เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ที่ผ่านมา ตรงกับวันคริสต์มาส ผู้เขียนขออวยพรให้เพื่อนชาวไทยที่นับถือคริสต์ศาสนา ไม่ว่านิกายใด จงมีความสุข และในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ เข้าสู่ปี พ.ศ. 2555 ก็ขออวยพรให้เพื่อนพ้องน้องพี่ชาวไทยทุกเชื้อสาย จงมีความสุขสวัสดี
ปีใหม่นี้ คนจีนสุดคึก เพราะเป็นปีมังกร (มะโรง) ยิ่งปีนี้วันตรุษจีน (วันขึ้นปีใหม่) มาเร็วกว่าทุกปี (ตรงกับวันที่ 23 มกราคม 2555) การเดินทางกลับบ้านฉลองปีใหม่กับฉลองตรุษจีนจึงคาบเกี่ยวต่อเนื่องกัน มหกรรมการเดินทางข้ามประเทศจากมณฑลหนึ่งไปยังอีกมณฑลหนึ่ง ที่จะมีประชาชนจำนวนนับสิบหรือหลายสิบล้านคนในแต่ละวันพากันเบียดเสียดกันขึ้นรถไฟ รถโดยสารประจำทาง และเครื่องบินโดยสาร วันละไม่รู้กี่ร้อยกี่พันเที่ยว
ประเทศจีนจึงกลายเป็นประเทศที่มีประชากรเคลื่อนย้ายมากที่สุดในโลก รัฐบาลจีนได้ทำการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนอย่างเร่งรีบและอย่างขนานใหญ่ต่อเนื่องกันมาหลายสิบปี เกิดเป็นเครือข่ายการคมนาคมที่เชื่อมโยงกันทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ เพื่อให้สามารถรับมือกับการเคลื่อนย้ายของประชากรในห้วงเทศกาลสำคัญๆ ซึ่งในแต่ละปีจะมีอยู่หลายช่วง เช่น ช่วงตรุษจีน (มกราคม-กุมภาพันธ์) ช่วงวันเช็งเม้ง(เมษายน-เซ่นไหว้บรรพบุรุษ) รำลึกถึงวีรชนที่อุทิศชีวิตเพื่อการปฏิวัติและการสร้างชาติ และช่วงวันชาติจีน (ตุลาคม) นอกจากนี้ยังมีช่วงวันเปิดปิดภาคเรียนของนักเรียนนักศึกษาจีน เป็นต้น
การเดินทางของคนจำนวนมากมายมหาศาล ทำให้เกิดปัญหาขลุกขลักมากมาย และเป็นช่องทางให้แก่มิจฉาชีพทำมาหากิน ขูดเลือดผู้ต้องการใช้บริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเดินทางโดยรถไฟ ซึ่งต้องใช้ความอดทนสูงมากในการตีตั๋ว จึงหันไปใช้บริการ “ตั๋วผี” ของกลุ่มแก๊งต่างๆ ที่ออกอาละวาดตามสถานีรถไฟใหญ่ๆ ทั่วประเทศ ไม่เว้นแม้แต่กรุงปักกิ่ง
ในที่สุดการรถไฟจีนก็ใช้มาตรการเฉียบขาด ด้วยการกำหนดให้ผู้โดยสารต้องถือตั๋วที่มีชื่อตรงกับบัตรประจำตัว เช่นเดียวกันกับการซื้อตั๋วเครื่องบิน จึงจะขึ้นรถไฟได้
ก็ไม่รู้ว่าผลจะออกมาเป็นแบบไหน เพราะมาตรการดังกลาวเพิ่งเริ่มใช้จริงเมื่อไม่กี่วันมานี้
แต่ที่แน่นอนคือ ทางการจีนยังจะต้องพัฒนาระบบบริการต่อเนื่องไปอีกอย่างไม่สิ้นสุด เพื่อให้การเดินทางไหลลื่น รวดเร็ว ทันอกทันใจคนจีนยุคใหม่ที่มักจะ “ใจร้อน” จนน่ากลัว มิเช่นนั้นแล้ว การเช็กชื่อว่าตรงกันหรือไม่บนหน้าตั๋วกับในบัตรประจำตัวก็จะทำให้มีปัญหาติดขัด ชักช้า ซึ่งหนีไม่พ้นจะต้องโดนถล่มจมธรณีแน่ๆ การประยุกต์ใช้ระบบไอทีและระบบอัตโนมัติแบบใหม่ๆ ก็คงจะตามมาติดๆ
