มติบอร์ดสกสค. ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ที่บอกว่า นายสันติภาพทำผิด กลับไม่มีมติว่า จะลงโทษคนทำผิดอย่างไร ไม่มีแม้แต่จะตั้งกรรมการสอบสวน ไม่มีการพักงาน ปล่อยให้นายสันติภาพ เป็นผู้อำนวยการองค์การค้า ฯ ต่อไปเหมือนเดิม เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น เหมือนคนในบ้านขโมยของ ถูกจับได้ แล้วพ่อบ้านบอกให้เอาของที่ลักมาคืนก็พอ เรื่องอื่นเลิกแล้วต่อกัน อนุญาตให้อยู่ในบ้านต่อไปได้ การปล่อยให้เรื่องนี้จบแบบไม่มีคนรับผิด ยิ่งจะทำให้ เสียงร่ำลือ ที่ว่า นายสันติภาพ มั่นใจว่า เรื่องนี้เคลียร์ได้ เพราะสมัยที่เป็น สว. เคยช่วยให้นส. ศศิธารา ในเรื่องหน้าทีการงาน มีน้ำหนักมากขึ้น และ ทำให้กระแสข่าวที่ว่า เรื่องนี้ มีการจ่ายค่าปิดปาก กรรมการ สกสค. บางคนเป็นหลักล้าน ดูเป็นจริงเป็นจังมากขึ้นเช่นกัน
องค์การค้าของ สกสค. เดิมคือ องค์การค้า คุรุสภา ซึ่งได้ถูกโอนไปเป็นหน่วยงานในสังกัด สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา ( สกสค.) และเปลี่ยนชื่อเป็น องค์การค้าของ สกสค. เมื่อ พ.ศ. 2546
หน่วยงานหลักขององค์การค้าของ สกสค. ที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไป คือ ร้านศึกษาภัณฑ์พาณิชย์ และโรงพิมพ์ คุรุสภา นอกจากนั้น องค์การค้าของ สกสค. ยังมีทรัพย์สิน ที่เป็นที่ดินแปลงใหญ่ๆ อยู่ในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ ประมาณ 10 จังหวัด เช่น ลำปาง อุทัยธานี ศรีสะเกษ อุตรดิตถ์ ร้อยเอ็ด สุราษร์ธานี ฯลฯ
ที่ดินเหล่านี้ องค์การค้าคุรุสภา ซื้อไว้เมื่อ 20 ปีก่อน เพื่อนำมาสร้างบ้านขายให้ครูในราคาถูก แต่จนถึงปัจจุบัน ที่ดินเหล่านี้ ในหลายๆจังหวัด ยังเป็นเพียงที่ดินว่างเปล่า ไม่มีการพัฒนาให้เป็นโครงการที่พักอาศัย ตามเจตนารมณ์ดั้งเดิมแต่อย่างใด
สำหรับที่ดินที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีเนื้อที่ 48 ไร่ แยกเป็น 2 แปลง ตั้งอยู่ในถนนซอยข้างสถาบันราชภัฎสุราษฏร์ ธานี และศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ตำบลขุนทะเล อำเภอกาญจนดิษฐ์ ห่างจาก ทางหลวงหมายเลข 4009 สุราษฎร์ - นาสาร ประมาณ 1 .5 กิโลเมตร องค์การค้าคุรสภา ซื้อมาเมื่อ ปี 2537 ในราคารวม 12 ล้านบาท
แม้ว่า เวลาจะผ่านไปเกือบ 20 ปีแล้ว แต่องค์การค้า สกสค. ยังไม่ได้ทำอะไรกับ ที่ดินผืนนี้ และที่ดินในจังหวัดอื่นๆอีกหลายจังหวัด ปล่อยให้เป็นที่ว่างเปล่า ในช่วงตั้งแต่ พ.ศ. 2551 เป็นต้นมา หลังจากที่กรมธนารักษ์ ตอบข้อหารือ ของ คณะกรรมการ สกสค. ว่า ที่ดินทั้ง 10 แปลง ไม่ใช่ที่ดินราชพัสดุ ก็มีความพยายามที่จะพัฒนาที่ดินเหล่านี้ เพื่อสร้างรายได้ โดยกำหนดแนวทางการพัฒนาเป็น 2 รูปแบบคือ 1 . จัดสรรเป็นที่ดินขาย 2 ร่วมทุนกับเอกชน สร้างบ้านขายพร้อมที่ดิน
อย่างไรก็ตาม การดำเนินโครงการพัฒนาที่ดินเหล่านี้ ไม่มีความคืบหน้า มีแต่การประชุม ของ คณะกรรมการ สกสค. เพื่อประเมินที่ดินขององค์การค้าฯ เพื่อการลงทุนและพัฒนา ในช่วง ปี 2553 และ 2554
การประชุมครั้งล่าสุด ในเรื่องที่ดินนี้ มีขึ้นเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 โดยให้มีการแต่งตั้ง คณะทำงานดำเนินงานเพื่อศึกษาและพัฒนาที่ดินที่เป็น กรรมสิทธิ์ ของ สำนักงาน คณะกรรมการ สกสค.
ในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2554 นายเฉลียว อยู่สีมารักษ์ ซึ่งเป็นปลัดกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น และเป็น ประธานคณะกรรมการ สกสค. โดยตำแหน่ง จึงมีคำสั่งคณะกรรมการ สกสค. ที่79/ 2554 แต่งตั้ง คณะทำงานดังกล่าว โดยมี นายวาสนา ไชยศึก กรรมการ สกสค. เป็นประธาน คณะทำงาน และมีผู้อำนวยการองค์การค้า ของ สกสค. ร่วมเป็น คณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการ
คณะทำงานชุดนี้มีหน้าที่ ศึกษาและจัดทำแผนพัฒนาที่ดินของ สกสค. ใน 6 จังหวัดคือ ร้อยเอ็ด อุทัยธานี สุราษฎร์ธานี อุตรดิตถ์ ศรีสะเกษ และสมุทรสาคร เป็น สถานที่ก่อสร้างสำนักงาน สกสค. จังหวัด และจัดเป็นสวัสดิการที่อยู่อาศัย หรือสถานประกอบการด้านธุรกิจที่จะก่อประโยชน์ ให้แก่สำนักงานคณะกรรมการ สกสค. โดยให้ศึกษาทั้งด้านกฎหมาย ความคุ้มค่า และการบริหารความเสี่ยง แล้วรายงานผลให้ คณะกรรมการ สกสค. ทราบต่อไป
การกำหนดแนวทางการศึกษาและจัดทำแผนพัฒนาข้างต้น เป็นการยืนยันเจตนารมณ์การใช้ประโยชน์จากที่ดิน ว่า ต้องสร้างเป็นสำนักงาน สกสค. บ้าน หรือ สถานประกอบการ ไม่มีตรงไหนที่ระบุว่า ให้ศึกษาการขายที่ดินเปล่าด้วย และ อำนาจในการตัดสินใจว่า จะพัฒนาที่ดินอย่างใด ยังเป็นอำนาจของ คณะกรรมการ สกสค. คณะทำงาน มีหน้าที่ศึกษา และรายงานให้ คณะกรรมการ สกสค. ทราบเท่านั้น
ผู้อำนวยการองค์การค้า ของ สกสค. คือ นายสันติภาพ อินทรพัฒน์ ซึ่งเป็นคณะทำงาน และผู้ช่วยเลขานุการคณะทำงานด้วย จึงต้องรู้ดีว่า ตัวเองไม่มีอำนาจที่จะเอาที่ดินเหล่านี้ ไปขายให้เอกชน ในรูปที่ดินเปล่า
นายสันติภาพ ได้รับการสรรหา และแต่งตั้งเป็น ผู้อำนวยการองค์การค้าของ สกสค. เมื่อกลางเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2553 เขาเคยเป็นวุฒิสมาชิก จังหวัดน่าน ระหว่าง พ.ศ. 2543-2549 และเป็นนายกสมาคมมวยไทยแห่งประเทศไทย ซึ่งแย่งชิงการเป็นตัวแทนวงการมวยไทยสมัครเล่นของไทย แข่งกับสมาคมมวยไทยสมัครเล่น จนเป็นกรณีพิพาท โดยในที่สุด ศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่ง เมื่อ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2553 ว่า สมาคมของนายสันติภาพ จัดตั้งขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
ในวันที่ 27 กันยายน 2554 นายสันติภาพ ได้ลงนาม ในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน ขายที่ดิน 48 ไร่ ที่ตำบลขุนทะเล จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของ สำนักงานคณะกรรมการ สกสค. ให้กับ นางสาวจตุพร รัตนวิสาลนนท์ นางสาวปนัยกร สินธุเสน และนายเฉลิมชัย เสถียรคุณ ในราคา 47 ล้านบาท โดยจ่ายในวันทำสัญญาเพียง 3 ล้านบาทเท่านั้น อีก 44 ล้านบาท นายสันติภาพ ยอมยืดเวลาให้จ่ายนานถึง 9 เดือน
ในวันที่ 27 กันยายนนี้เช่นกัน ฝ่ายพัฒนาทรัพย์สิน สำนักบริหารสินทรัพย์ องค์การค้าฯ ได้ทำหนังสือถึงนายสันติภาพ ในฐานะผู้อำนวยการองค์การค้าฯ ขออนุมัติให้ผู้ซื้อยืมโฉนดที่ดิน และขอหนังสือมอบอำนาจไปดำเนินการแบ่งแยกที่ดินในนามเดิม ซึ่งได้รับอนุมัติจากนายสันติภาพทันที และนางสาวจตุพรก็มารับโฉนดที่ดิน 2 ฉบับไปในวันเดียวกันนั้น
