ASTVผู้จัดการรายวัน – บอร์ด ธ.ก.ส.ไฟเขียวกู้ซอฟท์โลนธปท. 6 หมื่นล้านเยียวยาเกษตรกรที่ประสบภัยน้ำท่วมปล่อยกู้บุคคลธรรมดารายละ 1 ล้านบาท ผู้ประกอบการไม่เกิน 30 ล้านบาทต่อราย
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.). ว่าที่ประชุมได้พิจารณาเห็นชอบให้ธ.ก.ส.กู้เงินอัตราดอกิบี้ยผ่อนปรน(ซอฟท์โลน)จากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) จำนวน 6 หมื่นล้านบาทในอัตราดอกเบี้ย0.01% ต่อปีระยะเวลา5ปีเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ตามพระราชกำหนด(พ.ร.ก.) ที่กำหนดให้ธปท.ปล่อยกู้แก่สถาบันการเงิน โดยธ.ก.ส.จะสมทบเงินทุนอีก 30%เพื่อนำไปปล่อยกู้ให้บุคคลธรรมดาไม่เกินรายละ1 ล้านบาทและผู้ประกอบการรายละไม่เกิน 30 ล้านบาท ในอัตราดอกเบี้ย 3% ต่อปี
นอกจากนี้ ธ.ก.ส.ยังพร้อมดำเนินโครงการรับจำนำมันสำปะหลังปี 2554/2555 ระหว่างเดือนก.พ.-พ.ค.เพื่อยกระดับราคามันวงเงิน 28,250ล้านบาทลดลงจากมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) เดิม 3หมื่นล้านบาทเนื่องจากปริมาณลดลงจาก15ล้านตันเหลือ10ล้านตันจำกัดปริมาณไม่เกิน 250ตันต่อราย ในราคากิโลกรัมละ 2.90 บาท รวมทั้งให้ธ.ก.ส.สนับสนุนสินเชื่อวงเงิน15,000ล้านบาทเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาราายางพาราตกต่ำ โดยจัดสรรให้สถาบันเกษตร 5 พันล้านบาทและให้องค์การสวนยาง(อ.ส.ย.) จำนวน1หมื่นล้านบาท อัตราดอกเบี้ย0% ต่อปีเพื่อใช้ในการรับซื้อยางไปแปรรูป
นายกิตติรัตน์กล่าวว่า ธ.ก.ส.ยังเข้าร่วมโครงการเสริมสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการโรงงานแปรรูปเพื่อรักษาเสถียรภาพราคาสับปะรดผ่านสินเชื่อแพ็กกิ้งเครดิตในวงเงิน1,000ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย5%ระยะเวลา3เดือนเนื่องจากมีปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดถึง2.59ล้านตันเทียบปีก่อนเพียง1.47ล้านตัน. ส่วนการดูแลเสถียรภาพราคาข้าวผ่านโครงการรับจำนำนั้นยืนยันว่ารัฐบาลพร้อมเดินหน้าต่อไปหลังปิดโครงการข้าวนาปีวันที่29ก.พ.นี้แต่ทางรัฐบาลจะกำหนดราคารับจำนำและปริมาณข้าวที่รับเข้าโครงการรอบใหม่อีกครั้งหนึ่ง
"ธ.ก.ส.มีหน้าที่ปล่อยให้การเกษตรกร80% และผู้ประกอบการนอกภาคเกษตรอีก20% เนื่องจากธนาารพาณิชย์อาจจะได้ได้สนับสนุนสินเชื่อมากเท่าที่ควร ส่วนการที่ธ.ก.ส.ดูแลพยุงราคาสินค้าเกษตรามนโยบายรัฐบาลจะจ่ายชดเชยให้เป็นเงินกว่า3,000ล้านบาท"
สำหรับโครงการบัตรเครดิตที่ประชุมได้อนุมัติให้เดินหน้าตามรูปแบบเดิมที่ได้รับการอนุมัติไว้โดยจะเริ่มโครงการนำร่องใน5จังหวัด ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา สระบุรี เชียงใหม่ อุดรธานีลพบุรี ในเดือนกุมภาพันธ์ประมาณ5000บัตร ก่อนที่จะเปิดตัวทั่วประเทศในเดือนพฤษภาคมจำนวน2ล้านบัตรทั่วประเทศ
