เอเอฟพี – อัตราเติบโตจีนมีสิทธิหดตัวลงครึ่งหนึ่งในปีนี้ หากวิกฤตหนี้ยุโรปลุกลามไม่หยุด ไอเอ็มเอฟแนะปักกิ่งเตรียมพร้อมมาตรการกระตุ้นทางการคลังขนาดใหญ่เพื่อรับมือสถานการณ์ดังกล่าว
ในรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจจีนที่เผยแพร่ออกมาเมื่อวันจันทร์ (6) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ตอกย้ำความเสี่ยงของจีนจากอุปสงค์ที่กำลังหดตัวลงทั่วโลก โดยระบุว่า เศรษฐกิจโลกขณะนี้อยู่ในขั้นตอนที่น่าเป็นห่วง และความเสี่ยงขาลงเพิ่มขึ้นอย่างมาก ทั้งนี้ ไอเอ็มเอฟกำลังระบุถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดภาวะตึงตัวรุนแรงในภาคการเงินของยุโรป อันจะส่งผลกระทบต่อทั่วโลกนั่นเอง
ไอเอ็มเอฟระบุต่อไปว่า หากวิกฤตยูโรโซนดึงยุโรปเข้าสู่ภาวะถดถอยลึกขึ้น จะลากอัตราเติบโตของแดนมังกรให้ลดลงตามไปด้วย สาเหตุใหญ่มาจากผลกระทบจากการค้า
ในสถานการณ์ขาลงดังกล่าว อัตราเติบโตของจีนอาจอยู่ที่ราว 4% ในปีนี้ จาก 8.2% ที่ไอเอ็มเอฟคาดการณ์ไว้เมื่อเดือนที่แล้ว
“ดังนั้น ความเสี่ยงจากยุโรปต่อจีนจึงทั้งใหญ่หลวงและชัดเจน”
ในกรณีดังกล่าว ไอเอ็มเอฟแนะนำให้จีนรับมือด้วยมาตรการกระตุ้นทางการคลังขนาดใหญ่
รายงานยังระบุว่า จีนมีความเสี่ยงเพียงจำกัดที่จะเกิดปัญหาจากการล้นทะลักทางการเงิน เนื่องจากทรัพย์สินสกุลเงินต่างประเทศ รวมถึงหนี้สาธารณะคิดเป็นสัดส่วนเพียง 2.0% ของทรัพย์สินทั้งหมดของธนาคารจีน
กระนั้น เศรษฐกิจที่พึ่งพิงการส่งออกก็มีความเสี่ยงสูง สืบเนื่องจากความเชื่อมโยงด้านการค้า โดยสินค้าออกเกือบครึ่งของจีนมีจุดหมายปลายทางที่ยุโรปและสหรัฐฯ
อุปสงค์ทั่วโลกที่ลดลงจะฉุดให้การลงทุนและการจ้างงานของจีนลดลงกว่าเดิม และอาจกระตุ้นให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์แดนมังกรชะลอตัวลง
ไอเอ็มเอฟเตือนให้นึกถึงความเสี่ยงของจีนที่ฉายชัดจากวิกฤตการเงินโลกปี 2008-2009 เมื่อการเติบโตของโลกดิ่งลงรุนแรง และปักกิ่งรับมือด้วยมาตรการกระตุ้นทางการคลังและสินเชื่อขนาดใหญ่ ทำให้ผลกระทบต่อเศรษฐกิจในประเทศมีจำกัด แม้อัตราเติบโตลดลง 5% ก็ตาม
ที่สำคัญคือ ขณะนี้ จีนยังมีช่องทางเหลือเฟือในการรับมือผลกระทบจากภายนอก โดยไอเอ็มเอฟแนะนำว่า หากยูโรโซนวิกฤตหนัก ปักกิ่งควรคลอดมาตรการกระตุ้นที่มีมูลค่าราว 3% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศกินระยะเวลาตลอดปีนี้และปีหน้า ซึ่งจะช่วยยับยั้งไม่ให้อัตราเติบโตลดลงมากกว่า 1% และป้องกันผลกระทบต่อการจ้างงานและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน
มาตรการกระตุ้นควรครอบคลุมการลดภาษีการบริโภค การส่งเสริมแผนเคหะชุมชน และเพิ่มการลงทุนในด้านโครงข่ายความคุ้มครองทางสังคม ฯลฯ และไม่ควรอัดฉีดผ่านระบบการธนาคาร รัฐวิสาหกิจ และช่องทางระดมทุนของรัฐบาลท้องถิ่นเหมือนในปี 2008
ไอเอ็มเอฟทิ้งท้ายว่า แนวโน้มอ่อนแอภายนอกตอกย้ำความสำคัญในการเร่งปรับเปลี่ยนเศรษฐกิจของจีน เพื่อลดความเสี่ยงจากดีมานด์ทั่วโลกที่คาดเดาไม่ได้
ในรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจจีนที่เผยแพร่ออกมาเมื่อวันจันทร์ (6) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ตอกย้ำความเสี่ยงของจีนจากอุปสงค์ที่กำลังหดตัวลงทั่วโลก โดยระบุว่า เศรษฐกิจโลกขณะนี้อยู่ในขั้นตอนที่น่าเป็นห่วง และความเสี่ยงขาลงเพิ่มขึ้นอย่างมาก ทั้งนี้ ไอเอ็มเอฟกำลังระบุถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดภาวะตึงตัวรุนแรงในภาคการเงินของยุโรป อันจะส่งผลกระทบต่อทั่วโลกนั่นเอง
ไอเอ็มเอฟระบุต่อไปว่า หากวิกฤตยูโรโซนดึงยุโรปเข้าสู่ภาวะถดถอยลึกขึ้น จะลากอัตราเติบโตของแดนมังกรให้ลดลงตามไปด้วย สาเหตุใหญ่มาจากผลกระทบจากการค้า
ในสถานการณ์ขาลงดังกล่าว อัตราเติบโตของจีนอาจอยู่ที่ราว 4% ในปีนี้ จาก 8.2% ที่ไอเอ็มเอฟคาดการณ์ไว้เมื่อเดือนที่แล้ว
“ดังนั้น ความเสี่ยงจากยุโรปต่อจีนจึงทั้งใหญ่หลวงและชัดเจน”
ในกรณีดังกล่าว ไอเอ็มเอฟแนะนำให้จีนรับมือด้วยมาตรการกระตุ้นทางการคลังขนาดใหญ่
รายงานยังระบุว่า จีนมีความเสี่ยงเพียงจำกัดที่จะเกิดปัญหาจากการล้นทะลักทางการเงิน เนื่องจากทรัพย์สินสกุลเงินต่างประเทศ รวมถึงหนี้สาธารณะคิดเป็นสัดส่วนเพียง 2.0% ของทรัพย์สินทั้งหมดของธนาคารจีน
กระนั้น เศรษฐกิจที่พึ่งพิงการส่งออกก็มีความเสี่ยงสูง สืบเนื่องจากความเชื่อมโยงด้านการค้า โดยสินค้าออกเกือบครึ่งของจีนมีจุดหมายปลายทางที่ยุโรปและสหรัฐฯ
อุปสงค์ทั่วโลกที่ลดลงจะฉุดให้การลงทุนและการจ้างงานของจีนลดลงกว่าเดิม และอาจกระตุ้นให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์แดนมังกรชะลอตัวลง
ไอเอ็มเอฟเตือนให้นึกถึงความเสี่ยงของจีนที่ฉายชัดจากวิกฤตการเงินโลกปี 2008-2009 เมื่อการเติบโตของโลกดิ่งลงรุนแรง และปักกิ่งรับมือด้วยมาตรการกระตุ้นทางการคลังและสินเชื่อขนาดใหญ่ ทำให้ผลกระทบต่อเศรษฐกิจในประเทศมีจำกัด แม้อัตราเติบโตลดลง 5% ก็ตาม
ที่สำคัญคือ ขณะนี้ จีนยังมีช่องทางเหลือเฟือในการรับมือผลกระทบจากภายนอก โดยไอเอ็มเอฟแนะนำว่า หากยูโรโซนวิกฤตหนัก ปักกิ่งควรคลอดมาตรการกระตุ้นที่มีมูลค่าราว 3% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศกินระยะเวลาตลอดปีนี้และปีหน้า ซึ่งจะช่วยยับยั้งไม่ให้อัตราเติบโตลดลงมากกว่า 1% และป้องกันผลกระทบต่อการจ้างงานและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน
มาตรการกระตุ้นควรครอบคลุมการลดภาษีการบริโภค การส่งเสริมแผนเคหะชุมชน และเพิ่มการลงทุนในด้านโครงข่ายความคุ้มครองทางสังคม ฯลฯ และไม่ควรอัดฉีดผ่านระบบการธนาคาร รัฐวิสาหกิจ และช่องทางระดมทุนของรัฐบาลท้องถิ่นเหมือนในปี 2008
ไอเอ็มเอฟทิ้งท้ายว่า แนวโน้มอ่อนแอภายนอกตอกย้ำความสำคัญในการเร่งปรับเปลี่ยนเศรษฐกิจของจีน เพื่อลดความเสี่ยงจากดีมานด์ทั่วโลกที่คาดเดาไม่ได้