ในการประชุมสภาแทนราษฎร วานนี้(18 ม.ค.) มีนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาฯ ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม ซึ่งก่อนเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมได้เปิดโอกาสให้สมาชิกหารือถึงปัญหาความเดือดร้อน ปรากฏว่า นายชำนิ ศักดิเศรษฐ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ได้หารือว่า ไม่สบายใจกับเรื่องสถานที่สร้างรัฐสภาแห่งใหม่ เราอยู่ด้วยการรอคอยมานาน แต่มีความพยายามเร่งเร้าหาสถานที่สร้างสภาใหม่ เราก็รู้ว่าที่อยู่ปัจจุบันเป็นสถานที่ประชุมชั่วคราว ต่อไปจะต้องมีสภาเป็นของตัวเอง แต่วันนี้การพูดของนายสมศักดิ์ ประธานสภาฯ และ นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาฯ คนที่ 1 ในฐานะประธานคณะกรรมการเร่งรัดและติดตามการก่อสร้างอาคารัฐสภาแห่งใหม่ พูดทำให้สับสนเหมือนเป็นการพูดเพื่อกดดัน นายชัย ชิดชอบ อดีตประธานสภาฯ พูดเพื่อกดดันผู้รับเหมาหรือกดดันประชาชนเพื่อหาที่สร้างรัฐสภาใหม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่สบายใจ
“ขอให้ยุติได้แล้ว เราไล่หาที่สร้างสภาไปทั่วทั้งที่ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา จ.ลพบุรีไปรอบๆ กทม.วันนี้เรามีที่ดินที่เกียกกายควรเดินหน้าเถอะ เราอ้างเหตุไม่ได้อีกแล้ว น้ำท่วมหรือไม่ท่วม เราก็ปรับได้ ตนพูดเพราะไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย แต่การที่ออกมาพูดกดดันเพื่อให้มีการต่อรอง ไม่ให้มีการก่อสร้างนั้น ก็อยากจะขอให้เดินหน้ากันได้แล้ว ถ้าไม่ใช้ที่เกียกกาย ถ้าไปสร้างที่ต่างจังหวัด ผมจะตามไปคัดค้านอย่างที่ถึงที่สุด” นายชำนิกล่าว
ขณะที่นายสมศักดิ์ ชี้แจงว่า ตนยืนยันว่าจะทำเรื่องดังกล่าวให้กระจ่างโดยเร็ว และจะทำให้ดีที่สุด โดยจะยึดประโยชน์ของประเทศเป็นหลัก รวมทั้งจะไม่ให้มีเรื่องผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้องอย่างเด็ดขาด
**ค้อนปลอมไม่กล้าฟันธงเอาใจใคร
ก่อนหน้านั้น นายสมศักดิ์ กล่าวว่า ยังไม่เห็นรายงานที่นายเจริญส่งมาให้ตน แต่หลักการคือการย้ายที่ตั้งรัฐสภาใหม่ไม่ใช่เรื่องง่าย และการจะย้ายต้องมีเหตุผลพิเศษจริงๆ
ผู้สื่อข่าวถามว่าเรื่องปัญหาน้ำท่วม และการส่งมอบพื้นที่ล่าช้า เป็นเหตุผลพิเศษที่สามารถย้ายรัฐสภาใหม่ได้หรือไม่ นายสมศักดิ์ กล่าวว่า หากเหตุผลแค่นี้คงไม่เพียงพอ แต่จะต้องรับฟังเหตุผลของคณะกรรมการฯด้วย ทั้งนี้สิ่งที่ต้องคิดหนักคือ หากต้องเสียเวลาคืนพื้นที่ล่าช้าไปถึง 2 ปีจริงๆ ก็เป็นเหตุผลน่ารับฟัง
อย่างไรก็ตามตนไม่คิดว่าจะเสียเวลาคืนพื้นที่มากมายไปจนถึงปลายปี 2556 ยังเชื่อว่าจะสามารถเจรจาเร่งรัดกันได้ เพื่อให้ส่งพื้นที่ได้ภายในปลายปีนี้ ขณะนี้ยังมีพอมีเวลาอยู่ ส่วนการเสนอให้ย้ายสถานที่ก่อสร้างรัฐสภาใหม่ไป จ.สระบุรีนั้น คงต้องขอฟังเหตุผลก่อน ยืนยันว่า การตัดสินใจครั้งนี้ยึดผลประโชน์ของประเทศ จะไม่มีผลประโยชน์แอบแฝง หากต้องย้ายจริง จะส่งเรื่องให้ที่ประชุมสภาฯพิจารณาตัดสิน
**'เจริญ' ให้ 'สมศักดิ์'ตัดสินย้ายหรือไม่
ด้านนายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า คณะกรรมการเร่งรัดการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ ได้เสนอนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร พิจารณาเรื่องนี้แล้ว ซึ่งคาดว่าจะมีความชัดเจนสัปดาห์หน้า
“ยืนยันว่าที่ตั้งของรัฐสภาใหม่ย่านเกียกกายไม่มีความเหมาะสมใน 6 ประเด็น คือ ปัญหาน้ำท่วม ด้านความปลอดภัยจากผู้ชุมนุม ปัญหาจราจร การส่งมอบพื้นที่ล่าช้า อาจถูกผู้รับเหมาฟ้องร้อง รวมถึงความล่าช้าในการก่อสร้างอีก 2 ปี ต้องเสียค่าเช่าสถานที่ทำงานข้าราชการ รวม 132 ล้านบาท จึงเสนอให้พิจารณาก่อสร้างรัฐสภาใหม่ที่ จ.สระบุรี ซึ่งเหมาะสมมากกว่า เพราะไม่มีปัญหาน้ำท่วม”นายเจริญกล่าว
ส่วนการเสียงบประมาณชดเชย และค่าเวนคืนพื้นที่ย่านเกียกกายกว่า 7,000 ล้านบาทนั้น รองประธานสภาผู้แทนราษฎร ยืนยันว่า ไม่ถือเป็นความเสียหาย เพราะทรัพย์สินเป็นของราชการ สามารถทำประโยชน์เชิงธุรกิจได้
“ขอให้ยุติได้แล้ว เราไล่หาที่สร้างสภาไปทั่วทั้งที่ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา จ.ลพบุรีไปรอบๆ กทม.วันนี้เรามีที่ดินที่เกียกกายควรเดินหน้าเถอะ เราอ้างเหตุไม่ได้อีกแล้ว น้ำท่วมหรือไม่ท่วม เราก็ปรับได้ ตนพูดเพราะไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย แต่การที่ออกมาพูดกดดันเพื่อให้มีการต่อรอง ไม่ให้มีการก่อสร้างนั้น ก็อยากจะขอให้เดินหน้ากันได้แล้ว ถ้าไม่ใช้ที่เกียกกาย ถ้าไปสร้างที่ต่างจังหวัด ผมจะตามไปคัดค้านอย่างที่ถึงที่สุด” นายชำนิกล่าว
ขณะที่นายสมศักดิ์ ชี้แจงว่า ตนยืนยันว่าจะทำเรื่องดังกล่าวให้กระจ่างโดยเร็ว และจะทำให้ดีที่สุด โดยจะยึดประโยชน์ของประเทศเป็นหลัก รวมทั้งจะไม่ให้มีเรื่องผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้องอย่างเด็ดขาด
**ค้อนปลอมไม่กล้าฟันธงเอาใจใคร
ก่อนหน้านั้น นายสมศักดิ์ กล่าวว่า ยังไม่เห็นรายงานที่นายเจริญส่งมาให้ตน แต่หลักการคือการย้ายที่ตั้งรัฐสภาใหม่ไม่ใช่เรื่องง่าย และการจะย้ายต้องมีเหตุผลพิเศษจริงๆ
ผู้สื่อข่าวถามว่าเรื่องปัญหาน้ำท่วม และการส่งมอบพื้นที่ล่าช้า เป็นเหตุผลพิเศษที่สามารถย้ายรัฐสภาใหม่ได้หรือไม่ นายสมศักดิ์ กล่าวว่า หากเหตุผลแค่นี้คงไม่เพียงพอ แต่จะต้องรับฟังเหตุผลของคณะกรรมการฯด้วย ทั้งนี้สิ่งที่ต้องคิดหนักคือ หากต้องเสียเวลาคืนพื้นที่ล่าช้าไปถึง 2 ปีจริงๆ ก็เป็นเหตุผลน่ารับฟัง
อย่างไรก็ตามตนไม่คิดว่าจะเสียเวลาคืนพื้นที่มากมายไปจนถึงปลายปี 2556 ยังเชื่อว่าจะสามารถเจรจาเร่งรัดกันได้ เพื่อให้ส่งพื้นที่ได้ภายในปลายปีนี้ ขณะนี้ยังมีพอมีเวลาอยู่ ส่วนการเสนอให้ย้ายสถานที่ก่อสร้างรัฐสภาใหม่ไป จ.สระบุรีนั้น คงต้องขอฟังเหตุผลก่อน ยืนยันว่า การตัดสินใจครั้งนี้ยึดผลประโชน์ของประเทศ จะไม่มีผลประโยชน์แอบแฝง หากต้องย้ายจริง จะส่งเรื่องให้ที่ประชุมสภาฯพิจารณาตัดสิน
**'เจริญ' ให้ 'สมศักดิ์'ตัดสินย้ายหรือไม่
ด้านนายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า คณะกรรมการเร่งรัดการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ ได้เสนอนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร พิจารณาเรื่องนี้แล้ว ซึ่งคาดว่าจะมีความชัดเจนสัปดาห์หน้า
“ยืนยันว่าที่ตั้งของรัฐสภาใหม่ย่านเกียกกายไม่มีความเหมาะสมใน 6 ประเด็น คือ ปัญหาน้ำท่วม ด้านความปลอดภัยจากผู้ชุมนุม ปัญหาจราจร การส่งมอบพื้นที่ล่าช้า อาจถูกผู้รับเหมาฟ้องร้อง รวมถึงความล่าช้าในการก่อสร้างอีก 2 ปี ต้องเสียค่าเช่าสถานที่ทำงานข้าราชการ รวม 132 ล้านบาท จึงเสนอให้พิจารณาก่อสร้างรัฐสภาใหม่ที่ จ.สระบุรี ซึ่งเหมาะสมมากกว่า เพราะไม่มีปัญหาน้ำท่วม”นายเจริญกล่าว
ส่วนการเสียงบประมาณชดเชย และค่าเวนคืนพื้นที่ย่านเกียกกายกว่า 7,000 ล้านบาทนั้น รองประธานสภาผู้แทนราษฎร ยืนยันว่า ไม่ถือเป็นความเสียหาย เพราะทรัพย์สินเป็นของราชการ สามารถทำประโยชน์เชิงธุรกิจได้