ASTV ผู้จัดการรายวัน - “เหลิม” ย้ำ ตร.มีหลักฐานชัดออกหมายจับ “ครรชิต” คดียิง “อุดร” นายกฯอบจ.สมุทรสาคร ฟันธงไม่เกี่ยวการเมือง เรื่องนี้ขอไม่พล่ามมาก “นิพิฏฐ์” หวั่นใช้อิทธิพลมืดเอาคืนทันควัน โวยพนักงานสอบสวนตั้งคำถามแปลก วอนทำงานตรงไปตรงมา จี้ “เหลิม” เร่งคดียิงคนสนิท “อี้-แทนคุณ” ให้เท่าเทียม เหตุยังไม่มีหมายจับมือยิง ด้าน “สมศักดิ์” แย้มไม่ส่งตัวให้ ตร.ตามขอ อ้างสภาฯไม่เคยอนุญาตคุมตัว ส.ส.ระหว่างสมัยประชุม ชี้เป็นเจตนารมณ์ของ รธน. ขณะที่ “รอง ปธ.สภา” เหน็บเป็นผู้แทนต้องรับผิดชอบยิ่งกว่าคนทั่วไป ด้าน ปชป.กางปีกป้องเพื่อนร่วมพรรค ลั่นต้องได้เอกสิทธิ์
วานนี้ (28 ธ.ค.) ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่ตำรวจออกหมายจับนายครรชิต ทับสุวรรณ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ หลังถูกออกหมายจับในคดียิงนายอุดร ไกรวัตนุสรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) สมุทรสาคร เสียชีวิต และได้เข้ามอบตัวกับตำรวจภูธรภาค 7แล้ว โดยปฏิเสธไม่มีส่วนเกี่ยวข้องว่า ก็เป็นสิทธิเพราะรัฐธรรมนูญเขียนไว้ ตนแสดงความคิดเห็นมากไม่ได้ด้วย ถ้าแสดงความเห็นมากก็กลายเป็นเรื่องไปว่าพรรคตรงข้ามไป ส่วนที่มองว่าเป็นคดีอุฉกรรจ์สามารถใช้เอกสิทธิ์การเป็น ส.ส.คุ้มครองได้หรือไม่นั้น มาตอนหลังมีการปรับปรุงไม่ว่าเรื่องของคดีอะไร ถ้ามีการมอบตัวก็มักจะให้มีการประกันตัว แต่กรณี ส.ส.ก็มีเอกสิทธิ์ และถือว่านายครรชิตมอบตัวแล้ว ตำรวจเขาก็มีหลักฐาน ที่ พล.ต.อ.ภาณุพงศ์ สิงหรา ณ อยุธยา รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติบอกว่า มีหลักฐานชัดเจน
**“อับดุลเหลิม” ฟันธงไม่เกี่ยวการเมือง
ผู้สื่อข่าวถามว่า ในฐานะเป็นรัฐบาลจะดูแลคดีนี้อย่างเต็มที่หรือไม่ เพราะเป็นคนที่ใกล้ชิดกับอดีต 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยเองด้วย ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า ถ้าตนแสดงความเห็นมากก็ไม่ดี ตำรวจก็ต้องทำไปตามหน้าที่ เมื่อถามต่อว่า มีข่าวว่ากล้องวงจรปิดของร้านค้าในปั๊มน้ำมัน ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญหายไป ร.ต.อ.เฉลิม ปฏิเสธที่จะแสดงความดเห็น โดยกล่าวเพียงว่า บอกไม่ได้ว่าตรงไหนเป็นหลักฐานสำคัญบ้าง
“เอาเป็นว่า พล.ต.อ.ภาณุพงศ์ ยืนยัน เพราะการออกหมายจับก็ต้องมีหลักฐาน แต่ถ้าตนไปพูดล้ำเส้นเพียงนิดเดียว ก็จะกลายเป็นว่า พรรคนั้นประชาธิปัตย์ พรรคนั้นเพื่อไทย ไปกันใหญ่ และไม่มีเรื่องอิทธิพลเข้ามาเกี่ยวข้อง และไม่ใช่เรื่องการเมือง” ร.ต.อ.เฉลิม ระบุ
