ASTVผู้จัดการรายวัน-เปิดแผนซอฟต์โลน 3 แสนล้าน แบงก์ชาติใส่ 70% สถาบันการเงิน 30% โดยในส่วนของแบงก์ชาติ 2.1 แสนล้าน คิดดอกเบี้ยแค่ 0.01% เพื่อให้แบงก์พาณิชย์-แบงก์รัฐไปปล่อยต่อผู้ประกอบการในอัตราไม่เกิน 3% คาดผ่าน ครม.ไม่นานโครงการเปิดแน่ "ประสาร" ย้ำทำแค่ครั้งเดียว
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึง ร่าง พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อให้ ธปท.สามารถกลับมาปล่อยสินเชื่อเงื่อนไขผ่อนปรน (ซอฟต์โลน) ในลักษณะแพ็กกิ้งเครดิต เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการรายกลางและรายย่อย (เอสเอ็มอี) และประชาชนรายย่อย ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยในช่วงที่ผ่านมาว่า ร่าง พ.ร.ก.ดังกล่าว รัฐบาลน่าจะเสนอเข้าการพิจารณาของ ครม.อีกครั้งในวันที่ 10 ม.ค.ที่จะถึงนี้ โดยเนื้อหาเป็นการปล่อยสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนเพื่อช่วยเหลือเอสเอ็มอี และประชาชนรายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม เช่น สินเชื่อฟื้นฟูกิจการ สินเชื่อเงินทุนหมุนเวียน และสินเชื่อซ่อมแซมบ้าน เป็นต้น โดยมีวงเงินสินเชื่อในโครงการครั้งนี้ทังสิ้น 300,000 ล้านบาท แบ่งออกเป็น 2ส่วน
เป็นเงินของ ธปท.ที่ปล่อยสินเชื่อให้กับธนาคารพาณิชย์ และสถาบันเฉพาะกิจของรัฐที่เข้าร่มโครงการ 70% หรือ 210,000 ล้านบท โดย ธปท.จะปล่อยสินเชื่อให้ธนาคารพาณิช์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐที่ร่วมโครงการกู้ไปปล่อยสินเชื่อต่อในอัตราดอกเบี้ยผ่อนปรน 0.01% ทำให้ต้นทุนของการล่อยสินเชื่อครั้งนี้ต่ำและสามารถคิดดอกเบี้ยกับประชาชนในอัตราผ่อนปรนได้
ส่วนเงินกู้ที่เหลืออีก 30% หรือประมาณ 90,000 ล้านบาทนั้น จะเป็นเงินของธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐที่จะปล่อยสินชื่อสมทบ แต่เมื่อคิดต้นทุนเงินกู้ของสถาบันการเงิน และค่าบริหารจัดการในการปล่อยสินเชื่อแล้ว สถาบันการเงินจะคิดดอกเบี้ยจากผู้ประกอบการหรือรายย่อยได้ไม่เกิน 3% เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ที่ประสบอุทกภัยในช่วงที่ผ่านมา
"การออก พ.ร.ก.ดักล่าว ไม่ได้เป็นการเปิดช่องให้ ธปท.กลับมาปล่อยสินเชื่อแพ็กกิ้ง เครดิต ที่เป็นดอกเบี้ยผ่อนปรนอย่างถาวร แต่เป็นการเปิดช่องให้ทำได้ฉพาะครั้งนี้ครั้งเดียวในวงเงินจำกัด" นายประสารย้ำ
ทั้งนี้ หลังจากที่ พ.ร.ก.ดังกล่าว ผ่านความเห็นชอบของ ครม.และประกาศลงในราชกิจจานุเบกษามีผลบังคับใช้แล้ว คาดว่าจะใช้เวลาอีกไม่นาน ในการกำหนดคุณลักษณะของผู้ประกอบการและประชาชนรายย่อยที่จะมีสิทธิ์เข้าโครงการดังกล่าว รวมถึงเงื่อนไขในการขอสินเชื่อ.
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึง ร่าง พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อให้ ธปท.สามารถกลับมาปล่อยสินเชื่อเงื่อนไขผ่อนปรน (ซอฟต์โลน) ในลักษณะแพ็กกิ้งเครดิต เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการรายกลางและรายย่อย (เอสเอ็มอี) และประชาชนรายย่อย ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยในช่วงที่ผ่านมาว่า ร่าง พ.ร.ก.ดังกล่าว รัฐบาลน่าจะเสนอเข้าการพิจารณาของ ครม.อีกครั้งในวันที่ 10 ม.ค.ที่จะถึงนี้ โดยเนื้อหาเป็นการปล่อยสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนเพื่อช่วยเหลือเอสเอ็มอี และประชาชนรายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม เช่น สินเชื่อฟื้นฟูกิจการ สินเชื่อเงินทุนหมุนเวียน และสินเชื่อซ่อมแซมบ้าน เป็นต้น โดยมีวงเงินสินเชื่อในโครงการครั้งนี้ทังสิ้น 300,000 ล้านบาท แบ่งออกเป็น 2ส่วน
เป็นเงินของ ธปท.ที่ปล่อยสินเชื่อให้กับธนาคารพาณิชย์ และสถาบันเฉพาะกิจของรัฐที่เข้าร่มโครงการ 70% หรือ 210,000 ล้านบท โดย ธปท.จะปล่อยสินเชื่อให้ธนาคารพาณิช์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐที่ร่วมโครงการกู้ไปปล่อยสินเชื่อต่อในอัตราดอกเบี้ยผ่อนปรน 0.01% ทำให้ต้นทุนของการล่อยสินเชื่อครั้งนี้ต่ำและสามารถคิดดอกเบี้ยกับประชาชนในอัตราผ่อนปรนได้
ส่วนเงินกู้ที่เหลืออีก 30% หรือประมาณ 90,000 ล้านบาทนั้น จะเป็นเงินของธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐที่จะปล่อยสินชื่อสมทบ แต่เมื่อคิดต้นทุนเงินกู้ของสถาบันการเงิน และค่าบริหารจัดการในการปล่อยสินเชื่อแล้ว สถาบันการเงินจะคิดดอกเบี้ยจากผู้ประกอบการหรือรายย่อยได้ไม่เกิน 3% เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ที่ประสบอุทกภัยในช่วงที่ผ่านมา
"การออก พ.ร.ก.ดักล่าว ไม่ได้เป็นการเปิดช่องให้ ธปท.กลับมาปล่อยสินเชื่อแพ็กกิ้ง เครดิต ที่เป็นดอกเบี้ยผ่อนปรนอย่างถาวร แต่เป็นการเปิดช่องให้ทำได้ฉพาะครั้งนี้ครั้งเดียวในวงเงินจำกัด" นายประสารย้ำ
ทั้งนี้ หลังจากที่ พ.ร.ก.ดังกล่าว ผ่านความเห็นชอบของ ครม.และประกาศลงในราชกิจจานุเบกษามีผลบังคับใช้แล้ว คาดว่าจะใช้เวลาอีกไม่นาน ในการกำหนดคุณลักษณะของผู้ประกอบการและประชาชนรายย่อยที่จะมีสิทธิ์เข้าโครงการดังกล่าว รวมถึงเงื่อนไขในการขอสินเชื่อ.