ยาเสพติดเป็นปัญหาร้ายแรงและเรื้อรังปัญหาหนึ่งในสังคมไทย และไม่มีทีท่าว่าจะลดลง ตรงกันข้ามมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้น ทั้งนี้จะเห็นได้จากจำนวนผู้กระทำผิดที่ตำรวจจับกุมได้เพิ่มขึ้น ทั้งปริมาณยาเสพติดที่จับได้แต่ละครั้งก็มากขึ้นด้วย อีกทั้งความร้ายแรงในการให้โทษต่อผู้เสพก็เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ เห็นได้ชัดเจนถ้ามีการย้อนไปจากอดีต
เริ่มด้วยการเกิดขึ้นของยาเสพติดในสังคมไทย เท่าที่พอจำได้ก็จะมีใบกระท่อมและกัญชา พืชสองชนิดนี้มีการปลูกไว้เพื่อใช้เสพกันเอง ไม่มีการขาย สมัยเด็กเห็นคนแก่นำใบกระท่อมมาผึ่งแดดให้แห้ง แล้วนำมาเคี้ยวนัยว่าทำให้ทนแดด ไม่กลัวร้อน แต่กลัวฝน จึงทำงานกลางแดดได้ดีเหมาะแก่เกษตรกร ส่วนกัญชานั้นมีไว้สูบในหมู่เพื่อนฝูงเพื่อความครื้นเครง แล้วยังนำมาใส่ในอาหารประเภทแกงเนื้อ แกงไก่ ทำให้เจริญอาหาร อีกทั้งพิษร้ายจากการเสพในทำนองนี้ไม่มีอะไรรุนแรง
แต่ต่อมาได้มีพืชเสพติดตัวใหม่ คือ ฝิ่น เข้ามาแต่ก็จำกัดอยู่ในหมู่คนจีนที่ค่อนข้างมีฐานะทางด้านการเงินเพราะจะต้องซื้อหาด้วยราคาที่ค่อนข้างแพง และไม่สามารถปลูกได้ในพื้นที่ทั่วไป จะปลูกและเจริญงอกงามดีในพื้นที่ภาคเหนือซึ่งมีภูเขาสูง และอากาศหนาว
ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นใบกระท่อม กัญชา แม้กระทั่งฝิ่น อันเป็นสิ่งเสพติดที่ได้จากพืชจึงไม่เป็นอันตรายต่อผู้เสพเท่าใดนัก
อีกประการหนึ่ง พืช 3 ชนิดนี้ยังมีสรรพคุณทางยาด้วย กล่าวคือ ใบกระท่อมช่วยให้ทนความร้อนจากแสงแดด กัญชานำมาผสมกับสมุนไพรชนิดอื่นปรุงเป็นยาอายุวัฒนะ และฝิ่นยังนำมาสกัดเป็นมอร์ฟีนเพื่อระงับปวดจากบาดแผลได้ จึงยากที่จะห้ามปลูกโดยเด็ดขาด ทำได้อย่างมากก็แค่ควบคุมการปลูกและนำไปใช้ในวงจำกัดเท่านั้น
ยิ่งกว่านี้ ในประเทศไทยสมัยรัฐบาลอนุญาตให้มีการเสพฝิ่นได้ภายใต้การควบคุมของกรมฝิ่น หรือที่ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นกรมสรรพสามิต และได้ประกาศยกเลิกโรงยาฝิ่น และให้ถือว่าการเสพฝิ่นผิดกฎหมายในยุคของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
ในความเป็นจริง ฝิ่นก็ดี กัญชาก็ดี ใบกระท่อมก็ดี ถ้ามีการเสพดังที่เป็นอยู่ในสมัยก่อนไม่มีพิษมีภัย จะเห็นได้จากคำกล่าวในวงของผู้เสพสิ่งเหล่านี้ว่า “เหล้าเอาโว้ยเอาหวา กัญชาบอกว่า เดี๋ยวก่อน ฝิ่นบอกว่า คิดให้แน่นอน”
