอ้างข้อมูลของสื่อมวลชน และผมก็ได้ยืนยันข้อมูลกับป.ป.ช.ไปเรียบร้อยแล้ว ไม่มีอะไรแอบแฝง ซึ่งทาง ป.ป.ช. ก็เข้าใจดีแล้ว”
นายยุรนันท์ กล่าวว่า ส่วนการลงทุนใน บริษัท โทรญ่า จำกัด ของภรรยาตน ที่ถูกระบุว่า ไม่มีการแจ้งข้อมูลต่อป.ป.ช. นั้น ปัญหามาจากความเข้าใจผิดพลาดของตนเองและภรรยา ที่คิดว่าไม่มีหุ้นอยู่ในบริษัทนี้อีกแล้ว เนื่องจากภรรยาของตนได้ขายหุ้นออกไปนานเป็นปีแล้ว แต่ทางบริษัทฯ ยังไม่ได้มีการเปลี่ยนชื่อภรรยาของตนออก เพราะอยู่ในขั้นตอนการดำเนินการ จึงทำให้ยังปรากฏชื่อภรรยาของตนอยู่ในบริษัทอีก ทั้งที่ทางพฤตินัย ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องอะไรอีกแล้ว และปัจจุบันบริษัทแห่งนี้ ก็ไม่ได้ทำธุรกิจอะไรอีก จึงไม่ได้แจ้ง
ข้อมูลส่วนนี้ไว้ แต่ก็ได้มีการแจ้งข้อมูลส่วนนี้ให้ ป.ป.ช. ทราบแล้วเช่นกัน
นายยุรนันท์ กล่าวว่า อยากจะขอความเห็นใจว่า ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ไม่ได้มาจากเจตนาของตน ที่จะจงใจปกปิดข้อมูล เพราะทราบดีอยู่แล้วว่า การแจ้งข้อมูลบัญชีทรัพย์สินก่อนเข้ารับตำแหน่งมีความสำคัญมากขนาดไหน รวมถึงช่วงหลังพ้นตำแหน่ง ด้วย เพราะเป็นข้อมูลสำคัญที่จะชี้ให้เห็นว่า นักการเมืองหลังพ้นตำแหน่งไปแล้ว มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติหรือไม่ เพราะเป็นข้อกำหนดทางกฎหมายที่นักการเมืองจะต้องถูกตรวจสอบ
“แต่เนื่องจากข้อมูลทรัพย์สิน มันมีมาก ทรัพย์สินบางส่วนตัวเราอาจจะลืมไปแล้ว เช่น บัญชีเงินฝากธนาคาร ที่เปิดไว้ และไม่ได้เข้าไปแตะต้องนานแล้ว แต่ถ้า ป.ป.ช. ไปตรวจเจอจะเป็นเรื่องขึ้นมา ล่าสุดผมก็เจอข้อมูลเรื่องเงินสหกรณ์ของภรรยาเพิ่มขึ้นมาอีก และก็รีบไปแจ้งข้อมูลเพิ่มแล้ว เพราะฉะนั้นเราต้องตรวจเช็คข้อมูลเราให้ละเอียด มีอะไรอยู่ที่ไหนต้องบอกหมด แต่ในช่วงที่ทำเรื่อง น้ำมันท่วม ทุกคนเดือนร้อนกันหมด ขอให้เห็นใจบ้าง” นายยุรนันท์กล่าว
สำนักข่าวอิศรา(www.isranews.org) ตรวจสอบพบว่า นายยุรนันท์เข้ารับตำแหน่ง ส.ส.บัญชีรายชื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2554 ต่อมาได้นำส่งบัญชีทรัพย์สินต่อสำนักตรวจสอบทรัพย์สินภาคการเมือง 1 สำนักงาน ป.ป.ช. วันที่ 11 ตุลาคม2554 เวลา 14.42 น. ขณะที่การก่อตั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.)นั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์ เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2554 ว่า จะเริ่มเตรียมการทั้งหมดตั้งแต่ 08.00 น.วันที่ 8 ต.ค. 2554 เป็นต้นไป
น่าสังเกตว่าการยื่นทรัพย์สินเงินลงทุนเพิ่มเติมต่อ ป.ป.ช. ของนายยุรนันท์ เกิดขึ้นภายหลังจากสำนักข่าวอิศรา(www.isranews.org) รายงานข่าวชิ้นนี้เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2554 ส่วนบริษัท โทรญ่า จำกัด เพิ่งจดทะเบียนวันที่ 5 พฤศจิกายน 2553 ปัจจุบันยังเปิดดำเนินการ มีชื่อ นางมาริษา ภมรมนตรี นายพัฒนา เต็งอำนวย น.ส. แพรวาดา ศรีวิชัย เป็นกรรมการ.