ASTVผู้จัดการรายวัน-ปภ.สรุปยอดอุบัติปีใหม่ 5 วัน ดับแล้ว 282 ศพ เกิดอุบัติเหตุรวม 2,544 ครั้ง เชียงรายเกิดอุบัติเหตุสูงสุด บุรีรัมย์ตายสูงสุด ส่วนชัยภูมิยังไร้อุบัติเหตุ
นายศิลปชัย จารุเกษมรัตนะ รองปลัดกระทรวงคมนาคม รักษาราชการแทนปลัดกระทรวงคมนาคม แถลงที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย วานนี้ (3 ม.ค.) ว่า ศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2555 ได้รวบรวมสถิติอุบัติเหตุทางถนนประจำวันที่ 2 ม.ค. ซึ่งเป็นวันที่ 5ของการรณรงค์ เกิดอุบัติเหตุ 377ครั้ง ลดลง 7.6% หรือลดลงจากช่วงเดียวกันในปี 2554 ที่มีจำนวน 408 ครั้ง หรือลดลง 31 ครั้ง มีผู้เสียชีวิต 41 คน ลดลงจากปี 2554 ที่มี 47 คน หรือลดลง 12.77% ผู้บาดเจ็บ 401 คน ลดลงจากปี 2554 ที่มี 435 คน หรือลดลง 7.82%
สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ เมาสุรา 32.89% รองลงมา ขับรถเร็วเกินกำหนด 20.69% โดยยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ 82.99% รองลงมา ได้แก่ รถปิกอัพ 7.22% ส่วนใหญ่เกิดในเส้นทางตรง 63.66% บนถนนทางหลวงแผ่นดิน 39.25%
สำหรับช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ช่วงเวลา 16.01- 20.00 น. คิดเป็น 29.18% ผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มวัยแรงงาน 50.23% จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ เชียงใหม่ 21 ครั้ง รองลงมา ได้แก่ นครสวรรค์ 18 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ ลพบุรี และเชียงใหม่ 3 คน จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุด ได้แก่ เชียงใหม่ 24 คน รองลงมา ได้แก่ นครสวรรค์ 19 คน จังหวัดที่ไม่เกิดอุบัติเหตุ รวม 10 จังหวัด ได้แก่ กำแพงเพชร ชัยภูมิ นครนายก แม่ฮ่องสอน ระยอง ศรีสะเกษ สิงห์บุรี สุโขทัย หนองบังลำภู และอำนาจเจริญ
ทั้งนี้ ได้จัดตั้งจุดตรวจหลัก 2,468 จุด เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน 69,673 คน เรียกตรวจยานพาหนะ 724,752 คัน มีผู้ถูกดำเนินคดีตามมาตรการลดพฤติกรรมเสี่ยง 10 มาตรการ รวม 95,822 ราย ส่วนใหญ่ไม่สวมหมวกนิรภัย 30,326 ราย รองลงมา ไม่มีใบขับขี่ 27,764 ราย
นายศิลปชัยกล่าวว่า เมื่อสรุปอุบัติเหตุทางถนนสะสม 5 วัน ตั้งแต่วันที่ 29 ธ.ค.2554-2 ม.ค.2555 เกิดอุบัติเหตุรวม 2,544 ครั้ง ลดลงจากปี 2554 ที่มีจำนวน 2,881 ครั้ง ลดลง 337 ครั้ง หรือลดลง 11.70% ผู้เสียชีวิตรวม 282 คน เพิ่มขึ้นจากปี 2554 ที่มี 281 คน หรือเพิ่มขึ้น 0.36% ผู้บาดเจ็บรวม 2,783 คน ลดลงจาก ปี 2554 ที่มี 3,091 คน เพิ่มขึ้น 9.96%
สำหรับจังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสูดในช่วง 5 วัน ได้แก่ เชียงราย 95 ครั้ง รองลงมา ได้แก่ นครสวรรค์ 94 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ บุรีรัมย์ 16 คน รองลงมา ได้แก่ นครสวรรค์ 15 คน จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด ได้แก่ นครสวรรค์ 100 คน รองลงมา ได้แก่ เชียงราย 99 คน จังหวัดที่ยังไม่เกิดอุบัติเหตุ รวม 1 จังหวัด ได้แก่ ชัยภูมิ จังหวัดที่ยังไม่มีผู้เสียชีวิตรวม 13 จังหวัด
นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีปภ. ในฐานะเลขานุการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) กล่าวว่า วันที่ 3 ม.ค. เป็นวันหยุดชดเชยวันสุดท้าย คาดว่าประชาชนส่วนใหญ่จะเดินทางกลับ ทำให้มีปริมาณรถหนาแน่นและติดขัดในบางเส้นทาง โดยเฉพาะเส้นทางหลักที่มุ่งเข้าสู่กรุงเทพฯ ศปถ.จึงได้สั่งการให้จังหวัดและกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) ปรับแผนการปฏิบัติงาน เน้นถนนสายหลัก ซึ่งเป็นเส้นทางที่ประชาชนใช้ในการเดินทาง โดยประสานการปฏิบัติงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและจังหวัดข้างเคียงอย่างใกล้ชิด รวมถึงจัดเตรียมช่องทางพิเศษเพื่อเร่งระบายรถ
ส่วนถนนสายรอง ให้ปรับย้ายจุดตรวจจุดบริการให้เหมาะสมกับสภาพปัญหาและกำหนดมาตรการจัดตั้งจุดชะลอความเร็วในบริเวณจุดเสี่ยง โดยเฉพาะทางแยกทางเชื่อมระหว่างเส้นทางสายหลักสายรอง พร้อมเน้นย้ำจุดตรวจกวดขันดำเนินคดีผู้กระทำผิดกฎหมายจราจรอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะการใช้ความเร็วเกินกำหนด เมาสุรา และเข้มงวดตรวจสอบความพร้อมด้านร่างกายของพนักงานขับรถโดยสารเป็นพิเศษ ระดับแอลกอฮอล์ต้องเป็นศูนย์ เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง
ทั้งนี้ ขอแนะผู้ขับขี่ให้ตรวจสอบสภาพการจราจรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เลือกใช้เส้นทางเลี่ยงเมือง เพื่อหลีกเลี่ยงเส้นทางสายหลัก ซึ่งการจราจรติดขัด ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุสูง โดยเฉพาะอุบัติเหตุรถชนท้าย ผู้ขับขี่ควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินทางเป็นพิเศษ ไม่ขับรถบนไหล่ทางหรือแซงทางซ้าย เพราะนอกจากจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุแล้วยังทำให้การจราจรติดขัดมากขึ้นอีกด้วย
นายศิลปชัย จารุเกษมรัตนะ รองปลัดกระทรวงคมนาคม รักษาราชการแทนปลัดกระทรวงคมนาคม แถลงที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย วานนี้ (3 ม.ค.) ว่า ศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2555 ได้รวบรวมสถิติอุบัติเหตุทางถนนประจำวันที่ 2 ม.ค. ซึ่งเป็นวันที่ 5ของการรณรงค์ เกิดอุบัติเหตุ 377ครั้ง ลดลง 7.6% หรือลดลงจากช่วงเดียวกันในปี 2554 ที่มีจำนวน 408 ครั้ง หรือลดลง 31 ครั้ง มีผู้เสียชีวิต 41 คน ลดลงจากปี 2554 ที่มี 47 คน หรือลดลง 12.77% ผู้บาดเจ็บ 401 คน ลดลงจากปี 2554 ที่มี 435 คน หรือลดลง 7.82%
สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ เมาสุรา 32.89% รองลงมา ขับรถเร็วเกินกำหนด 20.69% โดยยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ 82.99% รองลงมา ได้แก่ รถปิกอัพ 7.22% ส่วนใหญ่เกิดในเส้นทางตรง 63.66% บนถนนทางหลวงแผ่นดิน 39.25%
สำหรับช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ช่วงเวลา 16.01- 20.00 น. คิดเป็น 29.18% ผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มวัยแรงงาน 50.23% จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ เชียงใหม่ 21 ครั้ง รองลงมา ได้แก่ นครสวรรค์ 18 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ ลพบุรี และเชียงใหม่ 3 คน จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุด ได้แก่ เชียงใหม่ 24 คน รองลงมา ได้แก่ นครสวรรค์ 19 คน จังหวัดที่ไม่เกิดอุบัติเหตุ รวม 10 จังหวัด ได้แก่ กำแพงเพชร ชัยภูมิ นครนายก แม่ฮ่องสอน ระยอง ศรีสะเกษ สิงห์บุรี สุโขทัย หนองบังลำภู และอำนาจเจริญ
