ASTVผู้จัดการรายวัน- กลุ่มสยามประชาภิวัฒน์ประกาศต้านเผด็จการพรรคการเมืองนายทุน ขจัดวิกฤตด้านศีลธรรมผูกขาดอำนาจ-คอร์รัปชัน ชี้คนเดียวคุมทั้งระบบนิติบัญญัติและบริหาร ทำให้ระบอบ ปชต.แต่ครอบครัวเดียวมีนายกฯ 3 คน “สุวินัย” ชี้มีระบบทักษิโณมิกส์ ประเทศจะพบหายนะ ส่วน “คมสัน” ฉะรัฐบาลทำแตกแยก ถ้าหยุดไม่ได้สุดท้ายถูกรัฐประหาร
เมื่อเวลา 13.30 น.วานนี้ (6 ก.พ.) กลุ่มสยามประชาภิวัฒน์ ได้จัดเสวนาทางวิชาการ ในหัวข้อ "วิกฤตประเทศไทย ใครคือตัวการ" ที่ห้องประชุม คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ โดยมีผู้เข้ารับฟังจำนวนมาก
นายศักดิ์ณรงค์ มงคล อาจารย์ คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ กล่าวว่า กลุ่มประชาภิวัฒน์ ขอประกาศอุดมการณ์ เพื่อสร้างองค์ความรู้ทางวิชาการสู่สังคมโดยยึดมั่นการคุ้มครองปักเจกบุคคล ตามหลักนิติรัฐ การคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคเท่าเทียมกันของประชนชน ภายใต้หลักภราดรภาพ และความมั่นคงของสังคม รวมทั้ง ส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ที่ไม่เปิดช่องให้เกิดการผูกขาดอำนาจในสังคมไทย
นายศักดิ์ณรงค์ กล่าวต่อว่า เพื่อบรรลุความมุ่งหมายดังกล่าว กลุ่มประชาภิวัฒน์ ได้กำหนดจุดยืนต่อสถานการณ์ปัจจุบัน ดังนี้
1. สถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นสถาบันที่มีคุณค่าต่อสังคม และระบบการเมืองไทย
2. สนับสนุนการปฏิรูประบอบการเมือง เศรฐกิจ และสังคมไทย เพื่อขจัดอิทธิพลของเผด็จการโดยพรรคการเมืองนายทุน
3. ขจัดวิกฤติเสรีภาพที่มีการใช้สิทธิ และเสรีภาพเกินขอบเขตจนนำไปสู่สังคมแบบอนาธิปไตย
4. ขจัดความคิด และความเชื่อที่ว่า สูตรสำเร็จของประชาธิปไตย คือการเลือกตั้งเท่านั้น
5. ขจัดวิกฤตในด้านศีลธรรม และจริยธรรมที่ก่อให้เกิดการผูกขาดอำนาจและการทุจริต คอร์รัปชัน อย่างกว้างขวาง
** ผิดกับถูกปรองดองกันไม่ได้
ศ. ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ อดีตเลขาธิการ คณะกรรมการกฤษฎีกา ได้ปาฐกถา ในหัวข้อ รัฐธรรมนูญของประเทศไทย จาก "ระบอบประชาธิปไตย ( พ.ศ.2535 ) มาเป็นระบบเผด็จการ โดยพรรคการเมืองนายทุนในระบบรัฐสภา" ในปัจจุบันว่า จากเหตุการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ได้สแดงให้เห็น ความล้มเหลวของคณาจารย์ในคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยของรัฐ ที่สอนวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญให้แก่นักศึกษา โดยที่ไม่สามารถให้ความรู้แก่นักศึกษา และคนไทย ให้มองเห็น และเข้าใจเหตุการณ์และสภาพความแตกแยกของคนไทยที่เกิดขึ้น ได้อย่างมีตรรก และมีเหตุมีผล
ศ.ดร.อมร กล่าวว่า ความปรองดอง ที่นักการเมืองพยายามอ้างถึงนั้น ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เพราะความปรองดองที่อ้างถึงนั้น คือการเอาคนผิด มาปรองดองหรือกอดคอกับคนถูก หรือเอาคนที่คอร์รัปชัน มารวมกับคนสุจริต เพื่อบริหารประเทศ แต่การปรองดองจะเกิดขึ้นได้ อยู่ที่วิธีการที่จะทำให้เกิดความปรองดอง คือ ทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ให้เป็นสิ่งที่ถูกต้อง โดยเอาคนดีมาปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดี ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวาย
สิ่งเหล่านี้ ทำให้ประเทศไทยตกอยู่ภายใต้การครอบงำ ของการปกครองระบบเผด็จการ โดยพรรคการเมืองนายทุน ในระบบรัฐสภานั่นเอง
ทั้งนี้ การปกครองตามระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง จะต้องมีหลักการว่า ด้วยการใช้ สิทธิการเลือกตั้ง และสิทธิการสมัครรับเลือกตั้ง แต่คณาจารย์ ในมหาวิทยาลัย กลับไม่เอาเรื่องสิทธิการสมัครรับเลือกตั้ง โดยสิทธิการสมัครรับเลือกตั้งหรือ เสรีภาพทางการเมือง โดยทุกประเทศที่ปกครองระบอบประชาธิปไตย จะมีเสรีภาพทางการเมือง หรือสิทธิสมัครรับเลือกตั้งได้โดยอิสระ ไม่ต้องสังกัดพรรคการเมืองก็สามารถสมัครได้ ซึ่งต่างจากประเทศไทย ที่บังคับให้ ส.ส.ทุกคน ต้องสังกัดพรรคการเมือง และทำตามมติของพรรคนั้นๆ
ศ. ดร.อมร ยังเปรียบเทียบตัวบทกฎหมายรัฐธรรมนูญ ระหว่างประเทศไทยกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ว่า ตำราของไทยสอนให้นักศึกษาเข้าใจในส่วนรายละเอียดปลีกย่อย แต่ไม่ได้สนอระบอบประชาธิปไตยทั้งระบบ ต่างจากตำรากฎหมายของประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่สอนให้นักศึกษารู้หลักการของความเป็นประชาธิปไตย รูปแบบของรัฐบาล ก่อนที่จะสอนกลไกในรัฐธรรมนูญฉบับที่กำลังใช้ในปัจจุบัน
**สังคมไทยอยู่ในภาวะแย่งชิง-หักหลัง
ศ.ดร.จรัส สุวรรณมาลา อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า สภาพสังคมไทยในตอนนี้ อยู่ในรูปแบบการแย่งชิง และหักหลัง เป็นสภาพที่ทุก ๆ คนในประเทศ เอาภาษีไปรวมกัน และก็อยากที่จะเอาเงินกองกลางเข้าสู่กระเป๋าตัวเอง
ทั้งนี้ ยังมีทฤษฎีการหักหลัง ซึ่งก็มาจากการให้ของประชาชน ที่ให้ตัวแทนเข้าไปบริหารประเทศแทน แต่คนเหล่านั้นก็กลับหักหลังประชาชน หรือเรียกง่าย ๆ ก็คือ การฉ้อราษฎร์บังหลวง โดยนักการเมืองจะสร้างภาพลวงตาขึ้นมาเพื่อแสดงให้เห็นว่า ทำเพื่อประชาชน แต่แท้จริงแล้ว ต้องการเข้าถึงแหล่งทุนมากกว่า ดังนั้นประชาชนจะต้องออกมาแฉความจริง
" สังคมไทยปัจจุบัน แทนที่จะคุยกันในเรื่องการแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญ เราควรที่จะคุยกันในเรื่องปฏิรูปทางการเมืองมากกว่า ว่าจะมีการออกจากระบบการผูกขาดอำนาจ และมีการกระจายอำนาจให้คนในพื้นที่ปกครองกันเองได้อย่างไร ส่วนตัวผมไม่ปฏิเสธการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่เท่าที่ทราบ ผู้ที่ต้องการแก้ไข ไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหา แต่ต้องการยกระดับการโกงกินให้มากขึ้น "
ศ.ดร.จรัส ยังกล่าวว่า อยากจะเสนอหลักการปฏิรูปเบื้องต้น ประชาชนต้องมีอำนาจ และการออกมาเปิดเผยความจริง โดยไม่ผิดกฎหมาย และไม่ให้นักการเมืองเข้าไปควบคุมตำแหน่งของฝ่ายบริหาร หรือเข้าไปมีส่วนร่วม กับการแต่งตั้งโยกย้าย ข้าราชการ
** ครอบครัวเดียวมีนายกฯ 3 คน
รศ.ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ คณบดี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวว่า ในวันที่ 21 ส.ค.44 เป็นวันที่มีการอ่านคำวินิจฉัย คดีซุกหุ้นของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่เป็นส่วนที่ทำให้ศาลรัฐธรรมนูญของไทย ถูกหักยอด เพราะมีคนๆหนึ่งที่ใหญ่กว่าศาล จนกระทั่งเข้าสู่การรัฐประหาร 19 ก.ย.49 ซึ่งในวันนี้ระบบเดิมๆ ก็กำลังย้อนกลับมาสู่วังวนอีกครั้งหนึ่ง
