วานนี้ ( 20 ธ.ค.) นายศรศักดิ์ นิยมธรรม ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองกลางได้ออกนั่งบัลลังก์ อ่านคำสั่งศาลปกครองสูงสุด ที่มีคำสั่งกลับคำสั่งศาลปกครองกลาง โดยสั่งให้มีการรับคำฟ้องของ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีตผบ.ตร.กรณีฟ้องนายกรัฐมนตรี (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) ที่ไม่ดำเนินการปฏิบัติตามมติคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ที่เห็นว่า พล.ต.อ.พัชรวาทไม่ได้กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง จากการสั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้อาวุธปราบปรามประชาชนที่กำลังชุมนุมในพื้นที่บริเวณรัฐสภา เมื่อวันที่ 7 ต.ค. 51 และให้สั่งยกโทษแก่ พล.ต.อ.พัชรวาท ไว้พิจารณา
ทั้งนี้ คดีดังกล่าวสืบเนื่องมาจาก เมื่อวันที่ 27 ม.ค. 54 ศาลปกครองกลาง ได้มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของ พล.ต.อ.พัชรวาทไว้พิจารณา และให้จำหน่ายออกจากสาระบบ โดยเห็นว่า พล.ต.อ.พัชรวาท มายื่นฟ้องเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาการฟ้องคดี 90 วัน นับแต่วันที่รู้ หรือควรรู้ ตามมาตรา 49 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ซึ่ง พล.ต.อ.พัชรวาท ได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลปกครองกลาง ต่อศาลปกครองสูงสุด
ส่วนเหตุผลที่ศาลปกครองสูงสุดสั่งให้มีการรับคำฟ้องไว้พิจารณา ระบุว่า พิเคราะห์แล้วเห็นว่า ระยะเวลาการฟ้องคดีที่หากเป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ ตามกฎหมายกำหนดให้ปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินกว่าสมควร ต้องยื่นฟ้องต่อศาลภายใน 90 วัน นับแต่วันที่รู้ หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี หรือนับแต่วันที่พ้นกำหนด 90 วัน นับแต่วันที่ผู้ฟ้องคดีได้มีหนังสือร้องขอต่อหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดแล้วไม่ได้รับหนังสือชี้แจง หรือได้รับแต่เป็นคำชี้แจงที่ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าไม่มีเหตุผล
ซึ่งกรณีนี้ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ก.ตร. ได้พิจารณาอุทธรณ์ของ พล.ต.อ.พัชรวาท แล้วมีมติว่า การกระทำของพล.ต.อ.พัชรวาท ไม่เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง และสั่งให้ยกโทษแก่ พล.ต.อ.พัชรวาท โดยพล.ต.อ.พัชรวาท ได้มีหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 ก.พ.53 ร้องขอให้นายกรัฐมนตรี ยกเลิกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 228/2552 ลงวันที่ 19 ต.ค. 53 ที่ปลด พล.ต.อ.พัชรวาท ออกจากราชการ ซึ่งนายกรัฐมนตรี มีหนังสือชี้แจงต่อ พล.ต.อ.พัชรวาท หลายฉบับว่า คดีของพล.ต.อ.พัชรวาท อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา จึงถือได้ว่า พล.ต.อ.พัชรวาท ได้รับหนังสือชี้แจงจากนายกรัฐมนตรี และเป็นคำชี้แจงที่มีเหตุผล พล.ต.อ.พัชรวาท จึงไม่ได้ยื่นฟ้องต่อศาลในขณะนั้น
