"กิตติรัตน์" สั่งคลังปรับเงื่อนไขปล่อยกู้นิคมอุตสาหกรรมใหม่ ยืดอายุเป็น 15 ปี ให้รัฐบาลร่วมจ่าย 2 ใน 3 ด้านแบงก์ออมสินพร้อมรอเพียงนโยบายใหม่เท่านั้น มั่นใจไม่เกิดเอ็นพีแอล
รายงานข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ได้สั่งการให้กระทรวงการคลังปรับกฎเกณฑ์เงื่อนไขในการให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟต์โลน) ของธนาคารออมสิน เพื่อพัฒนาระบบป้องกันอุทกภัยในนิคมอุตสาหกรรมเขตอุตสาหกรรมวงเงิน 15,000 ล้านบาทใหม่ เพื่อช่วยเหลือนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ให้มากขึ้นกว่าเดิม จากนั้นจะนำเสนอให้ครม.พิจารณาโดยเร็วที่สุดต่อไป
ทั้งนี้ นายกิตติรัตน์ ต้องการให้ปรับเงื่อนไขให้ผ่อนปรนมากขึ้น โดยจะให้รัฐบาลร่วมออกเงินให้ด้วยสัดส่วน 2 ใน 3 ของทั้งหมด และจะให้ยืดเวลาการชำระหนี้จากเดิมที่กำหนดไว้ 7 ปี ออกไปเป็น 15 ปี ส่วนดอกเบี้ยนั้นยังคงเดิมที่ 0.01% ตลอดอายุโครงการ โดยรัฐบาลชดเชยส่วนต่างให้ออมสินตามเดิม ซึ่งเร็วๆ นี้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) จะเสนอให้รมว.คลังพิจารณาก่อนนำเข้าที่ประชุม ครม.
“การปรับเงื่อนไขดังกล่าวนี้ เพื่อที่จะช่วยให้นิคมฯ ต่าง ๆ ตัดสินใจเดินหน้าโครงการได้รวดเร็วขึ้น แต่ขณะเดียวกันก็เป็นห่วงธนาคารออมสินที่อาจจะทำให้มีผลกำไรลดลงไปบ้าง จากการยืดเวลาการชำระหนี้ออกไป โดยที่รัฐบาลจ่ายชดเชยโครงการดังกล่าวประมาณ 4,000 ล้านบาทเท่านั้น”
ด้านนายเลอศักดิ์ จุลเทศ ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่า ในส่วนของออมสินนั้น พร้อมที่จะปล่อยสินเชื่อตามนโยบายของรัฐบาลอยู่แล้ว ไม่ว่าจะปรับเปลี่ยนรูปแบบเงื่อนไขใหม่อย่างไรก็ตาม โดยขณะนี้ต้องรอความชัดเจนจากกระทรวงการคลังก่อน จากนั้นจะเดินหน้าโครงการดังกล่าวต่อไป ซึ่งขณะนี้มี 5 นิคมอุตสาหกรรมที่มีความพร้อมแล้ว คาดว่าจะเริ่มลงมือก่อสร้างภายในเดือนก.พ.นี้ และแล้วเสร็จภายในเดือนส.ค.ตามกรอบที่วางไว้
“ขณะนี้ 5 นิคมที่มีความพร้อมในการจัดทำระบบและโครงสร้างพื้นฐานสำหรับป้องกันอุทกภัยคือ นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ นิคมอุตสาหกรรมบางกระดีนิคมอุตสาหกรรมนวนคร และนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร ทั้งนี้หากรัฐบาลผ่อนปรนเงื่อนไขมากขึ้น เชื่อว่าจะทำให้ออมสินจ่ายเงินน้อยลงกว่า 15,000 ล้านบาทที่ตั้งไว้ และเชื่อว่าจะไม่เกิดปัญหาหนี้เสีย (เอ็นพีแอล)ตามมา เนื่องจากใช้เวลานานในการผ่อนชำระคืน”
รายงานข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ได้สั่งการให้กระทรวงการคลังปรับกฎเกณฑ์เงื่อนไขในการให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟต์โลน) ของธนาคารออมสิน เพื่อพัฒนาระบบป้องกันอุทกภัยในนิคมอุตสาหกรรมเขตอุตสาหกรรมวงเงิน 15,000 ล้านบาทใหม่ เพื่อช่วยเหลือนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ให้มากขึ้นกว่าเดิม จากนั้นจะนำเสนอให้ครม.พิจารณาโดยเร็วที่สุดต่อไป
ทั้งนี้ นายกิตติรัตน์ ต้องการให้ปรับเงื่อนไขให้ผ่อนปรนมากขึ้น โดยจะให้รัฐบาลร่วมออกเงินให้ด้วยสัดส่วน 2 ใน 3 ของทั้งหมด และจะให้ยืดเวลาการชำระหนี้จากเดิมที่กำหนดไว้ 7 ปี ออกไปเป็น 15 ปี ส่วนดอกเบี้ยนั้นยังคงเดิมที่ 0.01% ตลอดอายุโครงการ โดยรัฐบาลชดเชยส่วนต่างให้ออมสินตามเดิม ซึ่งเร็วๆ นี้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) จะเสนอให้รมว.คลังพิจารณาก่อนนำเข้าที่ประชุม ครม.
“การปรับเงื่อนไขดังกล่าวนี้ เพื่อที่จะช่วยให้นิคมฯ ต่าง ๆ ตัดสินใจเดินหน้าโครงการได้รวดเร็วขึ้น แต่ขณะเดียวกันก็เป็นห่วงธนาคารออมสินที่อาจจะทำให้มีผลกำไรลดลงไปบ้าง จากการยืดเวลาการชำระหนี้ออกไป โดยที่รัฐบาลจ่ายชดเชยโครงการดังกล่าวประมาณ 4,000 ล้านบาทเท่านั้น”
ด้านนายเลอศักดิ์ จุลเทศ ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่า ในส่วนของออมสินนั้น พร้อมที่จะปล่อยสินเชื่อตามนโยบายของรัฐบาลอยู่แล้ว ไม่ว่าจะปรับเปลี่ยนรูปแบบเงื่อนไขใหม่อย่างไรก็ตาม โดยขณะนี้ต้องรอความชัดเจนจากกระทรวงการคลังก่อน จากนั้นจะเดินหน้าโครงการดังกล่าวต่อไป ซึ่งขณะนี้มี 5 นิคมอุตสาหกรรมที่มีความพร้อมแล้ว คาดว่าจะเริ่มลงมือก่อสร้างภายในเดือนก.พ.นี้ และแล้วเสร็จภายในเดือนส.ค.ตามกรอบที่วางไว้
“ขณะนี้ 5 นิคมที่มีความพร้อมในการจัดทำระบบและโครงสร้างพื้นฐานสำหรับป้องกันอุทกภัยคือ นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ นิคมอุตสาหกรรมบางกระดีนิคมอุตสาหกรรมนวนคร และนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร ทั้งนี้หากรัฐบาลผ่อนปรนเงื่อนไขมากขึ้น เชื่อว่าจะทำให้ออมสินจ่ายเงินน้อยลงกว่า 15,000 ล้านบาทที่ตั้งไว้ และเชื่อว่าจะไม่เกิดปัญหาหนี้เสีย (เอ็นพีแอล)ตามมา เนื่องจากใช้เวลานานในการผ่อนชำระคืน”