เวลา 12.00 น. วานนี้( 30 ม.ค.)ที่กระทรวงกลาโหม พ.อ.ธนาธิป สว่างแสง โฆษกกระทรวงกลาโหม แถลงผลการประชุมสภากลาโหมที่มีพล.อ.อ.สุกำพล สุ รรรณทัต รมว.กลาโหมเป็นประธานในการประชุมครั้งแรกว่า กรอบนโยบายของรมว.กลาโหม คือ การทำงานในภาพรวม การประสานร่วมกัน ความรักความสามัคคีของเจ้าหน้าที่ และความพร้อมเพรียง เพื่อพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนนโยบายเฉพาะที่รมว.กลาโหมเน้นย้ำมี 4 ข้อ คือ 1.การ ศึกษาของคนในกองทัพระดับสูง โดยท่านได้เน้นย้ำให้กองทัพ และผู้ที่จัดการฝึกอบรมจริงจังกับผลผลิตของวิทยาลัยป้องกันราช อาณาจักร(วปอ.) เพื่อสร้างประโยชน์อย่างสูงสุดต่อกองทัพและประเทศชาติ โดยนายกฯจะไปรับฟังผลผลิตในทุกๆการจบการศึกษาของนักศึกษาวปอ. 2. ปัจจุบันพื้นที่การฝึกลดน้อยลงไปเรื่อยๆจึงอยากฝากให้กองทัพไทย และเหล่าทัพประสานกับพื้นที่ใกล้เคียงพื้นที่การฝึก เพื่อแสวงประโยชน์ร่วมกัน 3.การฝึกร่วม อยากทำให้ชัดเจนและให้ความสำคัญ ต่อไปนี้อยากให้กองทัพไทยจริงจังกับเรื่องการฝึกร่วม 4.โครง สร้างของกองทัพ ต้องมีการปรับโครงสร้างให้ทันสมัย กะทัดรัด ชัดเจนและมีประสิทธิภาพสอดรับกับภัยคุกคามที่จะเกิดขึ้น แต่คงไม่ได้ปรับลดกำลังโครงสร้างต่างๆ แต่เป็นการปรับหน้าที่ความรับผิดชอบ ซึ่งจะมีการหารือในการประชุมสภากลาโหมครั้งต่อไปในเดือนหน้า อย่างไรก็ตามทางสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมมีกรอบนโยบายยุทธศาตร์ในการบริหารระยะเวลา 10 ปีอยู่แล้ว
ส่วนนโยบายทั่วไป กองทัพจะต้องปกป้องจงรักภักดี เทิดทูนสถาบันอย่างมีส่วนร่วม และรมว.กลาโหมเคยระบุว่า กระทรวงกลาโหมไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพียงแต่ติดตามสถานการณ์ หากใครละเมิด ม.112 จะเข้าไปดูแลอย่างใกล้ชิด ซึ่ง เรื่องนี้จะมีการแถลงนโยบายต่อหน่วยขึ้นตรงกระทรวงกลาโหมให้รับทราบอีกครั้ง ส่วนนโยบายการปรับย้ายนายทหารประจำปีนั้น รมว.กลาโหมยังไม่ได้ให้นโยบาย หรือพูดถึงในเรื่องนี้ ซึ่งคงต้องมาหารือกัน คาดว่า จะเป็นช่วงเดือนกุมภาพันธ์ เพื่อปฏิบัติตามกรอบของพ.ร.บ.กลาโหม โดยให้เหล่าทัพจัดทำบัญซีโยกย้ายแล้วเสนอขึ้นมา
สุดท้ายรมว.กลาโหมระบุว่า ตามที่สื่อและหลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตุว่า การเข้ามาเป็นรมว.กลาโหม เพื่อทำให้เกิดการปรับเปลี่ยน โดยเฉพาะโครงสร้างกองทัพนั้น ท่านเน้นย้ำสมาชิกสภากลาโหมว่า เข้ามาเพื่อพัฒนากระทรวงกลาโหม ส่วนการทำงานอยากให้อยู่ด้วยกันด้วยความสามัคคี ด้วยความสบายใจ อยู่แบบพี่น้อง มีอะไรก็สามารถพูคุยได้ทุกเรื่อง