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.). ว่าที่ประชุมได้พิจารณาเห็นชอบให้ธ.ก.ส.กู้เงินอัตราดอกิบี้ยผ่อนปรน(ซอฟท์โลน)จากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) จำนวน 6 หมื่นล้านบาทในอัตราดอกเบี้ย0.01% ต่อปีระยะเวลา5ปีเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ตามพระราชกำหนด(พ.ร.ก.) ที่กำหนดให้ธปท.ปล่อยกู้แก่สถาบันการเงิน โดยธ.ก.ส.จะสมทบเงินทุนอีก 30%เพื่อนำไปปล่อยกู้ให้บุคคลธรรมดาไม่เกินรายละ1 ล้านบาทและผู้ประกอบการรายละไม่เกิน 30 ล้านบาท ในอัตราดอกเบี้ย 3% ต่อปี
นอกจากนี้ ธ.ก.ส.ยังพร้อมดำเนินโครงการรับจำนำมันสำปะหลังปี 2554/2555 ระหว่างเดือนก.พ.-พ.ค.เพื่อยกระดับราคามันวงเงิน 28,250ล้านบาทลดลงจากมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) เดิม 3หมื่นล้านบาทเนื่องจากปริมาณลดลงจาก15ล้านตันเหลือ10ล้านตันจำกัดปริมาณไม่เกิน 250ตันต่อราย ในราคากิโลกรัมละ 2.90 บาท รวมทั้งให้ธ.ก.ส.สนับสนุนสินเชื่อวงเงิน15,000ล้านบาทเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาราายางพาราตกต่ำ โดยจัดสรรให้สถาบันเกษตร 5 พันล้านบาทและให้องค์การสวนยาง(อ.ส.ย.) จำนวน1หมื่นล้านบาท อัตราดอกเบี้ย0% ต่อปีเพื่อใช้ในการรับซื้อยางไปแปรรูป
นายกิตติรัตน์กล่าวว่า ธ.ก.ส.ยังเข้าร่วมโครงการเสริมสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการโรงงานแปรรูปเพื่อรักษาเสถียรภาพราคาสับปะรดผ่านสินเชื่อแพ็กกิ้งเครดิตในวงเงิน1,000ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย5%ระยะเวลา3เดือนเนื่องจากมีปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดถึง2.59ล้านตันเทียบปีก่อนเพียง1.47ล้านตัน. ส่วนการดูแลเสถียรภาพราคาข้าวผ่านโครงการรับจำนำนั้นยืนยันว่ารัฐบาลพร้อมเดินหน้าต่อไปหลังปิดโครงการข้าวนาปีวันที่29ก.พ.นี้แต่ทางรัฐบาลจะกำหนดราคารับจำนำและปริมาณข้าวที่รับเข้าโครงการรอบใหม่อีกครั้งหนึ่ง
"ธ.ก.ส.มีหน้าที่ปล่อยให้การเกษตรกร80% และผู้ประกอบการนอกภาคเกษตรอีก20% เนื่องจากธนาารพาณิชย์อาจจะได้ได้สนับสนุนสินเชื่อมากเท่าที่ควร ส่วนการที่ธ.ก.ส.ดูแลพยุงราคาสินค้าเกษตรามนโยบายรัฐบาลจะจ่ายชดเชยให้เป็นเงินกว่า3,000ล้านบาท"
สำหรับโครงการบัตรเครดิตที่ประชุมได้อนุมัติให้เดินหน้าตามรูปแบบเดิมที่ได้รับการอนุมัติไว้โดยจะเริ่มโครงการนำร่องใน5จังหวัด ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา สระบุรี เชียงใหม่ อุดรธานีลพบุรี ในเดือนกุมภาพันธ์ประมาณ5000บัตร ก่อนที่จะเปิดตัวทั่วประเทศในเดือนพฤษภาคมจำนวน2ล้านบัตรทั่วประเทศ