ASTVผู้จัดการรายวัน – วงการสื่อพร้อมตั้งแผนรับมือกฏระเบียบใหม่ ภายหลัง กสทช.เกิด สื่อทีวี โดย“อสมท”มุ่งนำเวลาผลิตเองมากขึ้น หวังใช้เป็นเครื่องมือขอสัมปทานคลื่นความถี่ในอนาคต ฟากสื่อวิทยุ “คลิค-วีอาร์วัน” มองเป็นผลดีส่งสื่อวิทยุสดใสสักที สื่อเคเบิลทีวี-ทีวีดาวเทียม สื่อใหม่มาแรง แม้ไม่ใช่สื่อที่ต้องใช้คลื่นความถี่ แต่รอกฏหมายรองรับหวังอนาคตรุ่งเรืองเช่นกัน
ภายหลังจากที่ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เกิดขึ้นเป็นทางการเมื่อปลายปีที่แล้ว ส่งผลให้วงการสื่อต้องจับตามองการทำงานของ กสทช. อย่างมาก โดยเฉพาะแผนสรุปเรื่องการดำเนินการจัดทำร่างแผนแม่บทบริหารคลื่นความถี่แห่งชาติ ที่กำหนดระยะเวลาการคืนคลื่นความถี่ในกิจการวิทยุกระจายเสียงต้องคืนคลื่นภายใน 5 ปี กิจการโทรทัศน์ต้องส่งคืนคลื่นใน 10 ปี และกิจการโทรคมนาคมภายในระยะเวลา 15 ปีนั้น เพราะทั้งหมดนั้นล้วนต่เป็นการชี่้ชะตาของบรรดาสื่อทั้งหลาย เบื้องต้นทำให้เจ้าของสื่อและวงการสื่อที่เกี่ยวข้องต้องมีการปรับตัวและวางแผนธุรกิจรับมือกันอย่างเต็มที่
***เคเบิลทีวีพร้อมรับมือเต็มสูบ
สื่อเคเบิลทีวีรวมไปถึงทีวีดาวเทียม ถือเป็นสื่อหนึ่งที่แนวโน้มเติบโตสูง ถึงแม้ไม่ต้องรอลุ้นขอคลื่นความถี่ เพราะอยู่ในข่ายของธุรกิจสื่อที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ ที่กสทช.ดูแลอยู่ และกำลังตั้งตารอแผนระเบียบที่มีออกมาควบคุมเช่นกัน
นายเกษม อินทร์แก้ว นายกสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย และประธานกรรมการ บริษัท เคเบิล ไทย โฮลดิ้ง จํากัด (มหาชน) หรือ CTH เปิดเผยว่า ในส่วนของธุรกิจเคเบิลทีวีนั้น ถือเป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจสื่อไม่ใช้คลื่นความถี่ ที่ประกอบไปด้วย เคเบิลทีวี, ช่องทีวีดาวเทียม, ทีวี ออน โมบาย, ไอพีทีวี, วิทยุดาวเทียม เป็นต้น จึงไม่เข้าข่ายต้องคืนคลื่นความถี่ตามร่างแผนแม่บทบริหารคลื่นความถี่แห่งชาติ ที่ทางกสทช.ได้ร่างขึ้นมา แต่ทั้งนี้เราก็ต้องพร้อมปรับตัวเตรียมรับมือกับหลักเกณฑ์ของร่างระเบียบเกี่ยวกับการประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ จากทางกสทช.เช่นกัน จากปัจจุบันทาง กสทช.ที่ได้มีการออกใบอนุญาตประกอบกิจการชั่วคราวแบบปีต่อปีให้แล้ว และในอนาคตเชื่อว่าจะมีการออกใบอนุญาตประกอบกิจการแบบถาวรให้ต่อไป