พ.อ.ธนาธิป กล่าวว่า นอกจากนี้รมว.กลาโหม แจ้งว่า นายกรัฐมนตรีมีแผนไปตรวจเยี่ยมเหล่าทัพในพื้นที่ต่างจังหวัด เพื่อไปกระชับความสัมพันธ์ และให้ความกำลังใจรวมถึงทราบปัญหา ข้อขัดข้องในพื้นที่ เพื่อนำข้อมูลมาแก้ปัญหาให้เกิดประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้รมว.กลาโหมสั่งการในที่ประชุมให้เหล่าทัพเสนอแผนการตรวจเยี่ยมไปยัง กองทัพไทย โดยให้มีการวางแผนการตรวจเยี่ยมให้มีความต่อเนื่องกัน ส่วนการแก้ปัญหาน้ำท่วมอย่างยั่งยืนนั้น รมว.กลาโหมสั่งหน่วยขึ้นกระทรวงกลาโหม และสำนักปลัดกระทรวงกลาโหมให้มีการจัดการประชุมเร่งด่วนกับเหล่าทัพและผู้ ที่มีหน้าที่ดูแลการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม เพื่อนำข้อมูลสรุปปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น ทั้งจุดอ่อน จุดแข็ง เพื่อนำข้อมูลส่งให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาต่อไป ซึ่งในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์น่าจะมีการประชุมกัน ส่วนกรณีที่มีกำลังพลกองทัพเข้าไปเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด เช่น ยาเสพติด และผู้มีอิทธิพลนั้น รมว.กลาโหมสั่งการอย่างเฉียบขาดว่า หากเกิดเรื่องดังกล่าวขึ้น และผู้บังหน่วยละเลย จะต้องถูกลงโทษอย่างเด็ดขาด ไม่มีการช่วยเหลือกันในทุกกรณี ซึ่งผู้บังคับหน่วยต้องดูแลใกล้ชิดผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อเป็นการป้องปรามไม่ให้เกิดเหตุการณ์ขึ้น
ก่อนหน้านั้น พล.อ.อ.สุกำพล เป็นประธานในการประชุมสภากลาโหมครั้งแรก ภายหลังการเข้ารับตำแหน่ง โดยมี พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์ ปลัดกระทรวงกลาโหม พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฎิมาประกร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด พล.ร.อ.สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ
ขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) มีรายงานว่าติดภารกิจรับเสด็จฯ จึงได้มอบหมายให้ พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รองผู้บัญชาการทหารบก มาร่วมประชุมแทน
โดยพล.อ.สุกำพล ให้สัมภาษณ์ก่อนประชุม ว่า การประชุมสภากลาโหมถือเป็นครั้งแรก ซึ่งตนจะเน้นย้ำนโยบายต่างๆ ทั้งเรื่องการดูแลสถาบัน ด้านความมั่นคง โดยที่ผ่านมาอดีตรัฐมนตรีท่านเก่าก็ให้นโยบายไปแล้ว ในส่วนของตนก็คงคล้ายกัน รวมทั้งการเน้นย้ำในเรื่องการศึกษา การฝึกต่างๆเพื่อให้เกิดความกระชับขึ้น
