กาญจนบุรี - จี้ 7 หน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องในเมืองกาญจนบุรีตื่นตัว ร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องการนำเข้าแร่พลวงจากพม่า เพื่อไม่ให้กระทบต่อความมั่นคงและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หลังมีผู้ประกอบการนำแร่พลวงกว่า 1,000 ตัน มากองไว้ที่บริเวณฝั่งพม่าข้างชายแดนไทย ด่านเจดีย์สามองค์ เพื่อรอนำเข้าไทย
กรณีที่มีผู้ประกอบการนำแร่พลวงกว่า 1,000 ตัน มากองไว้ในพื้นที่เมืองพญาตองซู ประเทศพม่า ซึ่งอยู่ติดกับชายแดนไทยข้างด่านเจดีย์สามองค์ หมู่ 9 ต.หนองลู อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี เพื่อรอการนำเข้าประเทศไทย
นายกาศพล แก้วประพาฬ หัวหน้าสำนักงานจังหวัดกาญจนบุรี กล่าวว่า การนำแร่พลวงเข้าประเทศไทยทางด้านชายแดนด่านเจดีย์สามองค์ หากผู้ประกอบการรายใดต้องการนำเข้าแร่จะต้องมายื่นคำร้องต่อสำนักงานจังหวัดฯ ซึ่งที่ผ่านมานายชัยวัฒน์ ลิ้มป์วรรณธะ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี ก็ได้มีนโยบายส่งเสริมการค้าชายแดนอยู่แล้ว แต่ต้องเป็นการดำเนินการที่ถูกต้อง ไม่กระทบต่อความมั่นคงของประเทศและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ดังนั้น คณะกรรมการการค้าชายแดนจังหวัดกาญจนบุรี จึงมีความเห็นว่า ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติควรที่จะร่วมกันกำกับดูแลตรวจสอบความถูกต้อง ประกอบด้วย 7 หน่วยงาน คือ 1.ทหาร 2.สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด (ทสจ.) 3.ศุลกากร 4.อุตสาหกรรมจังหวัด 5.พาณิชย์จังหวัด 6.เจ้าหน้าที่ตำรวจ ตม.และ 7.นายอำเภอสังขละบุรี
“ทั้ง 7 หน่วยงานดังกล่าวจะต้องร่วมกันดำเนินการ ส่วนผู้ประกอบการนำเข้าแร่ก็จะต้องสามารถแสดงเอกสารที่พิสูจน์ได้ว่าเป็นการนำเข้าแร่ที่ได้รับอนุญาตทำแร่ที่ถูกต้องจากทางพม่าจริง ซึ่งจะต้องมีเอกสารรับรองจากส่วนราชการพม่า เพื่อประกอบการพิจารณา หากเอกสารหลักฐานถูกต้องก็สามารถดำเนินการนำเข้าได้ โดยแนวทางในการปฏิบัติเพื่อมิให้เกิดปัญหาการนำแร่ไม่ถูกต้องเข้ามา เพราะไม่ถูกกฎหมายและอาจจะส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งในเบื้องต้นได้มีผู้ประกอบการยื่นขออนุญาตนำเข้าแร่มาแล้วหลายราย และในส่วนของการปฏิบัติจังหวัดกาญจนบุรีก็ได้นำเข้าหารือกับ สมช.เพื่อขอแนวทางการปฏิบัติอย่างเหมาะสมต่อไปเช่นกันแล้ว”
ด้าน นายสินธพ โมรีรัตน์ หัวหน้าสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด (ทสจ.) กาญจนบุรี เปิดเผยว่า ทส.มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับเรื่องผลกระทบสิ่งแวดล้อม และประเด็นสำคัญที่สุด คือ การนำเข้าแร่ต้องเป็นแร่ที่ได้รับอนุญาตจากต่างประเทศ ไม่ใช่มีการลักลอบทำในพื้นที่ป่าไม้ตามแนวตะเข็บชายแดนฝั่งไทย แล้วนำออกไปจากนั้นขนกลับมาเพื่อนำเข้าประเทศ ตรงนี้เป็นประเด็นที่สำคัญมาก
ส่วนเรื่องการพิจารณาแร่เป็นเรื่องของอุตสาหกรรมจังหวัดที่พิจารณาเกี่ยวกับคุณสมบัติตาม พ.ร.บ.แร่ และศุลกากรก็จะต้องพิจารณาเกี่ยวกับการเรียกเก็บค่าภาคหลวงตามระวางภาษี สำคัญที่สุด คือ ต้องเป็นการพิจารณาจากหน่วยทหารที่มีหน้าที่ดูแลความมั่นคงตามแนวชายแดนที่จะมีอำนาจในการตรวจสอบ ซึ่งในจุดนี้ทหารกองกำลังสุรสีห์(กกล.สุรสีห์) ค่อนข้างเข้มงวดในการปฏิบัติต่อการนำเข้าสินค้าที่จะต้องเป็นสินค้าที่มีที่มาถูกกฎหมาย และต้องมีเอกสารมีการรับรองการได้มาถูกต้องจากทางราชการพม่าด้วย เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญที่ละเอียดอ่อนที่อาจจะส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศได้
