นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย ในฐานะประธานกรรมการ และผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) สรุปสถิติอุบัติเหตุทางถนนประจำวันที่ 4 ม.ค.55 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการรณรงค์ โดยเกิดอุบัติเหตุ 237 ครั้ง ผู้เสียชีวิต 21 ราย ผู้บาดเจ็บ 259 ราย โดยมี 10 จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิต
ทาง ศปถ. จะศึกษาแนวทางปฏิบัติ และรวบรวมข้อมูลนำไปใช้เป็นมาตรการเสนอต่อที่ประชุมครม.เพื่อใช้ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ต่อไป
รมว.มหาดไทย ระบุว่า เมื่อสรุปอุบัติเหตุทางถนนรวม 7 วัน (วันที่ 29 ธ.ค.54 – 4 ม.ค.55) เกิดอุบัติเหตุรวม 3,093 ครั้ง ลดลงจากปี 2554 ( 3,497 ครั้ง) 404 ครั้ง ร้อยละ 11.55 ผู้เสียชีวิตรวม 335 ราย ลดลงจากปี 2554 (358 คน) 23 คน ร้อยละ 6.42 ผู้บาดเจ็บรวม 3,375 คน ลดลงจากปี 2554 (3,750 คน) 375 คน ร้อยละ 10
ส่วนจังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสูด ได้แก่ เชียงราย 115 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ นครสวรรค์ และ บุรีรัมย์ (18 ราย) จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุด ได้แก่ เชียงราย 121 คน และจังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิตในช่วง 7 วัน รวม 10 จังหวัด ได้แก่ สุโขทัย ตาก หนองคาย อุดรธานี ศรีสะเกษ นนทบุรี ตราด สตูล ยะลา และปัตตานี
สำหรับสาเหตุของการอุบัติเหตุ ส่วนใหญ่เกิดจากเมาสุรา ร้อยละ 37.28 รองลงมา ขับรถเร็วเกินกำหนด ร้อยละ 20.63 ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 81.47 รองลงมา ได้แก่ รถปิกอัพ ร้อยละ 9.34 ส่วนใหญ่เกิดในเส้นทางตรง ร้อยละ 62.30 บนถนนทางหลวงแผ่นดิน 37.50 ถนน อบต./หมู่บ้าน 32.95 ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ช่วงเวลา 16.01- 20.00 น. ร้อยละ 28.87 ผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มวัยแรงงาน ร้อยละ 54.56 เรียกตรวจยานพาหนะ 4,797,164 คัน มีผู้ถูกดำเนินคดี รวม 643,445 ราย ส่วนใหญ่ไม่สวมหมวกนิรภัย 200,909 ราย รองลงมา ไม่มีใบขับขี่ 185,856 ราย
ในภาพรวมสถิติอุบัติเหตุทางถนนลดลงกว่าปีที่ผ่านมา แต่อัตราการเกิดอุบัติเหตุรายใหญ่ ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมากอยู่ในเกณฑ์สูง จากการวิเคราะห์พบเกิดจากปัจจัยเสี่ยงสำคัญ 4 ด้าน ดังนี้
1. การขับรถเร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด 2. ผู้ขับขี่มีอาการอ่อนล้า หลับใน 3.การไม่สวมหมวกนิรภัย 4. การโดยสารท้ายรถกระบะ และการไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ทาง ศปถ. จะได้เสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดแนวทางการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึงพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน และระบบการประเมินผล ที่จะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของประชาชน จากอุบัติเหตุทางถนน และเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่กำหนดให้การป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนเป็น “วาระแห่งชาติ” ซึ่งทุกภาคส่วนต้องร่วมกันดำเนินการอย่างเข้มข้นในทุกพื้นที่
ทาง ศปถ. จะศึกษาแนวทางปฏิบัติ และรวบรวมข้อมูลนำไปใช้เป็นมาตรการเสนอต่อที่ประชุมครม.เพื่อใช้ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ต่อไป
รมว.มหาดไทย ระบุว่า เมื่อสรุปอุบัติเหตุทางถนนรวม 7 วัน (วันที่ 29 ธ.ค.54 – 4 ม.ค.55) เกิดอุบัติเหตุรวม 3,093 ครั้ง ลดลงจากปี 2554 ( 3,497 ครั้ง) 404 ครั้ง ร้อยละ 11.55 ผู้เสียชีวิตรวม 335 ราย ลดลงจากปี 2554 (358 คน) 23 คน ร้อยละ 6.42 ผู้บาดเจ็บรวม 3,375 คน ลดลงจากปี 2554 (3,750 คน) 375 คน ร้อยละ 10
ส่วนจังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสูด ได้แก่ เชียงราย 115 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ นครสวรรค์ และ บุรีรัมย์ (18 ราย) จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุด ได้แก่ เชียงราย 121 คน และจังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิตในช่วง 7 วัน รวม 10 จังหวัด ได้แก่ สุโขทัย ตาก หนองคาย อุดรธานี ศรีสะเกษ นนทบุรี ตราด สตูล ยะลา และปัตตานี
สำหรับสาเหตุของการอุบัติเหตุ ส่วนใหญ่เกิดจากเมาสุรา ร้อยละ 37.28 รองลงมา ขับรถเร็วเกินกำหนด ร้อยละ 20.63 ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 81.47 รองลงมา ได้แก่ รถปิกอัพ ร้อยละ 9.34 ส่วนใหญ่เกิดในเส้นทางตรง ร้อยละ 62.30 บนถนนทางหลวงแผ่นดิน 37.50 ถนน อบต./หมู่บ้าน 32.95 ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ช่วงเวลา 16.01- 20.00 น. ร้อยละ 28.87 ผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มวัยแรงงาน ร้อยละ 54.56 เรียกตรวจยานพาหนะ 4,797,164 คัน มีผู้ถูกดำเนินคดี รวม 643,445 ราย ส่วนใหญ่ไม่สวมหมวกนิรภัย 200,909 ราย รองลงมา ไม่มีใบขับขี่ 185,856 ราย
ในภาพรวมสถิติอุบัติเหตุทางถนนลดลงกว่าปีที่ผ่านมา แต่อัตราการเกิดอุบัติเหตุรายใหญ่ ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมากอยู่ในเกณฑ์สูง จากการวิเคราะห์พบเกิดจากปัจจัยเสี่ยงสำคัญ 4 ด้าน ดังนี้
1. การขับรถเร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด 2. ผู้ขับขี่มีอาการอ่อนล้า หลับใน 3.การไม่สวมหมวกนิรภัย 4. การโดยสารท้ายรถกระบะ และการไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ทาง ศปถ. จะได้เสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดแนวทางการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึงพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน และระบบการประเมินผล ที่จะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของประชาชน จากอุบัติเหตุทางถนน และเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่กำหนดให้การป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนเป็น “วาระแห่งชาติ” ซึ่งทุกภาคส่วนต้องร่วมกันดำเนินการอย่างเข้มข้นในทุกพื้นที่