ระหว่างนี้ ผู้เขียนได้ดูจากสื่อทีวีจีน เรื่องการพัฒนาระบบการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของจีน ที่ได้ก้าวไป “แตะไหล่” ยักษ์ใหญ่โลก เช่น เอสแอนด์พี (สแตนดาร์ดแอนด์พัวร์ส) มูดี้ส์ และฟิทช์ แล้ว
บริษัทจัดเรตติ้งของจีน ชื่อ “ต้ากง” หรือ “ต้ากงกั๋วจี้” ได้กลายเป็นข่าวใหญ่โตบนเวทีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของโลก ในทันทีที่ประกาศผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศต่างๆ ทั่วโลกรวม 50 ประเทศในเดือนกรกฎาคมปี ค.ศ. 2010 ซึ่งปรากฏว่าจีนได้ AA+ เหนือกว่าสหรัฐฯ ที่ได้เพียง AA
“ต้ากง” นับเป็นบริษัทแรกที่ทำเช่นนี้ ต่อจากบริษัทจัดอันดับยักษ์ใหญ่ทั้งสาม คือ เอสแอนด์พี มูดี้ส์ และฟิทช์
“ต้ากง” ก็เช่นเดียวกับ “ทริส” ของไทย เป็นบริษัทจัดอันดับที่ก่อกำเนิดขึ้นตามนโยบายของรัฐ เพื่อเสริมสร้างกลไกทางด้านการเงินการคลังของรัฐให้เกิดประสิทธิภาพ มีบรรทัดฐานระดับนานาชาติ
“ต้ากง” ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1994 เคยร่วมมือกับมูดี้ส์ระยะหนึ่ง ศึกษาวิทยายุทธ์ แล้วก็ออกเดินสายเอง เจาะตลาดทั้งในและต่างประเทศ ปัจจุบันพัฒนาเติบใหญ่ขึ้นเป็นบริษัทจัดอันดับชั้นนำของจีน มีพนักงานกว่า 500 คน
ผู้จัดการใหญ่คือ นายกวน เจี้ยนจง
ในการให้สัมภาษณ์ต่อสถานีโทรทัศน์จีน (CCTV) เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ที่ผ่านมา นายกวน เจี้ยนจง บอกว่า จีนจำเป็นต้องมีบริษัทจัดอันดับระดับโลกของตนเอง เนื่องจากบริษัทที่มีอยู่เดิม (เอสแอนด์พี มูดี้ส์ และฟิทช์) ไม่สามารถจัดอันดับประเทศจีนได้ตรงตามความเป็นจริง บริษัทเหล่านั้นใช้บรรทัดฐานตะวันตก เช่น จีดีพี ตลาดเสรี และวิสาหกิจเอกชน เป็นตัวตั้ง จึงมักจะประเมินประเทศจีนต่ำกว่าความเป็นจริง
เขากล่าวว่า วิธีการประเมินของ “ต้ากง” ตั้งอยู่บนฐานของความเป็นจริง เริ่มจากความเป็นจริงของระบบต่างๆ ในประเทศต่างๆ ไม่ยึดติดอยู่กับค่านิยมใดๆ ทั้งสิ้น ผลคือทำให้การประเมินของต้ากง ได้รับการยอมรับสูงทั้งในแวดวง “ลูกค้า” และ “คู่แข่ง”
เขาตั้งข้อสังเกตว่า การที่ 15 ประเทศในสหภาพยุโรป รวมทั้งเยอรมนีและฝรั่งเศสด้วย ถูกเอสแอนด์พีจัดให้อยู่ในส่วนต้องระแวดระวัง ก็ด้วยอิทธิพลการจัดอันดับของต้ากง
เมื่อเร็วๆ นี้ ประเทศเบรารุส อดีตประเทศสมาชิกสำคัญของสหภาพโซเวียต ได้ลงนามทำสัญญาว่าจ้างให้ต้ากงประเมินสถานภาพความน่าเชื่อถือของประเทศตนอย่างเป็นทางการ
ปัจจุบัน ต้ากงได้ประสานกับบริษัทจัดอันดับของเกาหลีใต้และญี่ปุ่น เพื่อร่วมกันพัฒนากิจการจัดอันดับของเอเชีย ที่มีบรรทัดฐานของตนเอง