"จุดยืนทางทหารกับทางการเมืองนั้น ต้องเกี่ยวพันแยกกันไม่ได้ เพราะหากแยกกันไม่ออกต้องอยู่ด้วยกันได้ จะมาแยกเป็นเอกเทศคงไม่ได้ ทหารต้องพึ่งการเมือง ถ้าไม่พึ่งการเมืองถามว่างบประมาณจะมาจากไหน ฉะนั้นอย่าพยายามแยกออกจากกัน ตามที่คนเก่าได้พูดมาว่าอย่าไปยุ่งกับการเมือง คงเฉพาะในเรื่องของโยกย้ายเท่านั้นเอง แต่ไม่ใช่การแยกกันในเรื่องการเมืองการทหาร เพราะต้องไปกันอยู่แล้วทุกชาติไม่ใช่เฉพาะประเทศไทย ส่วนขอบเขตในความสัมพันธ์นั้น คงไม่มีขอบเขตที่ชัดเจนว่าต้องแค่นี้แค่นั้น สิ่งไหนที่ควรจะยุ่งหรือสิ่งไหนไม่ควรจะยุ่งก็ว่าไป อย่างเรื่องยุทธวิธี การเมืองก็อย่าไปยุ่งกับเขา เพราะเขาเป็นทหารและเรียนมาทางนั้น แต่นโยบายก็ต้องมาจากรัฐบาล " รมว.กลาโหม กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามต่อว่า กองทัพต้องวางตัวอย่างไร เพราะก่อนหน้านี้เคยสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ พล.อ.อ.สุกำพล กล่าวว่า หากรัฐบาลไหนที่มาอย่างถูกต้อง กองทัพก็ต้องหนุนเพราะเป็นหน้าที่ ต้องเป็นลูกน้องของรัฐบาล แต่จะสนับสนุนมากหรือน้อยก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ต้องดูจากการกระทำก็เท่านั้นเอง
**55.97% เชื่อทหารถูกการเมืองแทรก
วันเดียวกัน ศูนย์สำรวจความคิดเห็นของประชาชน “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) สำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “ทหารไทยกับประชาชน วันทหารผ่านศึก” ที่จะมาถึงในวันที่ 3 กุมภาพันธ์นี้ สำรวจพบว่าประชาชน 48.07% ระบุว่าทหารเป็นอาชีพที่มีความเสียสละ 26.95% มีเกียรติและศักดิ์ศรี 18.52% มองว่ามีรายได้ที่น้อยและมีความเสี่ยง และ 2.76% มองว่าทหารมีความเป็นอยู่ที่ลำบาก
ด้านบทบาทหน้าที่หรือภารกิจประชาชน 54.68% ประทับใจการช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัยมากที่สุด รองลงมา 30.35% และ 13.79 % ปกป้องสถาบันเบื้องสูง ส่วนความประทับใจการดูแลความมั่นคงอละความปลอดภัยของประเทศ ประชาชน 60.86% ประทับใจมากที่สุด คือ กองทัพบก รองลงมา 20.07 % คือ กองบัญชาการทหารสูงสุด ส่วนกองทัพเรือ 11.69 % และกองทัพอากาศ 7.38 %
แต่ประชาชนเกินครึ่งหรือ 55.97% มองว่าทหารถูกการเมืองเข้าแทรกแซง และ 49.14% ยังเชื่อมั่นต่อสถาบันทางทหาร ด้านบทบาทหรือหน้าที่ของทหาร 61.05% ขอเป็นกำลังใจให้ทหารทุกๆ ฝ่าย 13.84% ต้องมีความเป็นกลางไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง และ 8.88% ปกป้องประเทศ สถาบันให้เต็มที่
ส่วนนโยบายทั่วไป กองทัพจะต้องปกป้องจงรักภักดี เทิดทูนสถาบันอย่างมีส่วนร่วม และรมว.กลาโหมเคยระบุว่า กระทรวงกลาโหมไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพียงแต่ติดตามสถานการณ์ หากใครละเมิด ม.112 จะเข้าไปดูแลอย่างใกล้ชิด ซึ่ง เรื่องนี้จะมีการแถลงนโยบายต่อหน่วยขึ้นตรงกระทรวงกลาโหมให้รับทราบอีกครั้ง ส่วนนโยบายการปรับย้ายนายทหารประจำปีนั้น รมว.กลาโหมยังไม่ได้ให้นโยบาย หรือพูดถึงในเรื่องนี้ ซึ่งคงต้องมาหารือกัน คาดว่า จะเป็นช่วงเดือนกุมภาพันธ์ เพื่อปฏิบัติตามกรอบของพ.ร.บ.กลาโหม โดยให้เหล่าทัพจัดทำบัญซีโยกย้ายแล้วเสนอขึ้นมา
สุดท้ายรมว.กลาโหมระบุว่า ตามที่สื่อและหลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตุว่า การเข้ามาเป็นรมว.กลาโหม เพื่อทำให้เกิดการปรับเปลี่ยน โดยเฉพาะโครงสร้างกองทัพนั้น ท่านเน้นย้ำสมาชิกสภากลาโหมว่า เข้ามาเพื่อพัฒนากระทรวงกลาโหม ส่วนการทำงานอยากให้อยู่ด้วยกันด้วยความสามัคคี ด้วยความสบายใจ อยู่แบบพี่น้อง มีอะไรก็สามารถพูคุยได้ทุกเรื่อง
พ.อ.ธนาธิป กล่าวว่า นอกจากนี้รมว.กลาโหม แจ้งว่า นายกรัฐมนตรีมีแผนไปตรวจเยี่ยมเหล่าทัพในพื้นที่ต่างจังหวัด เพื่อไปกระชับความสัมพันธ์ และให้ความกำลังใจรวมถึงทราบปัญหา ข้อขัดข้องในพื้นที่ เพื่อนำข้อมูลมาแก้ปัญหาให้เกิดประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้รมว.กลาโหมสั่งการในที่ประชุมให้เหล่าทัพเสนอแผนการตรวจเยี่ยมไปยัง กองทัพไทย โดยให้มีการวางแผนการตรวจเยี่ยมให้มีความต่อเนื่องกัน ส่วนการแก้ปัญหาน้ำท่วมอย่างยั่งยืนนั้น รมว.กลาโหมสั่งหน่วยขึ้นกระทรวงกลาโหม และสำนักปลัดกระทรวงกลาโหมให้มีการจัดการประชุมเร่งด่วนกับเหล่าทัพและผู้ ที่มีหน้าที่ดูแลการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม เพื่อนำข้อมูลสรุปปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น ทั้งจุดอ่อน จุดแข็ง เพื่อนำข้อมูลส่งให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาต่อไป ซึ่งในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์น่าจะมีการประชุมกัน ส่วนกรณีที่มีกำลังพลกองทัพเข้าไปเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด เช่น ยาเสพติด และผู้มีอิทธิพลนั้น รมว.กลาโหมสั่งการอย่างเฉียบขาดว่า หากเกิดเรื่องดังกล่าวขึ้น และผู้บังหน่วยละเลย จะต้องถูกลงโทษอย่างเด็ดขาด ไม่มีการช่วยเหลือกันในทุกกรณี ซึ่งผู้บังคับหน่วยต้องดูแลใกล้ชิดผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อเป็นการป้องปรามไม่ให้เกิดเหตุการณ์ขึ้น
ก่อนหน้านั้น พล.อ.อ.สุกำพล เป็นประธานในการประชุมสภากลาโหมครั้งแรก ภายหลังการเข้ารับตำแหน่ง โดยมี พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์ ปลัดกระทรวงกลาโหม พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฎิมาประกร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด พล.ร.อ.สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ
ขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) มีรายงานว่าติดภารกิจรับเสด็จฯ จึงได้มอบหมายให้ พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รองผู้บัญชาการทหารบก มาร่วมประชุมแทน