อย่างไรก็ตามทิศทางของธุรกิจเคเบิลทีวีในปี2555นี้ จะต้องมีการปรับตัวรับมือกับการแข่งขันที่คาดว่าจะรุนแรงขึ้น เนื่องจากปี2554ที่ผ่านมา อุตสาหกรรมเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมได้มีการลงทุนสร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่อชิงฐานคนดูกันทุกช่องทาง ทั้งในกลุ่มช่องทางผู้ค้าจานรับสัญญาณดาวเทียม ต่างก็ได้สร้างแพลทฟอร์มการรับชม เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มผู้ชมเป็นของตัวเองมากขึ้น รวมถึงค่ายแกรมมี่ซึ่งเป็นเจ้าของคอนเท้นท์รายใหญ่ ก็ได้สร้างแพลทฟอร์มการรับชมทีวีดาวเทียมด้วยเช่นกันกับ แพลทฟอร์ม วัน-สกาย ส่วนทางทรูวิชั่นส์ ก็มีความแข็งแกร่งในเรื่องของ เพลย์ทีวี อยู่แล้ว
ดังนั้นในส่วนของเคเบิลทีวีก็ต้องปรับตัวรับมือด้วยเช่นกัน โดยในปี2555จะมุ่งสร้างแพลทฟอร์ม CTH ให้เป็นแพลทฟอร์มเดียวกันทั่วประเทศ เพื่อให้เข้าถึงเคเบิลท้องถิ่นได้มากขึ้น จากปัจจุบัน CTH จะใช้ดาวเทียมเพื่อส่งคอนเท้นท์ให้กับสถานีรับสัญญาณ ทำให้ยังไม่สามารถเข้าถึงพื้นที่ท้องถิ่นไกลๆได้ แต่ปี2555นี้จะสามารถรับสัญญาณได้จากระบบไฟเบอร์ออฟติค ส่งผลให้สื่อเคเบิลทีวีปี2555 จะมีแพลทฟอร์มในรูปแบบ CTH ทั่วประเทศ และมีการเรียงช่องแบบเดียวกันหมด รวมถึงจะมีช่องรายการให้ได้ชมมากยิ่งขึ้น คาดว่าภายใน 1-2ปีหลังจากนี้ จะสามารถวางระบบไฟเบอร์ออฟติคครอบคลุมทั่วประเทศ ภายใต้งบการลงทุนกว่า 5,000 ล้านบาท ซึ่งหากทุกอย่างดำเนินไปตามแผนที่วางไว้ โดยไม่มีสถานการณ์เลวร้ายเกิดขึ้นอีก เชื่อว่าเคเบิลทีวีจะมีฐานสมาชิกเพิ่มเป็น 4 ล้านครัวเรือน จากปัจจุบันอยู่ที่ 3.5 ล้านครัวเรือน ส่วนในแง่ของรายได้โฆษณา จากที่ทำได้ในหลักร้อยล้านบาท คาดว่าจะได้เห็นถึงหลักพันล้านบาท หลังจากที่ส่วนใหญ่เม็ดเงินโฆษณาจะมาลงในส่วนของทีวีดาวเทียมเป็นหลัก
** "*อสมท" มุ่งบริหารเวลามากขึ้น
เริ่มจาก อสมท ซึ่งถือเป็นองค์กรสื่อที่เป็นทั้งสื่อและเจ้าของคลื่นความถี่อยู่หลายคลื่น และเป็นองค์กรสื่อที่จะคาดว่าจะได้รับผลกระทบจากการเกิด กสทช.มากที่สุดองค์กรหนึ่ง
นายสุระ เกนทะนะศิล รักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า อสมทเตรียมแผนรับมือกับการเกิดกสทช.มานานแล้ว เช่น ล่าสุดในส่วนของผังรายการใหม่ประจำปี 2555 ได้นำเวลามาผลิตรายการเองมากขึ้นเป็น 51% จากเดิม 37% เน้นในช่วงไพร์มไทม์ ตั้งแต่เวลา 16.00-22.30 น. มุ่งในรายการประเภทเอ็ดดูเทนเม้นท์เป็นหลัก จากที่วางแผนมุ่งผลิตเอง 60-70%ในอนาคต เพื่อให้ทาง กสทช. รับทราบถึงความสามารถขององค์กร รวมถึงมองเห็นคุณค่าของรายการที่ผลิต พร้อมนำคุณค่านั้นมาตีเป็นมูลค่าเพื่อใช้ในการประมูลขอสัมปทานสื่อในอนาคตได้