รศ.ดร.บรรเจิด กล่าวว่า การผูกขาดอำนาจทางการเมือง ต้องถูกเรียกว่า บริษัททางการเมือง เนื่องจากกฎหมายของไทย ระบุเอาไว้ว่าผู้ใดที่จะสมัครรับเลือกตั้ง ต้องสังกัดพรรคการเมืองโดยที่พรรคการเมืองก็เป็นสมบัติส่วนบุคคล ไปคุมระบบนิติบัญญัติ และบริหาร ซึ่งเป็นการควบคุมทั้งสองอย่างอยู่ที่คนๆ เดียว และตอบสนองให้คนที่เป็นเจ้าของพรรคการเมืองโดยที่ประเทศในยุโรป ไม่มีทางเข้าใจประเทศไทย เห็นได้จาก คงไม่มีประเทศไหนที่ 1 ครอบครัว มี 3 นายกรัฐมนตรี โดยตนไม่เข้าใจว่า สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นในระบอบประชาธิปไตยไทยได้อย่างไร แต่คงไม่แปลก หากสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นในประเทศเกาหลีเหนือ แต่สำหรับประเทศไทย ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ การมีเสื้อคลุมประชาธิปไตยอยู่บนบ่า แต่เนื้อในเป็นเผด็จการ
** "ยิ่งลักษณ์" จะนำประเทศสู่หายนะ
รศ.ดร. สุวินัย ภรณวลัย อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ระบบความคิดของ ทักษิณ หรือ ทักษิโณมิกส์ ที่ถูกถ่ายทอดมายัง รัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และเครือข่ายต่างๆ จะนำพาประเทศไปในทิศทางใด แต่ถ้าให้ตนสรุปตอนนี้ก็คือ เป็นการนำพาประเทศไปสู่ หายนะ ทำให้สถานการณ์ของประเทศในขณะนี้ไม่มีเม็ดเงินสดอยู่ในมือที่จะนำไปบริหารประเทศเลย แต่กลับต้องพยายามกู้เงินจากต่างชาติ และการแปรรูปรัฐวิสหากิจ อย่าง ปตท. ให้เป็นบริษัทเอกชน เพื่อก่อให้เกิดการผู้ขาดอำนาจบริหาร และมีการหลวงลวง ปกปิด และการทำลายความน่าเชื่อถือ ของการคลัง ประเทศไทยในอนาคตจะมีสภาพไม่แตกต่างจากประเทศอาร์เจนติน่า หรือ กรีซ ที่คนบริหารประเทศพยายามที่จะซุกหนี้ของประเทศ และการพยายามสร้างอัตราการเจริญเติบโตของประเทศ ที่เป็นเท็จ โดยขณะนี้ความหายนะกำลังเกิดขึ้นแล้ว หลังจากที่รัฐบาลของน.ส.ยิ่งลักษณ์ เข้ามาบริหารประเทศ สังคมแตกแยกจากนโยบายรัฐบาล
***ห่วงนำไปสู่รัฐประหารอีกครั้ง
นายคมสัน โพธิ์คง อาจารย์คณะนิติศาตร์ ม.สุโขทัยธรรมาธิราช กล่าวว่า ยุคนี้ธุรกิจที่สร้างเงินได้มากที่สุด ก็คือธุรกิจการเมือง ที่หากินกับประชาชน ประเทศไทยไม่ได้มีปัญหากับคน 3 คน ในตระกูลใดๆ ก็ตาม แต่ตนคิดว่า คนทั้ง 3 คนต่างหาก ที่มีปัญหากับประเทศชาติ ไม่ว่าจะเป็นการแทรกแซงกระบวนการทางกฎหมาย รวมไปถึงการกระทำชำเรากฎหมายรัฐธรรมนูญ
ขณะนี้ปัญหาที่เกิดขึ้น มาจากความแตกแยกของประชาชนในชาติ และปัญหาที่กำลังเกิดขึ้น ก็มาจากการดำเนินการต่างๆ ของรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็น การแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญ หรือประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 การขายหุ้น ปตท. และการจ่ายเงินเยียวยาให้แก่กลุ่มที่เผาบ้านเผาเมือง เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย
" ระบบผูกขาดในประเทศตอนนี้ หากไม่มีใครตั้งใจที่จะหยุดปัญหาตรงนี้ สุดท้ายก็ต้องมีการรัฐประหารอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งผมก็ไม่แน่ใจว่า ถึงเวลานั้น จะยังมีกองทัพหรือไม่" นายคมสันกล่าว.
