นายทรงธรรม ปิ่นโต ผู้อำนวยการ สำนักเศรษฐกิจมหภาค ฝ่ายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวว่า ในปี 55 เศรษฐกิจในเอเชียน่าจะมีแรงขับเคลื่อนต่อไปได้ แม้อัตราการขยายตัวจะไม่เท่ากับช่วงปี 54 ทำให้ปีนี้เศรษฐกิจไทยก็น่าจะได้รับอนิสงส์จากเศรษฐกิจเอเชียที่ขยายตัวได้ดีเช่นกัน แต่ขณะนี้ความเสี่ยงด้านลบมีมากขึ้นจากปัญหาเศรษฐกิจโลกค่อนข้างเลวร้ายกว่าที่ธปท.ประมาณการไว้และการฟื้นตัวเศรษฐกิจไทยตกมากกว่าระดับที่ธปท.คาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ตาม ต้องติดตามมาตรการภาครัฐ ซึ่งส่วนหนึ่งอาจจะมีผลต่อแรงกดดันและอีกด้านหนึ่งจะเป็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้ยังจะขยายตัวไปได้ไม่น้อยกว่า 4.8%
ทั้งนี้ ตลอดช่วงปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยต้องเผชิญวิบากกรรมหลายเรื่องและเป็นเรื่องที่ค่อนข้างน่ากลัวทั้งความต่อเนื่องของปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจโลก การเมือง ภัยพิบัติญี่ปุ่น และปัญหาอุทกภัยภายในประเทศ ทำให้เศรษฐกิจไทยโดยรวมปี 54 น่าจะขยายตัวต่ำกว่า 1.8% ซึ่งเป็นตัวเลขที่ประเมินไว้ครั้งก่อน อย่างไรก็ตามปัญหาน้ำท่วมได้ส่งผลให้สัดส่วนของทุนที่เสียหายคิดเป็น
6.3%ของสต็อกของทุนทั้งหมด ถือว่าไม่มากนักและผู้ประกอบการมีความตั้งใจที่จะฟื้นคืนธุรกิจ จึงคาดว่าการผลิตน่าจะกลับมาได้ ซึ่งเริ่มเห็นได้จากดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจและดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเริ่มกลับมา จากข้อมูลล่าสุดในเดือนธ.ค.
"การบริโภคภาคเอกชนและการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบแค่ระยะสั้นและคาดว่าจะฟื้นตัวได้เร็วภายใน 1-2 เดือน ส่วนการลงทุนจะตามมาจากการทดแทนส่วนที่เสียหาย แต่ประเด็นที่จะย้ายฐานการผลิตไปต่างประเทศไม่น่าจะมีมากนัก แต่การลงทุนใหม่ยังเป็นต้องติดตามดูต่อไป ส่วนการใช้จ่ายและมาตรการภาครัฐจะมีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย
ขณะที่ภาคการผลิตจะทยอยกลับมาผลิตและสนับสนุนการส่งออกได้ภายใน 1-6 เดือน ส่วนภาวะการเงินโดยรวมที่ยังผ่อนคลายจะสนับสนุนการฟื้นฟูเศรษฐกิจ แต่การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)ในวันที่ 25 ม.ค.นี้ จะนำข้อมูลเศรษฐกิจจริง พร้อมทั้งการคาดการณ์ตัวเลขเศรษฐกิจไทยมาประเมินอีกครั้ง"
สำหรับเศรษฐกิจสหรัฐเหมือนกับการฟื้นไข้อาจต้องใช้เวลานาน เพราะมีปัญหาโครงสร้าง แต่เห็นว่าการฟื้นตัวน่าจะเร็วกว่าเมื่อเทียบกับเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศยุโรปที่เห็นว่าอาจสู่ภาวะถดถอยแบบอ่อนๆ ทำให้การฟื้นตัวอาจต้องใช้เวลาอีกนานมากในกลุ่มประเทศเหล่านี้และโรคอาจติดต่อไปยังภูมิภาคอื่นได้ โดยแม้ผลทางตรงไม่น่ากลัวมาก เพราะไทยมีการส่งออกไปยังกลุ่มประเทศนี้ไม่ถึง 10% ถือว่าไม่มาก แต่อาจมีผลทางอ้อมผ่านตลาดการเงิน การเคลื่อนย้ายเงินทุน รวมถึงภาคเศรษฐกิจแท้จริงบ้าง
ทั้งนี้ ตลอดช่วงปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยต้องเผชิญวิบากกรรมหลายเรื่องและเป็นเรื่องที่ค่อนข้างน่ากลัวทั้งความต่อเนื่องของปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจโลก การเมือง ภัยพิบัติญี่ปุ่น และปัญหาอุทกภัยภายในประเทศ ทำให้เศรษฐกิจไทยโดยรวมปี 54 น่าจะขยายตัวต่ำกว่า 1.8% ซึ่งเป็นตัวเลขที่ประเมินไว้ครั้งก่อน อย่างไรก็ตามปัญหาน้ำท่วมได้ส่งผลให้สัดส่วนของทุนที่เสียหายคิดเป็น
6.3%ของสต็อกของทุนทั้งหมด ถือว่าไม่มากนักและผู้ประกอบการมีความตั้งใจที่จะฟื้นคืนธุรกิจ จึงคาดว่าการผลิตน่าจะกลับมาได้ ซึ่งเริ่มเห็นได้จากดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจและดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเริ่มกลับมา จากข้อมูลล่าสุดในเดือนธ.ค.
"การบริโภคภาคเอกชนและการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบแค่ระยะสั้นและคาดว่าจะฟื้นตัวได้เร็วภายใน 1-2 เดือน ส่วนการลงทุนจะตามมาจากการทดแทนส่วนที่เสียหาย แต่ประเด็นที่จะย้ายฐานการผลิตไปต่างประเทศไม่น่าจะมีมากนัก แต่การลงทุนใหม่ยังเป็นต้องติดตามดูต่อไป ส่วนการใช้จ่ายและมาตรการภาครัฐจะมีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย
ขณะที่ภาคการผลิตจะทยอยกลับมาผลิตและสนับสนุนการส่งออกได้ภายใน 1-6 เดือน ส่วนภาวะการเงินโดยรวมที่ยังผ่อนคลายจะสนับสนุนการฟื้นฟูเศรษฐกิจ แต่การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)ในวันที่ 25 ม.ค.นี้ จะนำข้อมูลเศรษฐกิจจริง พร้อมทั้งการคาดการณ์ตัวเลขเศรษฐกิจไทยมาประเมินอีกครั้ง"
สำหรับเศรษฐกิจสหรัฐเหมือนกับการฟื้นไข้อาจต้องใช้เวลานาน เพราะมีปัญหาโครงสร้าง แต่เห็นว่าการฟื้นตัวน่าจะเร็วกว่าเมื่อเทียบกับเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศยุโรปที่เห็นว่าอาจสู่ภาวะถดถอยแบบอ่อนๆ ทำให้การฟื้นตัวอาจต้องใช้เวลาอีกนานมากในกลุ่มประเทศเหล่านี้และโรคอาจติดต่อไปยังภูมิภาคอื่นได้ โดยแม้ผลทางตรงไม่น่ากลัวมาก เพราะไทยมีการส่งออกไปยังกลุ่มประเทศนี้ไม่ถึง 10% ถือว่าไม่มาก แต่อาจมีผลทางอ้อมผ่านตลาดการเงิน การเคลื่อนย้ายเงินทุน รวมถึงภาคเศรษฐกิจแท้จริงบ้าง