สำหรับสัดส่วนผลิตเองที่เพิ่มขึ้น จาก 37% เป็น 51% นั้น จะทำให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้นราว 300-400 ล้านบาท โดยคอนเท้นท์ที่นำมาเสนอนั้น จะเป็นการซื้อลิขสิทธิ์ ซึ่งจะทำให้ค่าใช้จ่ายน้อยกว่าผลิตเอง ซึ่งสัดส่วนผลิตเองกว่า 51% นั้น กว่า 70% ผลิตเอง และอีก 30% เป็นร่วมผลิต ขณะที่ภาพรวมผังรายการใหม่นี้ จะมีรายการบันเทิงเป็น 30% ข่าว 30% และวาไรตี้ 40% ภายใต้แนวคิดสังคมอุดมปัญญาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากแผนการบริหารคลื่นความถี่แห่งชาติสรุปออกมา ทางอสมทมองว่า จะเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงานของอสมทในอนาคตได้ เนื่องจากแผนแม่บทที่จะออกมานี้ เอื้อต่อภาคธุรกิจสื่อเอกชน มากกว่าสื่อของรัฐ ขณะที่อสมทดำเนินการด้านกิจการสื่อสารมวลชนก็จริง แต่การทำงานอยู่ภายใต้ภาครัฐ เพราะเป็นรัฐวิสาหกิจ ไม่ได้เป็นภาคธุรกิจอย่างสมบูรณ์ การทำงานต้องเป็นขั้นตอน อาจจะมีความล่าช้า จึงเชื่อว่าจะก่อให้เกิดอุปสรรคในการแข่งขันได้
ดังนั้นทางอสมทจึงต้องการเรียกร้องให้ทางคณะกรรมการ กสทช. มองเห็นความสำคัญของอสมท และได้มีการพิจารณาในการปรับเปลี่ยนกฎหมาย เพื่อช่วยให้อสมท สามารถเข้าไปแข่งขันได้ธุรกิจนี้ได้ต่อไป รวมถึงวอนขอให้วิธีการประมูลสื่อไม่จำเป็นต้องประมูลเป็นเม็ดเงินเสมอไป แต่อาจดูที่คุณค่าของคอนเท้นท์รายการด้วย ซึ่งข้อเรียกร้องดังกล่าวนี้ได้เสนอทุกครั้งในเวทีต่างๆที่มีโอกาส
*** “คลิค” มองกสทช.ส่งวิทยุรุ่ง
ส่วนภาคสื่อวิทยุนั้น ที่ผ่านมาจะเห็นถึงความไม่แน่นอนของสื่อนี้อยู่ตลอดเวลา มีการยึดคลื่นคืนคลื่น รวมถึงระยะเวลาสัมปทานที่ค่อนข้างสั้น ทำให้มีคนเข้าคนออกในสื่อนี้ตลอดเวลา แต่หลังจากที่ กสทช.เกิดขึ้นมาแล้ว ถือเป็นช่วงเวลาแห่งความรุ่งโรจน์อย่างแท้จริง