กรณีที่มีผู้ประกอบการนำแร่พลวงกว่า 1,000 ตัน มากองไว้ในพื้นที่เมืองพญาตองซู ประเทศพม่า ซึ่งอยู่ติดกับชายแดนไทยข้างด่านเจดีย์สามองค์ หมู่ 9 ต.หนองลู อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี เพื่อรอการนำเข้าประเทศไทย
นายกาศพล แก้วประพาฬ หัวหน้าสำนักงานจังหวัดกาญจนบุรี กล่าวว่า การนำแร่พลวงเข้าประเทศไทยทางด้านชายแดนด่านเจดีย์สามองค์ หากผู้ประกอบการรายใดต้องการนำเข้าแร่จะต้องมายื่นคำร้องต่อสำนักงานจังหวัดฯ ซึ่งที่ผ่านมานายชัยวัฒน์ ลิ้มป์วรรณธะ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี ก็ได้มีนโยบายส่งเสริมการค้าชายแดนอยู่แล้ว แต่ต้องเป็นการดำเนินการที่ถูกต้อง ไม่กระทบต่อความมั่นคงของประเทศและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ดังนั้น คณะกรรมการการค้าชายแดนจังหวัดกาญจนบุรี จึงมีความเห็นว่า ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติควรที่จะร่วมกันกำกับดูแลตรวจสอบความถูกต้อง ประกอบด้วย 7 หน่วยงาน คือ 1.ทหาร 2.สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด (ทสจ.) 3.ศุลกากร 4.อุตสาหกรรมจังหวัด 5.พาณิชย์จังหวัด 6.เจ้าหน้าที่ตำรวจ ตม.และ 7.นายอำเภอสังขละบุรี
“ทั้ง 7 หน่วยงานดังกล่าวจะต้องร่วมกันดำเนินการ ส่วนผู้ประกอบการนำเข้าแร่ก็จะต้องสามารถแสดงเอกสารที่พิสูจน์ได้ว่าเป็นการนำเข้าแร่ที่ได้รับอนุญาตทำแร่ที่ถูกต้องจากทางพม่าจริง ซึ่งจะต้องมีเอกสารรับรองจากส่วนราชการพม่า เพื่อประกอบการพิจารณา หากเอกสารหลักฐานถูกต้องก็สามารถดำเนินการนำเข้าได้ โดยแนวทางในการปฏิบัติเพื่อมิให้เกิดปัญหาการนำแร่ไม่ถูกต้องเข้ามา เพราะไม่ถูกกฎหมายและอาจจะส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งในเบื้องต้นได้มีผู้ประกอบการยื่นขออนุญาตนำเข้าแร่มาแล้วหลายราย และในส่วนของการปฏิบัติจังหวัดกาญจนบุรีก็ได้นำเข้าหารือกับ สมช.เพื่อขอแนวทางการปฏิบัติอย่างเหมาะสมต่อไปเช่นกันแล้ว”
ด้าน นายสินธพ โมรีรัตน์ หัวหน้าสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด (ทสจ.) กาญจนบุรี เปิดเผยว่า ทส.มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับเรื่องผลกระทบสิ่งแวดล้อม และประเด็นสำคัญที่สุด คือ การนำเข้าแร่ต้องเป็นแร่ที่ได้รับอนุญาตจากต่างประเทศ ไม่ใช่มีการลักลอบทำในพื้นที่ป่าไม้ตามแนวตะเข็บชายแดนฝั่งไทย แล้วนำออกไปจากนั้นขนกลับมาเพื่อนำเข้าประเทศ ตรงนี้เป็นประเด็นที่สำคัญมาก
ส่วนเรื่องการพิจารณาแร่เป็นเรื่องของอุตสาหกรรมจังหวัดที่พิจารณาเกี่ยวกับคุณสมบัติตาม พ.ร.บ.แร่ และศุลกากรก็จะต้องพิจารณาเกี่ยวกับการเรียกเก็บค่าภาคหลวงตามระวางภาษี สำคัญที่สุด คือ ต้องเป็นการพิจารณาจากหน่วยทหารที่มีหน้าที่ดูแลความมั่นคงตามแนวชายแดนที่จะมีอำนาจในการตรวจสอบ ซึ่งในจุดนี้ทหารกองกำลังสุรสีห์(กกล.สุรสีห์) ค่อนข้างเข้มงวดในการปฏิบัติต่อการนำเข้าสินค้าที่จะต้องเป็นสินค้าที่มีที่มาถูกกฎหมาย และต้องมีเอกสารมีการรับรองการได้มาถูกต้องจากทางราชการพม่าด้วย เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญที่ละเอียดอ่อนที่อาจจะส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศได้