กลุ่มโคคา-โคลา ชูกลยุทธ์รักษ์สิ่งแวดล้อม ทุ่ม 700 ล้านบาทสูงสุดของไลน์น้ำดื่ม ติดตั้งเครื่องจักรใหม่ บรรจุภัณฑ์พีอีที ลดการใช้พลาสติกลง 35% พลิกโฉม”น้ำทิพย์” สู่ขวด อีโค-ครัช หวังนั่งแท่นผู้นำในระยะอันใกล้ พร้อมเป้าโตมากกว่าตลาด ที่โต 10-15%
นายเรฮาน คาน ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจประจำประเทศไทย บริษัท โคคา-โคลา (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ทางกลุ่มโคคา-โคลา มุ่งให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมาตลอด โดยปีที่ผ่านมาได้ลงทุนกว่า 600 ล้านบาท สำหรับบรรจุภัฑณ์ มินิเมท พัลลิ ในการลดใช้พลาสติกให้น้อยลง รวมถึงเครื่อดื่มโค้ก
ที่ได้ปรับฝาขวดพลาสติกให้มีขนาดเล็กลงด้วยทั้งนี้เพื่อต้องการลดการใช้พลาสติกให้มากยิ่งขึ้น
ล่าสุดปีนี้ในส่วนของน้ำดื่ม “น้ำทิพย์” ได้ใช้งบประมาณกว่า 700 ล้านบาท สูงสุดตั้งแต่เริ่มทำธุรกิจในกลุ่มน้ำดื่มตลอด 34 ปี ในการเพิ่มครื่องจักรใหม่ เพื่อนำเอานวัตกรรมบรรจุภัณฑ์พีอีทีเบาพิเศษมาใช้ เพื่อที่จะสามารถช่วยลดการใช้วัตถุดิบพลาสติกลดลงถึง 35% ติดตั้งที่โรงงานที่รังสิตที่ผลิตน้ำอัดลมอยู่ก่อนแล้ว ในการผลิตน้ำทิพย์ ขนาด 550 มิลลิลิตร ได้ถึง 1,200
ขวดต่อนาที โดยยังคงราคาที่ ขวดละ 7 บาท ในรูปแบบขวด อีโค-ครัช มาพร้อมโลโก้ใหม่รูปใบไม้สีเขียวอ่อน จากปกติราคา 7 บาท ขนาด 600 มิลลิลิตร ส่วนไลน์การผลิตเดิมที่หัวหมาก จะยังคงผลิตอยู่แต่อาจจะเปลี่ยนเป็นขนาดไซซ์อื่นแทน
ด้านนายชาญวิทย์ ชรินธร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส กลุ่มพัฒนากลุ่มสินค้าและธุรกิจใหม่ บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด กล่าวต่อว่า ปีนี้ในส่วนของน้ำทิพย์ บริษัทเตรียมงบการตลาดไว้กว่า 100 ล้านบาท มาพร้อมแคมเปญ “น้ำทิพย์ คิดมาเพื่อโลก” ชวนผู้บริโภคสดชื่นไปพร้อมกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแบบสนุกสนานและยั่งยืนด้วยการ “เลือก-ดื่ม-บิด” พร้อมดึง เจ มณฑล จิรา
ร่วมเป็นพรีเซนเตอร์ มั่นใจว่าจะส่งผลให้น้ำทิพย์มียอดขายสูงกว่าภาพรวมตลาดได้ พร้อมก้าวขึ้นเป็นผู้นำในระยะอันใกล้นี้ จากปกติตลาดน้ำดื่มจะโตประมาณปีละ 10-15% มูลค่ากว่า 18,000 ล้านบาท โดยน้ำทิพย์ ถือเป็นแบรนด์1ในท็อป5 ที่มีส่วนแบ่งการตลาดสูงสุด หรือรวมแล้วทั้ง5แบรนด์ในตลาดรวม คือ น้ำทิพย์ คริสตัล ช้าง สิงห์ และเนสท์เล่ มีส่วนแบ่งการตลาดร่วมกันได้กว่า 60-70%
จากทั่วประเทศมีแบรนด์น้ำดื่มร่วม 1,000 กว่าแบรนด์
อย่างไรก็ตาม สำหรับโรงงานที่รังสิตนั้น ไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมแต่อย่างไร และทางโรงงานก็ได้ผลิตสินค้าอย่างเต็มกำลังการผลิต ตั้งแต่กลางเดือนธ.ค.ที่ผ่านมา ทั้งนี้เพื่อความต้องการของตัวแทนจำหน่าย และผู้บริโภค รวมถึงเพื่อการบริจาคให้ความช่วยเหลือ ส่งผลให้ไม่มีสินค้าขาดตลาดจนถึงปัจจุบัน