โดยนายวาสนพงศ์ วิชัยยะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท คลิค- วีอาร์วัน เรดิโอ จำกัด บริหารคลื่นวิทยุ 5 คลื่น คือ เอฟเอ็ม 101R.R ONE (Radio Report One), Get 102 .5, 103.5 เอฟเอ็ม, 104.5 แฟต เรดิโอ และลูกทุ่งอินเตอร์ กล่าวว่า หลังจากเกิด กสทช.ขึ้นมา ถือเป็นเรื่องที่ดีต่อธุรกิจสื่อวิทยุ หลังจากนี้จะได้เห็นความเสี่ยงน้อยลง เพราะจะได้สัมปทานยาวขึ้น จากที่กสทช.จะออกใบอนุญาตให้ 7 ปี รวมทั้งจะเห็นการแข่งขันและการขอสัมปทานที่โปร่งใสและเท่าเทียมกัน จากเดิมธุรกิจสื่อวิทยุจะมีช่วงเวลาสัมปทานค่อนข้างสั้นแบบปีต่อปี หรือ 2 ปี มีผลต่อการลงทุนและรายได้ตลอดมา รวมถึงอาจจะถูกคืนคลื่นได้ตลอดเวลาเช่นกัน การวางแผนธุรกิจก็ลำบาก ภาวะความเสี่ยงมีสูง เป็นธุรกิจที่ไม่ค่อยเห็นกำไร
สำหรับคลิค-วีอาร์วัน ในปี2555 นี้ เตรียมงบลงทุนไว้ไม่ต่ำกว่า 300 ล้านบาท แบ่งเป็นการตั้งบริษัทใหม่ ชื่อ บริษัท แอปเปิ้ล แชนแนล จำกัด เป็นการร่วมทุนระหว่าง 5 คลื่นในเครือ โดยทุ่มงบกว่า 60-70 ล้านบาท เปิดตัวช่องทีวีดาวเทียม "แอปเปิ้ล แชนแนล" (Apple Channel) เป็นช่องวาไรตี้ 24 ชม.ในเดือนม.ค นี้ จะเปิดตัวอย่างเป็นทางการ และในเดือนก.พ พร้อมออกอากาศแบบเต็มรูปแบบ ซึ่งรูปแบบรายการที่นำเสนอนั้น จะเป็นการต่อยอดนำเอาคอนเท้นท์ต่างๆจากทั้ง5 คลื่นวิทยุ มานำเสนอผ่านรูปแบบรายการต่างๆ เชื่อว่าจะช่วยเพิ่มขีความสามารถในการแข่งขัน ในภาวะที่สื่อใหม่กำลังมาแรงและทำให้บทบาทของสื่อวิทยุลดน้อยลง เม็ดเงินโฆษณาชะลอเติบโตลดลง มั่นใจว่าจะส่งให้ตัวเลขรายได้รวมปี 2555นี้ จะเติบโตขึ้นร่วม200% คิดเป็นรายได้กว่า 1,000 ล้านบาท
ภายหลังจากที่ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เกิดขึ้นเป็นทางการเมื่อปลายปีที่แล้ว ส่งผลให้วงการสื่อต้องจับตามองการทำงานของ กสทช. อย่างมาก โดยเฉพาะแผนสรุปเรื่องการดำเนินการจัดทำร่างแผนแม่บทบริหารคลื่นความถี่แห่งชาติ ที่กำหนดระยะเวลาการคืนคลื่นความถี่ในกิจการวิทยุกระจายเสียงต้องคืนคลื่นภายใน 5 ปี กิจการโทรทัศน์ต้องส่งคืนคลื่นใน 10 ปี และกิจการโทรคมนาคมภายในระยะเวลา 15 ปีนั้น เพราะทั้งหมดนั้นล้วนต่เป็นการชี่้ชะตาของบรรดาสื่อทั้งหลาย เบื้องต้นทำให้เจ้าของสื่อและวงการสื่อที่เกี่ยวข้องต้องมีการปรับตัวและวางแผนธุรกิจรับมือกันอย่างเต็มที่
***เคเบิลทีวีพร้อมรับมือเต็มสูบ
สื่อเคเบิลทีวีรวมไปถึงทีวีดาวเทียม ถือเป็นสื่อหนึ่งที่แนวโน้มเติบโตสูง ถึงแม้ไม่ต้องรอลุ้นขอคลื่นความถี่ เพราะอยู่ในข่ายของธุรกิจสื่อที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ ที่กสทช.ดูแลอยู่ และกำลังตั้งตารอแผนระเบียบที่มีออกมาควบคุมเช่นกัน