**“นิพิฏฐ์” หวั่นใช้อิทธิพลมืดเอาคืน
อีกด้านที่พรรคประชาธิปัตย์ นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะทนายความซึ่งเป็นผู้นำตัว นายครรชิต ไปมอบตัวกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ กล่าวยอมรับว่า ในขณะนี้ความปลอดภัยของนายครรชิตเป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากคู่กรณีถือเป็นผู้กว้างขวาง และทางตำรวจเองก็ทราบถึงปัญหานี้ จึงเชื่อว่าจะมีการดูแลทุกฝ่ายให้ได้รับความปลอดภัย ทั้งนี้จากการพบกับพนักงานสอบสวนเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 ธ.ค.ก็มีการตั้งคำถามในลักษณะแปลกๆ เพราะมีความพยายามที่จะหาพยานหลักฐานจากผู้ที่ถูกกล่าวหา ซึ่งตนก็โต้แย้งว่าการเสาะหาพยานหลักฐานเป็นหน้าที่ของตำรวจ ไม่ใช่มาสอบสวนเอากับนายครรชิต
** จับพิรุธออกหมายจับเร็ว
นายนิพิฏฐ์ กล่าวด้วยว่า ตนอยากให้ตำรวจทำเรื่องนี้อย่างตรงไปตรงมา และไม่ใช้คดีนี้เป็นใบเบิกทางในการแสวงหาความก้าวหน้าเพื่อเป็นโบนัสให้กับตัวเอง เนื่องจากเป็นคดีที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายการเมือง ซึ่งมีอำนาจอยู่ในขณะนี้ ในชั้นนี้คงยังไม่ต้องขอเปลี่ยนตัวพนักงานสอบสวน เพราะยังรับมือได้ แต่หลังจากนี้ก็เป็นหน้าที่ทนายความที่จะมาดูแลคดีให้นายครรชิตว่าจะเห็นสมควรอย่างไร
“รู้สึกแปลกใจว่าตำรวจสามารถออกหมายจับนายครรชิตได้อย่างรวดเร็ว แตกต่างจากคดีที่มีการยิงคนสนิทของ นายแทนคุณ จิตต์อิสระ อดีตผู้สมัคร ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ จนถึงขณะนี้ยังหาตัวผู้กระทำผิดไม่ได้ ดังนั้น อยากให้ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯในฐานะดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ได้เข้ามาเร่งรัดทุดคดีให้มีความคืบหน้าเท่าเทียมกัน ไม่ใช่พอเป็นคดีความที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายค้านก็มีการเร่งรัดเป็นพิเศษ เพราะจะส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการทำคดีด้วย” นายนิพิฏฐ์ ระบุ
**ดักคอ พท.เล็งวางยาถอนเอกสิทธิ์
สำหรับการทำงานของนายครรชิตในฐานะ ส.ส.นั้น นายนิพิฏฐ์ กล่าวว่า นายครรชิตจะเดินทางไปร่วมประชุมสภาฯตามปกติในฐานะ ส.ส. เพราะไม่มีเหตุผลที่จะไม่ทำหน้าที่ของตัวเอง แต่ยังไม่มีความชัดเจนว่านายครรชิตจะขอใช้เอกสิทธิคุ้มครองหรือไม่ ซึ่งที่ผ่านมาเป็นเรื่องที่สภาฯจะใช้ดุลพินิจ นอกจากนี้ยังไม่เคยมีการส่งตัว ส.ส.ให้ไปดำเนินคดีในระหว่างสมัยประชุมมาก่อน แต่อะไรก็เกิดขึ้นได้ในรัฐบาลชุดนี้ ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่เสียงข้างมากที่อยู่ในมือรัฐบาลจะโหวตให้ส่งตัวนายครรชิตไปดำเนินคดี เนื่องจากคู่กรณีเป็นคนของพรรคเพื่อไทย แต่ถ้าทำเช่นนั้นจริงสภาฯ ก็จะกลายเป็นสองมาตรฐาน เพราะไม่เคยทำอย่างนี้มาก่อน อย่างไรก็ตาม นายครรชิตไม่มีความกังวลในประเด็นนี้ เพราะได้แสดงความบริสุทธิ์ใจตั้งแต่ต้นด้วยการไปมอบตัวด้วยตัวเอง เพื่อแสดงให้เห็นว่าพร้อมที่จะต่อสู้คดีตามกระบวนการยุติธรรม จึงเชื่อว่าจะได้รับการประกันตัว