การขายที่ดิน ซึ่งมีมูลค่าสูงเช่นนี้ โดยที่ตัวเองไม่มีอำนาจ และกระบวนการขายเป็นไปอย่างรวบรัด ไม่มี การประกาศเชิญชวน ให้มีการเสนอราคา แต่เจาะจงขายให้นส. จตุพร และพวก ซึ่งไม่มีหลักฐาน อ้างอิงว่า เป็นใคร ประกอบอาชีพ ใด เหตุใดจึงลงทุนซื้อที่ดินผืนใหญ่ขนาดนี้ ทำให้เรื่องนี้ เป็นที่วิพากษ์ วิจารณ์กันในหมู่กรรมการ สกสค. และพนักงานองค์การค้า ฯ ว่า น่าจะผิดกฎหมาย และน่าจะเข้าข่าย ยักยอก ทรัพยสินของ สกสค. ไปขายโดยพลการ
เสียงวิพากษ์ วิจารณ์ ที่ดังขึ้นเรื่อยๆนี้ ทำให้ นายสันติภาพ ต้องทำหนังสือชี้แจง นายเกษม กลั่นยิ่ง เลขาธิการ สกสค. เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ถึงความจำเป็นในการขายที่ว่า เนื่องจากองค์การค้าของสกสค.ประสบปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงิน ดังนั้นการแปลงสินทรัพย์ที่มีให้เป็นทุนแทนการกู้ยืมเงินจะช่วยลดภาระดอกเบี้ยเงินกู้ได้ และเมื่อมีผู้แสดงความประสงค์จะซื้อที่ดินขององค์การค้าฯในราคา 47 ล้านบาท เปรียบเทียบกับต้นทุนเดิมซื้อมาในราคา 12 ล้านบาท,ราคาประเมินของสำนักงานที่ดินจังหวัดสุราษฎร์ธานีอยู่ที่ 5.2 ล้านบาท และราคาซื้อขายที่บริษัทเอกชนประเมินเมื่อปี 2553 อยู่ที่ 25 ล้านบาท
จากราคาที่ผู้ซื้อเสนอเข้ามาสามารถช่วยเสริมสภาพคล่องทางการเงินขององค์การค้าฯได้ โดยไม่ต้องกู้ยืมเงินจากภายนอก จึงได้ขายที่ดินแปลงดังกล่าวให้กับผู้เสนอซื้อ
ในความเป็นจริง ทำเลที่ดินผืนนี้ ตั้งอยู่ในทิศทางการขยายตัวของเมืองสุราษฎร์ธานี ทั้งยังเป็นที่ตั้งของสถาบันการศึกษา หน่วยราชการ ไม่ไกลจากถนนใหญ่ ราคาที่ดินในบริเวณ ขยับขึ้นจากไร่ละ 1 ล้านบาท เมื่อ 3-4 ปีก่อน เป็นไร่ละ 3 ล้านบาทแล้ว และมีแนวโน้มว่า จะมีราคาสูงขึ้นไปอีก โดยเฉพาะที่ดินแปลงใหญ่ๆอย่างนี้
คำชี้แจงของนายสันติภาพ ไม่ได้ทำให้เสียงครหา นินทาว่า นายสันติภาพ แอบเอาสมบัติเก่าของครูไปขาย ลดน้อยลง เพราะไม่อาจลบล้างข้อเท็จจริงที่ว่า นายสันติภาพ ไม่มีอำนาจเอาที่ดินขององค์การค้า สกสค. ไปขาย
อย่างไรก็ตาม แม้เสียงวิพากษ์วิจารณ์จะหนาหูขึ้นทุกที แต่ผู้ที่ทำตัวเป็นทองไม่รู้ร้อน ราวกับว่า ไม่มีอะไรเกิดขึ้น หรือนายสันติภาพไม่ได้ทำอะไรผิด ก็คือ นส. ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการ สกสค. แต่กลับแสดงท่าทีโอบอุ้มนายสันติภาพ ทั้งๆที่ข้อกฎหมาย และข้อเท็จจริงที่ปรากฎ ก็ชี้ชัดอยู่แล้ว
ในการประชุม คณะกรรมการ สกสค. วันที่ 26 มกราคมที่ผ่านมา ซึ่งใช้เวลาพิจารณาในเรื่องนี้ 3 ชั่วโมง กรรมการทุกคน เห็นว่า นายสันติภาพทำผิดมติ บอร์ด มีแต่นายสันติภาพคนเดียวที่อ้างว่า มติบอร์ด เมื่อ ปี 2551 ให้ผู้อำนวยการ องค์การค้าฯ ขายได้ แต่น.ส. ศศิธารา ไม่แสดงความเห็น กลับชิงตัดบท ตั้งคณะทำงาน ศึกษาข้อกฎหมาย และกระบวนการขายที่ดินว่า ถูกต้องหรือไม่ เพื่อซื้อเวลา หาทางออกให้นายสันติภาพ