ตัวอย่างของต้ากง น่าจะเป็นตัวกระตุ้นให้ “ทริส” ของบ้านเรา ตื่นตัวขึ้นมาบ้าง แสดงบทบาทเป็นหัวหอกในกลุ่มประเทศอาเซียนได้ก็ยังดี
ปีใหม่นี้ คนจีนสุดคึก เพราะเป็นปีมังกร (มะโรง) ยิ่งปีนี้วันตรุษจีน (วันขึ้นปีใหม่) มาเร็วกว่าทุกปี (ตรงกับวันที่ 23 มกราคม 2555) การเดินทางกลับบ้านฉลองปีใหม่กับฉลองตรุษจีนจึงคาบเกี่ยวต่อเนื่องกัน มหกรรมการเดินทางข้ามประเทศจากมณฑลหนึ่งไปยังอีกมณฑลหนึ่ง ที่จะมีประชาชนจำนวนนับสิบหรือหลายสิบล้านคนในแต่ละวันพากันเบียดเสียดกันขึ้นรถไฟ รถโดยสารประจำทาง และเครื่องบินโดยสาร วันละไม่รู้กี่ร้อยกี่พันเที่ยว
ประเทศจีนจึงกลายเป็นประเทศที่มีประชากรเคลื่อนย้ายมากที่สุดในโลก รัฐบาลจีนได้ทำการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนอย่างเร่งรีบและอย่างขนานใหญ่ต่อเนื่องกันมาหลายสิบปี เกิดเป็นเครือข่ายการคมนาคมที่เชื่อมโยงกันทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ เพื่อให้สามารถรับมือกับการเคลื่อนย้ายของประชากรในห้วงเทศกาลสำคัญๆ ซึ่งในแต่ละปีจะมีอยู่หลายช่วง เช่น ช่วงตรุษจีน (มกราคม-กุมภาพันธ์) ช่วงวันเช็งเม้ง(เมษายน-เซ่นไหว้บรรพบุรุษ) รำลึกถึงวีรชนที่อุทิศชีวิตเพื่อการปฏิวัติและการสร้างชาติ และช่วงวันชาติจีน (ตุลาคม) นอกจากนี้ยังมีช่วงวันเปิดปิดภาคเรียนของนักเรียนนักศึกษาจีน เป็นต้น
การเดินทางของคนจำนวนมากมายมหาศาล ทำให้เกิดปัญหาขลุกขลักมากมาย และเป็นช่องทางให้แก่มิจฉาชีพทำมาหากิน ขูดเลือดผู้ต้องการใช้บริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเดินทางโดยรถไฟ ซึ่งต้องใช้ความอดทนสูงมากในการตีตั๋ว จึงหันไปใช้บริการ “ตั๋วผี” ของกลุ่มแก๊งต่างๆ ที่ออกอาละวาดตามสถานีรถไฟใหญ่ๆ ทั่วประเทศ ไม่เว้นแม้แต่กรุงปักกิ่ง
ในที่สุดการรถไฟจีนก็ใช้มาตรการเฉียบขาด ด้วยการกำหนดให้ผู้โดยสารต้องถือตั๋วที่มีชื่อตรงกับบัตรประจำตัว เช่นเดียวกันกับการซื้อตั๋วเครื่องบิน จึงจะขึ้นรถไฟได้
ก็ไม่รู้ว่าผลจะออกมาเป็นแบบไหน เพราะมาตรการดังกลาวเพิ่งเริ่มใช้จริงเมื่อไม่กี่วันมานี้
แต่ที่แน่นอนคือ ทางการจีนยังจะต้องพัฒนาระบบบริการต่อเนื่องไปอีกอย่างไม่สิ้นสุด เพื่อให้การเดินทางไหลลื่น รวดเร็ว ทันอกทันใจคนจีนยุคใหม่ที่มักจะ “ใจร้อน” จนน่ากลัว มิเช่นนั้นแล้ว การเช็กชื่อว่าตรงกันหรือไม่บนหน้าตั๋วกับในบัตรประจำตัวก็จะทำให้มีปัญหาติดขัด ชักช้า ซึ่งหนีไม่พ้นจะต้องโดนถล่มจมธรณีแน่ๆ การประยุกต์ใช้ระบบไอทีและระบบอัตโนมัติแบบใหม่ๆ ก็คงจะตามมาติดๆ
ระหว่างนี้ ผู้เขียนได้ดูจากสื่อทีวีจีน เรื่องการพัฒนาระบบการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของจีน ที่ได้ก้าวไป “แตะไหล่” ยักษ์ใหญ่โลก เช่น เอสแอนด์พี (สแตนดาร์ดแอนด์พัวร์ส) มูดี้ส์ และฟิทช์ แล้ว
บริษัทจัดเรตติ้งของจีน ชื่อ “ต้ากง” หรือ “ต้ากงกั๋วจี้” ได้กลายเป็นข่าวใหญ่โตบนเวทีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของโลก ในทันทีที่ประกาศผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศต่างๆ ทั่วโลกรวม 50 ประเทศในเดือนกรกฎาคมปี ค.ศ. 2010 ซึ่งปรากฏว่าจีนได้ AA+ เหนือกว่าสหรัฐฯ ที่ได้เพียง AA
“ต้ากง” นับเป็นบริษัทแรกที่ทำเช่นนี้ ต่อจากบริษัทจัดอันดับยักษ์ใหญ่ทั้งสาม คือ เอสแอนด์พี มูดี้ส์ และฟิทช์
“ต้ากง” ก็เช่นเดียวกับ “ทริส” ของไทย เป็นบริษัทจัดอันดับที่ก่อกำเนิดขึ้นตามนโยบายของรัฐ เพื่อเสริมสร้างกลไกทางด้านการเงินการคลังของรัฐให้เกิดประสิทธิภาพ มีบรรทัดฐานระดับนานาชาติ
“ต้ากง” ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1994 เคยร่วมมือกับมูดี้ส์ระยะหนึ่ง ศึกษาวิทยายุทธ์ แล้วก็ออกเดินสายเอง เจาะตลาดทั้งในและต่างประเทศ ปัจจุบันพัฒนาเติบใหญ่ขึ้นเป็นบริษัทจัดอันดับชั้นนำของจีน มีพนักงานกว่า 500 คน
ผู้จัดการใหญ่คือ นายกวน เจี้ยนจง
ในการให้สัมภาษณ์ต่อสถานีโทรทัศน์จีน (CCTV) เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ที่ผ่านมา นายกวน เจี้ยนจง บอกว่า จีนจำเป็นต้องมีบริษัทจัดอันดับระดับโลกของตนเอง เนื่องจากบริษัทที่มีอยู่เดิม (เอสแอนด์พี มูดี้ส์ และฟิทช์) ไม่สามารถจัดอันดับประเทศจีนได้ตรงตามความเป็นจริง บริษัทเหล่านั้นใช้บรรทัดฐานตะวันตก เช่น จีดีพี ตลาดเสรี และวิสาหกิจเอกชน เป็นตัวตั้ง จึงมักจะประเมินประเทศจีนต่ำกว่าความเป็นจริง
เขากล่าวว่า วิธีการประเมินของ “ต้ากง” ตั้งอยู่บนฐานของความเป็นจริง เริ่มจากความเป็นจริงของระบบต่างๆ ในประเทศต่างๆ ไม่ยึดติดอยู่กับค่านิยมใดๆ ทั้งสิ้น ผลคือทำให้การประเมินของต้ากง ได้รับการยอมรับสูงทั้งในแวดวง “ลูกค้า” และ “คู่แข่ง”
เขาตั้งข้อสังเกตว่า การที่ 15 ประเทศในสหภาพยุโรป รวมทั้งเยอรมนีและฝรั่งเศสด้วย ถูกเอสแอนด์พีจัดให้อยู่ในส่วนต้องระแวดระวัง ก็ด้วยอิทธิพลการจัดอันดับของต้ากง
เมื่อเร็วๆ นี้ ประเทศเบรารุส อดีตประเทศสมาชิกสำคัญของสหภาพโซเวียต ได้ลงนามทำสัญญาว่าจ้างให้ต้ากงประเมินสถานภาพความน่าเชื่อถือของประเทศตนอย่างเป็นทางการ
ปัจจุบัน ต้ากงได้ประสานกับบริษัทจัดอันดับของเกาหลีใต้และญี่ปุ่น เพื่อร่วมกันพัฒนากิจการจัดอันดับของเอเชีย ที่มีบรรทัดฐานของตนเอง
ตัวอย่างของต้ากง น่าจะเป็นตัวกระตุ้นให้ “ทริส” ของบ้านเรา ตื่นตัวขึ้นมาบ้าง แสดงบทบาทเป็นหัวหอกในกลุ่มประเทศอาเซียนได้ก็ยังดี