โดยพล.อ.สุกำพล ให้สัมภาษณ์ก่อนประชุม ว่า การประชุมสภากลาโหมถือเป็นครั้งแรก ซึ่งตนจะเน้นย้ำนโยบายต่างๆ ทั้งเรื่องการดูแลสถาบัน ด้านความมั่นคง โดยที่ผ่านมาอดีตรัฐมนตรีท่านเก่าก็ให้นโยบายไปแล้ว ในส่วนของตนก็คงคล้ายกัน รวมทั้งการเน้นย้ำในเรื่องการศึกษา การฝึกต่างๆเพื่อให้เกิดความกระชับขึ้น
"จุดยืนทางทหารกับทางการเมืองนั้น ต้องเกี่ยวพันแยกกันไม่ได้ เพราะหากแยกกันไม่ออกต้องอยู่ด้วยกันได้ จะมาแยกเป็นเอกเทศคงไม่ได้ ทหารต้องพึ่งการเมือง ถ้าไม่พึ่งการเมืองถามว่างบประมาณจะมาจากไหน ฉะนั้นอย่าพยายามแยกออกจากกัน ตามที่คนเก่าได้พูดมาว่าอย่าไปยุ่งกับการเมือง คงเฉพาะในเรื่องของโยกย้ายเท่านั้นเอง แต่ไม่ใช่การแยกกันในเรื่องการเมืองการทหาร เพราะต้องไปกันอยู่แล้วทุกชาติไม่ใช่เฉพาะประเทศไทย ส่วนขอบเขตในความสัมพันธ์นั้น คงไม่มีขอบเขตที่ชัดเจนว่าต้องแค่นี้แค่นั้น สิ่งไหนที่ควรจะยุ่งหรือสิ่งไหนไม่ควรจะยุ่งก็ว่าไป อย่างเรื่องยุทธวิธี การเมืองก็อย่าไปยุ่งกับเขา เพราะเขาเป็นทหารและเรียนมาทางนั้น แต่นโยบายก็ต้องมาจากรัฐบาล " รมว.กลาโหม กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามต่อว่า กองทัพต้องวางตัวอย่างไร เพราะก่อนหน้านี้เคยสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ พล.อ.อ.สุกำพล กล่าวว่า หากรัฐบาลไหนที่มาอย่างถูกต้อง กองทัพก็ต้องหนุนเพราะเป็นหน้าที่ ต้องเป็นลูกน้องของรัฐบาล แต่จะสนับสนุนมากหรือน้อยก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ต้องดูจากการกระทำก็เท่านั้นเอง
**55.97% เชื่อทหารถูกการเมืองแทรก
วันเดียวกัน ศูนย์สำรวจความคิดเห็นของประชาชน “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) สำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “ทหารไทยกับประชาชน วันทหารผ่านศึก” ที่จะมาถึงในวันที่ 3 กุมภาพันธ์นี้ สำรวจพบว่าประชาชน 48.07% ระบุว่าทหารเป็นอาชีพที่มีความเสียสละ 26.95% มีเกียรติและศักดิ์ศรี 18.52% มองว่ามีรายได้ที่น้อยและมีความเสี่ยง และ 2.76% มองว่าทหารมีความเป็นอยู่ที่ลำบาก
ด้านบทบาทหน้าที่หรือภารกิจประชาชน 54.68% ประทับใจการช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัยมากที่สุด รองลงมา 30.35% และ 13.79 % ปกป้องสถาบันเบื้องสูง ส่วนความประทับใจการดูแลความมั่นคงอละความปลอดภัยของประเทศ ประชาชน 60.86% ประทับใจมากที่สุด คือ กองทัพบก รองลงมา 20.07 % คือ กองบัญชาการทหารสูงสุด ส่วนกองทัพเรือ 11.69 % และกองทัพอากาศ 7.38 %
แต่ประชาชนเกินครึ่งหรือ 55.97% มองว่าทหารถูกการเมืองเข้าแทรกแซง และ 49.14% ยังเชื่อมั่นต่อสถาบันทางทหาร ด้านบทบาทหรือหน้าที่ของทหาร 61.05% ขอเป็นกำลังใจให้ทหารทุกๆ ฝ่าย 13.84% ต้องมีความเป็นกลางไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง และ 8.88% ปกป้องประเทศ สถาบันให้เต็มที่