เมื่อเวลา 13.30 น.วานนี้ (6 ก.พ.) กลุ่มสยามประชาภิวัฒน์ ได้จัดเสวนาทางวิชาการ ในหัวข้อ "วิกฤตประเทศไทย ใครคือตัวการ" ที่ห้องประชุม คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ โดยมีผู้เข้ารับฟังจำนวนมาก
นายศักดิ์ณรงค์ มงคล อาจารย์ คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ กล่าวว่า กลุ่มประชาภิวัฒน์ ขอประกาศอุดมการณ์ เพื่อสร้างองค์ความรู้ทางวิชาการสู่สังคมโดยยึดมั่นการคุ้มครองปักเจกบุคคล ตามหลักนิติรัฐ การคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคเท่าเทียมกันของประชนชน ภายใต้หลักภราดรภาพ และความมั่นคงของสังคม รวมทั้ง ส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ที่ไม่เปิดช่องให้เกิดการผูกขาดอำนาจในสังคมไทย
นายศักดิ์ณรงค์ กล่าวต่อว่า เพื่อบรรลุความมุ่งหมายดังกล่าว กลุ่มประชาภิวัฒน์ ได้กำหนดจุดยืนต่อสถานการณ์ปัจจุบัน ดังนี้
1. สถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นสถาบันที่มีคุณค่าต่อสังคม และระบบการเมืองไทย
2. สนับสนุนการปฏิรูประบอบการเมือง เศรฐกิจ และสังคมไทย เพื่อขจัดอิทธิพลของเผด็จการโดยพรรคการเมืองนายทุน
3. ขจัดวิกฤติเสรีภาพที่มีการใช้สิทธิ และเสรีภาพเกินขอบเขตจนนำไปสู่สังคมแบบอนาธิปไตย
4. ขจัดความคิด และความเชื่อที่ว่า สูตรสำเร็จของประชาธิปไตย คือการเลือกตั้งเท่านั้น
5. ขจัดวิกฤตในด้านศีลธรรม และจริยธรรมที่ก่อให้เกิดการผูกขาดอำนาจและการทุจริต คอร์รัปชัน อย่างกว้างขวาง
** ผิดกับถูกปรองดองกันไม่ได้
ศ. ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ อดีตเลขาธิการ คณะกรรมการกฤษฎีกา ได้ปาฐกถา ในหัวข้อ รัฐธรรมนูญของประเทศไทย จาก "ระบอบประชาธิปไตย ( พ.ศ.2535 ) มาเป็นระบบเผด็จการ โดยพรรคการเมืองนายทุนในระบบรัฐสภา" ในปัจจุบันว่า จากเหตุการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ได้สแดงให้เห็น ความล้มเหลวของคณาจารย์ในคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยของรัฐ ที่สอนวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญให้แก่นักศึกษา โดยที่ไม่สามารถให้ความรู้แก่นักศึกษา และคนไทย ให้มองเห็น และเข้าใจเหตุการณ์และสภาพความแตกแยกของคนไทยที่เกิดขึ้น ได้อย่างมีตรรก และมีเหตุมีผล
ศ.ดร.อมร กล่าวว่า ความปรองดอง ที่นักการเมืองพยายามอ้างถึงนั้น ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เพราะความปรองดองที่อ้างถึงนั้น คือการเอาคนผิด มาปรองดองหรือกอดคอกับคนถูก หรือเอาคนที่คอร์รัปชัน มารวมกับคนสุจริต เพื่อบริหารประเทศ แต่การปรองดองจะเกิดขึ้นได้ อยู่ที่วิธีการที่จะทำให้เกิดความปรองดอง คือ ทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ให้เป็นสิ่งที่ถูกต้อง โดยเอาคนดีมาปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดี ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวาย
สิ่งเหล่านี้ ทำให้ประเทศไทยตกอยู่ภายใต้การครอบงำ ของการปกครองระบบเผด็จการ โดยพรรคการเมืองนายทุน ในระบบรัฐสภานั่นเอง