“ส่วนจุดยืนของพรรคประชาธิปัตย์ หากมีการขอใช้เอกสิทธิคุ้มครองจะลงคะแนนอย่างไรนั้นยังไม่ได้มีการหารือกัน ซึ่งก็คงต้องรอดูเหตุการณ์ในสภาฯ ก่อนและเชื่อว่านายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาฯ คงจะมีการบรรจุวาระขอตัวนายครรชิตไปดำเนินคดีในวันที่ 29 ธ.ค.นี้” นายนิพิฏฐ์ กล่าว
**“สมศักดิ์” แย้มไม่ส่งตัวให้ ตร.ตามขอ
ขณะที่ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยก่อนเข้าร่วมการประชุมสภาฯถึงกรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจจะส่งหนังสือขอตัวนายครรชิต ไปดำเนินคดีในสมัยประชุมว่า ขณะนี้ยังไม่ได้รับหนังสือขออนุญาตส่งตัวนายครรชิต ไปดำเนินคดีจากตำรวจ แต่เมื่อได้หนังสือแล้วจะบรรจุเข้าสู่วาระการประชุมสภา แต่ขณะนี้มีวาระเร่งด่วนจำนวนมาก จึงต้องพิจารณาตามลำดับ แต่หากมีสมาชิกขอให้เลื่อนมาพิจารณาก่อนก็ขึ้นอยู่กับที่ประชุม อย่างไรก็ตามตามธรรมเนียมปฎิบัติสภาไม่เคยอนุญาตให้ส่งตัวสมาชิกไปดำเนินคดี เชื่อว่าจะไม่สะเทือนภาพลักษณ์ส.ส.เพราะมีเหตุผลที่ต้องดำเนินการตามเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญเพื่อไม่ต้องการให้กระทบการทำหน้าที่ ส.ส.
เมื่อถามว่า พรรคเพื่อไทยจะมีมติเรื่องการให้เอกสิทธิ์ในคดีนี้อย่างไรนายสมศักดิ์ตอบว่า โดยธรรมเนียมปฎิบัติ สภาไม่เคยอนุญาตให้ใคร ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติของสภา ไม่ใช่ของพรรค
**”เจริญ” เหน็บต้องมีมปิริตกว่าปุถุชน
ด้าน นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 กล่าวในกรณีเดียวกันว่า หากพนักงานสอบสวนส่งหนังสือมาภายใน 1-2 วันนี้ ก็จะสามารถจัดระเบียบวาระให้ทัน เพื่อนำเรื่องดังกล่าวเข้ามาร่วมถกกันในสภา ซึ่งตามกฎหมายรัฐธรรมนูญในช่วงระหว่างสมัยการประชุม เขาระบุว่าห้ามจับ กุมขัง หรือออกหมายเรียกสมาชิกในคดีอาญา เว้นแต่เป็นความผิดซึ่งหน้า แต่คดีดังกล่าวเท่าที่ทราบเบื้องต้น พนักงานสอบสวนจะทำการรวบรวมพยานบุคคลและพยานวัตถุ แต่จะเรียกให้ ส.ส.ไปชี้แจงไม่สามารถกระทำได้ ส่วนการออกหมายจับก็เป็นเรื่องของศาล และถ้าตำรวจอยากได้ตัวไปสอบสวนต้องขอมายังสภา ซึ่งขั้นตอนสภาจะต้องมาถกกันว่า จะให้ส่งตัวหรือไม่ ก็ต้องทำการลงมติกันในที่ประชุม
