ASTVผู้จัดการรายวัน-CPF ตั้งเป้ารายได้แตะ 650,000 ล้านบาทใน 5 ปีข้างหน้า เพิ่มขึ้นเท่าตัวจากปัจจุบัน หลังซื้อกิจการโรงงานอาหารสัตว์ในจีนและเวียดนาม แย้มอยู่ระหว่างการเจรจาซื้อธุรกิจในสายทั้งในและต่างประเทศ และเตรียมออกหุ้นกู้อีก 4 หมื่นล้านบาทในปีนี้เพื่อรีไฟแนนซ์หนี้ที่ครบกำหนดชำระ ระบุแนวโน้มราคาพืชอาหารและอาหารสัตว์ส่อปรับตัวสูงขึ้นหลังราคาพลังงานดีดตัวขึ้น
นายอดิเรก ศรีประทักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) (CPF) เปิดเผยว่า ตั้งเป้าหมายรายได้ในอีก 5ปีข้างหน้าอยู่ที่ 650,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นเท่าตัวจากปัจจุบัน ภายหลังจากได้ซื้อบริษัทอาหารสัตว์ในจีนและธุรกิจเกษตรครบวงจรในเวียดนาม ส่งผลให้มีรายได้เติบโตขึ้นเฉลี่ยปีละ 15% โดยปีนี้มั่นใจว่ามีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 320,000-330,000 ล้านบาท เติบโตขึ้น 50% จากปีก่อนที่คาดว่ามีรายได้รวม 210,000 ล้านบาท โดยไตรมาสแรกปีนี้จะเริ่มรับรู้รายได้จากการเข้าซื้อกิจการในจีนกับเวียดนาม ส่งผลให้สัดส่วนรายได้ของบริษัทเปลี่ยนไป โดยธุรกิจอาหารจาก 18% ลดลงเหลือ 13% ธุรกิจฟาร์มจาก 43% ลดลงเหลือ 33% ในขณะที่ธุรกิจอาหารสัตว์เพิ่มขึ้นจาก 39% เป็น 54% และสนับสนุนรายได้ซีพีเอฟเติบโตอย่างมั่นคง
นอกจากนี้ ยังแสวงหาโอกาสการลงทุนเพิ่มเติม โดยล่าสุดอยู่ระหว่างการพิจารณาซื้อกิจการผลิตอาหารสัตว์ สินค้าเกษตรและอาหารทั้งในและต่างประเทศจำนวนมาก ส่วนการเจรจาซื้อกิจการผลิตอาหารสัตว์ในปากีสถานนั้นคาดว่าจะได้ข้อสรุปในเร็วๆ นี้ ซึ่งรูปแบบการลงทุนในต่างประเทศนั้นจะเริ่มจากการสร้างโรงงานผลิตอาหารสัตว์ก่อน หลังจากนั้นจะสร้างฟาร์มเลี้ยงสัตว์ และโรงงานแปรรูป ที่มีเป้าหมายเจาะตลาดในประเทศนั้นๆ และเป็นฐานการส่งออกในสินค้าที่มีความเข้มแข็ง
ทั้งนี้ ซีพีเอฟมีเป้าหมายให้โครงสร้างรายได้ในอนาคตมาจากธุรกิจฟาร์มและอาหารสัตว์เป็นสัดส่วน 2ใน 3 ส่วน และธุรกิจอาหาร รายได้ในอนาคตของซีพีเอฟจะมีสัดส่วนที่เปลี่ยนไปจากปัจจุบันที่รายได้หลักจะมาจากธุรกิจอาหารสัตว์และอาหาร เป็น 2 ใน 3 ส่วน และฟาร์มจะเหลือเพียง 1 ใน3 ส่วนเท่านั้น และใน 10ปีข้างหน้า แนวโน้มสัดส่วนรายได้จากธุรกิจอาหารจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นธุรกิจที่สร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added)
ส่วนแผนการออกหุ้นกู้รวม 80,000 ล้านบาท ที่ผ่านมา ได้ทยอยออกหุ้นกู้ไปแล้ว 40,000 ล้านบาท คาดว่าในปีนี้จะมีการออกหุ้นกู้เพิ่มขึ้นอีก 40,000 ล้านบาทเพื่อใช้ในการรีไฟแนนซ์หุ้นกู้เดิมที่ครบกำหนดชำระ แต่ยังไม่ได้กำหนดช่วงเวลาที่แน่นอนว่าจะออกหุ้นกู้เมื่อใด
นายอดิเรกกล่าวว่า สำหรับแนวโน้มราคาอาหารและอาหารสัตว์ใน5-10 ปีนี้เพิ่มสูงขึ้นตามมิศทางราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น โดยล่าสุดราคาน้ำมันทะลุ 100 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรลแล้ว ทำให้มีความต้องการพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นตาม ส่งผลให้พื้นที่เพาะปลูกพืชอาหารสัตว์ลดลง เป็นเหตุทำให้ต้นทุนการเลี้ยงสัตว์ในอนาคตจะเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย
นอกจากนี้ จากสถานการณ์สภาพอากาศที่ผันผวน ยังส่งผลให้ผลผลิตต่อไร่ไม่ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ และยังเป็นต้นเหตุของโรคระบาด ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของการเลี้ยงสัตว์ แม้ว่าฟาร์มที่เลี้ยงสัตว์เพื่อการส่งออกจะพัฒนาเป็นระบบปิดแล้วทั้งหมด แต่ก็ยังมีฟาร์มขนาดย่อยอีกจำนวนมากที่ยังเป็นระบบเปิด ทั้งหมดนี้จะทำให้ผลผลิตอาหารในอนาคตมีปัญหา
และราคาปรับตัวสูงขึ้น
“ระยะยาว แนวโน้มราคาอาหารจะเพิ่มสูงขึ้น ทั้งจากแนวโน้มราคาพลังงาน และความผันผวนของสภาพภูมิอากาศ โดยขณะนี้ประเทศผู้นำเข้าอาหาร มีการวางแผนเก็บสต๊อกสินค้าอาหารมากขึ้นจากเดิมอาจเก็บไว้เพื่อเพียงพอต่อการบริโภคแค่ 3-5 เดือน อาจจะขยายระยะเวลาให้นานกว่านั้น เพราะแต่ละประเทศ ต้องมีการสต็อกอาหาร เพื่อ food security ซึ่งแนวโน้มนี้เป็นโอกาสของบริษัท แต่ก็ต้องมีการพัฒนาคุณภาพอยู่ตลอดเวลา“นายอดิเรกกล่าว
อย่างไรก็ตาม แนวโน้มราคาเนื้อสัตว์ในช่วงนี้พบว่าราคาไข่ไก่จะปรับตัวลดลงจากภาวะล้นตลาด ส่วนราคาไก่เนื้อมีแนวโน้มสูงขึ้น หากสหภาพยุโรป และญี่ปุ่นเปิดให้นำเข้าไก่สด ส่วนเนื้อสุกร ยังมีปัญหาผลผลิตลดลงจากปัญหาโรคระบาด คาดว่าราคามีแนวโน้มสูงขึ้น รวมทั้งกุ้ง มีปัญหาด้านการผลิตเพราะความผันผวนของสภาพอากาศ ทำให้การเลี้ยงทำได้ยากขึ้น จึงคาดว่าราคาจะเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย
นายอดิเรก ศรีประทักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) (CPF) เปิดเผยว่า ตั้งเป้าหมายรายได้ในอีก 5ปีข้างหน้าอยู่ที่ 650,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นเท่าตัวจากปัจจุบัน ภายหลังจากได้ซื้อบริษัทอาหารสัตว์ในจีนและธุรกิจเกษตรครบวงจรในเวียดนาม ส่งผลให้มีรายได้เติบโตขึ้นเฉลี่ยปีละ 15% โดยปีนี้มั่นใจว่ามีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 320,000-330,000 ล้านบาท เติบโตขึ้น 50% จากปีก่อนที่คาดว่ามีรายได้รวม 210,000 ล้านบาท โดยไตรมาสแรกปีนี้จะเริ่มรับรู้รายได้จากการเข้าซื้อกิจการในจีนกับเวียดนาม ส่งผลให้สัดส่วนรายได้ของบริษัทเปลี่ยนไป โดยธุรกิจอาหารจาก 18% ลดลงเหลือ 13% ธุรกิจฟาร์มจาก 43% ลดลงเหลือ 33% ในขณะที่ธุรกิจอาหารสัตว์เพิ่มขึ้นจาก 39% เป็น 54% และสนับสนุนรายได้ซีพีเอฟเติบโตอย่างมั่นคง
นอกจากนี้ ยังแสวงหาโอกาสการลงทุนเพิ่มเติม โดยล่าสุดอยู่ระหว่างการพิจารณาซื้อกิจการผลิตอาหารสัตว์ สินค้าเกษตรและอาหารทั้งในและต่างประเทศจำนวนมาก ส่วนการเจรจาซื้อกิจการผลิตอาหารสัตว์ในปากีสถานนั้นคาดว่าจะได้ข้อสรุปในเร็วๆ นี้ ซึ่งรูปแบบการลงทุนในต่างประเทศนั้นจะเริ่มจากการสร้างโรงงานผลิตอาหารสัตว์ก่อน หลังจากนั้นจะสร้างฟาร์มเลี้ยงสัตว์ และโรงงานแปรรูป ที่มีเป้าหมายเจาะตลาดในประเทศนั้นๆ และเป็นฐานการส่งออกในสินค้าที่มีความเข้มแข็ง
