กาฬสินธุ์-กมธ.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จี้รัฐบาลออกกฎหมายเพิ่มโทษเอาผิดขบวนการค้าไม้พะยูงข้ามชาติให้เท่ากับโทษค้ายาเสพติด ระบุพื้นที่จังหวัดภาคอีสานติดชายแดนกัมพูชาและลาวหนักสุด แฉนายทุนจ้างชาวกัมพูชาลักลอบเข้ามาตัดไม้พะยูงฝั่งไทย โดยมีกลุ่มติดอาวุธคอยคุ้มกันระหว่างขนย้าย
ที่เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าภูสีฐาน ตำบลหนองห้าง จังหวัดกาฬสินธุ์ นางสาวสุมล สุตะวิริยะวัฒน์ กรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมวุฒิสภา พร้อมคณะเดินทางลงพื้นที่ศึกษาสภาพข้อเท็จจริงในพื้นที่ และรับฟังข้อมูลข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัญหาการลักลอบตัดไม้พะยูงในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อนำปัญหา อุปสรรคในการปฏิบัติงานเข้าเสนอต่อวุฒิสภาและรัฐบาล ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาแนวทางในการยับยั้งขบวนการค้าไม้พะยูงข้ามชาติ
ทั้งนี้ มีเจ้าหน้าที่หน่วยพื้นที่อนุรักษ์ เจ้าหน้าที่ป่าไม้ เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า ในสังกัดสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี) สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 7 (ขอนแก่น) และเจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการปราบปรามลักลอบทำไม้พะยูง (ส่วนหน้า)เข้าร่วมกันสรุปสถานการณ์ในปัจจุบัน
สำหรับ สถานการณ์ล่าสุดพบว่า มีการลักลอบตัดไม้พะยูงส่งนายทุนข้ามชาติหนักที่สุดในภาคอีสาน ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีชายแดนติดกับประเทศกัมพูชาและสปป.ลาว โดยเฉพาะจังหวัดอุบลราชธานี สุรินทร์ ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ และมุกดาหาร
นอกจากนี้ ยังพบว่านายทุนต่างชาติและนายทุนในประเทศได้จ้างชาวกัมพูชาด้วยเงินและยาเสพติด เข้ามาลักลอบตัดไม้พะยูงในฝั่งไทย โดยมีกองกำลังติดอาวุธสงครามและระเบิดคอยคุ้มกันระหว่างเข้าไปตัดและเคลื่อนย้ายอยู่ตลอดเวลา และใช้เด็ก สตรีเป็นโล่กำบัง ระหว่างปะทะกับเจ้าหน้าที่ ซึ่งทำให้การจับกุมเป็นไปด้วยความยากลำบาก
ด้านนางสาวสุมล สุตะวิริยะวัฒน์ กรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมวุฒิสภา กล่าวว่า ปัญหาการลักลอบตัดไม้พะยูงส่งนายทุนต่างชาติในปัจจุบันไม่ใช่เรื่องธรรมดา ซึ่งจากข้อมูลล่าสุดพบว่าในภาคอีสานหนักสุด โดยเฉพาะจังหวัดที่มีพื้นที่ติดกับประเทศกัมพูชาและสปป.ลาว จากการลงพื้นที่รับทราบปัญหาในการปฏิบัติงาน ทำให้ทราบว่าการแก้ปัญหาระยะยาว รัฐบาลควรที่จะออกกฎหมายเพิ่มโทษเกี่ยวกับการกระทำผิดกับทรัพยากรป่าไม้ หรือมีโทษหนักเท่ากับการจำหน่ายยาเสพติด เพื่อที่จะทำให้ผู้กระทำผิดเข็ดหลาบ
นอกจากนี้ ต้องแก้กฎหมายให้ไม้พะยูง จากไม้หวงห้ามประเภท ก เป็นไม้หวงห้ามประเภท ข คุมเข้มแนวตะเข็บชายแดนทุกพื้นที่ และที่สำคัญรัฐบาลควรที่จะจัดสรรงบประมาณ และต้องแก้ไขปัญหาการลักลอบตัดไม้อย่างจริงจัง เพราะหากปล่อยไว้ไม้พะยูงจะหมดไปจากป่าของไทยอย่างแน่นอน
สำหรับข้อมูลการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี) ซึ่งรับผิดชอบจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร และมุกดาหาร ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2553 - 30 ก.ย. 2554 สามารถจับกุมผู้กระทำผิดได้ 641 คดี ผู้ต้องหา 365 คน แยกเป็นคดีไม้พะยูง 389 คดี ผู้ต้องหา 207 คน ยึดไม้ของกลาง 372.23 ลบ.ม. ยานพาหนะและอุปกรณ์การกระทำผิดอีกจำนวนมาก
ล่าสุดตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2554 - 12 ธ.ค.2554 สามารถจับกุมผู้กระทำผิดได้ 193 คดี จับผู้ต้องหา 134 คน เป็นคดีไม้พะยูง 145 คดี ผู้ต้องหา 86 คน
