ASTVผู้จัดการออนไลน์ - ถึงแม้โลกภายนอกจะไปถึงไหนต่อไหนแล้วก็ตาม แต่ชนชาติส่วนน้อยในเขตป่าเขาของจังหวัดทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือเวียดนาม ยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีและวิถีชีวิตดั้งเดิมเอาไว้อย่างมั่นคง และฤดูใบไม้ผลิในขณะนี้เป็นฤดูกาลที่เต็มไปด้วยสีสัน มีชีวิตชีวามากที่สุด เป็นโอกาสดีที่สุดที่จะได้พบสาวๆ “ช้างเผือกในป่าใหญ่”
นี่คือช่วงฤดูที่หญิงสาวชนชาติไทยกับชนชาติส่วนน้อยต่างๆ จะแต่งกายด้วยชุดประเพณีดั้งเดิมที่เต็มไปด้วยลวดลายและสีสัน
“เมื่อได้เห็นหญิงสาวในชุดหลากสีสัน ส่งยิ้มมากับสายลมเย็นๆ ภายใต้แสงแดดอุ่นๆ แห่งฤดูใบไม้ผลิ ก่อนจะก้มลงใช้เคียวเกี่ยวรวงข้าวสีทองในนาขั้นบันได มันทำให้หัวใจเต้นรัวและเท้าก้าวช้าลงโดยอัตโนมัติ” หนังสือพิมพ์เตื่อยแจ๋ เขียนถึงหญิงสาวชาวไทยที่ได้พบในเขต อ. ฟองโถ (Phong Tho) จ.ลายเจิว (Lai Chau) ติดชายแดนลาว
“ภายใต้อากาศที่หนาวเย็น แก้มสาวดูปลั่งเปล่งมีเลือดฝาด ราวกับดอกท้อที่กำลังเต่งตูมรอเบ่งบาน ผิวกายของพวกเธอนวลเนียนราวกับใยไหม” เตื่อยแจ๋กล่าว
ด้วยความอุดมสมบูรณ์แห่งท้องถิ่นและธรรมชาติอันงดงาม หญิงสาวชาวไทยดูสมบูรณ์และแข็งแรงเต็มวัย มีรูปหน้าสวยงามและจมูกเป็นสันโด่ง พวกเธอยังเต้นรำเก่ง เนื่องจากเป็นศิลปะที่สืบทอดกันมาเป็นเวลาหลายร้อยปีของผู้คนในแถบนั้น
ตำนานเล่าว่า ดินแดนแถบตะวันตกเฉียงเหนือเคยเป็นเขตปกครองของ “เจ้าฟ้า” ชาวไทยหลายพระองค์ที่ทรงโปรดปรานการเต้นรำ และแสวงหาหญิงสาวไปฝึกซ้อม เต้นรำถวายในราชสำนักเสมอมา สาวๆ ชาวไทยสืบสานเรื่องนี้ต่อมาจนถึงยุคปัจจุบันและพวกเธอจะให้การต้อนรับผู้ไปเยือนอย่างอบอุ่นด้วยมิตรไมตรี หนังสือพิมพ์ของสันนิบาตยุวชนคอมมิวนิสต์โฮจิมินห์ฉบับนี้รายงาน
ชนชาติไทยในเวียดนามอาศัยกันหนาแน่นอยู่ใน จ.เซินลา (Son La) เดียนเบียน (Dien Bien) ลายเจิว หล่าวกาย (Lao Cai) กับ จ.เตวียนกวาง (Tuyen Quang) ทั้งชาวไทยดำ (Thai Dam) ไทยขาว (Thai Khao) ในแถบเดียวกันก็ยังเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวไต (Tay) ชาวม้ง และ ชนเผ่าเย้า (Dao) กับอีกหลายชนชาติ ซึ่งทำให้ภาคตะวันตกเฉียงเหนือเต็มไปด้วยสีสัน เหมือนกับดอกไม้ป่านับร้อยๆ ดอกเบ่งบานพร้อมกันในฤดูใบไม้ผลิ
ชนชาติไทยกับชนชาติส่วนน้อยอื่นๆ ในแถบนี้ยังทำนาน้ำฝน ทั้งนาดำและนาหว่าน สตรีชาวไทยจึงมีบทบาทสำคัญในครอบครัวขณะสามีของพวกเธอต้องใช้แรงงานในผืนนา
หญิงสาวที่นั่นเรียนทอผ้ากันเพื่อใช้เอง เรียนวิธีการย้อมสีผ้าจากเปลือกไม้ในป่า ที่ทำให้ได้ผ้าอันเต็มไปด้วยลวดลายที่สะท้อนพื้นฐานทางวัฒนธรรมกับสีสันที่คงทนต่อกาลเวลา
มีหลายทฤษฎีกล่าวถึงความงามของหญิงสาวชนชาติส่วนน้อยเหล่านี้ บ้างก็บอกว่าบรรพบุรุษของพวกเธอสืบเชื้อสายมาจากสาวงามในราชสำนัก แต่สิ่งที่เห็นเป็นประจักษ์ได้ไม่ยากก็คือ ความงามแห่งยุคสมัยนั้นเกิดจากความอุดมสมบูรณ์ในท้องถิ่น ธรรมชาติที่สวยงามปราศจากมลพิษ ซึ่งทำให้พวกเธอมีรูปร่างสมสัดส่วน แข็งแรงและมีสุขภาพดี
“คุณไม่ใช่คนเดียวที่เข้ามาและหลงใหลท้องถิ่นนี้ หลายคนมาที่นี่และพูดว่าเหมือนกันว่าราวกับได้เดินทางย้อนเวลากลับสู่อดีต” นายทหารชายแดนที่ประจำอยู่ที่นั่นคนหนึ่งกล่าวกับผู้สื่อข่าว