จากนัยแห่งคำกล่าวนี้ จะเห็นได้ว่าสุรามีโทษหนักกว่า คือทำให้คนขาดสติ ขาดความยั้งคิด แต่กัญชาทำให้ผู้เสพกลัว ไม่กล้าทำอะไรบุ่มบ่าม ตรงกันข้าม คนเสพกัญชาเมาแล้วสนุกสนาน แค่เห็นใบไม้ถูกลมพัดก็นั่งหัวเราะได้ทั้งวัน ส่วนฝิ่นทำให้ผู้เสพเฉื่อยชา แต่ลุ่มลึกในทางความคิด นี่คือการเสพสิ่งเสพติดในสมัยก่อน
แต่ในปัจจุบันได้เปลี่ยนไปทั้งชนิดของสิ่งเสพติด และพฤติกรรมของผู้เสพ ทั้งนี้อนุมานด้วยปัจจัยในทางตรรกะดังต่อไปนี้
1. สิ่งเสพติดในปัจจุบันมิได้ทำจากพืชมาเสพโดยตรงโดยมิได้ปรุงแต่ง เช่น นำใบกระท่อมมาเคี้ยว นำต้นกัญชามาตากแห้งแล้วสูบ หรือนำฝิ่นดิบมาใส่บ้องแล้วดูด เป็นต้น แต่ได้นำพืชที่ว่านี้มาเป็นวัตถุดิบแล้วปรุงแต่งด้วยเคมีโดยผ่านกระบวนการผลิตที่ทันสมัยเพื่อเพิ่มความรุนแรงในการออกฤทธิ์ทางจิตประสาทให้รวดเร็วและรุนแรงขึ้นกว่าเดิมหลายเท่า เช่น นำฝิ่นมาผลิตเป็นเฮโรอีน เป็นยาบ้า และเป็นยาไอซ์ เป็นต้น หรือแม้แต่ใบกระท่อมก็ถูกนำมาผสมกับยาแก้ไอที่เรียกว่า 4x100 เป็นต้น
ดังนั้น จึงทำให้ผู้เสพได้รับโทษจากการเสพมากขึ้น และเมื่อเป็นเช่นนี้ผลกระทบจากการเสพยาจึงเกิดขึ้นแก่ผู้เสพ และสังคมโดยรวมมากขึ้น
2. ประเภทของผู้เสพได้เพิ่มขึ้นจากเดิมที่เคยอยู่ในวงจำกัดของผู้มีอายุเข้าสู่วัยรุ่น และวัตถุประสงค์ในการเสพก็หลากหลายออกไป ตั้งแต่เพื่อให้ตนเองหนีทุกข์อันเกิดจากการบีบคั้นของครอบครัวหรือสังคมรอบข้าง โดยใช้ยาเสพติดทำให้ตนเองเมา และลืมความทุกข์อันเป็นการแก้ปัญหาด้วยการหนีทุกข์โดยอาศัยยาเสพติด รวมไปถึงผู้ที่เสพเพื่อเฮฮาปาร์ตี้ และหวังผลในทางความสุขอันเนื่องด้วยกามารมณ์ ดังที่ได้พบเห็นจากการจัดปาร์ตี้เสพยา และจบลงด้วยการมั่วทางกามารมณ์ของกลุ่มวัยรุ่น
3. เมื่อผู้เสพมีมากและหลากหลายขึ้น ธุรกิจลักลอบค้ายาเสพติดก็เกิดขึ้นเนื่องจากสามารถทำรายได้ดี และง่ายกว่าธุรกิจประเภทอื่น จึงมีเครือข่ายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งๆ ที่กฎหมายกำหนดโทษหนักกว่าเดิมก็ไม่อาจจะยับยั้งได้ จะเห็นได้แม้กระทั่งผู้ที่ถูกจับกุมก็ยังดำเนินธุรกิจผ่านเครือข่ายนอกคุกได้
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า การค้ายาเสพติดนับวันมีแต่จะเพิ่ม และจะไม่หมดไปตราบเท่าที่ยังมีผู้เสพ และถ้าผู้เสพเพิ่มขึ้นผู้ขายก็จะเพิ่มขึ้นตาม และเมื่อผู้ขายมีมากขึ้น ผู้ผลิตก็จะผลิตเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว
ด้วยเหตุนี้ การปราบปรามผู้ค้าด้วยการจับกุมโดยไม่สามารถลดจำนวนผู้เสพจะไม่มีทางแก้ปัญหานี้ได้ แถมจะไม่คุ้มค่าถ้ามีการลงทุนในการขยายเรือนจำด้วยวงเงิน 3,000 กว่าล้านบาทดังที่เป็นข่าวในขณะนี้เพราะนั่นเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ทางที่ดีควรจะเอาจริงเอาจังกับการลดจำนวนผู้เสพอันเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ จะช่วยให้สังคมได้รับประโยชน์มากกว่า
เริ่มด้วยการเกิดขึ้นของยาเสพติดในสังคมไทย เท่าที่พอจำได้ก็จะมีใบกระท่อมและกัญชา พืชสองชนิดนี้มีการปลูกไว้เพื่อใช้เสพกันเอง ไม่มีการขาย สมัยเด็กเห็นคนแก่นำใบกระท่อมมาผึ่งแดดให้แห้ง แล้วนำมาเคี้ยวนัยว่าทำให้ทนแดด ไม่กลัวร้อน แต่กลัวฝน จึงทำงานกลางแดดได้ดีเหมาะแก่เกษตรกร ส่วนกัญชานั้นมีไว้สูบในหมู่เพื่อนฝูงเพื่อความครื้นเครง แล้วยังนำมาใส่ในอาหารประเภทแกงเนื้อ แกงไก่ ทำให้เจริญอาหาร อีกทั้งพิษร้ายจากการเสพในทำนองนี้ไม่มีอะไรรุนแรง
แต่ต่อมาได้มีพืชเสพติดตัวใหม่ คือ ฝิ่น เข้ามาแต่ก็จำกัดอยู่ในหมู่คนจีนที่ค่อนข้างมีฐานะทางด้านการเงินเพราะจะต้องซื้อหาด้วยราคาที่ค่อนข้างแพง และไม่สามารถปลูกได้ในพื้นที่ทั่วไป จะปลูกและเจริญงอกงามดีในพื้นที่ภาคเหนือซึ่งมีภูเขาสูง และอากาศหนาว
ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นใบกระท่อม กัญชา แม้กระทั่งฝิ่น อันเป็นสิ่งเสพติดที่ได้จากพืชจึงไม่เป็นอันตรายต่อผู้เสพเท่าใดนัก
อีกประการหนึ่ง พืช 3 ชนิดนี้ยังมีสรรพคุณทางยาด้วย กล่าวคือ ใบกระท่อมช่วยให้ทนความร้อนจากแสงแดด กัญชานำมาผสมกับสมุนไพรชนิดอื่นปรุงเป็นยาอายุวัฒนะ และฝิ่นยังนำมาสกัดเป็นมอร์ฟีนเพื่อระงับปวดจากบาดแผลได้ จึงยากที่จะห้ามปลูกโดยเด็ดขาด ทำได้อย่างมากก็แค่ควบคุมการปลูกและนำไปใช้ในวงจำกัดเท่านั้น
ยิ่งกว่านี้ ในประเทศไทยสมัยรัฐบาลอนุญาตให้มีการเสพฝิ่นได้ภายใต้การควบคุมของกรมฝิ่น หรือที่ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นกรมสรรพสามิต และได้ประกาศยกเลิกโรงยาฝิ่น และให้ถือว่าการเสพฝิ่นผิดกฎหมายในยุคของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
ในความเป็นจริง ฝิ่นก็ดี กัญชาก็ดี ใบกระท่อมก็ดี ถ้ามีการเสพดังที่เป็นอยู่ในสมัยก่อนไม่มีพิษมีภัย จะเห็นได้จากคำกล่าวในวงของผู้เสพสิ่งเหล่านี้ว่า “เหล้าเอาโว้ยเอาหวา กัญชาบอกว่า เดี๋ยวก่อน ฝิ่นบอกว่า คิดให้แน่นอน”
จากนัยแห่งคำกล่าวนี้ จะเห็นได้ว่าสุรามีโทษหนักกว่า คือทำให้คนขาดสติ ขาดความยั้งคิด แต่กัญชาทำให้ผู้เสพกลัว ไม่กล้าทำอะไรบุ่มบ่าม ตรงกันข้าม คนเสพกัญชาเมาแล้วสนุกสนาน แค่เห็นใบไม้ถูกลมพัดก็นั่งหัวเราะได้ทั้งวัน ส่วนฝิ่นทำให้ผู้เสพเฉื่อยชา แต่ลุ่มลึกในทางความคิด นี่คือการเสพสิ่งเสพติดในสมัยก่อน