เมื่อถามว่านายครรชิต ควรแสดงความรับผิดชอบอย่างไร นายเจริญ กล่าวว่า ก็ถือเป็นเรื่องส่วนตัว แต่โดยทั่วไปต้องมองว่าภาพของการเป็นผู้แทนราษฎรนั้นจะติดตัวอยู่ตลอดเวลาทั้งในและนอกสภา ฉะนั้นความรับผิดชอบต้องยิ่งกว่าวิญญูชน แต่ก็ต้องให้ความเป็นธรรมทั้งสองฝ่าย เรื่องดังกล่าวต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ไว้ก่อน จนกว่าศาลจะพิพากษาถึงที่สุด แต่เรื่องดังกล่าวเป็นความผิดที่เกี่ยวข้องกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ซึ่งกระทบกระเทือนต่อจิตใจของประชาชนอย่างมาก สำหรับมาตรการในการควบคุมพฤติกรรมและจริยธรรมของนักการเมือง ก็จะมีประมวลจริยธรรมอยู่ โดยที่จะมีคณะกรรมการในการทำหน้าที่สอบสวน
**ปชป.กางปีกป้องลั่นต้องให้เอกสิทธิ์
ขณะที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ให้ทุกอย่างเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม ทางพรรคเห็นว่า ที่ นายครรชิต มอบตัว คือ เรื่องที่ถูกต้องแล้ว หากบริสุทธิ์ก็ควรจะต่อสู้คดีต่อไป ส่วนประเด็นการให้รัฐสภาให้เอกสิทธิ์คุ้มครองนายครรชิตนั้น ก็ว่าไปตามกระบวนการตามรัฐธรรมนูญ แต่เมื่อ นายครรชิต ดำรงตำแหน่ง ส.ส.ก็ควรจะมาประชุมตามปกติ ทั้งนี้ ทราบว่า สภายังไม่มีการบรรจุวาระเพื่อหารือประเด็นดังกล่าวแต่อย่างใด
ขณะที่ นายถาวร เสนเนียม ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาสภาไม่เคยมีมติส่งตัวส.ส.ให้ตำรวจดำเนินคดี จนกว่าจะถึงช่วงปิดประชุมสภา ยกเว้นกรณีเจ้าตัวไม่ประสงค์ขอใช้เอกสิทธิ์คุ้มครอง สิ่งสำคัญขณะนี้คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นยังรู้ว่าข้อเท็จจริงว่า เป็นอย่างไร ใครผิดหรือถูกจึงต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าไม่ผิดจนกว่าจะมีคำพิพากษา เชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของสภา เท่าที่รู้จักนายครรชิตเห็นว่า เป็นคนเรียบร้อย ทั้งนี้ที่ผ่านมานายครรชิตก็ได้รับความเป็นธรรมจากเจ้าหน้าที่เป็นอย่างดี แม้ฝ่ายรัฐบาลจะเป็นผู้ดูแลกระบวนการยุติธรรม จึงไม่รู้สึกกังวลอะไรอะไร เชื่อมั่นว่า จะได้รับความเป็นธรรม
วานนี้ (28 ธ.ค.) ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่ตำรวจออกหมายจับนายครรชิต ทับสุวรรณ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ หลังถูกออกหมายจับในคดียิงนายอุดร ไกรวัตนุสรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) สมุทรสาคร เสียชีวิต และได้เข้ามอบตัวกับตำรวจภูธรภาค 7แล้ว โดยปฏิเสธไม่มีส่วนเกี่ยวข้องว่า ก็เป็นสิทธิเพราะรัฐธรรมนูญเขียนไว้ ตนแสดงความคิดเห็นมากไม่ได้ด้วย ถ้าแสดงความเห็นมากก็กลายเป็นเรื่องไปว่าพรรคตรงข้ามไป ส่วนที่มองว่าเป็นคดีอุฉกรรจ์สามารถใช้เอกสิทธิ์การเป็น ส.ส.คุ้มครองได้หรือไม่นั้น มาตอนหลังมีการปรับปรุงไม่ว่าเรื่องของคดีอะไร ถ้ามีการมอบตัวก็มักจะให้มีการประกันตัว แต่กรณี ส.ส.ก็มีเอกสิทธิ์ และถือว่านายครรชิตมอบตัวแล้ว ตำรวจเขาก็มีหลักฐาน ที่ พล.ต.อ.ภาณุพงศ์ สิงหรา ณ อยุธยา รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติบอกว่า มีหลักฐานชัดเจน