นายเกษม อินทร์แก้ว นายกสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย และประธานกรรมการ บริษัท เคเบิล ไทย โฮลดิ้ง จํากัด (มหาชน) หรือ CTH เปิดเผยว่า ในส่วนของธุรกิจเคเบิลทีวีนั้น ถือเป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจสื่อไม่ใช้คลื่นความถี่ ที่ประกอบไปด้วย เคเบิลทีวี, ช่องทีวีดาวเทียม, ทีวี ออน โมบาย, ไอพีทีวี, วิทยุดาวเทียม เป็นต้น จึงไม่เข้าข่ายต้องคืนคลื่นความถี่ตามร่างแผนแม่บทบริหารคลื่นความถี่แห่งชาติ ที่ทางกสทช.ได้ร่างขึ้นมา แต่ทั้งนี้เราก็ต้องพร้อมปรับตัวเตรียมรับมือกับหลักเกณฑ์ของร่างระเบียบเกี่ยวกับการประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ จากทางกสทช.เช่นกัน จากปัจจุบันทาง กสทช.ที่ได้มีการออกใบอนุญาตประกอบกิจการชั่วคราวแบบปีต่อปีให้แล้ว และในอนาคตเชื่อว่าจะมีการออกใบอนุญาตประกอบกิจการแบบถาวรให้ต่อไป
อย่างไรก็ตามทิศทางของธุรกิจเคเบิลทีวีในปี2555นี้ จะต้องมีการปรับตัวรับมือกับการแข่งขันที่คาดว่าจะรุนแรงขึ้น เนื่องจากปี2554ที่ผ่านมา อุตสาหกรรมเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมได้มีการลงทุนสร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่อชิงฐานคนดูกันทุกช่องทาง ทั้งในกลุ่มช่องทางผู้ค้าจานรับสัญญาณดาวเทียม ต่างก็ได้สร้างแพลทฟอร์มการรับชม เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มผู้ชมเป็นของตัวเองมากขึ้น รวมถึงค่ายแกรมมี่ซึ่งเป็นเจ้าของคอนเท้นท์รายใหญ่ ก็ได้สร้างแพลทฟอร์มการรับชมทีวีดาวเทียมด้วยเช่นกันกับ แพลทฟอร์ม วัน-สกาย ส่วนทางทรูวิชั่นส์ ก็มีความแข็งแกร่งในเรื่องของ เพลย์ทีวี อยู่แล้ว
ดังนั้นในส่วนของเคเบิลทีวีก็ต้องปรับตัวรับมือด้วยเช่นกัน โดยในปี2555จะมุ่งสร้างแพลทฟอร์ม CTH ให้เป็นแพลทฟอร์มเดียวกันทั่วประเทศ เพื่อให้เข้าถึงเคเบิลท้องถิ่นได้มากขึ้น จากปัจจุบัน CTH จะใช้ดาวเทียมเพื่อส่งคอนเท้นท์ให้กับสถานีรับสัญญาณ ทำให้ยังไม่สามารถเข้าถึงพื้นที่ท้องถิ่นไกลๆได้ แต่ปี2555นี้จะสามารถรับสัญญาณได้จากระบบไฟเบอร์ออฟติค ส่งผลให้สื่อเคเบิลทีวีปี2555 จะมีแพลทฟอร์มในรูปแบบ CTH ทั่วประเทศ และมีการเรียงช่องแบบเดียวกันหมด รวมถึงจะมีช่องรายการให้ได้ชมมากยิ่งขึ้น คาดว่าภายใน 1-2ปีหลังจากนี้ จะสามารถวางระบบไฟเบอร์ออฟติคครอบคลุมทั่วประเทศ ภายใต้งบการลงทุนกว่า 5,000 ล้านบาท ซึ่งหากทุกอย่างดำเนินไปตามแผนที่วางไว้ โดยไม่มีสถานการณ์เลวร้ายเกิดขึ้นอีก เชื่อว่าเคเบิลทีวีจะมีฐานสมาชิกเพิ่มเป็น 4 ล้านครัวเรือน จากปัจจุบันอยู่ที่ 3.5 ล้านครัวเรือน ส่วนในแง่ของรายได้โฆษณา จากที่ทำได้ในหลักร้อยล้านบาท คาดว่าจะได้เห็นถึงหลักพันล้านบาท หลังจากที่ส่วนใหญ่เม็ดเงินโฆษณาจะมาลงในส่วนของทีวีดาวเทียมเป็นหลัก
** "*อสมท" มุ่งบริหารเวลามากขึ้น
เริ่มจาก อสมท ซึ่งถือเป็นองค์กรสื่อที่เป็นทั้งสื่อและเจ้าของคลื่นความถี่อยู่หลายคลื่น และเป็นองค์กรสื่อที่จะคาดว่าจะได้รับผลกระทบจากการเกิด กสทช.มากที่สุดองค์กรหนึ่ง
นายสุระ เกนทะนะศิล รักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า อสมทเตรียมแผนรับมือกับการเกิดกสทช.มานานแล้ว เช่น ล่าสุดในส่วนของผังรายการใหม่ประจำปี 2555 ได้นำเวลามาผลิตรายการเองมากขึ้นเป็น 51% จากเดิม 37% เน้นในช่วงไพร์มไทม์ ตั้งแต่เวลา 16.00-22.30 น. มุ่งในรายการประเภทเอ็ดดูเทนเม้นท์เป็นหลัก จากที่วางแผนมุ่งผลิตเอง 60-70%ในอนาคต เพื่อให้ทาง กสทช. รับทราบถึงความสามารถขององค์กร รวมถึงมองเห็นคุณค่าของรายการที่ผลิต พร้อมนำคุณค่านั้นมาตีเป็นมูลค่าเพื่อใช้ในการประมูลขอสัมปทานสื่อในอนาคตได้
สำหรับสัดส่วนผลิตเองที่เพิ่มขึ้น จาก 37% เป็น 51% นั้น จะทำให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้นราว 300-400 ล้านบาท โดยคอนเท้นท์ที่นำมาเสนอนั้น จะเป็นการซื้อลิขสิทธิ์ ซึ่งจะทำให้ค่าใช้จ่ายน้อยกว่าผลิตเอง ซึ่งสัดส่วนผลิตเองกว่า 51% นั้น กว่า 70% ผลิตเอง และอีก 30% เป็นร่วมผลิต ขณะที่ภาพรวมผังรายการใหม่นี้ จะมีรายการบันเทิงเป็น 30% ข่าว 30% และวาไรตี้ 40% ภายใต้แนวคิดสังคมอุดมปัญญาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากแผนการบริหารคลื่นความถี่แห่งชาติสรุปออกมา ทางอสมทมองว่า จะเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงานของอสมทในอนาคตได้ เนื่องจากแผนแม่บทที่จะออกมานี้ เอื้อต่อภาคธุรกิจสื่อเอกชน มากกว่าสื่อของรัฐ ขณะที่อสมทดำเนินการด้านกิจการสื่อสารมวลชนก็จริง แต่การทำงานอยู่ภายใต้ภาครัฐ เพราะเป็นรัฐวิสาหกิจ ไม่ได้เป็นภาคธุรกิจอย่างสมบูรณ์ การทำงานต้องเป็นขั้นตอน อาจจะมีความล่าช้า จึงเชื่อว่าจะก่อให้เกิดอุปสรรคในการแข่งขันได้
