นายเหวง โตจิราการ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) กล่าวถึงความคืบหน้าการยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2550 ของพรรคเพื่อไทยว่า จะเสนอแนวทางการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ให้สอดคล้องกับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของคนเสื้อแดง คือ การแก้ไขมาตรา 291 เพื่อให้มีการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) และจะให้มีการเลือกตั้ง ส.ส.ร. จากทั่วประเทศจำนวน 100 คน โดยคิดค่าเฉลี่ยจากประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งจำนวน 40 ล้านคนทั่วประเทศ เบื้องต้นคำนวณค่าเฉลี่ย ส.ส.ร. 1 คน ต่อประชาชนจำนวน 4 แสนคน ยกตัวอย่าง เช่น กทม.มีประชาชนจำนวน 8 ล้านคนก็ควรมี ส.ส.ร.จำนวน 20 คน เป็นต้น เพื่อเป็นการยึดโยงกับระบอบประชาธิปไตย
**แก้รธน.ตามแนว “เสื้อแดง”
นพ.เหวง กล่าวต่อว่า สาเหตุที่ยกเลิกกระบวนการสรรหานักวิชาการนั้น เพราะเชื่อว่า จะได้คนที่มีความเสื่อมใสในระบอบเผด็จการเข้าไปทำหน้าที่ อย่างไรก็ตาม ความเห็นนี้เป็นเรื่องส่วนตัว สุดแล้วแต่ผู้ใหญ่ และฝ่ายกฎหมายในพรรคเพื่อไทยจะพิจารณา ในฐานะที่ตนสังกัดพรรคเพื่อไทยก็จะเดินตามแนวของพรรค และรัฐบาล แต่หากก่อนการยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เกิดอาการสะดุดด้วยปัจจัยอื่นๆ ตนก็พร้อมจะเปลี่ยนไปสนับสนุนร่างของคนเสื้อแดง ที่มีรูปแบบการแก้ไข ที่การตั้ง ส.ส.ร. 100 คน คาดว่าจะรวบรวมรายชื่อให้ได้มากกว่า 5 หมื่นคน ภายใน 2 สัปดาห์นี้ หรือจะเป็นร่างแก้ไข ของนายสงวน พงษ์มณี ส.ส.ลำพูน พรรคเพื่อไทย ซึ่งในวันนี้ (29 ธ.ค.) จะไปแสดงตนต่อประธานรัฐสภา เพื่อจะขอรวบรวมรายชื่อประชาชนจำนวน 5 หมื่นคน ยื่นแก้ไขรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกัน
**รวบรัดขั้นตอน 8 เดือนเสร็จ
นพ.เหวง กล่าวว่า หากเป็นไปตามแผนที่กำหนดจะมีการยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้งหมด 3 ร่าง ดังที่กล่าวมา จะยื่นแก้ไขในเดือน ม.ค.55 เพื่อให้ตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญ เพื่อทำการศึกษาและรวบรวมประเด็นต่างๆ เหลือเป็นร่างเดียว และเมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบในเดือน มี.ค. 55 ส.ส.ร.จะเริ่มทำการยกร่างแก้ไข ใช้เวลา 8 เดือน พร้อมทำประชาพิจารณ์ และรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน จากนั้นก็ทำประชามติตัดสินว่า ประชาชนจะรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ ทั้งนี้หากรัฐธรรมนูญผ่านประชามติ จากนั้นส่งให้ประธานรัฐสภา ทูลเกล้าฯ ต่อไป โดยไม่ต้องนำเรื่องมาเข้ารัฐสภาอีก