วันที่ 1 กุมภาพันธ์ บอร์ด สกสค. ประชุมกันอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้ คณะทำงานรายงานผลการศึกษาข้อกฎหมายว่า ผู้อำนวยการองค์การค้าฯ ไม่มีอำนาจในการขายที่ดิน อำนาจการขายที่ดินเป็นของคณะกรรมการ สกสค. เท่านั้น
ส่วนผลการศึกษา เรื่อง กระบวนการซื้อขายที่ดิน มีข้อสังเกตหลายข้อ เช่น ที่นายสันติภาพ บอกว่า มีการประชาสัมพันธ์ เชิญชวนให้ผู้สนใจมาเสนอราคา และมีการปักป้ายประกาศในที่ดิน ไม่ปรากฎหลักฐานว่ามีการประชาสัมพันธ์ , ที่นายสันติภาพอ้างว่า สำนักบริหารสินทรัพย์ ขององค์การค้าฯ แจ้งว่า เคยมีผู้เสนอที่ดิน 2 แปลงนี้ ในราคา 36 ล้านบาท ก็ไม่สามารถระบุได้ว่า ผู้เสนอรายนั้น เป็นใคร, การกำหนดเงื่อนไข ในการขายที่ดินดังกล่าว เช่น ขายที่ดินไร่ละ 1 ล้านบาท ส่วนที่ดินด้านหลังให้ขายได้ในราคา 8 แสนบาท การกำหนดให้ผู้ซื้อชำระเงินในเวลา 8 เดือน ( ต่อมาแก้เป็น 9 เดือน) โดยชำระก่อน 3 แสนบาท และยอมให้ผู้ซื้อพัฒนาที่ดินก่อน ที่จะมีการชำระเงินครบ ไม่ได้แสดงเหตุผลว่า ทำไมจึงต้องกำหนดเงื่อนไขเช่นนั้น และเหตุใด จึงกำหนดเงื่อนไขว่า ผู้จะขายคือ องค์การค้าฯ สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ให้กับบุคคลอื่นที่ผู้จะซื้อเป็นผู้กำหนด ฯลฯ
แม้คณะทำงาน จะไม่ได้นำข้อสังเกตุเหล่านี้ มาประมวลเพื่อหาข้อสรุป แต่ข้อสังเกตุเหล่านี้ ก็ทำให้เข้าใจได้ว่า เบื้องหลังการซื้อขายที่ดิน 48 ไร่นี้ คือ การนำที่ดิน 2 แปลงนี้ ไปจัดสรรขาย นางสาวจตุพร กับพวกอีก 2คน เป็นเพียงนอมินิของผู้ซื้อตัวจริง ผู้ซื้อตัวจริงซื้อที่ดินไป ลงทุนแค่วางเงินมัดจำเพียง 3 ล้านบาท และการวางระบบสาธารณูปโภคเท่านั้น
เพราะนายสันติภาพ อนุมัติ และมอบอำนาจให้ผู้ซื้อ นำโฉนดที่ดิน 2 แปลง 48 ไร่ ไปแยกโฉนด ทันทีที่เซ็นสัญญา พร้อมทั้งให้เข้าพัฒนาระบบสาธารณูปโภค โดยมีระยะเวลาที่จะต้องขายที่ดินให้หมดคือ 9 เดือน ก่อนที่จะถึงวันชำระเงิน และโอนกรรมสิทธิ์
นับเป็นการลงทุนที่ต่ำ ให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า ในเวลาอันรวดเร็ว แต่ผิดกฎหมาย
ผลการศึกษาที่ชัดเจนขนาดนี้ ทำให้ ประธานคณะกรรมการ สกสค. ไม่สามารถดำเนินการไปอย่างอื่นได้ ต้องปล่อยให้ มติที่ประชุม บอร์ด สกสค. วันที่ 1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งนายสันติภาพไม่ได้เข้าประชุม ออกมาว่า ผู้อำนวยการ องค์การค้าฯ ไม่มีอำนาจขายที่ดิน ให้องค์การค้า ฯ ไปทวงโฉนดคืนมา และส่งมอบให้ คณะกรรมการ สกสค. ภายในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ และให้แจ้งไปยังสำนักงานที่ดินจังหวัดสุราษฎร์ธานี ระงับการซื้อขายที่ดินดังกล่าว
มติบอร์ด สกสค. นี้ สะท้อนถึงความผิดของนายสันติภาพ ซึ่งเป็นคนที่เอาที่ดินไปขาย และมอบโฉนดให้ผู้ซิ้อไปว่า อยู่ในระดับไหน เปรียบไปแล้ว ก็เหมือน แอบเอาทรัพย์สิน ซึ่งเป็นของครูทั้งประเทศไปขายในราคาถูกๆ เพราะเงินที่เอาไปซื้อที่ดินผืนนี้ และผืนอื่นๆ เมื่อ 20 ปีก่อน คือ เงินกำไรขององค์การค้าคุรุสภา ซึ่งเป็นองค์กรที่ดูแลสวัสดิการของครู