**“อับดุลเหลิม” ฟันธงไม่เกี่ยวการเมือง
ผู้สื่อข่าวถามว่า ในฐานะเป็นรัฐบาลจะดูแลคดีนี้อย่างเต็มที่หรือไม่ เพราะเป็นคนที่ใกล้ชิดกับอดีต 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยเองด้วย ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า ถ้าตนแสดงความเห็นมากก็ไม่ดี ตำรวจก็ต้องทำไปตามหน้าที่ เมื่อถามต่อว่า มีข่าวว่ากล้องวงจรปิดของร้านค้าในปั๊มน้ำมัน ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญหายไป ร.ต.อ.เฉลิม ปฏิเสธที่จะแสดงความดเห็น โดยกล่าวเพียงว่า บอกไม่ได้ว่าตรงไหนเป็นหลักฐานสำคัญบ้าง
“เอาเป็นว่า พล.ต.อ.ภาณุพงศ์ ยืนยัน เพราะการออกหมายจับก็ต้องมีหลักฐาน แต่ถ้าตนไปพูดล้ำเส้นเพียงนิดเดียว ก็จะกลายเป็นว่า พรรคนั้นประชาธิปัตย์ พรรคนั้นเพื่อไทย ไปกันใหญ่ และไม่มีเรื่องอิทธิพลเข้ามาเกี่ยวข้อง และไม่ใช่เรื่องการเมือง” ร.ต.อ.เฉลิม ระบุ
**“นิพิฏฐ์” หวั่นใช้อิทธิพลมืดเอาคืน
อีกด้านที่พรรคประชาธิปัตย์ นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะทนายความซึ่งเป็นผู้นำตัว นายครรชิต ไปมอบตัวกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ กล่าวยอมรับว่า ในขณะนี้ความปลอดภัยของนายครรชิตเป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากคู่กรณีถือเป็นผู้กว้างขวาง และทางตำรวจเองก็ทราบถึงปัญหานี้ จึงเชื่อว่าจะมีการดูแลทุกฝ่ายให้ได้รับความปลอดภัย ทั้งนี้จากการพบกับพนักงานสอบสวนเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 ธ.ค.ก็มีการตั้งคำถามในลักษณะแปลกๆ เพราะมีความพยายามที่จะหาพยานหลักฐานจากผู้ที่ถูกกล่าวหา ซึ่งตนก็โต้แย้งว่าการเสาะหาพยานหลักฐานเป็นหน้าที่ของตำรวจ ไม่ใช่มาสอบสวนเอากับนายครรชิต
** จับพิรุธออกหมายจับเร็ว
นายนิพิฏฐ์ กล่าวด้วยว่า ตนอยากให้ตำรวจทำเรื่องนี้อย่างตรงไปตรงมา และไม่ใช้คดีนี้เป็นใบเบิกทางในการแสวงหาความก้าวหน้าเพื่อเป็นโบนัสให้กับตัวเอง เนื่องจากเป็นคดีที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายการเมือง ซึ่งมีอำนาจอยู่ในขณะนี้ ในชั้นนี้คงยังไม่ต้องขอเปลี่ยนตัวพนักงานสอบสวน เพราะยังรับมือได้ แต่หลังจากนี้ก็เป็นหน้าที่ทนายความที่จะมาดูแลคดีให้นายครรชิตว่าจะเห็นสมควรอย่างไร