นายเรฮาน คาน ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจประจำประเทศไทย บริษัท โคคา-โคลา (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ทางกลุ่มโคคา-โคลา มุ่งให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมาตลอด โดยปีที่ผ่านมาได้ลงทุนกว่า 600 ล้านบาท สำหรับบรรจุภัฑณ์ มินิเมท พัลลิ ในการลดใช้พลาสติกให้น้อยลง รวมถึงเครื่อดื่มโค้ก
ที่ได้ปรับฝาขวดพลาสติกให้มีขนาดเล็กลงด้วยทั้งนี้เพื่อต้องการลดการใช้พลาสติกให้มากยิ่งขึ้น
ล่าสุดปีนี้ในส่วนของน้ำดื่ม “น้ำทิพย์” ได้ใช้งบประมาณกว่า 700 ล้านบาท สูงสุดตั้งแต่เริ่มทำธุรกิจในกลุ่มน้ำดื่มตลอด 34 ปี ในการเพิ่มครื่องจักรใหม่ เพื่อนำเอานวัตกรรมบรรจุภัณฑ์พีอีทีเบาพิเศษมาใช้ เพื่อที่จะสามารถช่วยลดการใช้วัตถุดิบพลาสติกลดลงถึง 35% ติดตั้งที่โรงงานที่รังสิตที่ผลิตน้ำอัดลมอยู่ก่อนแล้ว ในการผลิตน้ำทิพย์ ขนาด 550 มิลลิลิตร ได้ถึง 1,200
ขวดต่อนาที โดยยังคงราคาที่ ขวดละ 7 บาท ในรูปแบบขวด อีโค-ครัช มาพร้อมโลโก้ใหม่รูปใบไม้สีเขียวอ่อน จากปกติราคา 7 บาท ขนาด 600 มิลลิลิตร ส่วนไลน์การผลิตเดิมที่หัวหมาก จะยังคงผลิตอยู่แต่อาจจะเปลี่ยนเป็นขนาดไซซ์อื่นแทน
ด้านนายชาญวิทย์ ชรินธร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส กลุ่มพัฒนากลุ่มสินค้าและธุรกิจใหม่ บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด กล่าวต่อว่า ปีนี้ในส่วนของน้ำทิพย์ บริษัทเตรียมงบการตลาดไว้กว่า 100 ล้านบาท มาพร้อมแคมเปญ “น้ำทิพย์ คิดมาเพื่อโลก” ชวนผู้บริโภคสดชื่นไปพร้อมกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแบบสนุกสนานและยั่งยืนด้วยการ “เลือก-ดื่ม-บิด” พร้อมดึง เจ มณฑล จิรา
ร่วมเป็นพรีเซนเตอร์ มั่นใจว่าจะส่งผลให้น้ำทิพย์มียอดขายสูงกว่าภาพรวมตลาดได้ พร้อมก้าวขึ้นเป็นผู้นำในระยะอันใกล้นี้ จากปกติตลาดน้ำดื่มจะโตประมาณปีละ 10-15% มูลค่ากว่า 18,000 ล้านบาท โดยน้ำทิพย์ ถือเป็นแบรนด์1ในท็อป5 ที่มีส่วนแบ่งการตลาดสูงสุด หรือรวมแล้วทั้ง5แบรนด์ในตลาดรวม คือ น้ำทิพย์ คริสตัล ช้าง สิงห์ และเนสท์เล่ มีส่วนแบ่งการตลาดร่วมกันได้กว่า 60-70%
จากทั่วประเทศมีแบรนด์น้ำดื่มร่วม 1,000 กว่าแบรนด์
อย่างไรก็ตาม สำหรับโรงงานที่รังสิตนั้น ไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมแต่อย่างไร และทางโรงงานก็ได้ผลิตสินค้าอย่างเต็มกำลังการผลิต ตั้งแต่กลางเดือนธ.ค.ที่ผ่านมา ทั้งนี้เพื่อความต้องการของตัวแทนจำหน่าย และผู้บริโภค รวมถึงเพื่อการบริจาคให้ความช่วยเหลือ ส่งผลให้ไม่มีสินค้าขาดตลาดจนถึงปัจจุบัน