แต่มติบอร์ดสกสค. ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ที่บอกว่า นายสันติภาพทำผิด กลับไม่มีมติว่า จะลงโทษคนทำผิดอย่างไร ไม่มีแม้แต่จะตั้งกรรมการสอบสวน ไม่มีการพักงาน ปล่อยให้นายสันติภาพ เป็นผู้อำนวยการองค์การค้า ฯ ต่อไปเหมือนเดิม เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น เหมือนคนในบ้านขโมยของ ถูกจับได้ แล้วพ่อบ้านบอกให้เอาของที่ลักมาคืนก็พอ เรื่องอื่นเลิกแล้วต่อกัน อนุญาตให้อยู่ในบ้านต่อไปได้
การปล่อยให้เรื่องนี้จบแบบไม่มีคนรับผิด ยิ่งจะทำให้ เสียงร่ำลือ ที่ว่า นายสันติภาพ มั่นใจว่า เรื่องนี้เคลียร์ได้ เพราะสมัยที่เป็น สว. เคยช่วยให้นส. ศศิธารา ในเรื่องหน้าทีการงาน มีน้ำหนักมากขึ้น และ ทำให้กระแสข่าวที่ว่า เรื่องนี้ มีการจ่ายค่าปิดปาก กรรมการ สกสค. บางคนเป็นหลักล้าน ดูเป็นจริงเป็นจังมากขึ้นเช่นกัน
องค์การค้าของ สกสค. เดิมคือ องค์การค้า คุรุสภา ซึ่งได้ถูกโอนไปเป็นหน่วยงานในสังกัด สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา ( สกสค.) และเปลี่ยนชื่อเป็น องค์การค้าของ สกสค. เมื่อ พ.ศ. 2546
หน่วยงานหลักขององค์การค้าของ สกสค. ที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไป คือ ร้านศึกษาภัณฑ์พาณิชย์ และโรงพิมพ์ คุรุสภา นอกจากนั้น องค์การค้าของ สกสค. ยังมีทรัพย์สิน ที่เป็นที่ดินแปลงใหญ่ๆ อยู่ในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ ประมาณ 10 จังหวัด เช่น ลำปาง อุทัยธานี ศรีสะเกษ อุตรดิตถ์ ร้อยเอ็ด สุราษร์ธานี ฯลฯ
ที่ดินเหล่านี้ องค์การค้าคุรุสภา ซื้อไว้เมื่อ 20 ปีก่อน เพื่อนำมาสร้างบ้านขายให้ครูในราคาถูก แต่จนถึงปัจจุบัน ที่ดินเหล่านี้ ในหลายๆจังหวัด ยังเป็นเพียงที่ดินว่างเปล่า ไม่มีการพัฒนาให้เป็นโครงการที่พักอาศัย ตามเจตนารมณ์ดั้งเดิมแต่อย่างใด
สำหรับที่ดินที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีเนื้อที่ 48 ไร่ แยกเป็น 2 แปลง ตั้งอยู่ในถนนซอยข้างสถาบันราชภัฎสุราษฏร์ ธานี และศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ตำบลขุนทะเล อำเภอกาญจนดิษฐ์ ห่างจาก ทางหลวงหมายเลข 4009 สุราษฎร์ - นาสาร ประมาณ 1 .5 กิโลเมตร องค์การค้าคุรสภา ซื้อมาเมื่อ ปี 2537 ในราคารวม 12 ล้านบาท
แม้ว่า เวลาจะผ่านไปเกือบ 20 ปีแล้ว แต่องค์การค้า สกสค. ยังไม่ได้ทำอะไรกับ ที่ดินผืนนี้ และที่ดินในจังหวัดอื่นๆอีกหลายจังหวัด ปล่อยให้เป็นที่ว่างเปล่า ในช่วงตั้งแต่ พ.ศ. 2551 เป็นต้นมา หลังจากที่กรมธนารักษ์ ตอบข้อหารือ ของ คณะกรรมการ สกสค. ว่า ที่ดินทั้ง 10 แปลง ไม่ใช่ที่ดินราชพัสดุ ก็มีความพยายามที่จะพัฒนาที่ดินเหล่านี้ เพื่อสร้างรายได้ โดยกำหนดแนวทางการพัฒนาเป็น 2 รูปแบบคือ 1 . จัดสรรเป็นที่ดินขาย 2 ร่วมทุนกับเอกชน สร้างบ้านขายพร้อมที่ดิน
อย่างไรก็ตาม การดำเนินโครงการพัฒนาที่ดินเหล่านี้ ไม่มีความคืบหน้า มีแต่การประชุม ของ คณะกรรมการ สกสค. เพื่อประเมินที่ดินขององค์การค้าฯ เพื่อการลงทุนและพัฒนา ในช่วง ปี 2553 และ 2554
การประชุมครั้งล่าสุด ในเรื่องที่ดินนี้ มีขึ้นเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 โดยให้มีการแต่งตั้ง คณะทำงานดำเนินงานเพื่อศึกษาและพัฒนาที่ดินที่เป็น กรรมสิทธิ์ ของ สำนักงาน คณะกรรมการ สกสค.
ในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2554 นายเฉลียว อยู่สีมารักษ์ ซึ่งเป็นปลัดกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น และเป็น ประธานคณะกรรมการ สกสค. โดยตำแหน่ง จึงมีคำสั่งคณะกรรมการ สกสค. ที่79/ 2554 แต่งตั้ง คณะทำงานดังกล่าว โดยมี นายวาสนา ไชยศึก กรรมการ สกสค. เป็นประธาน คณะทำงาน และมีผู้อำนวยการองค์การค้า ของ สกสค. ร่วมเป็น คณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการ
คณะทำงานชุดนี้มีหน้าที่ ศึกษาและจัดทำแผนพัฒนาที่ดินของ สกสค. ใน 6 จังหวัดคือ ร้อยเอ็ด อุทัยธานี สุราษฎร์ธานี อุตรดิตถ์ ศรีสะเกษ และสมุทรสาคร เป็น สถานที่ก่อสร้างสำนักงาน สกสค. จังหวัด และจัดเป็นสวัสดิการที่อยู่อาศัย หรือสถานประกอบการด้านธุรกิจที่จะก่อประโยชน์ ให้แก่สำนักงานคณะกรรมการ สกสค. โดยให้ศึกษาทั้งด้านกฎหมาย ความคุ้มค่า และการบริหารความเสี่ยง แล้วรายงานผลให้ คณะกรรมการ สกสค. ทราบต่อไป
การกำหนดแนวทางการศึกษาและจัดทำแผนพัฒนาข้างต้น เป็นการยืนยันเจตนารมณ์การใช้ประโยชน์จากที่ดิน ว่า ต้องสร้างเป็นสำนักงาน สกสค. บ้าน หรือ สถานประกอบการ ไม่มีตรงไหนที่ระบุว่า ให้ศึกษาการขายที่ดินเปล่าด้วย และ อำนาจในการตัดสินใจว่า จะพัฒนาที่ดินอย่างใด ยังเป็นอำนาจของ คณะกรรมการ สกสค. คณะทำงาน มีหน้าที่ศึกษา และรายงานให้ คณะกรรมการ สกสค. ทราบเท่านั้น
ผู้อำนวยการองค์การค้า ของ สกสค. คือ นายสันติภาพ อินทรพัฒน์ ซึ่งเป็นคณะทำงาน และผู้ช่วยเลขานุการคณะทำงานด้วย จึงต้องรู้ดีว่า ตัวเองไม่มีอำนาจที่จะเอาที่ดินเหล่านี้ ไปขายให้เอกชน ในรูปที่ดินเปล่า
นายสันติภาพ ได้รับการสรรหา และแต่งตั้งเป็น ผู้อำนวยการองค์การค้าของ สกสค. เมื่อกลางเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2553 เขาเคยเป็นวุฒิสมาชิก จังหวัดน่าน ระหว่าง พ.ศ. 2543-2549 และเป็นนายกสมาคมมวยไทยแห่งประเทศไทย ซึ่งแย่งชิงการเป็นตัวแทนวงการมวยไทยสมัครเล่นของไทย แข่งกับสมาคมมวยไทยสมัครเล่น จนเป็นกรณีพิพาท โดยในที่สุด ศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่ง เมื่อ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2553 ว่า สมาคมของนายสันติภาพ จัดตั้งขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
ในวันที่ 27 กันยายน 2554 นายสันติภาพ ได้ลงนาม ในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน ขายที่ดิน 48 ไร่ ที่ตำบลขุนทะเล จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของ สำนักงานคณะกรรมการ สกสค. ให้กับ นางสาวจตุพร รัตนวิสาลนนท์ นางสาวปนัยกร สินธุเสน และนายเฉลิมชัย เสถียรคุณ ในราคา 47 ล้านบาท โดยจ่ายในวันทำสัญญาเพียง 3 ล้านบาทเท่านั้น อีก 44 ล้านบาท นายสันติภาพ ยอมยืดเวลาให้จ่ายนานถึง 9 เดือน
ในวันที่ 27 กันยายนนี้เช่นกัน ฝ่ายพัฒนาทรัพย์สิน สำนักบริหารสินทรัพย์ องค์การค้าฯ ได้ทำหนังสือถึงนายสันติภาพ ในฐานะผู้อำนวยการองค์การค้าฯ ขออนุมัติให้ผู้ซื้อยืมโฉนดที่ดิน และขอหนังสือมอบอำนาจไปดำเนินการแบ่งแยกที่ดินในนามเดิม ซึ่งได้รับอนุมัติจากนายสันติภาพทันที และนางสาวจตุพรก็มารับโฉนดที่ดิน 2 ฉบับไปในวันเดียวกันนั้น
การขายที่ดิน ซึ่งมีมูลค่าสูงเช่นนี้ โดยที่ตัวเองไม่มีอำนาจ และกระบวนการขายเป็นไปอย่างรวบรัด ไม่มี การประกาศเชิญชวน ให้มีการเสนอราคา แต่เจาะจงขายให้นส. จตุพร และพวก ซึ่งไม่มีหลักฐาน อ้างอิงว่า เป็นใคร ประกอบอาชีพ ใด เหตุใดจึงลงทุนซื้อที่ดินผืนใหญ่ขนาดนี้ ทำให้เรื่องนี้ เป็นที่วิพากษ์ วิจารณ์กันในหมู่กรรมการ สกสค. และพนักงานองค์การค้า ฯ ว่า น่าจะผิดกฎหมาย และน่าจะเข้าข่าย ยักยอก ทรัพยสินของ สกสค. ไปขายโดยพลการ
เสียงวิพากษ์ วิจารณ์ ที่ดังขึ้นเรื่อยๆนี้ ทำให้ นายสันติภาพ ต้องทำหนังสือชี้แจง นายเกษม กลั่นยิ่ง เลขาธิการ สกสค. เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ถึงความจำเป็นในการขายที่ว่า เนื่องจากองค์การค้าของสกสค.ประสบปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงิน ดังนั้นการแปลงสินทรัพย์ที่มีให้เป็นทุนแทนการกู้ยืมเงินจะช่วยลดภาระดอกเบี้ยเงินกู้ได้ และเมื่อมีผู้แสดงความประสงค์จะซื้อที่ดินขององค์การค้าฯในราคา 47 ล้านบาท เปรียบเทียบกับต้นทุนเดิมซื้อมาในราคา 12 ล้านบาท,ราคาประเมินของสำนักงานที่ดินจังหวัดสุราษฎร์ธานีอยู่ที่ 5.2 ล้านบาท และราคาซื้อขายที่บริษัทเอกชนประเมินเมื่อปี 2553 อยู่ที่ 25 ล้านบาท
จากราคาที่ผู้ซื้อเสนอเข้ามาสามารถช่วยเสริมสภาพคล่องทางการเงินขององค์การค้าฯได้ โดยไม่ต้องกู้ยืมเงินจากภายนอก จึงได้ขายที่ดินแปลงดังกล่าวให้กับผู้เสนอซื้อ
ในความเป็นจริง ทำเลที่ดินผืนนี้ ตั้งอยู่ในทิศทางการขยายตัวของเมืองสุราษฎร์ธานี ทั้งยังเป็นที่ตั้งของสถาบันการศึกษา หน่วยราชการ ไม่ไกลจากถนนใหญ่ ราคาที่ดินในบริเวณ ขยับขึ้นจากไร่ละ 1 ล้านบาท เมื่อ 3-4 ปีก่อน เป็นไร่ละ 3 ล้านบาทแล้ว และมีแนวโน้มว่า จะมีราคาสูงขึ้นไปอีก โดยเฉพาะที่ดินแปลงใหญ่ๆอย่างนี้
คำชี้แจงของนายสันติภาพ ไม่ได้ทำให้เสียงครหา นินทาว่า นายสันติภาพ แอบเอาสมบัติเก่าของครูไปขาย ลดน้อยลง เพราะไม่อาจลบล้างข้อเท็จจริงที่ว่า นายสันติภาพ ไม่มีอำนาจเอาที่ดินขององค์การค้า สกสค. ไปขาย
อย่างไรก็ตาม แม้เสียงวิพากษ์วิจารณ์จะหนาหูขึ้นทุกที แต่ผู้ที่ทำตัวเป็นทองไม่รู้ร้อน ราวกับว่า ไม่มีอะไรเกิดขึ้น หรือนายสันติภาพไม่ได้ทำอะไรผิด ก็คือ นส. ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการ สกสค. แต่กลับแสดงท่าทีโอบอุ้มนายสันติภาพ ทั้งๆที่ข้อกฎหมาย และข้อเท็จจริงที่ปรากฎ ก็ชี้ชัดอยู่แล้ว
ในการประชุม คณะกรรมการ สกสค. วันที่ 26 มกราคมที่ผ่านมา ซึ่งใช้เวลาพิจารณาในเรื่องนี้ 3 ชั่วโมง กรรมการทุกคน เห็นว่า นายสันติภาพทำผิดมติ บอร์ด มีแต่นายสันติภาพคนเดียวที่อ้างว่า มติบอร์ด เมื่อ ปี 2551 ให้ผู้อำนวยการ องค์การค้าฯ ขายได้ แต่น.ส. ศศิธารา ไม่แสดงความเห็น กลับชิงตัดบท ตั้งคณะทำงาน ศึกษาข้อกฎหมาย และกระบวนการขายที่ดินว่า ถูกต้องหรือไม่ เพื่อซื้อเวลา หาทางออกให้นายสันติภาพ
วันที่ 1 กุมภาพันธ์ บอร์ด สกสค. ประชุมกันอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้ คณะทำงานรายงานผลการศึกษาข้อกฎหมายว่า ผู้อำนวยการองค์การค้าฯ ไม่มีอำนาจในการขายที่ดิน อำนาจการขายที่ดินเป็นของคณะกรรมการ สกสค. เท่านั้น