“รู้สึกแปลกใจว่าตำรวจสามารถออกหมายจับนายครรชิตได้อย่างรวดเร็ว แตกต่างจากคดีที่มีการยิงคนสนิทของ นายแทนคุณ จิตต์อิสระ อดีตผู้สมัคร ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ จนถึงขณะนี้ยังหาตัวผู้กระทำผิดไม่ได้ ดังนั้น อยากให้ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯในฐานะดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ได้เข้ามาเร่งรัดทุดคดีให้มีความคืบหน้าเท่าเทียมกัน ไม่ใช่พอเป็นคดีความที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายค้านก็มีการเร่งรัดเป็นพิเศษ เพราะจะส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการทำคดีด้วย” นายนิพิฏฐ์ ระบุ
**ดักคอ พท.เล็งวางยาถอนเอกสิทธิ์
สำหรับการทำงานของนายครรชิตในฐานะ ส.ส.นั้น นายนิพิฏฐ์ กล่าวว่า นายครรชิตจะเดินทางไปร่วมประชุมสภาฯตามปกติในฐานะ ส.ส. เพราะไม่มีเหตุผลที่จะไม่ทำหน้าที่ของตัวเอง แต่ยังไม่มีความชัดเจนว่านายครรชิตจะขอใช้เอกสิทธิคุ้มครองหรือไม่ ซึ่งที่ผ่านมาเป็นเรื่องที่สภาฯจะใช้ดุลพินิจ นอกจากนี้ยังไม่เคยมีการส่งตัว ส.ส.ให้ไปดำเนินคดีในระหว่างสมัยประชุมมาก่อน แต่อะไรก็เกิดขึ้นได้ในรัฐบาลชุดนี้ ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่เสียงข้างมากที่อยู่ในมือรัฐบาลจะโหวตให้ส่งตัวนายครรชิตไปดำเนินคดี เนื่องจากคู่กรณีเป็นคนของพรรคเพื่อไทย แต่ถ้าทำเช่นนั้นจริงสภาฯ ก็จะกลายเป็นสองมาตรฐาน เพราะไม่เคยทำอย่างนี้มาก่อน อย่างไรก็ตาม นายครรชิตไม่มีความกังวลในประเด็นนี้ เพราะได้แสดงความบริสุทธิ์ใจตั้งแต่ต้นด้วยการไปมอบตัวด้วยตัวเอง เพื่อแสดงให้เห็นว่าพร้อมที่จะต่อสู้คดีตามกระบวนการยุติธรรม จึงเชื่อว่าจะได้รับการประกันตัว
“ส่วนจุดยืนของพรรคประชาธิปัตย์ หากมีการขอใช้เอกสิทธิคุ้มครองจะลงคะแนนอย่างไรนั้นยังไม่ได้มีการหารือกัน ซึ่งก็คงต้องรอดูเหตุการณ์ในสภาฯ ก่อนและเชื่อว่านายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาฯ คงจะมีการบรรจุวาระขอตัวนายครรชิตไปดำเนินคดีในวันที่ 29 ธ.ค.นี้” นายนิพิฏฐ์ กล่าว
**“สมศักดิ์” แย้มไม่ส่งตัวให้ ตร.ตามขอ
ขณะที่ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยก่อนเข้าร่วมการประชุมสภาฯถึงกรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจจะส่งหนังสือขอตัวนายครรชิต ไปดำเนินคดีในสมัยประชุมว่า ขณะนี้ยังไม่ได้รับหนังสือขออนุญาตส่งตัวนายครรชิต ไปดำเนินคดีจากตำรวจ แต่เมื่อได้หนังสือแล้วจะบรรจุเข้าสู่วาระการประชุมสภา แต่ขณะนี้มีวาระเร่งด่วนจำนวนมาก จึงต้องพิจารณาตามลำดับ แต่หากมีสมาชิกขอให้เลื่อนมาพิจารณาก่อนก็ขึ้นอยู่กับที่ประชุม อย่างไรก็ตามตามธรรมเนียมปฎิบัติสภาไม่เคยอนุญาตให้ส่งตัวสมาชิกไปดำเนินคดี เชื่อว่าจะไม่สะเทือนภาพลักษณ์ส.ส.เพราะมีเหตุผลที่ต้องดำเนินการตามเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญเพื่อไม่ต้องการให้กระทบการทำหน้าที่ ส.ส.