ทั้งนี้ การปกครองตามระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง จะต้องมีหลักการว่า ด้วยการใช้ สิทธิการเลือกตั้ง และสิทธิการสมัครรับเลือกตั้ง แต่คณาจารย์ ในมหาวิทยาลัย กลับไม่เอาเรื่องสิทธิการสมัครรับเลือกตั้ง โดยสิทธิการสมัครรับเลือกตั้งหรือ เสรีภาพทางการเมือง โดยทุกประเทศที่ปกครองระบอบประชาธิปไตย จะมีเสรีภาพทางการเมือง หรือสิทธิสมัครรับเลือกตั้งได้โดยอิสระ ไม่ต้องสังกัดพรรคการเมืองก็สามารถสมัครได้ ซึ่งต่างจากประเทศไทย ที่บังคับให้ ส.ส.ทุกคน ต้องสังกัดพรรคการเมือง และทำตามมติของพรรคนั้นๆ
ศ. ดร.อมร ยังเปรียบเทียบตัวบทกฎหมายรัฐธรรมนูญ ระหว่างประเทศไทยกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ว่า ตำราของไทยสอนให้นักศึกษาเข้าใจในส่วนรายละเอียดปลีกย่อย แต่ไม่ได้สนอระบอบประชาธิปไตยทั้งระบบ ต่างจากตำรากฎหมายของประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่สอนให้นักศึกษารู้หลักการของความเป็นประชาธิปไตย รูปแบบของรัฐบาล ก่อนที่จะสอนกลไกในรัฐธรรมนูญฉบับที่กำลังใช้ในปัจจุบัน
**สังคมไทยอยู่ในภาวะแย่งชิง-หักหลัง
ศ.ดร.จรัส สุวรรณมาลา อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า สภาพสังคมไทยในตอนนี้ อยู่ในรูปแบบการแย่งชิง และหักหลัง เป็นสภาพที่ทุก ๆ คนในประเทศ เอาภาษีไปรวมกัน และก็อยากที่จะเอาเงินกองกลางเข้าสู่กระเป๋าตัวเอง
ทั้งนี้ ยังมีทฤษฎีการหักหลัง ซึ่งก็มาจากการให้ของประชาชน ที่ให้ตัวแทนเข้าไปบริหารประเทศแทน แต่คนเหล่านั้นก็กลับหักหลังประชาชน หรือเรียกง่าย ๆ ก็คือ การฉ้อราษฎร์บังหลวง โดยนักการเมืองจะสร้างภาพลวงตาขึ้นมาเพื่อแสดงให้เห็นว่า ทำเพื่อประชาชน แต่แท้จริงแล้ว ต้องการเข้าถึงแหล่งทุนมากกว่า ดังนั้นประชาชนจะต้องออกมาแฉความจริง
" สังคมไทยปัจจุบัน แทนที่จะคุยกันในเรื่องการแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญ เราควรที่จะคุยกันในเรื่องปฏิรูปทางการเมืองมากกว่า ว่าจะมีการออกจากระบบการผูกขาดอำนาจ และมีการกระจายอำนาจให้คนในพื้นที่ปกครองกันเองได้อย่างไร ส่วนตัวผมไม่ปฏิเสธการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่เท่าที่ทราบ ผู้ที่ต้องการแก้ไข ไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหา แต่ต้องการยกระดับการโกงกินให้มากขึ้น "
ศ.ดร.จรัส ยังกล่าวว่า อยากจะเสนอหลักการปฏิรูปเบื้องต้น ประชาชนต้องมีอำนาจ และการออกมาเปิดเผยความจริง โดยไม่ผิดกฎหมาย และไม่ให้นักการเมืองเข้าไปควบคุมตำแหน่งของฝ่ายบริหาร หรือเข้าไปมีส่วนร่วม กับการแต่งตั้งโยกย้าย ข้าราชการ
** ครอบครัวเดียวมีนายกฯ 3 คน
รศ.ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ คณบดี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวว่า ในวันที่ 21 ส.ค.44 เป็นวันที่มีการอ่านคำวินิจฉัย คดีซุกหุ้นของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่เป็นส่วนที่ทำให้ศาลรัฐธรรมนูญของไทย ถูกหักยอด เพราะมีคนๆหนึ่งที่ใหญ่กว่าศาล จนกระทั่งเข้าสู่การรัฐประหาร 19 ก.ย.49 ซึ่งในวันนี้ระบบเดิมๆ ก็กำลังย้อนกลับมาสู่วังวนอีกครั้งหนึ่ง