ดังนั้นทางอสมทจึงต้องการเรียกร้องให้ทางคณะกรรมการ กสทช. มองเห็นความสำคัญของอสมท และได้มีการพิจารณาในการปรับเปลี่ยนกฎหมาย เพื่อช่วยให้อสมท สามารถเข้าไปแข่งขันได้ธุรกิจนี้ได้ต่อไป รวมถึงวอนขอให้วิธีการประมูลสื่อไม่จำเป็นต้องประมูลเป็นเม็ดเงินเสมอไป แต่อาจดูที่คุณค่าของคอนเท้นท์รายการด้วย ซึ่งข้อเรียกร้องดังกล่าวนี้ได้เสนอทุกครั้งในเวทีต่างๆที่มีโอกาส
*** “คลิค” มองกสทช.ส่งวิทยุรุ่ง
ส่วนภาคสื่อวิทยุนั้น ที่ผ่านมาจะเห็นถึงความไม่แน่นอนของสื่อนี้อยู่ตลอดเวลา มีการยึดคลื่นคืนคลื่น รวมถึงระยะเวลาสัมปทานที่ค่อนข้างสั้น ทำให้มีคนเข้าคนออกในสื่อนี้ตลอดเวลา แต่หลังจากที่ กสทช.เกิดขึ้นมาแล้ว ถือเป็นช่วงเวลาแห่งความรุ่งโรจน์อย่างแท้จริง
โดยนายวาสนพงศ์ วิชัยยะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท คลิค- วีอาร์วัน เรดิโอ จำกัด บริหารคลื่นวิทยุ 5 คลื่น คือ เอฟเอ็ม 101R.R ONE (Radio Report One), Get 102 .5, 103.5 เอฟเอ็ม, 104.5 แฟต เรดิโอ และลูกทุ่งอินเตอร์ กล่าวว่า หลังจากเกิด กสทช.ขึ้นมา ถือเป็นเรื่องที่ดีต่อธุรกิจสื่อวิทยุ หลังจากนี้จะได้เห็นความเสี่ยงน้อยลง เพราะจะได้สัมปทานยาวขึ้น จากที่กสทช.จะออกใบอนุญาตให้ 7 ปี รวมทั้งจะเห็นการแข่งขันและการขอสัมปทานที่โปร่งใสและเท่าเทียมกัน จากเดิมธุรกิจสื่อวิทยุจะมีช่วงเวลาสัมปทานค่อนข้างสั้นแบบปีต่อปี หรือ 2 ปี มีผลต่อการลงทุนและรายได้ตลอดมา รวมถึงอาจจะถูกคืนคลื่นได้ตลอดเวลาเช่นกัน การวางแผนธุรกิจก็ลำบาก ภาวะความเสี่ยงมีสูง เป็นธุรกิจที่ไม่ค่อยเห็นกำไร
สำหรับคลิค-วีอาร์วัน ในปี2555 นี้ เตรียมงบลงทุนไว้ไม่ต่ำกว่า 300 ล้านบาท แบ่งเป็นการตั้งบริษัทใหม่ ชื่อ บริษัท แอปเปิ้ล แชนแนล จำกัด เป็นการร่วมทุนระหว่าง 5 คลื่นในเครือ โดยทุ่มงบกว่า 60-70 ล้านบาท เปิดตัวช่องทีวีดาวเทียม "แอปเปิ้ล แชนแนล" (Apple Channel) เป็นช่องวาไรตี้ 24 ชม.ในเดือนม.ค นี้ จะเปิดตัวอย่างเป็นทางการ และในเดือนก.พ พร้อมออกอากาศแบบเต็มรูปแบบ ซึ่งรูปแบบรายการที่นำเสนอนั้น จะเป็นการต่อยอดนำเอาคอนเท้นท์ต่างๆจากทั้ง5 คลื่นวิทยุ มานำเสนอผ่านรูปแบบรายการต่างๆ เชื่อว่าจะช่วยเพิ่มขีความสามารถในการแข่งขัน ในภาวะที่สื่อใหม่กำลังมาแรงและทำให้บทบาทของสื่อวิทยุลดน้อยลง เม็ดเงินโฆษณาชะลอเติบโตลดลง มั่นใจว่าจะส่งให้ตัวเลขรายได้รวมปี 2555นี้ จะเติบโตขึ้นร่วม200% คิดเป็นรายได้กว่า 1,000 ล้านบาท