เมื่อถามว่า พรรคเพื่อไทยจะมีมติเรื่องการให้เอกสิทธิ์ในคดีนี้อย่างไรนายสมศักดิ์ตอบว่า โดยธรรมเนียมปฎิบัติ สภาไม่เคยอนุญาตให้ใคร ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติของสภา ไม่ใช่ของพรรค
**”เจริญ” เหน็บต้องมีมปิริตกว่าปุถุชน
ด้าน นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 กล่าวในกรณีเดียวกันว่า หากพนักงานสอบสวนส่งหนังสือมาภายใน 1-2 วันนี้ ก็จะสามารถจัดระเบียบวาระให้ทัน เพื่อนำเรื่องดังกล่าวเข้ามาร่วมถกกันในสภา ซึ่งตามกฎหมายรัฐธรรมนูญในช่วงระหว่างสมัยการประชุม เขาระบุว่าห้ามจับ กุมขัง หรือออกหมายเรียกสมาชิกในคดีอาญา เว้นแต่เป็นความผิดซึ่งหน้า แต่คดีดังกล่าวเท่าที่ทราบเบื้องต้น พนักงานสอบสวนจะทำการรวบรวมพยานบุคคลและพยานวัตถุ แต่จะเรียกให้ ส.ส.ไปชี้แจงไม่สามารถกระทำได้ ส่วนการออกหมายจับก็เป็นเรื่องของศาล และถ้าตำรวจอยากได้ตัวไปสอบสวนต้องขอมายังสภา ซึ่งขั้นตอนสภาจะต้องมาถกกันว่า จะให้ส่งตัวหรือไม่ ก็ต้องทำการลงมติกันในที่ประชุม
เมื่อถามว่านายครรชิต ควรแสดงความรับผิดชอบอย่างไร นายเจริญ กล่าวว่า ก็ถือเป็นเรื่องส่วนตัว แต่โดยทั่วไปต้องมองว่าภาพของการเป็นผู้แทนราษฎรนั้นจะติดตัวอยู่ตลอดเวลาทั้งในและนอกสภา ฉะนั้นความรับผิดชอบต้องยิ่งกว่าวิญญูชน แต่ก็ต้องให้ความเป็นธรรมทั้งสองฝ่าย เรื่องดังกล่าวต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ไว้ก่อน จนกว่าศาลจะพิพากษาถึงที่สุด แต่เรื่องดังกล่าวเป็นความผิดที่เกี่ยวข้องกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ซึ่งกระทบกระเทือนต่อจิตใจของประชาชนอย่างมาก สำหรับมาตรการในการควบคุมพฤติกรรมและจริยธรรมของนักการเมือง ก็จะมีประมวลจริยธรรมอยู่ โดยที่จะมีคณะกรรมการในการทำหน้าที่สอบสวน
**ปชป.กางปีกป้องลั่นต้องให้เอกสิทธิ์
ขณะที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ให้ทุกอย่างเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม ทางพรรคเห็นว่า ที่ นายครรชิต มอบตัว คือ เรื่องที่ถูกต้องแล้ว หากบริสุทธิ์ก็ควรจะต่อสู้คดีต่อไป ส่วนประเด็นการให้รัฐสภาให้เอกสิทธิ์คุ้มครองนายครรชิตนั้น ก็ว่าไปตามกระบวนการตามรัฐธรรมนูญ แต่เมื่อ นายครรชิต ดำรงตำแหน่ง ส.ส.ก็ควรจะมาประชุมตามปกติ ทั้งนี้ ทราบว่า สภายังไม่มีการบรรจุวาระเพื่อหารือประเด็นดังกล่าวแต่อย่างใด
ขณะที่ นายถาวร เสนเนียม ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาสภาไม่เคยมีมติส่งตัวส.ส.ให้ตำรวจดำเนินคดี จนกว่าจะถึงช่วงปิดประชุมสภา ยกเว้นกรณีเจ้าตัวไม่ประสงค์ขอใช้เอกสิทธิ์คุ้มครอง สิ่งสำคัญขณะนี้คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นยังรู้ว่าข้อเท็จจริงว่า เป็นอย่างไร ใครผิดหรือถูกจึงต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าไม่ผิดจนกว่าจะมีคำพิพากษา เชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของสภา เท่าที่รู้จักนายครรชิตเห็นว่า เป็นคนเรียบร้อย ทั้งนี้ที่ผ่านมานายครรชิตก็ได้รับความเป็นธรรมจากเจ้าหน้าที่เป็นอย่างดี แม้ฝ่ายรัฐบาลจะเป็นผู้ดูแลกระบวนการยุติธรรม จึงไม่รู้สึกกังวลอะไรอะไร เชื่อมั่นว่า จะได้รับความเป็นธรรม