**“มาร์ค” เชื่อ ส.ส.ร.อิสระยาก
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง กรณีพรรคเพื่อไทยยังเคลื่อนไหวเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างต่อเนื่องว่า ยังคงไม่ชัดเจน และสร้างความสับสนว่าตกลงพรรคเพื่อไทยกับรัฐบาลจะดำเนินการให้มี ส.ส.ร.อย่างมีอิสระหรือไม่อย่างไร เพราะถึงจะมีแนวทางการตั้ง ส.ส.ร. มาตลอดแต่กลับมีการชี้นำว่าจะให้แก้ไขในมาตราใดบ้าง
ทั้งนี้ในส่วนของเนื้อหา ควรจะปล่อยให้ ส.ส.ร.เป็นผู้กำหนดเอง ไม่ควรมีการชี้นำก่อน อีกทั้งรัฐบาลกับพรรคเพื่อไทย ไม่สามารถแยกออกจากกันได้
นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวถึงข้อถกเถียงในการแก้ไขกฎหมายโดยเฉพาะม.112 ของประมวลกฎหมายอาญา ว่า มีความซ้อนกันอยู่ระหว่างรัฐบาลกับพรรคเพื่อไทย โดยมีพฤติกรรมลักษณะที่ว่าในบางเรื่องหากรัฐบาลอยากทำ แต่ไม่อยากแสดงตัวก็บอกเป็นเรื่องของพรรค บางเรื่องรัฐบาลอยากทำ แต่พรรคไม่อยากแสดงตัว ก็จะไปหากลไกอื่นมารับ
**จ้องรื้อ“สภาสูง” เข้ายุค “เผด็จการ”
ขณะที่นายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภา กล่าวถึงกรณีที่นายพีรพันธุ์ พาลุสุข ส.ส.ยโสธร และทีมกฎหมายพรรคเพื่อไทย ออกมาแสดงความเห็นในกรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่าไม่จำเป็นต้องมี ส.ว. เนื่อจากงานนิติบัญญัติ สภาผู้แทนราษฎร ก็สามารถทำได้ครบถ้วนอยู่แล้วว่า จะไล่ส.ว.ไปไหน ตนคิดว่าส.ว.ยังคงมีความจำเป็นในการทำหน้าที่กลั่นกรองกฎหมาย และตรวจสอบรัฐบาล หากไม่มีส.ว.แล้วใครจะมาทำหน้าที่เหล่านี้ นอกจากนี้ หากพรรคเพื่อไทยคิดว่า ส.ว.ไม่มีความจำเป็น แล้วเหตุใดจึงรับข้อเสนอต่างๆ ที่ทาง ส.ว.เสนอไป อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า การได้มาซึ่ง ส.ว.ในบางส่วนอาจเป็นไปโดยมิชอบ เรื่องนี้ก็ต้องมาแก้ไขที่กระบวนการจะดีกว่าจะมายกเลิกไม่ให้มี ส.ว.อีกต่อไป
ผู้สื่อข่าวถามว่า มองว่าหากแนวคิดนี้บรรลุผลแล้วจะกลายเป็นการเผด็จการรัฐสภาหรือไม่ นายนิคม กล่าวว่า แน่นอน เพราะในการที่จะออกกฎหมายนั้นจะไม่มีผู้ที่ทำหน้าที่ในการตรวจสอบ ดังนั้นในฐานะที่นายพีรพันธุ์ เป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในด้านกฎหมายนั้น ตนก็ขอให้ทบทวนในเรื่องดังกล่าวอีกครั้ง
**เชื่อ149 ส.ว. พร้อมคว่ำหากโดนโละ
ด้าน นายกฤช อาทิตย์แก้ว ส.ว.กำแพงเพชร ในฐานะรองประธาน กมธ.การพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวเป็นการแสดงความเห็นส่วนตัวของนายพีรพันธุ์ เพียงแค่คนเดียว ซึ่งไม่น่าจะเป็นพลังที่จะขับเคลื่อนได้ โดยในกระบวนการแก้รัฐธรรมนูญนั้นประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่า จะต้องได้รับความเห็นชอบจากประชาชน ผลที่ได้จากการแก้เป็นอย่างไรก็จะต้องส่งเรื่องกลับมายังวุฒิสภา อย่างไรก็ตามตนเชื่อว่าในส่วนของ ส.