ทั้งนี้ ได้จัดตั้งจุดตรวจหลัก 2,468 จุด เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน 69,673 คน เรียกตรวจยานพาหนะ 724,752 คัน มีผู้ถูกดำเนินคดีตามมาตรการลดพฤติกรรมเสี่ยง 10 มาตรการ รวม 95,822 ราย ส่วนใหญ่ไม่สวมหมวกนิรภัย 30,326 ราย รองลงมา ไม่มีใบขับขี่ 27,764 ราย
นายศิลปชัยกล่าวว่า เมื่อสรุปอุบัติเหตุทางถนนสะสม 5 วัน ตั้งแต่วันที่ 29 ธ.ค.2554-2 ม.ค.2555 เกิดอุบัติเหตุรวม 2,544 ครั้ง ลดลงจากปี 2554 ที่มีจำนวน 2,881 ครั้ง ลดลง 337 ครั้ง หรือลดลง 11.70% ผู้เสียชีวิตรวม 282 คน เพิ่มขึ้นจากปี 2554 ที่มี 281 คน หรือเพิ่มขึ้น 0.36% ผู้บาดเจ็บรวม 2,783 คน ลดลงจาก ปี 2554 ที่มี 3,091 คน เพิ่มขึ้น 9.96%
สำหรับจังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสูดในช่วง 5 วัน ได้แก่ เชียงราย 95 ครั้ง รองลงมา ได้แก่ นครสวรรค์ 94 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ บุรีรัมย์ 16 คน รองลงมา ได้แก่ นครสวรรค์ 15 คน จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด ได้แก่ นครสวรรค์ 100 คน รองลงมา ได้แก่ เชียงราย 99 คน จังหวัดที่ยังไม่เกิดอุบัติเหตุ รวม 1 จังหวัด ได้แก่ ชัยภูมิ จังหวัดที่ยังไม่มีผู้เสียชีวิตรวม 13 จังหวัด
นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีปภ. ในฐานะเลขานุการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) กล่าวว่า วันที่ 3 ม.ค. เป็นวันหยุดชดเชยวันสุดท้าย คาดว่าประชาชนส่วนใหญ่จะเดินทางกลับ ทำให้มีปริมาณรถหนาแน่นและติดขัดในบางเส้นทาง โดยเฉพาะเส้นทางหลักที่มุ่งเข้าสู่กรุงเทพฯ ศปถ.จึงได้สั่งการให้จังหวัดและกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) ปรับแผนการปฏิบัติงาน เน้นถนนสายหลัก ซึ่งเป็นเส้นทางที่ประชาชนใช้ในการเดินทาง โดยประสานการปฏิบัติงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและจังหวัดข้างเคียงอย่างใกล้ชิด รวมถึงจัดเตรียมช่องทางพิเศษเพื่อเร่งระบายรถ
ส่วนถนนสายรอง ให้ปรับย้ายจุดตรวจจุดบริการให้เหมาะสมกับสภาพปัญหาและกำหนดมาตรการจัดตั้งจุดชะลอความเร็วในบริเวณจุดเสี่ยง โดยเฉพาะทางแยกทางเชื่อมระหว่างเส้นทางสายหลักสายรอง พร้อมเน้นย้ำจุดตรวจกวดขันดำเนินคดีผู้กระทำผิดกฎหมายจราจรอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะการใช้ความเร็วเกินกำหนด เมาสุรา และเข้มงวดตรวจสอบความพร้อมด้านร่างกายของพนักงานขับรถโดยสารเป็นพิเศษ ระดับแอลกอฮอล์ต้องเป็นศูนย์ เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง
ทั้งนี้ ขอแนะผู้ขับขี่ให้ตรวจสอบสภาพการจราจรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เลือกใช้เส้นทางเลี่ยงเมือง เพื่อหลีกเลี่ยงเส้นทางสายหลัก ซึ่งการจราจรติดขัด ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุสูง โดยเฉพาะอุบัติเหตุรถชนท้าย ผู้ขับขี่ควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินทางเป็นพิเศษ ไม่ขับรถบนไหล่ทางหรือแซงทางซ้าย เพราะนอกจากจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุแล้วยังทำให้การจราจรติดขัดมากขึ้นอีกด้วย