รศ.ดร.บรรเจิด กล่าวว่า การผูกขาดอำนาจทางการเมือง ต้องถูกเรียกว่า บริษัททางการเมือง เนื่องจากกฎหมายของไทย ระบุเอาไว้ว่าผู้ใดที่จะสมัครรับเลือกตั้ง ต้องสังกัดพรรคการเมืองโดยที่พรรคการเมืองก็เป็นสมบัติส่วนบุคคล ไปคุมระบบนิติบัญญัติ และบริหาร ซึ่งเป็นการควบคุมทั้งสองอย่างอยู่ที่คนๆ เดียว และตอบสนองให้คนที่เป็นเจ้าของพรรคการเมืองโดยที่ประเทศในยุโรป ไม่มีทางเข้าใจประเทศไทย เห็นได้จาก คงไม่มีประเทศไหนที่ 1 ครอบครัว มี 3 นายกรัฐมนตรี โดยตนไม่เข้าใจว่า สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นในระบอบประชาธิปไตยไทยได้อย่างไร แต่คงไม่แปลก หากสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นในประเทศเกาหลีเหนือ แต่สำหรับประเทศไทย ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ การมีเสื้อคลุมประชาธิปไตยอยู่บนบ่า แต่เนื้อในเป็นเผด็จการ
** "ยิ่งลักษณ์" จะนำประเทศสู่หายนะ
รศ.ดร. สุวินัย ภรณวลัย อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ระบบความคิดของ ทักษิณ หรือ ทักษิโณมิกส์ ที่ถูกถ่ายทอดมายัง รัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และเครือข่ายต่างๆ จะนำพาประเทศไปในทิศทางใด แต่ถ้าให้ตนสรุปตอนนี้ก็คือ เป็นการนำพาประเทศไปสู่ หายนะ ทำให้สถานการณ์ของประเทศในขณะนี้ไม่มีเม็ดเงินสดอยู่ในมือที่จะนำไปบริหารประเทศเลย แต่กลับต้องพยายามกู้เงินจากต่างชาติ และการแปรรูปรัฐวิสหากิจ อย่าง ปตท. ให้เป็นบริษัทเอกชน เพื่อก่อให้เกิดการผู้ขาดอำนาจบริหาร และมีการหลวงลวง ปกปิด และการทำลายความน่าเชื่อถือ ของการคลัง ประเทศไทยในอนาคตจะมีสภาพไม่แตกต่างจากประเทศอาร์เจนติน่า หรือ กรีซ ที่คนบริหารประเทศพยายามที่จะซุกหนี้ของประเทศ และการพยายามสร้างอัตราการเจริญเติบโตของประเทศ ที่เป็นเท็จ โดยขณะนี้ความหายนะกำลังเกิดขึ้นแล้ว หลังจากที่รัฐบาลของน.ส.ยิ่งลักษณ์ เข้ามาบริหารประเทศ สังคมแตกแยกจากนโยบายรัฐบาล
***ห่วงนำไปสู่รัฐประหารอีกครั้ง
นายคมสัน โพธิ์คง อาจารย์คณะนิติศาตร์ ม.สุโขทัยธรรมาธิราช กล่าวว่า ยุคนี้ธุรกิจที่สร้างเงินได้มากที่สุด ก็คือธุรกิจการเมือง ที่หากินกับประชาชน ประเทศไทยไม่ได้มีปัญหากับคน 3 คน ในตระกูลใดๆ ก็ตาม แต่ตนคิดว่า คนทั้ง 3 คนต่างหาก ที่มีปัญหากับประเทศชาติ ไม่ว่าจะเป็นการแทรกแซงกระบวนการทางกฎหมาย รวมไปถึงการกระทำชำเรากฎหมายรัฐธรรมนูญ
ขณะนี้ปัญหาที่เกิดขึ้น มาจากความแตกแยกของประชาชนในชาติ และปัญหาที่กำลังเกิดขึ้น ก็มาจากการดำเนินการต่างๆ ของรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็น การแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญ หรือประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 การขายหุ้น ปตท. และการจ่ายเงินเยียวยาให้แก่กลุ่มที่เผาบ้านเผาเมือง เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย
" ระบบผูกขาดในประเทศตอนนี้ หากไม่มีใครตั้งใจที่จะหยุดปัญหาตรงนี้ สุดท้ายก็ต้องมีการรัฐประหารอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งผมก็ไม่แน่ใจว่า ถึงเวลานั้น จะยังมีกองทัพหรือไม่" นายคมสันกล่าว.