ทั้งนี้ ซีพีเอฟมีเป้าหมายให้โครงสร้างรายได้ในอนาคตมาจากธุรกิจฟาร์มและอาหารสัตว์เป็นสัดส่วน 2ใน 3 ส่วน และธุรกิจอาหาร รายได้ในอนาคตของซีพีเอฟจะมีสัดส่วนที่เปลี่ยนไปจากปัจจุบันที่รายได้หลักจะมาจากธุรกิจอาหารสัตว์และอาหาร เป็น 2 ใน 3 ส่วน และฟาร์มจะเหลือเพียง 1 ใน3 ส่วนเท่านั้น และใน 10ปีข้างหน้า แนวโน้มสัดส่วนรายได้จากธุรกิจอาหารจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นธุรกิจที่สร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added)
ส่วนแผนการออกหุ้นกู้รวม 80,000 ล้านบาท ที่ผ่านมา ได้ทยอยออกหุ้นกู้ไปแล้ว 40,000 ล้านบาท คาดว่าในปีนี้จะมีการออกหุ้นกู้เพิ่มขึ้นอีก 40,000 ล้านบาทเพื่อใช้ในการรีไฟแนนซ์หุ้นกู้เดิมที่ครบกำหนดชำระ แต่ยังไม่ได้กำหนดช่วงเวลาที่แน่นอนว่าจะออกหุ้นกู้เมื่อใด
นายอดิเรกกล่าวว่า สำหรับแนวโน้มราคาอาหารและอาหารสัตว์ใน5-10 ปีนี้เพิ่มสูงขึ้นตามมิศทางราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น โดยล่าสุดราคาน้ำมันทะลุ 100 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรลแล้ว ทำให้มีความต้องการพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นตาม ส่งผลให้พื้นที่เพาะปลูกพืชอาหารสัตว์ลดลง เป็นเหตุทำให้ต้นทุนการเลี้ยงสัตว์ในอนาคตจะเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย
นอกจากนี้ จากสถานการณ์สภาพอากาศที่ผันผวน ยังส่งผลให้ผลผลิตต่อไร่ไม่ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ และยังเป็นต้นเหตุของโรคระบาด ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของการเลี้ยงสัตว์ แม้ว่าฟาร์มที่เลี้ยงสัตว์เพื่อการส่งออกจะพัฒนาเป็นระบบปิดแล้วทั้งหมด แต่ก็ยังมีฟาร์มขนาดย่อยอีกจำนวนมากที่ยังเป็นระบบเปิด ทั้งหมดนี้จะทำให้ผลผลิตอาหารในอนาคตมีปัญหา
และราคาปรับตัวสูงขึ้น
“ระยะยาว แนวโน้มราคาอาหารจะเพิ่มสูงขึ้น ทั้งจากแนวโน้มราคาพลังงาน และความผันผวนของสภาพภูมิอากาศ โดยขณะนี้ประเทศผู้นำเข้าอาหาร มีการวางแผนเก็บสต๊อกสินค้าอาหารมากขึ้นจากเดิมอาจเก็บไว้เพื่อเพียงพอต่อการบริโภคแค่ 3-5 เดือน อาจจะขยายระยะเวลาให้นานกว่านั้น เพราะแต่ละประเทศ ต้องมีการสต็อกอาหาร เพื่อ food security ซึ่งแนวโน้มนี้เป็นโอกาสของบริษัท แต่ก็ต้องมีการพัฒนาคุณภาพอยู่ตลอดเวลา“นายอดิเรกกล่าว
อย่างไรก็ตาม แนวโน้มราคาเนื้อสัตว์ในช่วงนี้พบว่าราคาไข่ไก่จะปรับตัวลดลงจากภาวะล้นตลาด ส่วนราคาไก่เนื้อมีแนวโน้มสูงขึ้น หากสหภาพยุโรป และญี่ปุ่นเปิดให้นำเข้าไก่สด ส่วนเนื้อสุกร ยังมีปัญหาผลผลิตลดลงจากปัญหาโรคระบาด คาดว่าราคามีแนวโน้มสูงขึ้น รวมทั้งกุ้ง มีปัญหาด้านการผลิตเพราะความผันผวนของสภาพอากาศ ทำให้การเลี้ยงทำได้ยากขึ้น จึงคาดว่าราคาจะเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย