รอยเตอร์ – รัฐมนตรีคลังยูโรโซนปฏิเสธข้อเสนออัตราดอกเบี้ยเจ้าหนี้เอกชน ส่งผลให้การเจรจาปรับโครงสร้างหนี้กรีซต้องกลับไปเริ่มต้นใหม่ และต้องลุ้นกันใจหายใจคว่ำอีกครั้งว่า เอเธนส์จะรอดพ้นการผิดนัดชำระหนี้หรือไม่
ในการประชุมที่บรัสเซลส์ เบลเยียม วันจันทร์ที่ผ่านมา (23) รัฐมนตรีคลังยูโรโซนระบุว่า ไม่สามารถยอมรับข้อเรียกร้องของพวกเอกชนผู้ถือครองพันธบัตรที่ต้องการอัตราดอกเบี้ย 4% จากพันธบัตรระยะยาวใหม่ที่กรีซจะออกมาเพื่อแลกเปลี่ยนกับพันธบัตรปัจจุบันได้
แบงก์และสถาบันเอกชนอื่นๆ ที่มีอินสติติวท์ ออฟ อินเตอร์เนชันแนล ไฟแนนซ์ (ไอไอเอฟ) เป็นตัวแทน ยืนกรานว่าดอกเบี้ย 4% เป็นอัตราต่ำสุดที่พวกตนยอมรับได้เพื่อลดหนี้ของกรีซลง 50%
ทว่า กรีซตอบกลับว่า ไม่ได้เตรียมพร้อมมาเพื่อจ่ายดอกเบี้ยเกินกว่า 3.5% ซึ่งรัฐมนตรีคลังยูโรโซนประกาศสนับสนุนจุดยืนของเอเธนส์ทันที เช่นเดียวกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ)
ฌอง-โคลด จุงเกอร์ ประธานรัฐมนตรีคลังกลุ่มยูโรโซน กล่าวว่าเหล่ารัฐมนตรีขอให้กรีซเดินหน้าเจรจาเพื่อดึงอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรใหม่ลงต่ำกว่า 4% ตลอดระยะเวลา หรืออีกนัยหนึ่งคือดอกเบี้ยควรต่ำกว่า 3.5% ก่อนถึงปี 2020
เป้าหมายในการปรับโครงสร้างหนี้คือ เพื่อลดหนี้ของกรีซที่อยู่ที่ราว 100,000 ล้านยูโร (129,000 ล้านดอลลาร์) หรือ 160% ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ให้เหลือ 120% ของจีดีพีภายในปี 2020 ซึ่งเป็นระดับที่อียูและไอเอ็มเอฟเชื่อว่า ทำให้สามารถจัดการเศรษฐกิจที่มีอัตราเติบโตต่ำของกรีซได้ดีขึ้น
แต่การที่กรีซยังคงไม่สามารถลดการขาดดุลงบประมาณได้ตามเป้าหมาย ทำให้จุดหมายในปี 2020 ดูแทบไกลเกินเอื้อม
การที่ไม่สามารถตกลงกันได้นี้ทำให้มีความเสี่ยงมากขึ้นที่ข้อตกลงปรับโครงสร้างหนี้โดยสมัครใจระหว่างเจ้าหนี้กับเอเธนส์จะล้มเหลว ซึ่งจะส่งผลรุนแรงต่อตลาดการเงิน
ทั้งนี้ การเจรจาว่าด้วย “ความเกี่ยวข้องของภาคเอกชน” (พีเอสไอ) ดำเนินมาเกือบ 7 เดือนโดยไม่มีข้อสรุปรูปธรรมแต่อย่างใด และหากยังเป็นเช่นนี้ต่อไปจนถึงเดือนมีนาคมที่เอเธนส์ต้องจ่ายหนี้ 14,500 ล้านยูโร อาจส่งผลให้เกิดการผิดนัดชำระหนี้อย่างไร้ระเบียบ
กระนั้น โอลี เรห์น กรรมาธิการยุโรปที่รับผิดชอบกิจการเศรษฐกิจและการเงิน ยังคาดหวังว่า จะมีข้อตกลงพีเอสไอเกิดขึ้นในอีกไม่กี่วันนี้
ในการประชุมที่บรัสเซลส์ เบลเยียม วันจันทร์ที่ผ่านมา (23) รัฐมนตรีคลังยูโรโซนระบุว่า ไม่สามารถยอมรับข้อเรียกร้องของพวกเอกชนผู้ถือครองพันธบัตรที่ต้องการอัตราดอกเบี้ย 4% จากพันธบัตรระยะยาวใหม่ที่กรีซจะออกมาเพื่อแลกเปลี่ยนกับพันธบัตรปัจจุบันได้
แบงก์และสถาบันเอกชนอื่นๆ ที่มีอินสติติวท์ ออฟ อินเตอร์เนชันแนล ไฟแนนซ์ (ไอไอเอฟ) เป็นตัวแทน ยืนกรานว่าดอกเบี้ย 4% เป็นอัตราต่ำสุดที่พวกตนยอมรับได้เพื่อลดหนี้ของกรีซลง 50%
ทว่า กรีซตอบกลับว่า ไม่ได้เตรียมพร้อมมาเพื่อจ่ายดอกเบี้ยเกินกว่า 3.5% ซึ่งรัฐมนตรีคลังยูโรโซนประกาศสนับสนุนจุดยืนของเอเธนส์ทันที เช่นเดียวกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ)
ฌอง-โคลด จุงเกอร์ ประธานรัฐมนตรีคลังกลุ่มยูโรโซน กล่าวว่าเหล่ารัฐมนตรีขอให้กรีซเดินหน้าเจรจาเพื่อดึงอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรใหม่ลงต่ำกว่า 4% ตลอดระยะเวลา หรืออีกนัยหนึ่งคือดอกเบี้ยควรต่ำกว่า 3.5% ก่อนถึงปี 2020
เป้าหมายในการปรับโครงสร้างหนี้คือ เพื่อลดหนี้ของกรีซที่อยู่ที่ราว 100,000 ล้านยูโร (129,000 ล้านดอลลาร์) หรือ 160% ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ให้เหลือ 120% ของจีดีพีภายในปี 2020 ซึ่งเป็นระดับที่อียูและไอเอ็มเอฟเชื่อว่า ทำให้สามารถจัดการเศรษฐกิจที่มีอัตราเติบโตต่ำของกรีซได้ดีขึ้น
แต่การที่กรีซยังคงไม่สามารถลดการขาดดุลงบประมาณได้ตามเป้าหมาย ทำให้จุดหมายในปี 2020 ดูแทบไกลเกินเอื้อม
การที่ไม่สามารถตกลงกันได้นี้ทำให้มีความเสี่ยงมากขึ้นที่ข้อตกลงปรับโครงสร้างหนี้โดยสมัครใจระหว่างเจ้าหนี้กับเอเธนส์จะล้มเหลว ซึ่งจะส่งผลรุนแรงต่อตลาดการเงิน
ทั้งนี้ การเจรจาว่าด้วย “ความเกี่ยวข้องของภาคเอกชน” (พีเอสไอ) ดำเนินมาเกือบ 7 เดือนโดยไม่มีข้อสรุปรูปธรรมแต่อย่างใด และหากยังเป็นเช่นนี้ต่อไปจนถึงเดือนมีนาคมที่เอเธนส์ต้องจ่ายหนี้ 14,500 ล้านยูโร อาจส่งผลให้เกิดการผิดนัดชำระหนี้อย่างไร้ระเบียบ
กระนั้น โอลี เรห์น กรรมาธิการยุโรปที่รับผิดชอบกิจการเศรษฐกิจและการเงิน ยังคาดหวังว่า จะมีข้อตกลงพีเอสไอเกิดขึ้นในอีกไม่กี่วันนี้