แต่เมื่อพล.ต.อ.พัชรวาท มีหนังสือลงวันที่ 12 ก.ค.53 ให้นายกรัฐมนตรี ดำเนินการยกเลิกคำสั่งลงโทษปลด พล.ต.อ.พัชรวาท ออกจากราชการ แต่นายกรัฐมนตรีได้มีหนังสือ ลงวันที่ 29 ก.ค. 53 ชี้แจงต่อ พล.ต.อ.พัชรวาท ว่าเรื่องดังกล่าวยังมีข้อกฎหมายที่ไม่ชัดเจน จะต้องหารือกับคณะกรรมการกฤษฎีกาเพิ่มเติม และในหนังสือดังกล่าวยังแจ้งกับ พล.ต.อ.พัชรวาท ว่า สามารถฟ้องต่อศาลปกครองได้ หากเห็นว่าดำเนินการไม่ถูกต้อง โดยพล.ต.อ.พัชรวาท จะต้องยื่นฟ้องต่อศาลภายในวันที่ 8 ม.ค. 54 แต่ พล.ต.อ.พัชรวาทฟ้องต่อศาลในวันที่ 28 ธ.ค. 53 จึงถือว่าเป็นการฟ้องในกำหนดระยะเวลา ศาลปกครอง จึงมีอำนาจรับคำฟ้องของ พล.ต.อ.พัชรวาท ไว้พิจารณา จึงมีคำสั่งกลับคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น รับคำฟ้องไว้พิจารณา
นายธนากร แหวกวารี ทนายความผู้รับมอบอำนาจจาก พล.ต.อ.พัชรวาท กล่าวว่า พล.ต.อ.พัชรวาท จะใช้หลักฐานเอกสารเดิมในการต่อสู้คดี และที่ต้องการสู้เรื่องนี้ เพราะเป็นเรื่องของศักดิ์ศรี เกียรติประวัติในการรับราชการ และสิทธิประโยชน์ในการได้รับ หากมีการเปลี่ยนแปลงคำสั่งที่ให้ปลดออกจากราชการ เป็นให้กลับเข้ารับราชการ และให้เกษียณอายุราชการในตำแหน่ง ผบ.ตร. ส่วนการเรียกร้องเรียกค่าเสียหายนั้น จะมีการปรึกษาหารือกันอีกครั้ง
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อดีตนายกฯ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ปกติการฟ้องศาลปกครอง จะเป็นการฟ้องในฐานะที่ดำรงตำแหน่ง เพราะฉะนั้น ฝ่ายเจ้าหน้าที่ จะป็นผู้ดำเนินการในเรื่องการแก้คดี แต่ก็หากจะขอข้อมูลอะไรจากตน ตนก็ยินดี
ส่วนการจะต่อสู้อย่างไรนั้น ขอไปดูในเรื่องข้อกฏหมายก่อน เพราะสมัยที่ตนดำรงตำแหน่งอยู่ ก็ยังต้องแก้คดีให้นายกฯ คนก่อนๆ อยู่ เพราะเวลาฟ้อง ฟ้องในเรื่องตัวคำสั่ง ส่วนจะคืนตำแหน่งให้อย่างไรนั้น ต้องย้อนกลับไปตั้งแต่เรื่อง ป.ป.ช. ทั้งนี้ยืนยันว่า ตนดำเนินการตามกฏหมาย และตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ คดีดังกล่าวสืบเนื่องมาจาก เมื่อวันที่ 27 ม.ค. 54 ศาลปกครองกลาง ได้มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของ พล.ต.อ.พัชรวาทไว้พิจารณา และให้จำหน่ายออกจากสาระบบ โดยเห็นว่า พล.ต.อ.พัชรวาท มายื่นฟ้องเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาการฟ้องคดี 90 วัน นับแต่วันที่รู้ หรือควรรู้ ตามมาตรา 49 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ซึ่ง พล.ต.อ.พัชรวาท ได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลปกครองกลาง ต่อศาลปกครองสูงสุด
ส่วนเหตุผลที่ศาลปกครองสูงสุดสั่งให้มีการรับคำฟ้องไว้พิจารณา ระบุว่า พิเคราะห์แล้วเห็นว่า ระยะเวลาการฟ้องคดีที่หากเป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ ตามกฎหมายกำหนดให้ปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินกว่าสมควร ต้องยื่นฟ้องต่อศาลภายใน 90 วัน นับแต่วันที่รู้ หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี หรือนับแต่วันที่พ้นกำหนด 90 วัน นับแต่วันที่ผู้ฟ้องคดีได้มีหนังสือร้องขอต่อหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดแล้วไม่ได้รับหนังสือชี้แจง หรือได้รับแต่เป็นคำชี้แจงที่ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าไม่มีเหตุผล