ส่วนผลการศึกษา เรื่อง กระบวนการซื้อขายที่ดิน มีข้อสังเกตหลายข้อ เช่น ที่นายสันติภาพ บอกว่า มีการประชาสัมพันธ์ เชิญชวนให้ผู้สนใจมาเสนอราคา และมีการปักป้ายประกาศในที่ดิน ไม่ปรากฎหลักฐานว่ามีการประชาสัมพันธ์ , ที่นายสันติภาพอ้างว่า สำนักบริหารสินทรัพย์ ขององค์การค้าฯ แจ้งว่า เคยมีผู้เสนอที่ดิน 2 แปลงนี้ ในราคา 36 ล้านบาท ก็ไม่สามารถระบุได้ว่า ผู้เสนอรายนั้น เป็นใคร, การกำหนดเงื่อนไข ในการขายที่ดินดังกล่าว เช่น ขายที่ดินไร่ละ 1 ล้านบาท ส่วนที่ดินด้านหลังให้ขายได้ในราคา 8 แสนบาท การกำหนดให้ผู้ซื้อชำระเงินในเวลา 8 เดือน ( ต่อมาแก้เป็น 9 เดือน) โดยชำระก่อน 3 แสนบาท และยอมให้ผู้ซื้อพัฒนาที่ดินก่อน ที่จะมีการชำระเงินครบ ไม่ได้แสดงเหตุผลว่า ทำไมจึงต้องกำหนดเงื่อนไขเช่นนั้น และเหตุใด จึงกำหนดเงื่อนไขว่า ผู้จะขายคือ องค์การค้าฯ สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ให้กับบุคคลอื่นที่ผู้จะซื้อเป็นผู้กำหนด ฯลฯ
แม้คณะทำงาน จะไม่ได้นำข้อสังเกตุเหล่านี้ มาประมวลเพื่อหาข้อสรุป แต่ข้อสังเกตุเหล่านี้ ก็ทำให้เข้าใจได้ว่า เบื้องหลังการซื้อขายที่ดิน 48 ไร่นี้ คือ การนำที่ดิน 2 แปลงนี้ ไปจัดสรรขาย นางสาวจตุพร กับพวกอีก 2คน เป็นเพียงนอมินิของผู้ซื้อตัวจริง ผู้ซื้อตัวจริงซื้อที่ดินไป ลงทุนแค่วางเงินมัดจำเพียง 3 ล้านบาท และการวางระบบสาธารณูปโภคเท่านั้น
เพราะนายสันติภาพ อนุมัติ และมอบอำนาจให้ผู้ซื้อ นำโฉนดที่ดิน 2 แปลง 48 ไร่ ไปแยกโฉนด ทันทีที่เซ็นสัญญา พร้อมทั้งให้เข้าพัฒนาระบบสาธารณูปโภค โดยมีระยะเวลาที่จะต้องขายที่ดินให้หมดคือ 9 เดือน ก่อนที่จะถึงวันชำระเงิน และโอนกรรมสิทธิ์
นับเป็นการลงทุนที่ต่ำ ให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า ในเวลาอันรวดเร็ว แต่ผิดกฎหมาย
ผลการศึกษาที่ชัดเจนขนาดนี้ ทำให้ ประธานคณะกรรมการ สกสค. ไม่สามารถดำเนินการไปอย่างอื่นได้ ต้องปล่อยให้ มติที่ประชุม บอร์ด สกสค. วันที่ 1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งนายสันติภาพไม่ได้เข้าประชุม ออกมาว่า ผู้อำนวยการ องค์การค้าฯ ไม่มีอำนาจขายที่ดิน ให้องค์การค้า ฯ ไปทวงโฉนดคืนมา และส่งมอบให้ คณะกรรมการ สกสค. ภายในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ และให้แจ้งไปยังสำนักงานที่ดินจังหวัดสุราษฎร์ธานี ระงับการซื้อขายที่ดินดังกล่าว
มติบอร์ด สกสค. นี้ สะท้อนถึงความผิดของนายสันติภาพ ซึ่งเป็นคนที่เอาที่ดินไปขาย และมอบโฉนดให้ผู้ซิ้อไปว่า อยู่ในระดับไหน เปรียบไปแล้ว ก็เหมือน แอบเอาทรัพย์สิน ซึ่งเป็นของครูทั้งประเทศไปขายในราคาถูกๆ เพราะเงินที่เอาไปซื้อที่ดินผืนนี้ และผืนอื่นๆ เมื่อ 20 ปีก่อน คือ เงินกำไรขององค์การค้าคุรุสภา ซึ่งเป็นองค์กรที่ดูแลสวัสดิการของครู
แต่มติบอร์ดสกสค. ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ที่บอกว่า นายสันติภาพทำผิด กลับไม่มีมติว่า จะลงโทษคนทำผิดอย่างไร ไม่มีแม้แต่จะตั้งกรรมการสอบสวน ไม่มีการพักงาน ปล่อยให้นายสันติภาพ เป็นผู้อำนวยการองค์การค้า ฯ ต่อไปเหมือนเดิม เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น เหมือนคนในบ้านขโมยของ ถูกจับได้ แล้วพ่อบ้านบอกให้เอาของที่ลักมาคืนก็พอ เรื่องอื่นเลิกแล้วต่อกัน อนุญาตให้อยู่ในบ้านต่อไปได้
การปล่อยให้เรื่องนี้จบแบบไม่มีคนรับผิด ยิ่งจะทำให้ เสียงร่ำลือ ที่ว่า นายสันติภาพ มั่นใจว่า เรื่องนี้เคลียร์ได้ เพราะสมัยที่เป็น สว. เคยช่วยให้นส. ศศิธารา ในเรื่องหน้าทีการงาน มีน้ำหนักมากขึ้น และ ทำให้กระแสข่าวที่ว่า เรื่องนี้ มีการจ่ายค่าปิดปาก กรรมการ สกสค. บางคนเป็นหลักล้าน ดูเป็นจริงเป็นจังมากขึ้นเช่นกัน