แต่ในปัจจุบันได้เปลี่ยนไปทั้งชนิดของสิ่งเสพติด และพฤติกรรมของผู้เสพ ทั้งนี้อนุมานด้วยปัจจัยในทางตรรกะดังต่อไปนี้
1. สิ่งเสพติดในปัจจุบันมิได้ทำจากพืชมาเสพโดยตรงโดยมิได้ปรุงแต่ง เช่น นำใบกระท่อมมาเคี้ยว นำต้นกัญชามาตากแห้งแล้วสูบ หรือนำฝิ่นดิบมาใส่บ้องแล้วดูด เป็นต้น แต่ได้นำพืชที่ว่านี้มาเป็นวัตถุดิบแล้วปรุงแต่งด้วยเคมีโดยผ่านกระบวนการผลิตที่ทันสมัยเพื่อเพิ่มความรุนแรงในการออกฤทธิ์ทางจิตประสาทให้รวดเร็วและรุนแรงขึ้นกว่าเดิมหลายเท่า เช่น นำฝิ่นมาผลิตเป็นเฮโรอีน เป็นยาบ้า และเป็นยาไอซ์ เป็นต้น หรือแม้แต่ใบกระท่อมก็ถูกนำมาผสมกับยาแก้ไอที่เรียกว่า 4x100 เป็นต้น
ดังนั้น จึงทำให้ผู้เสพได้รับโทษจากการเสพมากขึ้น และเมื่อเป็นเช่นนี้ผลกระทบจากการเสพยาจึงเกิดขึ้นแก่ผู้เสพ และสังคมโดยรวมมากขึ้น
2. ประเภทของผู้เสพได้เพิ่มขึ้นจากเดิมที่เคยอยู่ในวงจำกัดของผู้มีอายุเข้าสู่วัยรุ่น และวัตถุประสงค์ในการเสพก็หลากหลายออกไป ตั้งแต่เพื่อให้ตนเองหนีทุกข์อันเกิดจากการบีบคั้นของครอบครัวหรือสังคมรอบข้าง โดยใช้ยาเสพติดทำให้ตนเองเมา และลืมความทุกข์อันเป็นการแก้ปัญหาด้วยการหนีทุกข์โดยอาศัยยาเสพติด รวมไปถึงผู้ที่เสพเพื่อเฮฮาปาร์ตี้ และหวังผลในทางความสุขอันเนื่องด้วยกามารมณ์ ดังที่ได้พบเห็นจากการจัดปาร์ตี้เสพยา และจบลงด้วยการมั่วทางกามารมณ์ของกลุ่มวัยรุ่น
3. เมื่อผู้เสพมีมากและหลากหลายขึ้น ธุรกิจลักลอบค้ายาเสพติดก็เกิดขึ้นเนื่องจากสามารถทำรายได้ดี และง่ายกว่าธุรกิจประเภทอื่น จึงมีเครือข่ายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งๆ ที่กฎหมายกำหนดโทษหนักกว่าเดิมก็ไม่อาจจะยับยั้งได้ จะเห็นได้แม้กระทั่งผู้ที่ถูกจับกุมก็ยังดำเนินธุรกิจผ่านเครือข่ายนอกคุกได้
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า การค้ายาเสพติดนับวันมีแต่จะเพิ่ม และจะไม่หมดไปตราบเท่าที่ยังมีผู้เสพ และถ้าผู้เสพเพิ่มขึ้นผู้ขายก็จะเพิ่มขึ้นตาม และเมื่อผู้ขายมีมากขึ้น ผู้ผลิตก็จะผลิตเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว
ด้วยเหตุนี้ การปราบปรามผู้ค้าด้วยการจับกุมโดยไม่สามารถลดจำนวนผู้เสพจะไม่มีทางแก้ปัญหานี้ได้ แถมจะไม่คุ้มค่าถ้ามีการลงทุนในการขยายเรือนจำด้วยวงเงิน 3,000 กว่าล้านบาทดังที่เป็นข่าวในขณะนี้เพราะนั่นเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ทางที่ดีควรจะเอาจริงเอาจังกับการลดจำนวนผู้เสพอันเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ จะช่วยให้สังคมได้รับประโยชน์มากกว่า