ซึ่งกรณีนี้ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ก.ตร. ได้พิจารณาอุทธรณ์ของ พล.ต.อ.พัชรวาท แล้วมีมติว่า การกระทำของพล.ต.อ.พัชรวาท ไม่เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง และสั่งให้ยกโทษแก่ พล.ต.อ.พัชรวาท โดยพล.ต.อ.พัชรวาท ได้มีหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 ก.พ.53 ร้องขอให้นายกรัฐมนตรี ยกเลิกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 228/2552 ลงวันที่ 19 ต.ค. 53 ที่ปลด พล.ต.อ.พัชรวาท ออกจากราชการ ซึ่งนายกรัฐมนตรี มีหนังสือชี้แจงต่อ พล.ต.อ.พัชรวาท หลายฉบับว่า คดีของพล.ต.อ.พัชรวาท อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา จึงถือได้ว่า พล.ต.อ.พัชรวาท ได้รับหนังสือชี้แจงจากนายกรัฐมนตรี และเป็นคำชี้แจงที่มีเหตุผล พล.ต.อ.พัชรวาท จึงไม่ได้ยื่นฟ้องต่อศาลในขณะนั้น
แต่เมื่อพล.ต.อ.พัชรวาท มีหนังสือลงวันที่ 12 ก.ค.53 ให้นายกรัฐมนตรี ดำเนินการยกเลิกคำสั่งลงโทษปลด พล.ต.อ.พัชรวาท ออกจากราชการ แต่นายกรัฐมนตรีได้มีหนังสือ ลงวันที่ 29 ก.ค. 53 ชี้แจงต่อ พล.ต.อ.พัชรวาท ว่าเรื่องดังกล่าวยังมีข้อกฎหมายที่ไม่ชัดเจน จะต้องหารือกับคณะกรรมการกฤษฎีกาเพิ่มเติม และในหนังสือดังกล่าวยังแจ้งกับ พล.ต.อ.พัชรวาท ว่า สามารถฟ้องต่อศาลปกครองได้ หากเห็นว่าดำเนินการไม่ถูกต้อง โดยพล.ต.อ.พัชรวาท จะต้องยื่นฟ้องต่อศาลภายในวันที่ 8 ม.ค. 54 แต่ พล.ต.อ.พัชรวาทฟ้องต่อศาลในวันที่ 28 ธ.ค. 53 จึงถือว่าเป็นการฟ้องในกำหนดระยะเวลา ศาลปกครอง จึงมีอำนาจรับคำฟ้องของ พล.ต.อ.พัชรวาท ไว้พิจารณา จึงมีคำสั่งกลับคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น รับคำฟ้องไว้พิจารณา
นายธนากร แหวกวารี ทนายความผู้รับมอบอำนาจจาก พล.ต.อ.พัชรวาท กล่าวว่า พล.ต.อ.พัชรวาท จะใช้หลักฐานเอกสารเดิมในการต่อสู้คดี และที่ต้องการสู้เรื่องนี้ เพราะเป็นเรื่องของศักดิ์ศรี เกียรติประวัติในการรับราชการ และสิทธิประโยชน์ในการได้รับ หากมีการเปลี่ยนแปลงคำสั่งที่ให้ปลดออกจากราชการ เป็นให้กลับเข้ารับราชการ และให้เกษียณอายุราชการในตำแหน่ง ผบ.ตร. ส่วนการเรียกร้องเรียกค่าเสียหายนั้น จะมีการปรึกษาหารือกันอีกครั้ง
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อดีตนายกฯ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ปกติการฟ้องศาลปกครอง จะเป็นการฟ้องในฐานะที่ดำรงตำแหน่ง เพราะฉะนั้น ฝ่ายเจ้าหน้าที่ จะป็นผู้ดำเนินการในเรื่องการแก้คดี แต่ก็หากจะขอข้อมูลอะไรจากตน ตนก็ยินดี
ส่วนการจะต่อสู้อย่างไรนั้น ขอไปดูในเรื่องข้อกฏหมายก่อน เพราะสมัยที่ตนดำรงตำแหน่งอยู่ ก็ยังต้องแก้คดีให้นายกฯ คนก่อนๆ อยู่ เพราะเวลาฟ้อง ฟ้องในเรื่องตัวคำสั่ง ส่วนจะคืนตำแหน่งให้อย่างไรนั้น ต้องย้อนกลับไปตั้งแต่เรื่อง ป.ป.ช. ทั้งนี้ยืนยันว่า ตนดำเนินการตามกฏหมาย และตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