“เขตป่าเขาทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ได้ซุกซ่อนช้างเผือกล้ำค่าเอาไว้มากมาย” นายทหารคนเดียวกันกล่าว
นี่คือช่วงฤดูที่หญิงสาวชนชาติไทยกับชนชาติส่วนน้อยต่างๆ จะแต่งกายด้วยชุดประเพณีดั้งเดิมที่เต็มไปด้วยลวดลายและสีสัน
“เมื่อได้เห็นหญิงสาวในชุดหลากสีสัน ส่งยิ้มมากับสายลมเย็นๆ ภายใต้แสงแดดอุ่นๆ แห่งฤดูใบไม้ผลิ ก่อนจะก้มลงใช้เคียวเกี่ยวรวงข้าวสีทองในนาขั้นบันได มันทำให้หัวใจเต้นรัวและเท้าก้าวช้าลงโดยอัตโนมัติ” หนังสือพิมพ์เตื่อยแจ๋ เขียนถึงหญิงสาวชาวไทยที่ได้พบในเขต อ. ฟองโถ (Phong Tho) จ.ลายเจิว (Lai Chau) ติดชายแดนลาว
“ภายใต้อากาศที่หนาวเย็น แก้มสาวดูปลั่งเปล่งมีเลือดฝาด ราวกับดอกท้อที่กำลังเต่งตูมรอเบ่งบาน ผิวกายของพวกเธอนวลเนียนราวกับใยไหม” เตื่อยแจ๋กล่าว
ด้วยความอุดมสมบูรณ์แห่งท้องถิ่นและธรรมชาติอันงดงาม หญิงสาวชาวไทยดูสมบูรณ์และแข็งแรงเต็มวัย มีรูปหน้าสวยงามและจมูกเป็นสันโด่ง พวกเธอยังเต้นรำเก่ง เนื่องจากเป็นศิลปะที่สืบทอดกันมาเป็นเวลาหลายร้อยปีของผู้คนในแถบนั้น
ตำนานเล่าว่า ดินแดนแถบตะวันตกเฉียงเหนือเคยเป็นเขตปกครองของ “เจ้าฟ้า” ชาวไทยหลายพระองค์ที่ทรงโปรดปรานการเต้นรำ และแสวงหาหญิงสาวไปฝึกซ้อม เต้นรำถวายในราชสำนักเสมอมา สาวๆ ชาวไทยสืบสานเรื่องนี้ต่อมาจนถึงยุคปัจจุบันและพวกเธอจะให้การต้อนรับผู้ไปเยือนอย่างอบอุ่นด้วยมิตรไมตรี หนังสือพิมพ์ของสันนิบาตยุวชนคอมมิวนิสต์โฮจิมินห์ฉบับนี้รายงาน
ชนชาติไทยในเวียดนามอาศัยกันหนาแน่นอยู่ใน จ.เซินลา (Son La) เดียนเบียน (Dien Bien) ลายเจิว หล่าวกาย (Lao Cai) กับ จ.เตวียนกวาง (Tuyen Quang) ทั้งชาวไทยดำ (Thai Dam) ไทยขาว (Thai Khao) ในแถบเดียวกันก็ยังเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวไต (Tay) ชาวม้ง และ ชนเผ่าเย้า (Dao) กับอีกหลายชนชาติ ซึ่งทำให้ภาคตะวันตกเฉียงเหนือเต็มไปด้วยสีสัน เหมือนกับดอกไม้ป่านับร้อยๆ ดอกเบ่งบานพร้อมกันในฤดูใบไม้ผลิ
ชนชาติไทยกับชนชาติส่วนน้อยอื่นๆ ในแถบนี้ยังทำนาน้ำฝน ทั้งนาดำและนาหว่าน สตรีชาวไทยจึงมีบทบาทสำคัญในครอบครัวขณะสามีของพวกเธอต้องใช้แรงงานในผืนนา
หญิงสาวที่นั่นเรียนทอผ้ากันเพื่อใช้เอง เรียนวิธีการย้อมสีผ้าจากเปลือกไม้ในป่า ที่ทำให้ได้ผ้าอันเต็มไปด้วยลวดลายที่สะท้อนพื้นฐานทางวัฒนธรรมกับสีสันที่คงทนต่อกาลเวลา
มีหลายทฤษฎีกล่าวถึงความงามของหญิงสาวชนชาติส่วนน้อยเหล่านี้ บ้างก็บอกว่าบรรพบุรุษของพวกเธอสืบเชื้อสายมาจากสาวงามในราชสำนัก แต่สิ่งที่เห็นเป็นประจักษ์ได้ไม่ยากก็คือ ความงามแห่งยุคสมัยนั้นเกิดจากความอุดมสมบูรณ์ในท้องถิ่น ธรรมชาติที่สวยงามปราศจากมลพิษ ซึ่งทำให้พวกเธอมีรูปร่างสมสัดส่วน แข็งแรงและมีสุขภาพดี
“คุณไม่ใช่คนเดียวที่เข้ามาและหลงใหลท้องถิ่นนี้ หลายคนมาที่นี่และพูดว่าเหมือนกันว่าราวกับได้เดินทางย้อนเวลากลับสู่อดีต” นายทหารชายแดนที่ประจำอยู่ที่นั่นคนหนึ่งกล่าวกับผู้สื่อข่าว
“เขตป่าเขาทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ได้ซุกซ่อนช้างเผือกล้ำค่าเอาไว้มากมาย” นายทหารคนเดียวกันกล่าว