สำหรับพื้นที่ที่มีการลักลอบตัดไม้พะยูงในจังหวัดกาฬสินธุ์ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. - 13 ธ.ค. 2554 มีจำนวน 196 คดี ผู้ต้องหา 99 คน ยึดของกลางไม้พะยูง 988 แผ่น ส่วนจังหวัดมุกดาหารมี 159 คดี ผู้ต้องหา 92 คน ยึดไม้พะยูงแปรรูป 1,873 แผ่น และไม้พะยูงท่อน 1,417 ท่อน
ที่เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าภูสีฐาน ตำบลหนองห้าง จังหวัดกาฬสินธุ์ นางสาวสุมล สุตะวิริยะวัฒน์ กรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมวุฒิสภา พร้อมคณะเดินทางลงพื้นที่ศึกษาสภาพข้อเท็จจริงในพื้นที่ และรับฟังข้อมูลข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัญหาการลักลอบตัดไม้พะยูงในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อนำปัญหา อุปสรรคในการปฏิบัติงานเข้าเสนอต่อวุฒิสภาและรัฐบาล ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาแนวทางในการยับยั้งขบวนการค้าไม้พะยูงข้ามชาติ
ทั้งนี้ มีเจ้าหน้าที่หน่วยพื้นที่อนุรักษ์ เจ้าหน้าที่ป่าไม้ เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า ในสังกัดสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี) สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 7 (ขอนแก่น) และเจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการปราบปรามลักลอบทำไม้พะยูง (ส่วนหน้า)เข้าร่วมกันสรุปสถานการณ์ในปัจจุบัน
สำหรับ สถานการณ์ล่าสุดพบว่า มีการลักลอบตัดไม้พะยูงส่งนายทุนข้ามชาติหนักที่สุดในภาคอีสาน ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีชายแดนติดกับประเทศกัมพูชาและสปป.ลาว โดยเฉพาะจังหวัดอุบลราชธานี สุรินทร์ ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ และมุกดาหาร
นอกจากนี้ ยังพบว่านายทุนต่างชาติและนายทุนในประเทศได้จ้างชาวกัมพูชาด้วยเงินและยาเสพติด เข้ามาลักลอบตัดไม้พะยูงในฝั่งไทย โดยมีกองกำลังติดอาวุธสงครามและระเบิดคอยคุ้มกันระหว่างเข้าไปตัดและเคลื่อนย้ายอยู่ตลอดเวลา และใช้เด็ก สตรีเป็นโล่กำบัง ระหว่างปะทะกับเจ้าหน้าที่ ซึ่งทำให้การจับกุมเป็นไปด้วยความยากลำบาก
ด้านนางสาวสุมล สุตะวิริยะวัฒน์ กรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมวุฒิสภา กล่าวว่า ปัญหาการลักลอบตัดไม้พะยูงส่งนายทุนต่างชาติในปัจจุบันไม่ใช่เรื่องธรรมดา ซึ่งจากข้อมูลล่าสุดพบว่าในภาคอีสานหนักสุด โดยเฉพาะจังหวัดที่มีพื้นที่ติดกับประเทศกัมพูชาและสปป.ลาว จากการลงพื้นที่รับทราบปัญหาในการปฏิบัติงาน ทำให้ทราบว่าการแก้ปัญหาระยะยาว รัฐบาลควรที่จะออกกฎหมายเพิ่มโทษเกี่ยวกับการกระทำผิดกับทรัพยากรป่าไม้ หรือมีโทษหนักเท่ากับการจำหน่ายยาเสพติด เพื่อที่จะทำให้ผู้กระทำผิดเข็ดหลาบ
นอกจากนี้ ต้องแก้กฎหมายให้ไม้พะยูง จากไม้หวงห้ามประเภท ก เป็นไม้หวงห้ามประเภท ข คุมเข้มแนวตะเข็บชายแดนทุกพื้นที่ และที่สำคัญรัฐบาลควรที่จะจัดสรรงบประมาณ และต้องแก้ไขปัญหาการลักลอบตัดไม้อย่างจริงจัง เพราะหากปล่อยไว้ไม้พะยูงจะหมดไปจากป่าของไทยอย่างแน่นอน
สำหรับข้อมูลการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี) ซึ่งรับผิดชอบจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร และมุกดาหาร ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2553 - 30 ก.ย. 2554 สามารถจับกุมผู้กระทำผิดได้ 641 คดี ผู้ต้องหา 365 คน แยกเป็นคดีไม้พะยูง 389 คดี ผู้ต้องหา 207 คน ยึดไม้ของกลาง 372.23 ลบ.ม. ยานพาหนะและอุปกรณ์การกระทำผิดอีกจำนวนมาก
ล่าสุดตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2554 - 12 ธ.ค.2554 สามารถจับกุมผู้กระทำผิดได้ 193 คดี จับผู้ต้องหา 134 คน เป็นคดีไม้พะยูง 145 คดี ผู้ต้องหา 86 คน
สำหรับพื้นที่ที่มีการลักลอบตัดไม้พะยูงในจังหวัดกาฬสินธุ์ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. - 13 ธ.ค. 2554 มีจำนวน 196 คดี ผู้ต้องหา 99 คน ยึดของกลางไม้พะยูง 988 แผ่น ส่วนจังหวัดมุกดาหารมี 159 คดี ผู้ต้องหา 92 คน ยึดไม้พะยูงแปรรูป 1,873 แผ่น และไม้พะยูงท่อน 1,417 ท่อน