ว.ที่มีอยู่ 149 เสียง ก็คงจะไม่ยกมือผ่านร่างรัฐธรรมนูญให้รัฐบาลอย่างแน่นอน เรื่องนี้แค่คิดก็แพ้แล้ว หรือต่อให้พรรคเพื่อไทยทั้งพรรคยืนยันที่จะเดินหน้าในเรื่องนี้จริงตนก็ไม่รู้สึกกังวลเพราะ เสียงในส่วนของวุฒิสภาทั้ง 149 เสียงถือว่าเพียงพอในการลงมติแล้ว
**แก้รธน.ตามแนว “เสื้อแดง”
นพ.เหวง กล่าวต่อว่า สาเหตุที่ยกเลิกกระบวนการสรรหานักวิชาการนั้น เพราะเชื่อว่า จะได้คนที่มีความเสื่อมใสในระบอบเผด็จการเข้าไปทำหน้าที่ อย่างไรก็ตาม ความเห็นนี้เป็นเรื่องส่วนตัว สุดแล้วแต่ผู้ใหญ่ และฝ่ายกฎหมายในพรรคเพื่อไทยจะพิจารณา ในฐานะที่ตนสังกัดพรรคเพื่อไทยก็จะเดินตามแนวของพรรค และรัฐบาล แต่หากก่อนการยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เกิดอาการสะดุดด้วยปัจจัยอื่นๆ ตนก็พร้อมจะเปลี่ยนไปสนับสนุนร่างของคนเสื้อแดง ที่มีรูปแบบการแก้ไข ที่การตั้ง ส.ส.ร. 100 คน คาดว่าจะรวบรวมรายชื่อให้ได้มากกว่า 5 หมื่นคน ภายใน 2 สัปดาห์นี้ หรือจะเป็นร่างแก้ไข ของนายสงวน พงษ์มณี ส.ส.ลำพูน พรรคเพื่อไทย ซึ่งในวันนี้ (29 ธ.ค.) จะไปแสดงตนต่อประธานรัฐสภา เพื่อจะขอรวบรวมรายชื่อประชาชนจำนวน 5 หมื่นคน ยื่นแก้ไขรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกัน
**รวบรัดขั้นตอน 8 เดือนเสร็จ
นพ.เหวง กล่าวว่า หากเป็นไปตามแผนที่กำหนดจะมีการยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้งหมด 3 ร่าง ดังที่กล่าวมา จะยื่นแก้ไขในเดือน ม.ค.55 เพื่อให้ตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญ เพื่อทำการศึกษาและรวบรวมประเด็นต่างๆ เหลือเป็นร่างเดียว และเมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบในเดือน มี.ค. 55 ส.ส.ร.จะเริ่มทำการยกร่างแก้ไข ใช้เวลา 8 เดือน พร้อมทำประชาพิจารณ์ และรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน จากนั้นก็ทำประชามติตัดสินว่า ประชาชนจะรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ ทั้งนี้หากรัฐธรรมนูญผ่านประชามติ จากนั้นส่งให้ประธานรัฐสภา ทูลเกล้าฯ ต่อไป โดยไม่ต้องนำเรื่องมาเข้ารัฐสภาอีก
**“มาร์ค” เชื่อ ส.ส.ร.อิสระยาก
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง กรณีพรรคเพื่อไทยยังเคลื่อนไหวเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างต่อเนื่องว่า ยังคงไม่ชัดเจน และสร้างความสับสนว่าตกลงพรรคเพื่อไทยกับรัฐบาลจะดำเนินการให้มี ส.ส.ร.อย่างมีอิสระหรือไม่อย่างไร เพราะถึงจะมีแนวทางการตั้ง ส.ส.ร. มาตลอดแต่กลับมีการชี้นำว่าจะให้แก้ไขในมาตราใดบ้าง
ทั้งนี้ในส่วนของเนื้อหา ควรจะปล่อยให้ ส.ส.ร.เป็นผู้กำหนดเอง ไม่ควรมีการชี้นำก่อน อีกทั้งรัฐบาลกับพรรคเพื่อไทย ไม่สามารถแยกออกจากกันได้
นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวถึงข้อถกเถียงในการแก้ไขกฎหมายโดยเฉพาะม.112 ของประมวลกฎหมายอาญา ว่า มีความซ้อนกันอยู่ระหว่างรัฐบาลกับพรรคเพื่อไทย โดยมีพฤติกรรมลักษณะที่ว่าในบางเรื่องหากรัฐบาลอยากทำ แต่ไม่อยากแสดงตัวก็บอกเป็นเรื่องของพรรค บางเรื่องรัฐบาลอยากทำ แต่พรรคไม่อยากแสดงตัว ก็จะไปหากลไกอื่นมารับ
**จ้องรื้อ“สภาสูง” เข้ายุค “เผด็จการ”
ขณะที่นายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภา กล่าวถึงกรณีที่นายพีรพันธุ์ พาลุสุข ส.ส.ยโสธร และทีมกฎหมายพรรคเพื่อไทย ออกมาแสดงความเห็นในกรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่าไม่จำเป็นต้องมี ส.ว. เนื่อจากงานนิติบัญญัติ สภาผู้แทนราษฎร ก็สามารถทำได้ครบถ้วนอยู่แล้วว่า จะไล่ส.ว.ไปไหน ตนคิดว่าส.ว.ยังคงมีความจำเป็นในการทำหน้าที่กลั่นกรองกฎหมาย และตรวจสอบรัฐบาล หากไม่มีส.ว.แล้วใครจะมาทำหน้าที่เหล่านี้ นอกจากนี้ หากพรรคเพื่อไทยคิดว่า ส.ว.ไม่มีความจำเป็น แล้วเหตุใดจึงรับข้อเสนอต่างๆ ที่ทาง ส.ว.เสนอไป อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า การได้มาซึ่ง ส.ว.ในบางส่วนอาจเป็นไปโดยมิชอบ เรื่องนี้ก็ต้องมาแก้ไขที่กระบวนการจะดีกว่าจะมายกเลิกไม่ให้มี ส.ว.อีกต่อไป
ผู้สื่อข่าวถามว่า มองว่าหากแนวคิดนี้บรรลุผลแล้วจะกลายเป็นการเผด็จการรัฐสภาหรือไม่ นายนิคม กล่าวว่า แน่นอน เพราะในการที่จะออกกฎหมายนั้นจะไม่มีผู้ที่ทำหน้าที่ในการตรวจสอบ ดังนั้นในฐานะที่นายพีรพันธุ์ เป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในด้านกฎหมายนั้น ตนก็ขอให้ทบทวนในเรื่องดังกล่าวอีกครั้ง
**เชื่อ149 ส.ว. พร้อมคว่ำหากโดนโละ
ด้าน นายกฤช อาทิตย์แก้ว ส.ว.กำแพงเพชร ในฐานะรองประธาน กมธ.การพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวเป็นการแสดงความเห็นส่วนตัวของนายพีรพันธุ์ เพียงแค่คนเดียว ซึ่งไม่น่าจะเป็นพลังที่จะขับเคลื่อนได้ โดยในกระบวนการแก้รัฐธรรมนูญนั้นประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่า จะต้องได้รับความเห็นชอบจากประชาชน ผลที่ได้จากการแก้เป็นอย่างไรก็จะต้องส่งเรื่องกลับมายังวุฒิสภา อย่างไรก็ตามตนเชื่อว่าในส่วนของ ส.ว.ที่มีอยู่ 149 เสียง ก็คงจะไม่ยกมือผ่านร่างรัฐธรรมนูญให้รัฐบาลอย่างแน่นอน เรื่องนี้แค่คิดก็แพ้แล้ว หรือต่อให้พรรคเพื่อไทยทั้งพรรคยืนยันที่จะเดินหน้าในเรื่องนี้จริงตนก็ไม่รู้สึกกังวลเพราะ เสียงในส่วนของวุฒิสภาทั้ง 149 เสียงถือว่าเพียงพอในการลงมติแล้ว